April 19, 2024   3:21:36 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > มาเลเซีย บุก!
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 09/09/2005 @ 18:50:16
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

สินค้า-บริการมาเลเซียดาหน้าบุกเมืองไทยเต็มพรึ่บไปหมด
สายการบิน น้ำมัน คอนซูเมอร์ โปรดักส์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ถูกกลุ่มทุนแดนเสือเหลืองเข้ารุกกินพื้นที่ไปไม่น้อย
แม้ว่าวันนี้หลายสินค้ายังไม่เติบใหญ่ แต่ใครจะรับประกันว่าวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นกับสินค้าแบรนด์ไทย
ภาครัฐไม่นิ่งเฉยเร่งออกมาตรการตอบโต้ ชิงธงผู้นำในภาคธุรกิจที่ไทยยังเสียเปรียบ [/color:fb8aacd2d8">

สิงหาคม พ.ศ. 2548
อัลดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศยุทธศาสตร์นำมาเลเซียสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อรับความท้าทายทางเศรษฐกิจจากจีนและอินเดียภายในปี 2563
สืบทอดเจตนารมย์วิสัยทัศน์ 2020 ของอดีตนายกรัฐมนตรี มหาธีร์ โมฮัมหมัด ที่เคยประกาศแผนยุทธศาสตร์ไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมๆกับการสร้างเมืองอุตสาหกรรมไฮเทคเพื่อรองรับ และพัฒนาแรงงานระดับสูงมากขึ้น

ดังนั้น การประกาศแผนยุทธศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจึงเท่ากับเป็นการตอกย้ำและเตรียมขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรม

ยุทธศาสตร์นี้จะเน้นการพัฒนาแรงงานมีทักษะในภาคเทคโนโลยีขอมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนและส่งเสริมให้บริษัทสัญชาติมาเลเซียมีความเข้มแข็งทั้งด้านการเงินและการบริหาร สามารถก้าวขึ้นเป็นบริษัทนานาชาติ โดยเอาอย่างบริษัทปิโตรมาส ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของมาเลเซีย ในการรุกไปกินพื้นที่ในต่างประเทศ

และประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการบุกนั้น !
จริงแล้วการเดินทัพของสินค้ามาเลเซียไม่ได้เพิ่งเริ่มต้นภายหลังสิ้นสุดการประกาศยุทธศาสตร์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพราะหากพิจารณาภาพการเคลื่อนเข้ามาของสินค้าแดนเสือเหลืองในแต่กลุ่มจะพบว่าเริ่มบุกบ้านเราให้เห็นอย่างเป็นจริงเป็นจัง และมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งปี 2544 หรือราว 4 ปีที่ผ่านมานี้เอง แต่เป็นการรุกแบบเงียบๆ ไม่ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวหรือโฆษณาให้ประชาชนรู้จักอย่างเป็นทางการ และการรุกไม่ได้เข้ามาแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ไร้ทิศทาง แต่มีการศึกษาตลาดอย่างหนักมาก่อน

ถามว่า ทำไมมาเลเซียจึงหันมาให้ความสนใจกับการรุกตลาดต่างประเทศ นักการตลาดบางคนกล่าวว่า เป็นเพราะผู้บริหารประเทศเชื่อว่าการจำกัดตลาดเป็นเรื่องไม่ฉลาด จึงควรมองไกลถึงการสร้างความยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่าในการเป็นแบรนด์ระดับโลก

?มันเป็นความทะเยอทะยานที่น่ายกย่องเมื่อมองถึงระดับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้น แต่คนมาเลเซียจะต้องร่วมมือกับรัฐบาลในการสนับสนุนแบรนด์แห่งชาติของตนด้วย ทั้งประเทศจะต้องมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะพยายามให้ผลิตภัณฑ์ของประเทศตนเป็นแบรนด์ระดับโลกให้ได้?

แม้ว่าหลายสินค้าจากมาเลเซียจะรุกเข้าไปแล้วในหลายประเทศ (อ่านข่าวประกอบเรื่องแบรนด์ดังมาเลย์ ในเส้นทางตลาดโลก) แต่การจะเข้ามารุกในเมืองไทยที่เป็นตลาดที่ใหญ่กว่ามาเลเซียถึง 3 เท่า คือจำนวนประชากรบ้านเรามีมากกว่า 60 ล้านคน ขณะที่มาเลเซียมีราว 22 ล้านคน ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายดายนัก เพราะสภาพการแข่งขันในบ้านเรารุนแรง และแทบจะหาช่องว่างแทรกเข้ามาไม่ได้ โดยเฉพาะรถยนต์นั้นไม่มีทางที่โปรตอนจะแทรกเข้ามาในบ้านเราได้เลย

ทว่า มาเลเซียไม่ได้มีสินค้าเพียงแค่โปรตอนแต่เพียงอย่างเดียว! และแน่นอนไทยก็ไม่ได้เป็นฝ่ายให้เสือเหลืองเป็นฝ่ายรุกอย่างเดียวเช่นกัน



อุนซ่า ยักษ์คอนซูเมอร์
ลุยไทยก่อนไปอาเซียน[/color:fb8aacd2d8">

อุนซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ถือเป็นยักษ์คอนซูมเมอร์ที่โด่งดังในมาเลเซีย เทียบเท่ากับเครือสหพัฒน์ของไทย โดยอุนซ่ามีสินค้าในมือกว่า 30 แบรนด์ เกี่ยวกับเพอร์ซันนอลแคร์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน

