March 28, 2024   10:24:27 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > สถิติ 7 ปีหลัง ทุกQ4หุ้นขึ้นถึง 6 ครั้ง
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 12/10/2005 @ 18:49:46
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

SCBSฟันธงโค้งสุดท้ายปีนี้
ตลาดหุ้นไทยสดใสสุดๆ[/color:7e8a02e836">*
สถิติ 7 ปีหลัง ทุกQ4หุ้นขึ้นถึง 6 ครั้ง[/color:7e8a02e836">


SCBS มั่นใจโค้งสุดท้ายตลาดหุ้นไทยวิ่งต่อ ชี้ดัชนีวิ่งได้ถึง 760 จุด มองสถิติ 7 ปีที่ผ่านมา ช่วงไตรมาส4 หุ้นวิ่งขึ้นถึง 6ครั้ง แม้นักลงทุนต่าง
ชาติจะขายสุทธิก็ตาม เหตุตลาดฯหลุดพ้นช่วงไตรมาส 3 ที่น่าเบื่อและซบ
เซาที่สุด นอกจากนี้ได้หุ้น IPO ที่จะเข้าตลาดฯช่วงปลายปีช่วยดัน รวมไป
ถึงเม็ดเงินจากกองทุนในประเทศที่มักจะไหลเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ ตลอดจน
ได้อานิสงส์จากภาพรวมเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวทั้งการส่งออก- การขยายตัว
ของผลผลิตอุตสาหกรรม แนะจังหวะดี หุ้นวัสดุก่อสร้าง-อสังหาฯ-รับเหมาฯ-
สื่อสาร-แบงก์มักปรับตัวดีช่วงไตรมาสสุดท้ายเช่นกันเมื่อเทียบกับตลาดฯ

ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยในรายงานประจำเดือนตุลาคม2548 ว่า บล.ไทยพาณิชย์ยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดหุ้น
และมองว่าการปรับฐานที่เกิดขึ้นในตอนนี้เป็นโอกาสให้เข้าซื้อ โดยยืนยัน
เหตุผลที่กล่าวไว้ในรายงานกรอบตลาดฉบับเดือนที่ผ่านมาว่า การจดทะ
เบียนในตลาดของหุ้นขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะมีขึ้นภายในสิ้นปีนี้จะผลักดัน
ให้ดัชนีตลาดปรับตัวสู่เป้าหมายปลายปีของบริษัทที่760 จุดได้ นอกจากนี้ตลาดยังจะได้รับการสนับสนุนจากการคาดการณ์ถึงตัวเลขเศรษฐกิจด้านการ
ส่งออกที่ดีอย่างต่อเนื่อง
โดยบล.ไทยพาณิชย์ ได้มีการหยิบยกขัอสังเกตุดังต่อไปนี้ ซึ่งได้จากการดูพฤติกรรมตลาดที่สนับสนุนให้ตลาดปรับตัวขึ้นช่วงปลายปี



* ตลาดหุ้นเดือนกันยายน : ชัดแต่เฉื่อย
กระแสข่าวด้านบวกได้แก่ ตัวเลขดุลการค้า/ดุลบัญชีเดินสะพัดของ
ประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากและความเชื่อมั่นที่มีมากขึ้นเกี่ยวกับความคืบหน้าของหุ้น IPO ใหม่ กลายเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ Sentimentตลาดปรับตัว
ดีขึ้น และส่งผลทำให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 29%จากจำ
นวน 1.49 หมื่นล้านบท ต่อวันในเดือน ส.ค. สู่จำนวน 1.92 หมื่นล้านบาทต่อวันในเดือนที่ผ่านมา ข่าวที่โดดเด่นมากเป็นพิเศษคือความสำเร็จในการทด
สอบลงจอดเครื่องบิน2ลำที่ท่าอากาศยานแห่งใหม่(แต่หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
ก็อาจจะทำให้ ITDดูแย่ แต่ทั้งนี้ภายหลังการทดสอบประสบความสำเร็จราคาหุ้นของITDก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้น) อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.6%
นำโดยหุ้นขนาดใหญ่ในขณะที่ราคาหุ้นที่มีขนาดเล็กลงมาซึ่งนักลงทุนสถา
บันไม่ค่อยให้ความสนใจก็ปรับตัวได้ดี และมีการขายทำกำไรเกิดขึ้นบางส่วน
ใน PTT-PTTEP (รวมกันมีน้ำหนัก 20%ในตลาด)โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง



* ฤดูกาลจะมีผลมากกว่าพื้นฐาน
เราเปลี่ยนมามีมุมมองที่เป็นบวกต่อตลาดมาตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค.
โดยมีเหตุผลทางพื้นฐานส่วนใหญ่มาจากตัวเลขดุลการค้าที่ดีขึ้น หุ้น IPO
ใหม่และความหวังว่าจะมีการปรับประมาณการกำไรของหุ้นในตลาดเพิ่มขึ้น
ในปีหน้าเมื่ออิงกับรายงานข่าวพบว่าการนำหุ้นใหม่เข้าจดทะเบียนซื้อขาย
ในตลาดกำลังมีความคืบหน้าที่ดี แต่ในตอนนี้เรามีความมั่นใจน้อยลงเกี่ยว
กับแนวโน้มการปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้นในด้านของดุลการค้า/ดุลบัญชี
เดินสะพัดนั้น เราต้องย้อนกลับไปในต้นไตรมาส 3 ปี 2548 เพื่อให้สามารถ
มองเห็นการเปลี่ยนแปลงใน Sentiment ของตลาดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากได้ส่งผลทำให้โบรกเกอร์ต่างชาติหลายรายด้วยกัน
Downgrade ประเทศไทยลงการกลับมามียอดเกินดุลในตอนนี้จะช่วยสนับ
สนุนการปรับตัวของตลาดซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้
มุมมองที่เป็นบวกของเราซึ่งได้รับการกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงทาง
พื้นฐานเมื่อ 2 เดือนก่อนกำลังได้รับการยืนยันให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นจาก
ผลทางฤดูกาลและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ



* ผลทางฤดูกาล# 1 : การส่งออกดีขึ้นในครึ่งปีหลัง
ไตรมาสที่4เป็นไตรมาสที่การส่งออกสูงที่สุดตามฤดูกาลและข้อมูล
ล่าสุดก็สนับสุนว่าการส่งออกจะมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องในปีนี้ อย่างไรก็ตาม
ในด้านของการเติบโตในประเทศนั้นสัดส่วนของสินค้าคงคลังในระดับสูงจะ
ส่งผลทำให้การผลิตเพิ่มน้อยลงในงวดครึ่งหลังของปี2548
ส่วนการขาดดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงไม่ใช่เรื่อง
ที่น่าเป็นห่วงดุลการค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่จำนวน 277 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ
เกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงสู่จำนวน 107 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนส.ค. ขาดดุลการค้าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2548 มีจำนวน 9.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีจำนวน 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิด
เป็นสัดส่วน 5.3% ของ GDP (4 ไตรมาสล่าสุด) และ 3.5% ของ GDP
ตามลำดับ



* ผลทางฤดูกาล #2 : ปรากฎการณ์นักลงทุนรายย่อย
ข้อมูลที่มาจากปีก่อนๆบ่งบอกว่าโดยปกติแล้วดัชนีตลาดจะปรับตัว
ขึ้นก่อนสิ้นปีสิ่งที่สามารถอธิบายข้อสังเกตนี้ได้ดีที่สุดคือ 1) การคาดการณ์
ถึง January effectเนื่องจากการซื้อขายจะถูกครอบงำโดยนักลงทุนรายย่อย
ที่บ่อยครั้งมักจะเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติคาดการณ์ไว้
2) การหลุดพ้นออกมาจากไตรมาส 3 ที่น่าเบื่อซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นช่วง
เวลาที่ซบเซาที่สุดสำหรับตลาดดังนั้นการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยก็ดูเหมือนจะกลายเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญได้(โดยเฉพาะในแง่ของดุลการค้าตามที่
กล่าวถึงข้างต้น)
3) การย่างเข้าสู่ไตรมาส4 ทำให้มีการคาดการณ์เพิ่มมากขึ้นถึงปีที่ดี
ขึ้นในปีถัดไป โดยในช่วง 7ปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.
/ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง9-18%: 4) การคาดการณ์ที่เป็นบวกจากการจดทะเบียนในตลาดของหุ้นขนาดใหญ่ที่โดยปกติแล้วมักจะเข้ามาซื้อขายใน
ตลาดในไตรมาสที่4 ของแต่ละปี : และ 5) ปัจจัยสนับสนุนเป็นบวกจากกลุ่ม
ที่มักจะปรับตัวขึ้นตามฤดูกาลในไตรมาส4 เช่น กลุ่มธุรกิจเกษตร อสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้าง
ค่าสถิติอีกชุดหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนปรากฎการณ์จากผลทางฤดูกาล
#2คือ เมื่อมองเฉพาะไตรมาสที่ 4 ในระยะเวลา 7ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2541 ถึงปี2547 ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 6 ครั้งจากทั้งหมด 7 ครั้ง ทั้งๆที่นักลง
ทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 5 ครั้งจาก 7 ครั้ง ดังนั้นการปรับตัวของดัชนีตลาดในไตรมาสที่4จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าตลาดมีการปรับตัวขัดแย้งกับความคิดของคนทั่วไปที่ว่าเมื่อนักลงทุนต่างชาติขายตลาดจะปรับตัวลง



