April 19, 2024   8:33:16 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ชิงทิ้ง หุ้นที่มีหนี้สูงช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 11/10/2005 @ 21:14:44
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

นักลงทุนรุมทิ้งหุ้นที่มีหนี้ท่วมแถมธุรกิจไม่รุ่งโดดเด่นหวั่นกำไรโตไม่ทันดอกเบี้ยจ่าย ขณะที่โบรกเกอร์ยังมองในแง่ดีโกลเบล็กเชื่อปัญหาหนี้พอกพูนไม่ใช่ปัญหาเท่าในอดีตเหตุความสามารถในการสร้างรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่เกียรตินาคินมั่นใจบจ.ที่มีหนี้สินมากมีวิธีรับมือภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นไว้แน่ส่วนแอ๊ดคินซันระบุหนี้สินไม่ใช่เรื่องใหญ่หากความสามารถในการทำกำไรมีมากพอจะครอบคลุมดอกเบี้ยจ่าย[/color:c20a2a3833">

การปรับตัวในช่วงขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยทั้งในและต่างประเทศในช่วงนี้ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มหันมาจับตาบริษัทที่มีหนี้สินอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากเกรงว่าการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลโดยตรงต่อจำนวนดอกเบี้ยจ่ายที่ทำให้บริษัทเหล่านั้นต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงกำไรสุทธิที่อาจจะปรับตัวลดลงได้
ทั้งนี้ จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวพบว่า ณ ไตรมาสสองของปี 48มีหลายบริษัททีมีหนี้สินอยู่ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงทั้งในกลุ่มสื่อสารอสังหาริมทรัพย์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยในกลุ่มธุรกิจสื่อสาร บริษัทที่มีหนี้สินอยู่ค่อนข้างสูงคือ
บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ที่ณ ไตรมาส 2/48มีหนี้สินอยู่ทั้งสิ้น 97,031.91 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 100,874.68 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 3,842.77 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนของหนี้สิน/ทุน (D/E) ที่ 25.25เท่า
บมจ. ทีทีแอนด์ที (TT&T) มีหนี้สินรวม 24,826.02 ล้านบาท
มีสินทรัพย์รวม 39,771.89 มีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม14,945.87 คิดเป็นสัดส่วนหนี้สิน/ทุนที่ 1.66 เท่า
บมจ.แสนสิริ (SIRI) มีหนี้สินรวม 12,065.05 ล้านบาทมีสินทรัพย์รวม 19,507.47 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้น 7,442.42 ล้านบาท มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน 1.62 เท่า
บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) มีหนี้สินรวม 3,240.49
ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 3,417.88 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 177.39 ล้านบาท มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน 18.26 เท่า
บมจ.บางกอกแลนด์ (BLAND) มีหนี้สินรวม 35,902.41 ล้านบาทมีสินทรัพย์รวม 46,197.25 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม10,294.84 ล้านบาท มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน 3.48 เท่า
บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ (KCE) มีหนี้สินรวม 6,582.92
ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 8,760.64 ล้านบาทมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 2,177.72 ล้านบาทมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่ 3.02 เท่า
บมจ.แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (CCET) มีหนี้สินรวม 16,171.69 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 25,979.12 ล้านบาทมีส่วนของผู้ถือหุ้น 9,807.43 ล้านบาทมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่ 1.64 เท่า