อุนซ่า เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2544 ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ เอนแชนเทอร์เข้ามาทำตลาด โดยให้บริษัทดีทแฮลมเป็นผู้จัดจำหน่ายให้ ซึ่งก่อนหน้านั้น อุนซ่า ได้ทำตลาดในประเทศอื่นๆกว่า 27 ประเทศ โดยในอาเซียนมีการทำตลาดที่อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม แต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขนาดตลาดที่ใหญ่และมีศักยภาพ ทำให้อุนซ่าหันเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย เพราะเชื่อว่าถ้ายังไม่สามารถเป็นผู้นำในตลาดเมืองไทยได้ก็จะไม่ใช่ผู้นำในตลาดอาเซียน

ในช่วง 2 ปีแรกของการทำตลาดในบ้านเรา อุนซ่าพอใจกับอัตราการเติบโตของยอดขาย จึงมีการตั้งบริษัทลูกคือ อุนซ่า (ประเทศไทย) ในปี 2546 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เพื่อสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภคไทยรู้จักกับสินค้าดียิ่งขึ้น โดยในปีแรกที่ตั้งบริษัทลูกในประเทศไทย อุนซ่าก็ทุ่มงบการตลาดกว่า 35 ล้านบาท มากกว่ายอดขายในปี 2545 ที่ทำได้ 30 ล้านบาท โดยมีการทำแคมเปญส่งเสริมการขาย Power of Romance จัดกิจกรรมรวมกับร้านค้า มีการจับรางวัล แจกของพรีเมี่ยมมากมาย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคไทยรู้จักแบรนด์เอนแชนเทอร์มากกว่า 30% และผลักดันให้บริษัทมียอดขายเติบโตขึ้นกว่า 50%

เอนแชนเทอร์ เป็นผลิตภัณฑ์เพอร์ซันนอลแคร์ที่ขายจุดเด่นในเรื่องของความหอม มีสินค้า 7 ชนิด โดยสินค้าหลักคือแป้งหอม รองลงมาคือเจลอาบน้ำ แชมพู โลชั่น โรลออน สบู่หอม และ น้ำหอม ซึ่งหลังจากอุนซ่าประสบความสำเร็จในการทำตลาดเอนแชนเทอร์แล้วก็มีการนำแบรนด์ใหม่เข้ามาเสริมทันทีเพื่อทำตลาดให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยในปี 2547 ได้มีการนำแบรนด์ เอเวอร์ซอฟท์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งเจาะตลาดผู้หญิงวัยรุ่นในขณะที่เอนแชนเทอร์จับตลาดผู้หญิงวัยทำงาน 20-35 ปี ทั้งสาวออฟฟิศ และแม่บ้าน นอกจากนี้ยังมีแบรนด์โรแมนโน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทโรลออน บอดี้สเปรย์ สำหรับตลาดผู้ชาย โดยบริษัทตั้งเป้ายอดขายในปีที่ผ่านมาไว้ที่ 60 ล้านบาท

แผนการตลาดของอุนซ่านอกจากจะเน้นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสินค้าแล้วยังใช้กลยุทธ์โลคอลด้วยการเล็งตลาดแป้งเย็นเนื่องจากเมืองไทยมีอากาศร้อน

รูปแบบการรุกตลาดของเอนแชนเทอร์จะมองหาช่องว่าง ตลาดใดที่คู่แข่งอ่อนแอก็จะได้รับการทักทายจากอุนซ่า แต่ในตลาดที่มีคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่า อุนซ่าก็จะไม่เข้าไปชน อย่างเช่นตลาดแป้งเด็กที่มีทั้ง จอห์นสันแอนด์จอนห์สัน และแคร์ รวมถึงตลาดเฮาส์โฮลด์ที่มีทั้งพีแอนด์จีและยูนิลีเวอร์ครองตลาดเมืองไทยอยู่อย่างเหนียวแน่น

ทั้งนี้ในช่วงแรกที่นำเอนแชนเทอร์เข้ามาทำตลาดจะเป็นการนำเข้าจากมาเลเซียทำให้มีต้นทุนที่สูงกว่า ดังนั้นอุนซ่าจึงได้จ้างโรงงานในประเทศไทยผลิตสินค้าให้ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลง 20-30% ส่งผลให้บริษัทสามารถลดราคาสินค้าเพื่อที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้ โดยช่องทางจำหน่ายหลักคือ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างร้านในต่างจังหวัด

แม้จะไม่ค่อยมีการทำแคมเปญโฆษณามากนัก แต่เอนแชนเทอร์ก็สามารถยืนหยัดบนชั้นวางตามช่องทางจำหน่ายต่างๆได้ดี เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าเอนแชนเทอร์และแบรนด์อื่นๆของอุนซ่าเป็นคู่แข่งที่ไม่ควรประมาท


แอร์เอเชีย
บินปร๋อจากมาเลย์ถึงไทย [/color:fb8aacd2d8">

แอร์เอเชีย นับเป็นสายการบินแบบประหยัดของมาเลเซีย เป็นของสถาบันการเงินร่วมทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่น โดย ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย สนับสนุนให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวที่ผ่านมา เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องบินที่มีชั่วโมงบินต่ำไม่เกิน 3-4 ชั่วโมงเท่านั้นทำให้ต้องบินระหว่างประเทศในแถบโซนอาเซียนอย่างเดียว ขณะที่มาเลเซียแอร์ไลน์กลับเปิดให้บริการบินเส้นทางระหว่างประเทศมากกว่า แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการดำเนินธุรกิจของแอร์เอเชียตรงกันข้ามกลับมีการขยายธุรกิจสายการบินต้นแบบโลว์คอสออกไปในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการบริหารจัดการลักษณะร่วมทุนกัน

