April 19, 2024   9:02:42 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > บทเรียนราคาแพงของรายย่อย,MATI ขยี้หัวใจสลาย
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 19/09/2005 @ 23:37:40
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ดีล MATI-GMMM คือบทเรียนราคาแพงของรายย่อย ให้รู้ว่าการลงทุนมีความเสี่ยง เมื่อเกิดความเสียหายหลังเข้าซื้อหุ้นมติชนเพราะมีการเปิดเผยว่าจะตั้งโต๊ะซื้อหุ้นสู้ อากู๋ ให้ราคาเท่ากระดาน แต่จุดบอดคือยังไม่ได้ประกาศเป็นทางการ งานนี้แม้แต่ ก.ล.ต.ก็ช่วยอะไรไม่ได้ วงการรุมตำหนิ ตลท.ทำงานบกพร่อง ระบุเรื่องที่เกิดต้องขอคำชี้แจงจากทางมติชนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสีย
สืบเนื่องจากวันที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ อาวุโส บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือGMMM และนายฐากูร บุนปาน ตัวแทน จากบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) หรือ MATI ร่วมแถลงข่าวถึงข้อตกลงที่ว่า กลุ่มแกรมมี่จะถือหุ้นในมติชนไม่เกิน 20% โดยจะขายหุ้นจำนวนประมาณ 12.23% หรือประมาณ 25 ล้านหุ้น ให้กับนายขรรค์ชัย บุนปาน ในราคาหุ้นละ 11.10 บาท ซึ่งเป็นราคาที่แกรมมี่ได้มา ทำให้นายขรรค์ชัย มีหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 24% เป็น 36% และจะเป็นผู้ทำหน้าที่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์มติชนในราคาหุ้นละ 11.10 บาท จากเดิมที่ GMMM จะตั้งโต๊ะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เอง
ต่อประเด็นดังกล่าวทำให้นักลงทุนรายย่อยเกิดความเสียหายจำนวนมาเพราะในวันที่ 15 ก.ย.2548 ได้เข้าไปซื้อหุ้น MATI เนื่องจากในวันนั้นมี การเปิดเผยข้อมูลจาก ทางมติชนว่าจะตั้งโต๊ะทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์แข่งกับ GMMM ซึ่งจะรับซื้อในราคาตลาด โดยใช้ ราคาเฉลี่ย ณ สิ้นวันเป็นตัวกำหนดราคาและขอให้นักลงทุนอย่าไปขายหุ้นให้กับ GMMM ซึ่งแต่ปรากฎว่ายังไม่ได้นำหุ้นออกมาขาย ในวันศุกร์ที่ 16 ก.ย.48 บริษัทก็ได้ขอขึ้น SP ซะก่อน และได้ข้อตกลงใหม่ ซึ่งจะทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ที่ราคาเพียง 11.10 บาท ขณะที่ต้นทุนของนักลงทุนสูงกว่านั้นมาก
แหล่งข่าวจากวงการหลักทรัพย์รายหนึ่งให้ความเห็นว่า การที่ผู้บริหาร
MATIออกมาระบุว่าจะรับซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อยในราคาเฉลี่ยแต่ละวันนั้นถือว่าเป็นการพูดอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งคงไม่มีความผิดในแง่ของกฎหมายดังนั้นจึงถือเป็นอุทธาหรณ์สำหรับนักลงทุนว่าเมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นทางการก็ควรจะฟังหูไว้หูและต้องตรวจสอบข้อมูลก่อน
ทั้งนี้ ต้องถือว่าการทำงานของตลาดหลักทรัพย์มีความบกพร่องเพราะเมื่อมีข่าวดังกล่าวออกมาเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ที่ควรจะเรียกให้
บริษัทชี้แจงและควรขึ้นเครื่องหมายห้ามการซื้อขายชั่วคราวเนื่องจากสิ่งที่ผู้บริหารให้สัมภาษณ์ส่งผลต่อราคาหุ้นแต่ก็ไม่มีการดำเนินการใดๆ จึงถือว่าตลาดหลักทรัพย์บกพร่องในหน้าที่ ในขณะที่วันรุ่งขึ้น (วันศุกร์ที่ 16 ก.ย.)กลับมีข่าวนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ออกมาเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างผู้บริหาร GMMM และ MATI ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะตลาดหลักทรัพย์ควรมีความเป็นกลาง

หากนักลงทุนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งก็คงทำได้ แต่อาจจะไม่คุ้มเพราะถ้ามีแค่ไม่กี่หุ้นแต่ต้องเสียค่าทนายและเสียเวลาไปขึ้นศาลอีกซึ่งนักลงทุนอาจจะตัดสินใจปล่อยให้เรื่องผ่านเลยไป ฉะนั้นเรื่องนี้ต้องถือเป็นอุทธาหรณ์ครั้งสำคัญของรายย่อย แหล่งข่าวกล่าว
ด้านนายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงาน ก.ล.ต.