- นลท.ทิ้งหุ้นกลัวหนี้ท่วมกระทบดอกเบี้ยจ่ายช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
การมีหนี้สินเป็นจำนวนมากของบริษัทดังกล่าวทำให้ในช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุนบางส่วนลดพอร์ตการลงทุนลงมีผลทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกันยกเว้นหุ้นในกลุ่มที่มีแนวโน้มธุรกิจค่อนข้างดีจึงทำให้นักลงทุนยังเข้ามาลงทุนเพื่อรับการเติบโตของธุรกิจโดยในวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมาหุ้นที่มีหนี้สินในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นไม่ค่อยดีนัก
โดย TRUE ปิดที่ระดับ 7.80 บาทลดลง 0.10 บาท โดยในระหว่างวันทำราคา LOW ไว้ที่ระดับ 7.75 บาท
TT&T ปิดที่ระดับ 3.32 บาท ราคาปรับมาอยู่ที่ระดับเท่ากับราคาปิดครั้งก่อนหลังจากลดลงไปทำLOW ที่ 3.26 บาท
SIRI ปิดที่ระดับ 2.94 บาท ลดลง 0.02 บาทโดยระหว่างวันได้ลงไปทำ LOW ที่ระดับ 2.92 บาท
NWR ปิดที่ระดับ 1.23 บาท ลดลง 0.01 บาทโดยระหว่างวันลงไปทำ LOW ไว้ที่ระดับ 1.19 บาท
BLAND ปิดที่ระดับ 0.57 บาทราคาปรับขึ้นมาปิดเท่ากับราคาปิดครั้งก่อน หลังจากลงไปทำLOW ที่ระดับ 0.52 บาท
KCE ราคาปิดที่ระดับ 5.45 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาทโดยระหว่างวันราคาลดลงไปต่ำสุดที่ 5.35 บาท
CCET ราคาปิดที่ระดับ 3.92 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาทโดยระหว่างวันราคาลงไปต่ำสุดที่ 3.82 บาท
นักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าวว่าการลดพอร์ตการลงทุนในหุ้นที่มีหนี้สินเป็นจำนวนมากในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้นของนักลงทุนก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตไม่สูงนักเพราะมีความเสี่ยงที่การเพิ่มขึ้นของรายได้อาจจะไม่ครอบคลุมจำนวนดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อกำไรในที่สุด อย่างไรก็ตามในกลุ่มธุรกิจที่ยังมีทิศทางการเติบโตที่ดีและยังเป็นขาขึ้นของธุรกิจนักลงทุนก็อาจจะไม่กังวลในเรื่องของปัจจัยหนี้สินนักจึงส่งผลให้ราคาหุ้นยังปรับเพิ่มขึ้นได้ อาทิกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

- โกลเบล็กเชื่อดอกเบี้ยพุ่งไม่กระเทือน บจ.มากเหตุ D/E ไม่สูงเท่าในอดีต
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์บล.โกลเบล็กกล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีหนี้สินบ้างพอสมควรเนื่องจากทางบริษัทต้องมีภาระการจ่ายหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากเดิมแต่ในเบื้องต้นประเมินว่าบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวจะได้รับผลกระทบไม่มากนักหลังจากพบว่าอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปีอยู่ที่ระดับเพียง 1.2 - 1.3 เท่าขณะที่กำไรก่อนหักภาษีและต้นทุนทางการเงิน (EBIT) ปรับตัวสูงมากขึ้นถึงประมาณ 4 - 5เท่าจึงไม่น่าส่งกระทบต่อกำไรสุทธิโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนอย่างมีนัยสำคัญมากนัก
ช่วงนี้ยังเป็นช่วงต้นของ Cycle Economic โดยต่อให้มีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 3 - 4 ครั้งจากนี้ก็ยังไม่น่าได้รับผลกระทบมากนักซึ่งถือว่าผลกระทบของบริษัทจดทะเบียนไม่มีหรือมีก็น้อยมากเนื่องจากค่า EBIT สูงขึ้นมาก และ D/E ก็ลดลงมากเช่นกัน นายวรุตม์กล่าว
อย่างไรก็ตามแนะนำนักลงทุนพิจารณาเลือกลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานหุ้นเป็นหลักเนื่องจากแม้บางบริษัทมีหนี้สินอยู่พอสมควร แต่ก็มีอัตราเติบโตขยายตัวดี จ่ายปันผลในระดับสูงและมีกระแสเงินสดค่อนข้างมากก็ถือว่ายังน่าลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารรับเหมาก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง อิเล็กทรอนิกส์
และยานยนต์ ซึ่งหุ้นที่โดดเด่นน่าสนใจเข้าลงทุน ด้แก่ BBL, KBANK,
SCB,SCIB, CK, ITD, SCC, SCCC, MS, CCET, HANA, DELTA, KCE, YNP ,AHและ STANLY