ด้วยศักยภาพความพร้อมที่มีพนักงานเกือบพันคนในมาเลเซีย บวกกับฐานลูกค้าที่มีมากถึง 2.2 ล้านคน และมีเครื่องบินโบอิ้ง 737-300 จำนวน 7 ลำในฝูงบิน อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยลำละ 6 ปี จำนวนที่นั่งต่อลำ 148 ที่นั่ง อยู่ในมือทำให้ธุรกิจแอร์เอเชียมาเลเซีย ณ วันนี้เดินทางเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศมาเลเซียไปเป็นที่เรียบร้อยและนับวันธุรกิจกำลังเติบโตสวนกระแสความผันผวนของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

กลไกทางการตลาดเรื่องของราคาที่ถูกหยิบนำมาใช้ฟาดฟันกับคู่แข่งดูเหมือนจะเป็นยุทธวิธีที่โดนใจกลุ่มผู้บริโภคมากที่สุดและ สามารถสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจได้ไม่น้อย ผสมผสานกับการบริหารจัดการเรื่องของระบบจองตั๋วโดยสาร ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีมาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการผ่านอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.airasia.com การส่งข้อความเอสเอ็มเอส ผ่านโทรศัพท์มือถือ การจองผ่านโทรศัพท์ โดยชำระเงินผ่านบัตรเครดิต

ยุทธวิธีนี้ทำให้แอร์เอเชียประสบความสำเร็จ โดยรอบบัญชีปีที่ผ่านมาสิ้นสุด วันที่ 30 มิ.ย.มีกำไร 30 ล้านริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 330 ล้านบาท จากรายได้รวม 320 ล้านริงกิตมาเลเซีย ขณะที่รอบบัญชีปีที่แล้วมีรายได้ 200 ริงกิตมาเลเซีย

แอร์เอเชีย แม้ให้บริการด้วยต้นทุนต่ำ และจำหน่ายตั๋วได้ในราคาถูก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณภาพบริการและความปลอดภัยลดลงไปด้วย ผนวกกับทิศทางการเติบโตของโลว์คอสแอร์ไลน์ที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งมีการเปิดเสรีทางการบินจึงเป็นโอกาสทองที่กลุ่มผู้บริหารแอร์เอเชียมาเลเซียไม่ปล่อยให้หลุดมือไปอย่างแน่นอนปฏิบัติการเปิดเกมรุกตลาดต่างประเทศจึงเริ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศไทยที่ถูกมองว่าน่าจะเป็นฐานศูนย์กลางทางการบินไปยังประเทศต่างๆได้ โดยเลือกบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ร่วมลงทุนฝ่ายไทยตั้งบริษัท แอร์เอเชีย เอวีเอชั่น จำกัด ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (Low cost airline) ในไทย

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ เที่ยวบินแรกของไทยแอร์เอเชียก็เทกออฟ จากสนามบินดอนเมืองเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางเชียงใหม่ และเป็นหน้าที่หลักของ ทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยแอร์เอเชีย ที่ประกาศตัวบริหารงานโดยเน้นการใช้ต้นทุนต่ำ เพื่อจำหน่ายตั๋วได้ในราคาถูก หลังจากพิธีเจิมเครื่องบินเมื่อวันที่ 29 มกราคม 47 และสร้างความฮือฮาด้วยการอัดโปรโมชั่นขายตั๋วใบละ 99 บาท นำร่องด้วยเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ,กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ตามด้วยกรุงเทพฯ-ขอนแก่น(ปัจจุบันยกเลิก) และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ แทบไม่น่าเชื่อหลังประกาศเปิดจองบัตรโดยสารทั้งหมด 20,000 ที่นั่ง ก็ถูกจองหมดภายใน 3 วัน

ไทยแอร์เอเชียแจ้งเกิดอย่างง่ายดาย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า เพราะมีเครดิตที่น่าเชื่อถือจากการที่กลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือหุ้น 50% และอีก 49% ถือหุ้นโดยสายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในตลาดสายการบินต้นทุนต่ำที่มาเลเซีย และอีก 1% เป็นของนายทัศพล ที่กลุ่มชินคอร์ป และแอร์เอเชียไว้วางใจให้เป็นแม่งานของไทยแอร์เอเชีย แม้จะไม่เคยเป็นกัปตัน ไม่เคยอยู่ในธุรกิจสายการบินมาก่อนด้วยซ้ำ

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญสำหรับไทยแอร์เอเชีย ย่อมหนีไม่พ้น แอร์เอเชีย มาเลเซีย ที่ส่งบุคคลากรมาช่วย ทั้งด้านเทคนิค จนถึงการติดตั้งคอลล์เซ็นเตอร์ และด้วยนโยบายราคาตั๋วต้องถูก ไม่ว่าจะทำอะไรต้องถูก อย่างอื่นเป็นสิ่งเสริมเท่านั้น

จึงไม่แปลกที่จู่ๆ ก็มีแคมเปญราคาตั๋ว 99 บาทออกมาเขย่าตลาด จนกระทั่งสามารถดึงลูกค้า มีลูกค้าสะสมในมือแล้ว 20,000 คนตามที่ได้ให้โควตาไป และอีก 10,000 คนที่ยอมจองในราคามากกว่า 99 บาท โดยเฉลี่ยขาเดียวที่ 600 บาท ที่เมื่อรวมไปกลับแล้วก็ถูกกว่าสายการบินอื่นๆ มากกว่าเท่าตัว