กล่าวถึงกรณีการเปลี่ยนมือของหุ้น MATI ว่านายขรรค์ชัย บุนปาน ที่ถือหุ้น
มติชน 24% สามารถประกาศทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์)
ได้ก่อนที่นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม จะขายหุ้นให้ โดยตามเกณฑ์นายขรรค์ชัย
ไม่จำเป็นต้องทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ทั้ง 100% จะทำเพียง 50% ก็ได้และสามารถทำเทนเดอร์ที่ราคาใดก็ได้ แต่ต้องเป็นการประกาศทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ โดยสมัครใจ ซึ่งหากนายขรรค์ชัยยังไม่ได้ซื้อหุ้นจากนายไพบูลย์
ก็สามารถทำเทนเดอร์ ที่ราคาที่ต่ำกว่า 11.10 บาทได้ ทั้งนี้การเปลี่ยนกลุ่มเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ ราคาเทนเดอร์ก็อาจเปลี่ยนตามได้เช่นกัน
ส่วนประเด็นการใช้ข้อมูลภายใน (อินไซด์เดอร์ เทรดดิ้ง) หุ้น MATI
POST และ GMMM สำนักงาน ก.ล.ต.จะเข้าไปตรวจสอบว่ามีบุคคลใดหรือผู้ที่เกี่ยวข้องรายใดเข้าไปหาผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงบ้าง
กรณีที่ผู้บริหารของมติชน ออกมาประกาศรับซื้อหุ้น MATI ในราคาเฉลี่ยแต่ละวันซึ่งอาจมีนักลงทุนบางกลุ่มที่เข้าไปซื้อหุ้น MATIเพื่อหวังนำหุ้นไปขายให้ผู้บริหาร แต่ภายหลังปรากฎว่า GMMM ยกเลิกการทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ ทำให้ผู้บริหาร MATI ไม่จำเป็นต้องรับซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อย ทำให้อาจมีนักลงทุนบางกลุ่มได้รับความเสียหายนั้น นายชาลีกล่าวว่าเรื่องราคาที่รับทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ และเรื่องการเทคโอเวอร์เป็นเรื่องที่นักลงทุนทราบอยู่แล้วว่าจะมีการทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์หุ้น MATI ที่ราคา 11.10 บาท แต่ก็ยังมีการเข้าไปเก็งกำไร ซึ่งเรื่องนี้ผู้ลงทุนต้องใช้วิจารณญาณเองและกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ไม่ขึ้นเครื่องหมายห้ามการซื้อขายในช่วงดังกล่าว จนทำให้ราคาหุ้นปรับขึ้นไปแรงนั้น ถือเป็นกลไกการทำงานปกติที่ให้นักลงทุนซื้อขายอย่างเสรี โดยใช้พื้นฐานข้อมูลที่ได้รับประกอบการตัดสินใจลงทุน
นางณัฐญา นิยมานุสรณ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวกับ eFinancethai.com ว่า ขณะนี้สำนักงาน ก.ล.ต.ยังไม่ได้รับข้อมูลการตรวจสอบประเด็นการใช้ข้อมูลภายใน(อินไซด์เดอร์ เทรดดิ้ง) หุ้นบริษัมมติชน จำกัด (มหาชน) (MATI) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แต่อย่างใด
ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงาน ก.ล.ต.ยังคงตรวจสอบการซื้อขายหุ้น MATI
ในประเด็นดังกล่าวอยู่ หลังจากพบว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนที่จะมีข่าวเทกโอเวอร์
แม้ว่า ตลท.จะเป็นด่านหน้าในการตรวจสอบ แต่สำนักงาน ก.ล.ต.ก็มีฝ่ายที่คอยดูแลอยู่ด้วยซึ่งล่าสุดเท่าที่สอบถามก็ยังไม่ยุติการตรวจสอบเรื่องนี้
แต่จะใช้เวลาเท่าไหร่คงไม่สามารถตอบได้ ซึ่งในส่วนของก.ล.ต.อาจจะสามารถหาข้อมูลได้มากกว่าอย่างเช่นการตรวจสอบเส้นทางเงินนางณัฐญากล่าว
ด้านนายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ไม่พบการใช้อินไซด์เดอร์หุ้น MATI
GMMM และ POST และไม่มีการส่งเรื่องต่อไปให้อนุกรรมการกฎหมายของตลาดหลักทรัพย์ตรวจสอบในเรื่องนี้
ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ได้มีการเข้าไปดูการซื้อขายของทั้ง 3
หลักทรัพย์ ในช่วงที่มีข่าวว่า GMMM จะเข้าเทคโอเวอร์ MATI และ POST
มีนักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรหุ้นทั้งสามตัวสูงมาก และพบว่าส่วนใหญ่นักลงทุนจะเข้ามาซื้อขายแบบหักกลบลบราคาค่าซื้อขายหุ้นตัวเดียวกันในวันเดียวกัน(Net Settlement) และส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายแบบกระจายและอาจมีการกระจุกตัวในบางรายบ้าง
ในขั้นตอนการตรวจสอบของ ตลท. พบว่าไม่มีการใช้อินไซด์เดอร์ในหุ้น 3 ตัวหลังจากนี้ สำนักงานก.ล.ต. มีสิทธิที่จะตรวจสอบต่อ และตอนนี้เขาอาจจะตรวจสอบอยู่แล้วก็ได้นายสุทธิชัย กล่าว


efinancethai.com[/color:30d408f9bc">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com