April 25, 2024   12:57:56 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > กองทุน "รัฐบาลสิงคโปร์" ลดพอร์ต "PTT"
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 10/09/2005 @ 17:26:30
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ตามรอย GIC กองทุนยักษ์รัฐบาลประเทศสิงคโปร์ พบทุ่มเม็ดเงินเฉียด 1 แสนล้านบาทเข้าลงทุนตลาดหุ้นไทย ล่าสุดย่องเงียบเก็บ 3 แบงก์ใหญ่ BBL-KBANK-SCB พบเริ่มลดน้ำหนัก PTT และหุ้นกลุ่มสื่อสาร


ตรวจพบกองทุนรัฐบาลสิงคโปร์ ที่เข้ามาลงหลักปักฐานในตลาดหุ้นไทยขณะนี้ ลงทุนอยู่ในหุ้น 19 บริษัทขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพของไทย มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 96,868 ล้านบาท

โดยมีทัพหน้า ได้แก่ กอฟเวอร์เมนท์ ออฟ สิงคโปร์ อินเวสเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น (GIC) และ ยังเข้ามาในนาม กองทุนไทยเวส พีทีอี ลิมิเต็ด ซึ่งกองทุนนี้จะมี คัสโตรเดียน เป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน เพราะฉะนั้นในโครงสร้างผู้ถือหุ้นจึงไม่พบ ชื่อกองทุน ปรากฏอยู่

แต่จะปรากฏข้อมูล เช่น Chase Manhattan (Singapore) Nominees, HSBC (Singapore) Nominees หรือ Citibank Nominees Singapore แทน ซึ่งธนาคารเหล่านี้ไม่ใช่ เจ้าของหุ้น ตัวจริง

นอกจากนี้ยังเข้ามาลงทุนโดยตรงใน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ผ่านบริษัท Singtel Strategic Investments เข้ามาลงทุนใน บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) ผ่าน Singapore Telecom International และเข้ามาลงทุนใน บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) ผ่าน Singapore Telecommunication

เมื่อสังเกตพฤติกรรมการลงทุนของ จีไอซี ปรากฏว่าจะเลือกหุ้น Mid-Cap Companies (หุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดกลาง) ระดับ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป แต่เม็ดเงินส่วนใหญ่จริงๆจะเน้นลงทุนในหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคป ขนาดใหญ่ 10 อันดับแรกของตลาด

อันดับ 1..ลงทุนในหุ้น ADVANC มีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 6.1 หมื่นล้านบาท ล่าสุดพบว่าได้เริ่มทยอยลดน้ำหนักหุ้น ADVANC ลงแล้วกว่า 5.65 ล้านหุ้น ส่วนหุ้น SHIN (อันดับ 9) พบว่า กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์ ลดน้ำหนักพอร์ตลงแล้วกว่า 12.26 ล้านหุ้น จากเดิม 1.52% เหลือเพียง 1.08%

อันดับ 2..เป็นหุ้น LH เข้ามาลงทุนในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับ ตระกูลอัศวโภคิน ในรอบปีที่ผ่านมา จีไอซี ได้เข้าเก็บหุ้น LH เพิ่มขึ้นประมาณ 51.48 ล้านหุ้น ทำให้ล่าสุดถือหุ้นอยู่จำนวน 1,159.98 ล้านหุ้น 14.18% มูลค่าประมาณ 9,220 ล้านบาท

ขณะเดียวกันก็เพิ่มน้ำหนักในหุ้น QH (อันดับ 10) จากเดิมที่ถืออยู่ 731.95 ล้านหุ้น 12.25% เพิ่มน้ำหนักขึ้นเป็น 855.50 ล้านหุ้น 13.68%

อันดับ 3..ลงทุนในหุ้น PTT จำนวน 21.65 ล้านหุ้น 0.77% มูลค่า 5,198 ล้านบาท มีประเด็นที่น่าสังเกต ก็คือ จีไอซี เริ่มที่จะลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้น ปตท. ลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งข้อมูลการถือหุ้นในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ระบุชัดว่าได้ขายหุ้น PTT ออกจากพอร์ตแล้ว 1.52 ล้านหุ้น..ยังพบด้วยว่า จีไอซี ได้ขายหุ้น PTTEP ออกจากพอร์ตไปแล้วก่อนหน้านี้

ส่วน อันดับ 4-5-6..เป็นหุ้นธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) มูลค่า 3,822 ล้านบาท ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มูลค่า 3,398 ล้านบาท และ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มูลค่า 2,770 ล้านบาท

ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ หุ้นทั้ง 3 ตัวนี้ จีไอซี เพิ่มน้ำหนัก การลงทุนขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงปี 2547 โดยหุ้น BBL ซื้อเพิ่มเข้าพอร์ตมากถึง 13.62 ล้านหุ้น จากเดิม 1.19% เป็น 1.91% หุ้น KBANK เพิ่มน้ำหนักเข้ามาอีก 18.28 ล้านหุ้น จาก 1.51% เป็น 2.27%

แต่หุ้นที่เพิ่มน้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ หุ้น SCB ซื้อเพิ่มถึง 38.08 ล้านหุ้น จากเดิม 1.12% เป็น 3.15%

ตรงกันข้ามกับ 2 หุ้น ธนาคารใหม่ ธนาคารทิสโก้ (TISCO) ที่มีการลดน้ำหนักลงกว่า 3.30 ล้านหุ้น จากเดิม 5.92% เหลือ 5.26% และ บง.ธนชาติ (NFS) ลดน้ำหนักลงมากถึง 10.90 ล้านหุ้น จากเดิม 3.6% เหลือ 2.79%