จากการเป็นสายการบินที่โดนใจผู้โดยสารชาวไทย เพราะ 1 ชั่วโมง กับการเดินทางเส้นทางไกล ด้วยราคาค่าตั๋วแสนถูก ถือว่าสุดคุ้มเมื่อเทียบกับการเดินทางโดยรถยนต์ รถไฟ รถทัวร์กับค่าโดยสารไม่เกิน 1,000 บาทเช่นกัน แต่ใช้เวลาเกือบ 10 ชั่วโมงและเมื่อไม่นานมานี้เองผู้โดยสารคนที่ 1 ล้านก็รับรางวัลจากไทยแอร์เอเชียไปแล้วนับตั้งแต่เปิดเที่ยวบินแรกจนถึงทุกวันนี้แอร์เอเชียประสบความสำเร็จไปอีกก้าวหนึ่งที่สามารถรุกตลาดเมืองไทยและสร้างรายได้โกยกลับไปประเทศมาเลเซียเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล

ความได้เปรียบของแอร์เอเชีย คือ การมีผู้ถือหุ้นเป็นไทยเกินครึ่งหนึ่ง ทำให้สิทธิการลงทุนของแอร์เอเชียเท่าเทียมสายการบินสัญชาติไทยเจ้าอื่น ซึ่งสามารถเปิดบินภายในประเทศไทยทับเส้นทางทำเงินของการบินไทย หรือเส้นทางบินอื่นๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ได้ทั้งหมด อีกทั้งสร้างช่องทางใหม่ให้แอร์ เอเชีย มาเลเซีย รับช่วงขนผู้โดยสารเข้ากัวลาลัมเปอร์ เพื่อกระจายไปยังทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอีกทาง และการลงทุนครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือยกระดับความสัมพันธ์ทำ ?อาเซียน แบรนด์? ให้แข็งแกร่งตามกรอบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม สายการบินใหม่ของกลุ่มชินฯอาจเป็นฝันร้ายของผู้บริหารการบินไทย และเจ้าของสายการบินเอกชนไทยตลอดกาล เพราะทุกสายต่างยอมรับว่าจะต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด และรายได้จากการขนส่งให้แอร์ เอเชีย ไทย อย่างแน่นอนโดยเฉพาะสงครามด้านราคาที่รุนแรงขณะนี้


ไซม์ดาร์บี้-เจอาร์ดี
รุกทั้ง 2 และ4 ล้อ[/color:fb8aacd2d8">

การลงทุนลงธุรกิจยานยนต์จากมาเลเซียที่เห็นชัดที่สุดได้แก่กลุ่ม ไซม์ดาร์บี้ เป็นกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ที่ถือหุ้นกับรัฐบาลมาเลเซียผลิตรถยนต์แห่งชาติที่รู้จักกันดีในชื่อ โปรตอน โดยกลุ่มนี้ถือว่าคุ้นเคยกับบ้านเราเป็นอย่างดี เพราะมีธุรกิจที่โยงใยในหลายอุตสาหกรรม ทั้งรถยนต์ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทั้งยังเป็นผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ ดัลล็อป ที่ดำเนินงานในนามกลุ่มซัมเม็กซ์

บริษัทไซม์ดาร์บี้ก่อตั้งเมื่อปี 2453 เพื่อประกอบธุรกิจยางพารา และประกอบธุรกิจผลิตยางรถยนต์ จัดจำหน่ายอุปกรณ์อุตสาหกรรมหนัก จัดจำหน่ายพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ ในปี 2544 เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของมาเลเซียด้วยสินทรัพย์ 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปี 2543 บริษัทมีรายรับจากบริษัทเครือข่ายทั่วโลกรวม 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีบริษัทในเครือ 23 บริษัทกระจายอยู่ทั่วโลก รายได้หลักกว่า 30% มาจากอุตสาหกรรมยานยนต์

ไซม์ดาร์บี้ ข้ามเข้ามาลงทุนในไทยเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา โดยทำธุรกิจรับเป็นผู้แทนจำหน่ายให้รับรถยนต์แบรนด์มาสด้า แต่ปัจจุบันกลุ่มนี้ขยายตัวสู่การเป็นผู้แทนจำหน่ายให้กับรถยนต์แบรนด์อื่นอีก 3 แบรนด์ได้แก่ bmw, volvo และมิซูบิชิ

ทั้งนี้กลุ่ม ไซม์ดาร์บี้ มองว่าตลาดยานยนต์ไทยมีศักยภาพสูงเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเมื่อเทียบกับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซึ่งกลุ่มนี้ได้เข้าไปลงทุนในธุรกิจลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้กลุ่ม ไซม์ดาร์บี้ ยังพยายามเสนอตัวเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์แบรนด์ฮุนไดจากเกาหลีใต้ แต่เนื่องจากข้อเสนอของ ไซม์ดาร์บี้ ที่ต้องการให้ตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ฮุนไดในประเทศมาเลเซียไม่ตรงกับสิ่งที่ฮุนไดต้องการคือการตั้งโรงงานประกอบในประเทศไทย ทำให้คาดว่าฮุนไดจะปฎิเสธข้อเสนอของ ไซม์ดาร์บี้

นอกธุรกิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์กลุ่มดังกล่าวยังขยายเข้าสู่ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ โดยร่วมทุนกับนักลงทุนชาวไทยตั้งบริษัท อาปิโก ไฮเทค ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวยังเข้าไปกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของไทยอีกด้วย