- เชื่อ บจ.ที่มีหนี้สูงมีแผนรองรับความเสี่ยงจากปัจจัยดอกเบี้ยเพิ่มไว้แล้ว
นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นอาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนที่มีหนี้สินมากนักโดยแม้ว่าจะทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากภาระดอกเบี้ยจ่ายแต่ประเมินว่าบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่มีหนี้สินจะมีกลยุทธ์ในการรับมือภาวะอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมากขึ้นทั้งในส่วนของการปรับโครงสร้างหนี้รวมถึงปรับลดต้นทุนดอกเบี้ยและการบริหารโดยรวม
ขณะนี้พบว่า D/E ของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ลดลงเหลือเพียงไม่มากหากเทียบกับช่วงที่ผ่านมาที่D/E อยู่ในระดับสูงโดยแม้บริษัทบางแห่งมีหนี้อยู่บ้างแต่ก็น่ามีกลยุทธ์ในการรับมือรองรับจึงไม่น่ากระทบมากนักเช่นที่ผ่านมาหากบริษัทใดต้องการใช้เงินเยอะก็อาจออกบอนด์และ Pricing ตามอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น นางวิริยา กล่าว
อย่างไรก็ดี ต้องพิจารณาการลงทุนหุ้นเป็นรายบริษัทเนื่องจากบริษัทบางแห่งอาจมีหนี้สินบ้างแต่พื้นฐานยังขยายตัวดี อาทิ TRUE ที่ราคาหุ้นที่เหมาะสมต่ำกว่าราคาบนกระดาน โดยประเมินราคาเหมาะสม 9.60 บาท

-หนี้ไม่สำคัญวัดที่ความสามารถสร้างรายได้และผลตอบแทน
นายอมเรศ สิงห์ณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน กล่าวว่ากลุ่มที่มีความอ่อนไหวตามอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นจะเป็นผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มลิสซิ่งเป็นต้นเพราะการที่แนวโน้มดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วยซึ่งจะทำให้ผลประกอบการลดลงและไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
คงไม่สามารถพูดได้ว่าการที่แนวโน้มดอกเบี้ยช่วงขาขึ้นจะกระทบกับบริษัทต่างๆมากน้อยแค่ไหนเพราะคงต้องพิจารณาเป็นรายบริษัทว่าได้มีการกู้เงินแบบประเภทใดเป็นดอกเบี้ยคงที่หรือดอกเบี้ยลอยตัวอีกทั้งต้องดูด้วยว่าเป็นดอกเบี้ยระยะยาวหรือระยะสั้นนายมเรศ กล่าว
อย่างไรก็ดี แม้ว่าบริษัทที่มีหนี้สินอยู่มากซึ่งก็หมายถึงมีต้นทุนทางการเงินที่มาก แต่หากบริษัทต่าง ๆสามารถสร้างผลตอบแทนให้กลับมาอยู่ในระดับที่ดีได้ก็คงไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายธุรกิจ
นายอมเรศกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับทางออกของบริษัทที่มีหนี้สินอยู่มากนั้นคงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่ามีการจัดการหรือบริหารหนี้อย่างไรเช่นอาจนำเม็ดเงินที่ได้จากผลการดำเนินงานมาชำระคืนหนี้เพื่อเป็นการลดภาระดอกเบี้ยจ่าย เป็นต้น

- ระบุกลุ่มสื่อสารแม้หนี้ท่วมแต่มั่นใจต้องมีแผนรองรับความเสี่ยง

นักวิเคราะห์รายหนึ่ง กล่าวว่า กลุ่มสื่อสารที่ถือได้ว่ามีหนี้สินอยู่มากคือ บมจ.โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น หรือ TAC ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบมจ.ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีหรือ(UCOM), บมจ.ทีทีแอนด์ที หรือ TT&T และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือTRUEซึ่งบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ไม่ได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ย
MLR
อย่างไรก็ดี แม้ว่าบริษัทที่มีหนี้สินอยู่มากแต่ไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อการขยายธุรกิจของบริษัทนั้นๆเพราะเชื่อว่าบริษัทคงมีนโยบายในการบริหารจัดการหนี้ได้อยู่แล้ว
บริษัทที่มีหนี้สินอยู่มากผลการดำเนินงานก็คงต้องปรับลดลงอยู่แล้วแต่เชื่อว่าบริษัทส่วนใหญ่คงต้องมีการทำอะไรสักอย่างเพื่อให้บริษัทสามารถจัดการกับหนี้สินและขยายธุรกิจต่อไปได้นักวิเคราะห์กล่าว

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com