April 25, 2024   11:43:58 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ถอดเขี้ยว..ลบคม "GBX"
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 07/10/2005 @ 17:01:56
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ถอนรหัสเส้นทางถอย โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ (GBX) รื้อใหญ่นโยบายการลงทุนของบริษัท ที่เคยเป็น เขี้ยวเล็บ ในฐานะสุดยอดนักปั้นหุ้น ไอพีโอ..วันนี้ คูหาเปรมกิจ ยอมถอยแล้ว 1 ก้าว


ภายใต้เกมธุรกิจที่ เร่าร้อน ของ บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ (GBX) และตระกูล คูหาเปรมกิจ ยิ่งทำให้เส้นทางการเติบใหญ่ของบริษัทไปถึง ทางตัน อย่างรวดเร็ว

เพราะภายใต้แผนขับเคลื่อนอาณาจักร โกลเบล็ก โฮลดิ้ง เป็นการแผ้วถางโอกาสทางธุรกิจที่ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา

แม้จะเป็น ความชอบธรรม ทางธุรกิจ และเป็นความ เชี่ยวกราก ส่วนตัวของผู้นำกลุ่ม โอฬาร คูหาเปรมกิจ ที่บริหารความเสี่ยง ทองคำ มาอย่างโชกโชน แต่ในตลาดหลักทรัพย์ย่อมมีกฎกติกามารยาทที่มากกว่าแค่เกมค้าทองคำ

โกลเบล็ก มีประวัติโด่งดังมาจากหุ้น โซลาร์ตรอน (SOLAR) เพราะมีส่วนทำให้ราคาหุ้นตัวนี้วิ่งกระฉูดหลังเข้าเทรด จากราคา IPO ที่หุ้นละ 8 บาท วิ่งขึ้นไปสูงสุดที่ 17.20 บาทอย่างรวดเร็ว

สหมิตรเครื่องกล (SMIT) เป็นหุ้นอีกตัวที่ โกลเบล็ก ปลุกปั้นจากราคาจอง 2.75 บาท วิ่งไปที่ 5.25 บาท ปรับตัวขึ้นถึง 90% ภายในวันแรก และก็ต่อเนื่องมาที่หุ้น เพิ่มสินสตีลเวิร์ค (PERM) ที่ โกลเบล็ก เข้าไปลงทุน 15 ล้านหุ้น จากราคาจองที่ 3.50 บาท เคยวิ่งไปถึง 5.80 บาท ในเวลาเพียงสั้นๆ

ความเด่นดังของ โกลเบล็ก ยังรวมไปถึง ขุมทุน..ขุมใหญ่ ที่สุด คือ โอฬาร คูหาเปรมกิจ ก็ถูกกล่าวขวัญในฐานะ เซียนหุ้น รายใหญ่ควบคู่กันมาโดยตลอด

ในที่สุด โกลเบล็ก โฮลดิ้ง จึงประกาศนโยบาย ขีดเส้นจำกัด ด้านการลงทุนเพื่อ ตีกรอบ ตัวเองอย่างชัดเจน

โอฬาร ตอบโจทย์ข้อกล่าวหาการเข้าไปลงทุนในหุ้น โซลาร์ตรอน ว่าเป็นการพลาดโดยบริสุทธิ์ใจจริงๆ...

ตอนนั้นเราได้มีการปรึกษากับ รศ.ดร.สันติ ถิรพัฒน์ (อาจารย์ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) วิเคราะห์ออกมาว่า โซลาร์ตรอน ลงทุนได้ หากราคาต่ำกว่า 12 บาท แต่ถ้ามากกว่า 12 บาทให้ขาย ซึ่งพอเข้าไปราคามันขึ้นเร็วมากจึงต้องรีบขาย และเราก็รายงานทุกอย่างถูกต้องหมด

ส่วนหุ้น SMIT โกลเบล็ก ไม่ได้เข้าไปซื้อ และหุ้น PERM ที่เข้าไปนั้นเราก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์

แม้หุ้นบางตัว โกลเบล็ก จะยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง แต่กลับมีชื่อ ญาติสนิท หลายคนในตระกูลคูหาเปรมกิจเข้าไปเกี่ยวข้อง..นี่คือ พลังแฝงในการผลักดันราคาหุ้น และสงสัยต่อไปอีกว่าบุคคลเหล่านั้นน่าจะเป็น นอมินี ของ เสี่ยโอฬาร หรือไม่