* ผลทางฤดูกาล #3: กลุ่มผู้ชนะ
หากไม่คำนึงว่านักลงทุนจะจัดสรรสินทรัพย์ของตนในไตรมาสสุดท้ายอย่างไรค่าสถิติที่ผ่านมาบ่งบอกว่าโดยปกติแล้วกลุ่มใหญ่ๆ เช่นธนาคาร สื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ และวัสดุก่อสร้าง มักจะเป็นกลุ่มที่ปรับตัวได้ดีกว่าตลาดในไตรมาสที่4ในเวลาเดียวกันกลุ่มที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เป็นกลุ่มที่ปรับ
ตัวได้แย่กว่าตลาดมาตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงตอนนี้ ดังนั้นจะไม่แปลกใจถ้าเห็น
กลุ่มเหล่านี้เปลี่ยนแนวโน้มมาปรับตัวได้ดีขึ้นในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ โดย
ที่เราคาดว่ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง (-20% เทียบกับการปรับตัวของ SETตั้งแต่ต้น
ปี) อสังหาริมรัพย์ (-12%) สื่อสาร (-11%) และธนาคาร (-2%) จะปรับตัวได้
ดีขึ้นอย่างมากในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้



* ผลทางฤดูกาล#4 : กองทุน RMF และ LTF
ต้องยอมรับว่าข้อโต้แย้งที่ว่าตลาดจะได้รับการสนับสนุนจากการไหล
เข้าของเงินทุนจากกองทุนRMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) และกองทุน LTF (กองทุนรวมหุ้นระยะยาว) เนื่องจากกองทุนเหล่านี้มักจะมีเงินไหลเข้า
ในช่วงปลายปีดูไม่น่าตื่นเต้นมากนักแม้ว่าจะช่วยกระตุ้น Sentiment ตลาด
ให้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ เราคาดว่ากองทุนหุ้นจะมีจำนวน
5พันล้านบาทซึ่งอาจจะน้อย แต่ก็แสดงถึงสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงที่ระดับ 8%
เมื่อเทียบกับกองทุนรวมหุ้นทั้งหมด



* ปรับตัวช้ากว่าตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาค
ข้อเท็จจริงที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวแย่กว่าตลาดภูมิภาคมาตั้งแต่ต้นจน
ถึงตอนนี้อาจจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนที่ต้องการหาตลาด
ที่ Underperform และมักจะปรับตัวได้ดีในไตรมาสที่ 4 เข้ามาในตลาดหุ้น
ไทย เมื่อเทียบกับดัชนีตลาดที่สำคัญอื่นๆ ในภูมิภาคเราพบว่าตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวได้ดีกว่าเพียงตลาดเดียวคือไต้หวัน(ดีกว่า7%) ในขณะที่ปรับ
ตัวได้แย่กว่าตลาดอื่นๆ อยู่ 1-29%



* Top picks ของ SCBS
ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. ถึงวันที่ 3 ต.ค. หุ้น Top picksในเดือนก่อนของเรา
ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันตั้งแต่ -4% จนถึง 17% เทียบกับดัชนีตลาดที่
ปรับตัวขึ้น 1% ASP ปรับตัวลง 12% แต่ไม่ถือว่ามากนักภายหลังการปรับปรุงสิทธิในการได้รับจัดสรรวอร์แรนท์ในอัตราส่วน4 หุ้นเดิมต่อ 1 วอแรนท์ฟรี เราแทนที่หุ้น Top picks ในเดือนก่อนของเราคือ TT&T TRUE และ SATTEL
ด้วย UCOM(ในฐานะผู้ได้รับประโยชน์จากการนำหุ้นTACเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และแนวโน้มที่จะเป็นคู่แข่งเทียบชั้นกับ SHIN) LPN (ประ
เด็นวิตกกังวลจากการแปลงสภาพวอร์แรนท์จะหมดไปเนื่องจากวอร์แรนท์จะหมดอายุในเดือนนี้) และ BBL (หุ้นที่ปรับตัวช้าในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่)
ในขณะที่เรายังคง BCP-DR1 ไว้ในกลุ่ม Top picks ของเราและเพิ่ม BLS
เข้ามาไว้ในกลุ่ม โบรกเกอร์ที่เราแนะนำ เนื่องจากคาดว่าการนำหุ้น Asia Cement เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในไม่ช้านี้จะผลักดันให้ทำกำ
ไรของ BLS เพิ่มขึ้นได้มากถึง 50%



Top picks ในเดือน ต.ค.
เดือนก่อน เดือนนี้
BCP-DR1 BCP-DR1
TT&T UCOM
TRUE LPN
SATTEL BBL
PHATRA/ASP/KEST PHATRA/ASP/KEST/BLS