แม้ ไซม์ดาร์บี้ จะถูกมองว่ามีความใกล้ชิดกับกลุ่มอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มหาธีร์ โมฮัมหมัด แต่การเข้ามาลงทุนในไทย นักวิเคราะห์ในธุรกิจยานยนต์มองว่า การเมืองในมาเลเซียไม่มีต่อการเข้ามาลงทุนของกลุ่มดังกล่าว แต่เป็นเพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมีการเติบโตสูง ขณะที่ตลาดรถยนต์ในมาเลเซียมีการขยายตัวที่จำกัด ดังนั้นการลงทุนในเมืองไทยจึงเป็นการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่จะสามารถขยายตัวได้มากกว่า

ส่วนเจอาร์ดี จักรยานยนต์สายพันธุ์มาเลเซียเข้ามาบุกตลาดบ้านเรา ด้วยการตั้งโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ประเภทสกู๊ตเตอร์ขึ้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เมื่อปี 2543 พร้อมกับตั้งบริษัท เจ อาร์ ดี ไบร์ท มอเตอร์ อินดัสตรีส์ เริ่มจำหน่ายในตลาดเมื่อปี 2544 แต่กว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการก็ปาเข้าไปวันที่ 12 พฤษภาคม 2547 เมื่อต้องการเข้ามารุกตลาดในกรุงเทพฯ และภาคอื่นๆ หลังจากที่เข้าไปทำตลาดแบบป่าล้อมเมืองทางภาคใต้เป็นเวลานาน

เจอาร์ดีมองว่าตลาดรถจักกรยานยนต์ไทยโดยเฉพาะประเภทสกู๊ตเตอร์ยังมีโอกาสและการเติบโตที่สูง เนื่องจากยังไม่มีผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ประเภทดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยมองว่าอัตราส่วนประชากรต่อรถจักยานยนต์ในเมืองไทยยังมีสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับไต้หวันและญี่ปุ่น และการเลือกเข้ามาลงทุนในไทยเป็นเพราะนโยบายที่เปิดกว้างของรัฐบาล เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง และบรรยากาศการลงทุนก็เอื้ออำนวยทั้งในเรื่องความมั่นคงและการเติบโตด้านเศรษฐกิจของไทย

เนื่องจากรถสกู๊ตเตอร์ของเจอาร์ดีมีสไตล์ที่แตกต่างจากรถตลาดโดยสิ้นเชิง ทำให้ได้รับการตอบรับจากตลาดจำนวนมาก ทำให้บริษัทต้องส่งรถในรุ่นต่างๆออกมาถึง 10 รุ่น ในราคาตั้งแต่ 27,500-68,000 บาท ปัจจุบันเจอาร์ดีมียอดขายในตลาดจักรยานยนต์เป็นอันดับ 6 ด้วยยอดขาย 11,715 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 1%


Thailand Fightback [/color:fb8aacd2d8">
เนื่องจากไทยและมาเลเซียเป็นประเทศที่มีชายแดนติดกันทำให้มีช่องทางการค้าขายมากขึ้นโดยเฉพาะการค้าชายแดนซึ่งโดยเฉพาะไทยกับมาเลเซียบรรลุผลจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) ที่มุ่งส่งเสริมการค้าระหว่างกันภายในประเทศ สมาชิกอาเซียน จึงทำให้มาเลเซีย เป็นประเทศคู่ค้าที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงมากกว่าร้อยละ 65 ของปริมาณมูลค่าการค้าชายแดน ทั้งหมดของไทย

การทำการค้าระหว่างไทยกับมาเลเซียส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของการนำเข้า และส่งออก หากมองเฉพาะภาวการณ์ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 8 ด่านในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.2548) ปรากฏว่ามีมูลค่าการค้ารวมกันทั้งสิ้น 1.25 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.61 แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 8.47 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 และมูลค่าการนำเข้า 4.06 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.81

โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ยางพาราครึ่งปีแรกมีมูลค่าส่งออก 3.61 หมื่นล้านบาท เครื่องจักร เครื่องกลอุปกรณ์ไฟฟ้า 4.82 พันล้านบาท ถุงมือยาง 2.24 พันล้านบาท ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์จากไม้ 3.21 พันล้านบาท ส่วนประกอบยานยนต์ 1.71 พันล้านบาท พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 1.25 พันล้านบาท อาหารสัตว์ 928.08 ล้านบาท สิ่งปรุงแต่งสำหรับเส้นผม 864.23 ล้านบาท สิ่งสกัดจากมอลต์ 760.61 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์อื่นๆ 1.83 หมื่นล้านบาท

ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรเครื่องกลและส่วนประกอบมูลค่า 1.22 หมื่นล้านบาท เครื่องจักรอุปกรณ์ไฟฟ้า 1.05 หมื่นล้านบาท เหล็กและผลิตภัณฑ์ 2.85 พันล้านบาท เครื่องมือตรวจสอบเครื่องจักร 1.44 พันล้านบาท อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ 1.40 พันล้านบาท พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 1.39 พันล้านบาท ไม้แปรรูป 1.22 พันล้านบาท ยางสังเคราะห์ น้ำยางสังเคราะห์ 804.46 ล้านบาท เคมีภัณฑ์และปุ๋ยเคมี 728.11 ล้านบาท ยานพาหนะและอุปกรณ์ 497.41 ล้านบาท และอื่นๆ 7.52 พันล้านบาท