เช่น อัศวิน ลีลายนะ, อุษณีย์ พลอยพรหมมาศ, สุคนธ์ กาญจนหัตถกิจ, วุฒิสาร กาญจนหัตถกิจ, จารุณี คูหาเปรมกิจ, ซุยลิ้ม แซ่จิว, จรัล อินทะกัลยา, ศิริพร เจริญงาม, พิชัย นิจโรจน์เสถียร และ สุนทร วงศ์อุไร เป็นต้น

โอฬาร ปฏิเสธว่า บุคคลเหล่านี้ไม่ใช่ นอมินี ของตัวเอง แต่ยอมรับว่ามีบางคนในกลุ่มนี้เป็น ญาติสนิท แต่การลงทุนจะแยกกันคนละกระเป๋าอย่างชัดเจน

ก็มีบ้างที่พรรคพวกเข้ามาซื้อหุ้น ผมเป็นคนที่มีเพื่อนเยอะ เป็นคนสนุก ก็มีพรรคพวกบางส่วนที่เป็นลูกค้า (รายใหญ่) ของโกลเบล็กเข้ามาช่วยสร้างวอลุ่มให้กับบริษัท

อย่าง อัศวิน ลีลายนะ ก็เป็น หลานชาย (แท้ๆ) ซึ่งเขาอยู่ในแวดวงการค้าทองคำเหมือนกัน เขาเปิดร้านอยู่ต่างจังหวัด และทำธุรกิจหลายอย่าง เขาเป็นพี่ชาย รัชฎา ลีลายนะ ซึ่งเป็นหัวหน้า มาร์เก็ตติ้ง อยู่ที่ บล.โกลเบล็ก

ส่วน อุษณีย์ พลอยพรหมมาศ คนนี้ โอฬาร บอกว่า เป็น น้องสาวผมเอง เขาทำธุรกิจกล้วยไม้ส่งออกต่างประเทศ

การเล่นหุ้นเขาก็จะส่งคำสั่งผ่าน บล.โกลเบล็ก เขาก็อยากที่จะช่วยสร้างวอลุ่มให้ก็เป็นเรื่องธรรมดา

ส่วน สุคนธ์ กาญจนหัตถกิจ ญาติของ กาญจนา คูหาเปรมกิจ ซึ่งเป็นภรรยาของ กีรติพงษ์ คูหาเปรมกิจ น้องชายโอฬาร

คุณสุคนธ์ เขาทำงาน (เป็นผู้บริหารระดับสูง) ที่ไพร้ซ วอเตอร์เฮ้าส์ คูเปอร์ส ส่วนกัญญา สมใจเป็นภรรยาของผมเอง

โอฬาร อธิบายว่า การลงทุนของบริษัทมีระบบรักษาความลับ รู้เพียงผู้ดูแลการลงทุน ซึ่งมีแค่ 3 คน คือ ณัฐวุฒิ เขมะโยธิน ผู้จัดการทั่วไปโกลเบล็ก โฮลดิ้ง ภูมิพงษ์ คูหาเปรมกิจ และ เกรียงไกร ศิระวณิชการ คนที่ชนะเลิศรายการแฟนพันธุ์แท้หุ้นเท่านั้น โดยมี รศ.ดร.สันติ ถิรพัฒน์ เป็นที่ปรึกษาการลงทุน

ที่ข่าวรั่วออกมาได้ เพราะ มาร์เก็ตติ้ง เห็นรายการซื้อเยอะๆ ก็เอาไปบอกพรรคพวกเดี๋ยวก็รั่วไปโบรกฯอื่น ทำให้เข้ามาซื้อตามกัน ผมจะไปห้ามเขา (มาร์เก็ตติ้ง) ไม่ให้ไปบอกคนอื่นได้อย่างไร

...มันมีพวกที่ชอบพูดว่า เสี่ยโอฬารเอา (ซื้อหุ้น) แล้ว...มันเอาชื่อผมไปอ้าง โดยที่ไม่เคยรู้เรื่องเลย..กูนั่งกินข้าวของกูเฉยๆ ผมเนี่ยวันๆ หนึ่งตื่นเช้ามาออกกำลังกาย ไปบริษัท (โกลเบล็ก) 2-3 ชั่วโมง ดูงานหน่อย มาดูโรงงาน(ทองคำ)หน่อย ผมก็เผ่น ไปหาเหล้ากินแล้ว