ทางด้านหุ้น SCC แม้ว่า จีไอซี จะให้น้ำหนักการลงทุนเป็น อันดับที่ 7 แต่ในรอบปีที่ผ่านมาก็ได้เพิ่มน้ำหนักหุ้น ปูนใหญ่ ขึ้นเฉียด 7 แสนหุ้น จากเดิม 10.40 ล้านหุ้น เพิ่มเป็น 11.09 ล้านหุ้น

จำนวนหุ้นที่เพิ่มคาดว่าเป็นการ รี-อินเวสเม้นท์ คือ ใช้ เงินปันผล ของหุ้น SCC ซื้อตัวมันเอง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ ต้นทุน การถือครองหุ้นลดต่ำลงไปเรื่อยๆ

สำหรับหุ้น ตัวใหม่ ที่ถูกนำมาเพิ่มน้ำหนักในพอร์ตปีนี้มี 2 ตัว คือ ไทยออยล์ (TOP) อันดับ 8 มีมูลค่าเงินลงทุน 2,533 ล้านบาท และ บ้านปู (BANPU) อันดับที่ 11 มูลค่าเงินลงทุน 839 ล้านบาท

ขณะเดียวกันก็ ถอดหุ้น 4 บริษัทออกจากพอร์ต ได้แก่ PTTEP, RCL, CCET และ STANLY ที่น่าจับตา หุ้นขนาดกลาง ที่กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์ แอบเพิ่มน้ำหนักอย่างเงียบๆ คือ หุ้น MAJOR จากเดิมที่ถืออยู่ 12.54 ล้านหุ้น 1.77% ในปีนี้เพิ่มน้ำหนักขึ้นมาเป็น 22.05 ล้านหุ้น หรือ 3.11%

ส่วนหุ้น CP7-11 จากเดิมเคยถือหุ้นตัวนี้อยู่ถึง 375 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท) หรือ 8.5% ล่าสุดพบว่าเหลือหุ้นในชื่อ จีไอซี จำนวนเพียง 112.54 ล้านหุ้น และถือผ่าน กองทุน ไทยเวส พีทีอี ลิมิเต็ด เหลืออีก 44 ล้านหุ้น (เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2548 เพิ่งขายออกไป 23 ล้านหุ้น)

กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์จะเหลือหุ้น CP7-11 รวมกันประมาณ 156 ล้านหุ้น ในปีนี้ได้ขายหุ้นล็อตใหญ่ออกไปแล้วประมาณ 218 ล้านหุ้น คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 1,200-1,300 ล้านบาท

การเดินเกมของสิงคโปร์นับวันยิ่งลงรากลึกตลาดหุ้นไทย ปัจจุบันนี้รัฐบาลสิงคโปร์อยู่เบื้องหลังการจัดตั้ง กองทุน หลายแห่งเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และได้ผลประโยชน์กลับออกไปในแต่ละปีคิดเป็นเม็ดเงินหลายพันล้านบาท

เฉพาะผลประโยชน์จาก เงินปันผล ในปี 2547 ที่ผ่านมาได้ไปทั้งสิ้น 4,299 ล้านบาท จากหุ้น 21 บริษัท..นี่คือผลประโยชน์ที่เป็นเนื้อเป็นหนังที่ถูกถ่ายกลับสิงคโปร์เท่าที่ตรวจพบ

ตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมถึง กำไร จากส่วนต่างราคาหุ้นอีกจำนวนมหาศาล เพราะหุ้นส่วนใหญ่ จีไอซี เข้ามาลงทุน (ซื้อหุ้นเพิ่มทุน) ตั้งแต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในราคาถูกๆ เช่นหุ้น LH มีต้นทุนต่ำมากเพียงหุ้นละ 1.40 บาท ขณะที่หุ้น ADVANC มีต้นทุนเพียงหุ้นละ 23 บาท

เพียงหุ้น LH กับหุ้น ADVANC แค่ 2 บริษัทขณะนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ ก็มีกำไรซ่อนอยู่เฉียด 5 หมื่นล้านบาทเข้าไปแล้ว [/color:48ea7cb330">

 กลับขึ้นบน
YUT
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 8
#1 วันที่: 10/09/2005 @ 18:16:00 : re: กองทุน "รัฐบาลสิงคโปร์" ลดพอร์ต "PTT"
ถึงเวลาหรือยังที่จะให้คนไทยได้ออกไป หาเงิน กลับประเทศบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ ส่งทรัพยากรธรรมชาติไปขาย เพียงอย่างเดียว

อย่าพูดว่า คนไทยยังไม่พร้อม เพราะถ้าไม่ทำอะไรเลย ชาติไหนๆก็ไม่พร้อม

เหมือนกับคนที่พูดว่า เราอยากให้คนไทยเป็นนักมวยแชมป์โลก แต่พอนักมวยจะขึ้นไปชกบนเวที ก็พูดว่า คนไทยยังไม่พร้อม เพราะฉะนั้น ควรจะชกลมไปก่อน ซึ่งก็ไม่รู้ว่า จะต้องชกลมไปถึงเมื่อไหร่[/color:01633b9074"> [/size:01633b9074">
 กลับขึ้นบน
เล็ก
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 7
#2 วันที่: 10/09/2005 @ 21:10:00 : re: กองทุน "รัฐบาลสิงคโปร์" ลดพอร์ต "PTT"
จะให้ไปเป็นแมงเม่าที่สิงคโปร์หรือ? .000A
 กลับขึ้นบน
YUT
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 8
#3 วันที่: 11/09/2005 @ 15:46:44 : re: กองทุน "รัฐบาลสิงคโปร์" ลดพอร์ต "PTT"
เริ่มต้นก็ดูถูก ชาติเดียวกัน อย่างอื่น ก็ไม่ต้องคุยแล้วมั๊ง
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com