นั่นคือตัวเลขการค้าของไทยกับมาเลเซียที่ได้จากสำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 2 จังหวัดสงขลา ซึ่งหากมองแค่ตัวเลขจากแหล่งข้อมูลเพียงเท่านี้ดูแล้วก็น่าชื่นใจว่าไทยได้ดุลการค้าประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ของเรา แต่ถ้ามามองตัวเลขที่ได้จากกรมการค้าต่างประเทศแล้วจะยิ่งตกใจเมื่อพบว่าเราขาดดุลการค้ากับมาเลเซีย 48,721.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 เนื่องจากประเทศของเราได้นำเข้าน้ำมันดิบจากมาเลเซียเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 340 % ในขณะเดียวกันสินค้าประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 70% ซึ่งขยับจากอันดับท้ายๆมาอยู่ที่อันดับสองรองจากการนำเข้าน้ำมัน

?ที่เรานำเข้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นอาจจะเป็นเพราะความต้องการในประเทศของเราเพิ่มขึ้นที่สำคัญมาเลเซียยังเป็นฐานผลิตแหล่งใหญ่ของประเทศอเมริกาด้วย? เป็นคำกล่าวของ อภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

จากสถานการณ์การขาดดุลกับมาเลเซียดังกล่าวจึงทำให้ผู้บริหารประเทศต้องมาปรับกระบวนยุทธ์ใหม่ โดยเฉพาะการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบที่ถือว่าเป็นจุดอ่อน

เมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทะนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และบริษัทด้านอิเล็กทรอนิกส์เข้าร่วมประชุม

การประชุมคราวนี้ก็เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการให้ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยเห็นว่าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตถัดจาอุตสาหกรรมรถยนต์ที่สำเร็จไปแล้ว ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใน 5 ปี

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยมีศักยภาพ แต่นักลงทุนส่วนใหญ่จะหันไปลงทุนในประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย แต่หลังจากที่รัฐบาลปรับแนวทางการส่งเสริมการลงทุน ทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากลุ่มนักลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ต่อไปนี้รัฐบาลจะให้ความสำคัญมากขึ้น โดยการทำเขตการค้าเสรีกับญี่ปุ่น เป็นจังหวะเหมาะสมที่จะเตรียมการส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้

เพื่อเตรียมความพร้อมที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางในอนาคตจึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมใหม่ทั้งระบบ ที่บีโอไอได้เสนอแนวทางส่งเสริม 4 แนวทาง คือ 1.การปรับปรุงวิธีการให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนให้จูงใจมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนที่สร้างมูลค่า โดยกรอบการให้สิทธิประโยชน์เดิมจะให้สิทธิเป็นรายโครงการ จะปรับเป็นการให้สิทธิประโยชน์เป็นแพกเกจ รวมทุกโครงการที่เสนอมา

2.การปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นภาษีศุลกากร สรรพากร และสรรพสามิต เพราะที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษียังมีความเหลื่อมล้ำกันระหว่างสินค้าสำเร็จรูป และวัตถุดิบ จึงได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังกลับไปพิจารณาโครงสร้างภาษีภายใน 2 เดือน และพิจารณาปัญหาการขอคืนภาษีสรรพสามิต สำหรับสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกด้วย

3.การให้สิทธิประโยชน์จูงใจผู้ประกอบการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และปรับหลักเกณฑ์การส่งเสริมพัฒนาทักษาเทคโนโลยี นวัตกรรม และ 4.การปรับโครงสร้างพื้นฐานโดยกระทรวงอุตสาหกรรมเข้ามาดูแลให้ครบวงจรเรื่องลอจิสติกส์ รวมถึงการมีนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคเป็นการเฉพาะ ทั้งหมดจะเสนอคณะกรรมการบีโอไอพิจารณาภายใน 2 เดือน

นอกจากนี้บีโอไอยังได้เสนอแผนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายชักจูงการลงทุนเป็นแพกเกจ คือ 1.ฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟ ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง โดยมีมูลค่าในตลาดโลกสูงถึง 27.6 พันล้านดอลลาร์ และการผลิตในไทยเติบโตสูงมาก คาดว่าในปี 2006 ไทยจะผลิตได้มูลค่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก 2.เซมิคอนดักเตอร์ เติบโตปานกลาง มูลค่าตลาดโลกรวม 220 พันล้านดอลลาร์ 3.คอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราการเติบโตสูง มูลค่าตลาดโลกมีสูงถึง 1,431 พันล้านดอลลาร์ และ4.ชิ้นส่วนอื่นๆ มีอัตราการเติบโตปานกลาง

?เมื่อปรับโครงสร้างต่างๆโดยให้สิ่งจูงใจและสิทธิประโยชน์จะทำให้ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า มูลค่าการส่งออกกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวน่าจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 50% และเชื่อว่าการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมครั้งนี้จะเป็นสิ่งจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรมเข้ามาลงทุนในประเทสไทยมากขึ้นแน่นอน?