เขายอมรับว่า ไม่สามารถห้ามไม่ให้พรรคพวกมาเล่นหุ้นตาม โกลเบล็ก ได้ หรือแม้กระทั่งการจัดสรรหุ้นจอง (ไอพีโอ) ที่เห็นชื่อคนใกล้ชิดได้มาก เนื่องจากเขามีสัดส่วนการซื้อขายจำนวนมาก

หุ้นจองจะให้ตามวอลุ่มใครเทรดเยอะ ก็ได้เยอะ ไม่งั้นเราก็ตอบพรรคพวกไม่ได้ คือมีพรรคพวกโทรมาบอกเฮ้ยขอกูเยอะหน่อย ผมก็บอกกูไม่รู้เรื่องดูกัน (ตามวอลุ่ม) เองแล้วกัน

โอฬาร ยังบอกด้วยว่า ที่มีการปรับกฎเกณฑ์การลงทุนใหม่ เนื่องจากบริษัทต้องการแสดงความโปร่งใสให้มากขึ้น ซึ่งไม่เท่านั้นยังได้เตรียมการปรับโครงสร้างผู้บริหารครั้งใหญ่ จะโยก ช่วงชัย นะวงศ์ ที่เคยมีบทบาทดูแล 3 บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ โกลเบล็ก แอ็ดไวเซอรี่ และ บล.โกลเบล็ก ให้ดูแล บล.โกลเบล็ก อย่างเดียว

ที่ผ่านมาพบว่าโอฬาร พยายามผลักดัน ณัฐวุฒิ เขมะโยธิน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นใน โกลเบล็ก โฮลดิ้ง พร้อมกับเตรียมหาผู้บริหารใหม่เข้ามาดูแล โกลเบล็ก แอ็ดไวเซอรี่ ด้วย

ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง, การปรับเปลี่ยนนโยบายลงทุน และการจับตาจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำให้เกิดปมสงสัยว่า จะทำให้ ผลงานของโกลเบล็ก คลายความร้อนแรงลงไปหรือไม่ ความกังวลนี้สะท้อนได้ชัดในช่วงของเดือนกันยายน ที่ โกลเบล็ก ประกาศ เกณฑ์การลงทุนใหม่ ราคาหุ้น GBX ปรับตัวลดลงมาตลอดทั้งเดือน

ณัฐวุฒิ เขมะโยธิน ผู้จัดการทั่วไป โกลเบล็ก โฮลดิ้ง ย้ำถึงความชัดเจนในการลงทุนว่า นอกจากจะไม่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ บล.โกลเบล็ก ร่วมจัดจำหน่ายแล้ว ยังมีการกำหนดกรอบการลงทุนอย่างชัดเจนว่า จะลงทุนเฉพาะหุ้นใน SET50 และอีก 10 บริษัท คือ UMS, GLOW, BCP, SOLAR, RCL, CPF, SEAFCO, AMATA, PLE และ CK โดยหากจะลงทุนนอกเหนือจากนี้จะต้องมีการแจ้งขออนุมัติจากคณะกรรมการ ซึ่งในส่วนของ PREM ก็อยู่ในข่ายการขออนุมัติเพิ่มเติม

ส่วนจังหวะในการซื้อขายนั้น ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ซึ่งในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้งก็จะคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ประกอบด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะกำไรอย่างเดียว

ณัฐวุฒิ บอกว่า ขณะนี้บริษัท โกลเบล็ก แอ็ดไวเซอรี่ เป็นที่ปรึกษาอยู่ 2 บริษัท คือ อีซึ่น เพ้นท์ และ ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น อีกบริษัทหนึ่งซึ่งยังไม่แน่ว่าจะเข้าได้ปีนี้หรือไม่

อย่างไรก็ตามยอมรับว่า มีบริษัทบางรายที่ถอนตัวออกไปบ้าง แต่นั่นเกิดจากการที่ไม่ต้องการปรับบัญชีตามเกณฑ์มากกว่า ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนของบริษัท

ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของบริษัท 90% เป็นกลุ่มนักลงทุนรายย่อยดังนั้น ทิศทางของ โกลเบล็ก แอ็ดไวเซอรี่ ก็จะหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นบริษัทขนาดไม่ใหญ่ ซึ่งการนำบริษัทเข้าตลาดมีส่วนช่วงเพิ่มวอลุ่มให้ บล.โกลเบล็ก อีกด้วย

นอกจากการลงทุนแล้ว โกลเบล็ก โฮลดิ้ง ยังได้มองไปถึงการเพิ่มธุรกิจ เช่น การจัดตั้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) และการขยายงานไปสู่ธุรกิจอนุพันธ์ โดยช่วงแรกจะให้ บล.โกลเบล็ก เป็นผู้ดำเนินงาน

สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานของ บล.โกลเบล็ก ยังคงเป้าเดิม รักษามาร์เก็ตแชร์ให้อยู่ระดับ 3% โดยรายได้ในครึ่งปีหลังก็จะเติบโตในระดับเดียวกับครึ่งปีแรก ซึ่งครึ่งปีแรกมีรายได้ 573 ล้านบาท กำไรสุทธิ 189 ล้านบาท

ปัจจุบัน บล.โกลเบล็ก มีพอร์ตลูกค้า 8,000 ราย แต่มีบัญชีเคลื่อนไหวเพียง 2,000 รายเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนรายใหญ่

ด้าน โอฬาร บอกว่า ธุรกิจหลักทรัพย์จากนี้ไปจะมีกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากนับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2548 บริษัทจะไม่ต้องเสียค่าสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ หลังจากต้องจ่ายส่วนแบ่งให้กับตลาดหลักทรัพย์ 10% เป็นค่าธรรมเนียม เป็นเวลา 3 ปี

ปีหนึ่งเสียเป็น 100 ล้าน พึ่งจะครบกำหนดไป ต่อจากนี้เราก็จะมีรายได้เพิ่มอีก 10%

ณัฐวุฒิ เสริมว่า ปีนี้เชื่อว่าบริษัทจะขยายตัวมากกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากจะมีรายได้จากการลงทุนเข้ามาเสริม ซึ่งหากคำนวณจากกำไรในอนาคตที่จะเกิดขึ้นนั้น เชื่อว่าราคาหุ้นของ บริษทที่เคลื่อนไหวอยู่ในระดับนี้ถือว่าไม่สูงมาก

คนก็มองว่าราคาหุ้นสูงไป นั่นเป็นการคำนวณแบบใช้กำไรในอดีตมาคิด ไม่ได้คิดต่อไปข้างหน้า พี/อี ณ ราคานี้ไม่สูงหรอก

ส่วนประเด็นข้อสงสัยที่ว่า จริงหรือไม่ที่กลุ่มคูหาเปรมกิจ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ 80% พยายามพยุงราคาหุ้นให้อยู่ในระดับสูง เพื่อเตรียมออก วอร์แรนท์ฟรี (GBX-W1) ให้กับตัวเอง

โอฬาร ตอบว่า กลุ่มคูหาเปรมกิจมีความตั้งใจจะถือหุ้นระยะยาว ส่วนตัวผมก็ไม่มีความจำเป็นด้านการเงินที่จะต้องขายหุ้น

หุ้นผมหลุดไซเรนท์พีเรียดมา 2 ครั้ง ผมก็ยังถืออยู่...เราก็ตั้งใจที่จะถือไว้ให้กับลูกหลาน นี่คือความตั้งใจอยากเห็นบริษัทเป็นไปในทิศทางที่ดี เขากล่าวทิ้งท้าย

ณัฐวุฒิ เขมโยธิน รับตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไป บมจ. โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ วันที่ 4 สิงหาคม 2548 เป็นหนึ่งในทีมงานที่ โอฬาร คูหาเปรมกิจ ไว้ใจให้ดูแลเรื่องพอร์ตการลงทุนของบริษัท เคยผ่านงาน วิเคราะห์หลักทรัพย์ , มาร์เก็ตติ้ง , วาณิชธนกิจ มากมาย โดย ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเข้ารับงานที่โกลเบล็ก คือ ผู้อำนวยการสำนักกรรมการ ดูแลสายงานวาณิชธนกิจ บล.ซีมิโก้ [/color:cdf0fb1169">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com