**************

ปิโตรนาส โมเดล
ต้นแบบการรุกธุรกิจ[/color:fb8aacd2d8">

คงไม่ต้องสาธยายมากว่า ?ปิโตรนาส? (Petronas) มีความยิ่งใหญ่ขนาดไหน ถึงทำให้ผู้นำประเทศมาเลเซีย ประกาศยกเป็นต้นแบบสำหรับธุรกิจอื่นๆในการรุก

จากการสำรวจของฟอร์จูน โกลบอล 500 เมื่อปี 2003 ปิโตรนาสอยู่ลำดับที่ 42 ของกลุ่มบริษัทชั้นนำ 50 อันดับ และ 204 ของโลก ขณะที่บริษัทปตท.ของเรา เพิ่งเข้าไปติดอยู่ในฟอร์จูน และเป็นบริษัทแรกที่ติดอันดับ เดิมทีในอาเซียนติดแค่บริษัทเดียวคือ บริษัทปิโตรนาส

ในช่วงที่ผ่านมาปิโตรนาสเข้ามารุกในบ้านเราหลายครั้งหลายหน ไม่ว่าจะเป็น การเข้ามาร่วมในโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ผ่านทางบริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างปิโตรนาส กับปตท. หรือแม้แต่การเข้ามาร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และปตท. ดำเนินโครงการระบบทำความเย็น และผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง

แต่สิ่งที่ทำให้ชื่อ ?ปิโตรนาส? ขจรขจายเป็นที่รู้จักของชาวโลกมากที่สุด คือ Petronas Twin Towers เจ้าของสถิติตึกที่สูงที่สุดในโลก 88 ชั้น บนความสูงกว่า 450 เมตร สูงกว่าตึก Sears ในสหรัฐอเมริการาว 15 เมตร

บรรดาตึกสูงทั้งหลายในนิวยอร์ก และชิกาโกต้องอายเมื่อมาเจอตึกนี้ เพราะใช้เวลาก่อสร้างเพียง 6 ปี จากปกติต้องใช้เวลาถึง 8 ปี และเป็นการก่อสร้างโดยใช้ปูนซีเมนต์ไม่ใช่เหล็กเหมือนหลายๆตึกสูงเสียดฟ้า ทำให้ตึกต้องหนักเป็น 2 เท่า หากจะทำความสะอาดหน้าต่างที่มีอยู่ราว 1.6 หมื่นบานต้องใช้เวลาเป็นเดือนเลยทีเดียว

คงไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่า ตึกนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึง พลัง ความสำเร็จ และอัตตา เป็นนโยบายที่ต้องการวางเอกสิทธิ์บนแผนที่ให้คนทั่วโลกได้รู้จักประเทศมาเลเซีย

บางคนรู้จักปิโตรนาสว่าเป็นเจ้าของตึกแฝดที่ครองตำแหน่งตึกที่สูงที่สุดในโลก บางคนอาจรู้จักมากไปกว่าว่าเป็นชื่อบริษัทน้ำมันรายใหญ่ยักษ์ของมาเลเซีย หรือบางคนอาจรู้จักเพียงว่าเป็นชื่อสถานีบริการน้ำมันที่เพิ่งเข้าไปดำเนินการแทนคิว เอท

ไม่ว่าจะรู้จักในฐานะอะไร ?ปิโตรนาส? เป็นชื่อที่คนมาเลเซียภูมิใจ

****************

แบรนด์ดังมาเลย์
ในเส้นทางตลาดโลก[/color:fb8aacd2d8">

แม้ยุทธศาสตร์การรุกไปยังต่างประเทศของรัฐบาลมาเลเซียจะใช้ ปิโตรนาสเป็นโมเดลก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศนี้มีบริษัทน้ำมันแห่งชาติเพียงแห่งนี้เพียงองค์กรเดียว หรือมีเพียงแบรนด์เดียวที่มีศักยภาพพอที่จะสู้กับตลาดโลกได้ เพราะหากกวาดตามองไปยังประเทศมาเลเซียที่มีประชากรราว 22 ล้านคนแล้วจะพบว่าประเทศที่มีพรมแดนใกล้ชิดกับเรานี้มีสินค้าเข้าขั้นโพรดักส์ แชมเปี้ยน ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

ปัจจุบันมาเลเซียมีสินค้าที่เชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้เป็นแบรนด์ระดับโลกได้ เช่น รถยนต์โปรตอน รถยนต์แห่งชาติของมาเลย์ ปัจจุบันโรงงานโปรตอนผลิตรถได้ 2 แสนคันต่อปี มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 240,000 คันต่อปี ตลาดส่งออกที่สำคัญขณะนี้คือ อังกฤษ และออสเตรเลีย ส่วนตลาดเล็กๆ เช่น สิงคโปร์ และศรีลังกา

แม้ว่าโปรตอนจะประสบความสำเร็จอยู่บ้างแต่ก็ยังพึ่งพายอดขายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีการพัฒนาในเรื่องรูปแบบ และรุ่นใหม่ๆออกมาให้เลือกมากนัก แต่การที่โปรตอนสามารถอยู่รอด (ได้ไม่ดีนัก) จนถึงปัจจุบันก็เพราะการยังคงตั้งกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศยังสูงมาก แม้จะมีการปรับลดมาบ้างแล้วก็ตาม ทั้งที่หลายประเทศในอาเซียนพยายามเจรจากดดันอย่างหนัก แต่ก็ไร้ผล เพราะแน่นอนว่า หากให้รัฐบาลมาเลเซียยกเลิกกำแพงภาษีรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศเมื่อไรก็จะทำให้โปรตอน แบรนด์รถยนต์ที่รัฐบาลมาเลเซียภูมิใจเป็นหนักหนาต้องล้มคว่ำอย่างไม่เป็นท่าภายในเวลาไม่นาน

ด้วยสถานการณ์ของโปรตอน โฮลดิงส์ บริษัทผลิตรถยนต์แห่งชาติที่เพิ่งแถลงเมื่อ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่าผลขาดทุนสุทธิช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ปี 2548 อยู่ที่ 12.4 ล้านริงกิต หรือราว 136.04 ล้านบาท ถือเป็นการขาดทุนครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 1 ปีครึ่งของบริษัท เนื่องจากยอดขายรถยนต์ลดลง ขณะที่ราคาชิ้นส่วนประกอบรถยนต์แพง แถมยังต้องชำระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก

ประเด็นที่ส่งให้โปรตอนประสบกับภาวะซบเซาเช่นนี้ เนื่องจาก ประการแรก บริษัทต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นถึง 22.5 ล้านริงกิต ราว 246.85 ล้านบาท จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่ผันผวน จึงส่งผลให้บริษัทมีหนี้สินถึง 70 ล้านยูโร หรือราว 3.53 พันล้านบาท ประการที่สอง การแข่งขันที่ดุเดือดจากตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเมื่อปีที่ผ่านมาส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ในประเทศโปรตอนร่วงมาอยู่ที่ 44% จากเดิมในปี 2545 ที่มีมากถึง 60% เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียลดการเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากผู้ผลิตต่างชาติ เป็นผลมาจากการทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี

อีกสินค้าที่น่าสนใจเป็นยาสมุนไพรที่ชื่อ Eu Yan Sang ซึ่งเป็นตราสินค้าที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งปี 1879 เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดของผู้ใช้แรงงานในเหมืองแร่ดีบุก ปัจจุบันแบรนด์นี้อยู่ภายใต้การบริหารของลูกหลานในเจเนอเรชั่นที่ 4 และไม่ได้มีขายเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่บุกไปเปิดร้านขายปลีกสิงคโปร์ ฮ่องกง และอีกหลายประเทศแถบเอเชีย

ความน่ากลัวของแบรนด์สินค้าสมุนไพรสัญชาติมาเลย์แบรนด์นี้ อยู่ตรงการเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี ค.ศ. 2000 ทำให้มีเงินเหลือเฟือในการทำตลาด ซึ่งคนในตระกูล ?Eu? นี้ไม่ได้มองแค่ตลาดในประเทศ หรือตลาดในภูมิภาคนี้เท่านั้น แต่มองไปถึงการเป็น Global brand เลยทีเดียว เนื่องจากเป็นเทรนด์ของโลกที่คนตะวันตกเริ่มให้ความสนใจการรักษาแบบตะวันออก มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมยาแผนโบราณของจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใน 10 ปีข้างหน้า

สินค้าอีกตัวที่น่าสนใจก็คือ Boh tea แม้ว่ามาเลเซียจะเป็นประเทศที่ไม่ได้ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องของการปลูกชามากเท่ากับจีน อินเดีย หรือแม้แต่ศรีลังกา แต่ประเทศนี้ก็มีการปลูกชากันอย่างหนาแน่นตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งผู้ที่บุกเบิกธุรกิจชาไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือตระกูล รัสเซล (Russell) ผู้เป็นเจ้าของบริษัท Boh Plantations Sdn Bhd

แม้จะเป็นเพียงผู้ผลิตชารายเล็ก ด้วยผลผลิตประมาณ 4 พันตันต่อปี ซึ่งน้อยมากหากเทียบกับผู้ผลิตชารายอื่นของโลกอื่น แม้จะเทียบไม่ได้กับขนาด แต่บริษัทนี้กลับมีแบรนด์ชาที่ได้รับความนิยมในตลาดระดับบน ซึ่งเป็นตลาดที่มีเม็ดเงินไม่ใช่น้อย อยู่ 2 ชนิดคือ Boh และ Boh Cameronian ทั้งสองถือว่าเป็นสินค้าคุณภาพสูงของมาเลเซีย ปัจจุบันทั้งปริมาณส่งออกชาทั้งสองมีสัดส่วนเพียง 10 ของปริมาณการผลิตรวม และส่วนใหญ่ส่งไปขายในสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บรูไน เดนมาร์ก ฮ่องกง ออสเตรเลีย และไต้หวัน

ส่วนในเมืองไทยนั้นเชื่อว่า Boa ยังไม่ได้เข้ามาทำตลาดอย่างจริงจัง อาจมีจำหน่ายแล้วบ้างแต่เชื่อว่าคงเป็นสินค้านำเข้ามาขายผ่านชายแดน ซึ่งเป็นไปได้ว่าหากตลาดบ้านเรามีการยอมรับมากขึ้น ด้วยการใช้กลยุทธ์แบบป่าล้อมเมืองที่หลายสินค้ามีตลาดไม่ใหญ่นักนิยมใช้ เราอาจเห็น Boa tea เข้ามาจำหน่าย และเปิดตัวอย่างเป็นเรื่องเป็นราว หากเข้ามาทำตลาดในบ้านเราเมื่อไรคงจะทำให้สินค้าของไทยหลายตัวคงออกอาการหนาวร้อนไปตามๆกันเมื่อนั้น

 กลับขึ้นบน
YUT
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 8
#1 วันที่: 10/09/2005 @ 17:55:19 : re: มาเลเซีย บุก!
ถ้ายังงั้นก็ต้องให้ มุสลิมหัวรุนแรง ปกครองประเทศจะดีกว่า เพราะพวกนี้จะ ถ่วงความเจริญ ของมาเลเซียได้อีกนาน....แต่ เอ! มันก็เป็นกลุ่มเดียวที่เล่นงาน 3 จังหวัดภาคใต้ของเรา....จะเล่น เกมส์ ยังไงดี
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com