หมายเหตุไว้ว่า RATCH ปรับตัวแย่กว่าตลาดอยู่ 9% นับตั้งแต่ที่เราเลือกให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำหรับการ Switch ออก ณ ระดับปัจจุบัน
RATCH กลับมามีมูลค่าที่ดีอีกครั้ง และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ระดับ 5% อย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่ต้องการปรับพอร์ตในเชิงรุก เราแนะนำให้เข้า
ซื้อวอร์แรนต์ในกลุ่มต่างๆ ได้แก่ BAY-W1 STEC-W2 และQH-W4 ไว้ด้วย
ในทางกลับกัน เราตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ Performance ในระยะสั้น
ของ ADVANC เมื่อเทียบกับตลาดไว้โดยมีสาเหตุมาจากแผนการนำหุ้น TAC
เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในสิ้นปี 2548 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำ
ให้ค่าพรีเมี่ยมของ ADVANC ที่เกิดจากการเป็นหุ้นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งหาได้ยากในตลาดหมดไปในไม่ช้า นอกจากนี้แล้วในขณะที่เรา
ไม่ได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับด้านการดำเนินงานของ BANPU ในปีนี้ แต่เนื่อง
จากการขายเงินลงทุนใน ATC ออกไปอย่างต่อเนื่องกำลังจะสิ้นสุดลง ดังนั้น
นักลงทุนจะต้องรอปัจจัยสนับสนุนให้เข้าซื้อหุ้นตัวนี้ในปีหน้าแทน ดังนั้นเรา
แนะนำให้ขายทำกำไรทั้ง ADVANC และ BANPU
นอกจากนี้ บล.ไทยพาณิชย์ ยังคาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาส 3 ปี 2548 จะอยู่ในช่วง 4.5-5.0% YoY โดยอิงกับตัวเลขจากกลุ่ม
การเกษตรและกลุ่มอุตสาหกรรมในเดือนก.ค. - ส.ค. ดัชนีราคาพืชผลสำคัญ
มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 0.4% YoY ในช่วง เดือนก.ค. - ส.ค.
2548 (ไตรมาส 2 ปี 2548 = 3.8% YoY ) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.8% YoY (ไตรมาส 2 ปี 2548 = +7.9%YoY ) สองกลุ่มนี้รวมกัน
คิดเป็นสัดส่วน 48% ของ GDP เราคาดว่าทั้งสองกลุ่มนี้จะสามารถชดเชย
กลุ่มบริการที่คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลงสู่ระดับ 3.5-4.5%
ในไตรมาส 3 ปี 2548 ได้ (ไตรมาส 2 ปี 2548 = 5.6% YoY) ดังเห็นได้
จากจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนก.ค. - ส.ค. ที่ปรับตัวลดลง 2.2%YoY
(ไตรมาส 2 ปี 2548 = +1.9% YoY) และดัชนียอดขายปลีกที่ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้น 7.5% YoY ในเดือนก.ค. (ไตรมาส 2 ปี 2548 = +10.7% YoY)
เราไม่ได้มองว่าเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในปีต่อๆไปเนื่องจากสถานะระหว่างประเทศกำลังปรับตัวดีขึ้นดุลการชำระเงิน
ยังคงมียอดเกินดุลที่จำนวน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 8 เดือนแรก
ของปี 2548 บ่งบอกว่าขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะได้รับการช่วยเหลือจากบัญ
ชีทุน
นอกจากนี้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP ที่ความจริงแล้วปรับตัวลด
ลงจากระดับสูงสุดที่ 73% ในปี 2542 สู่ระดับ 33% ในไตรมาส 2 ปี 2548
สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นยังมีอยู่จำนวนมากที่ระดับ
409% ในไตรมาส 2 ปี 2548 เทียบกับระดับเพียง 70% ในปี 2540 นอกจาก
นี้ สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ก็ปรับตัวลดลงจากระดับ 21% ในปี 2544 สู่ระ
ดับ 8% ในไตรมาส 2 ปี 2548
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปรับขึ้นสูงสุดภายในสิ้นปีนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี ในเดือนก.ย.โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% YoY
ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการกระตุ้นจากดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดอาหารที่เพิ่มขึ้น 6.6% YoY และเมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปรับตัว
เพิ่มขึ้น 0.7% MoM โดยได้รับการกระตุ้นจากดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดอาหาร
ที่เพิ่มขึ้น 2.9% MoM ซึ่งมีส่วนแบ่ง 36% ในตะกร้าดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนก.ย.2548 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งที่ระดับ 9.6% YoY
โดยได้รับการกระตุ้นจากดัชนีราคาผู้ผลิตของผลผลิตเกษตรกรรมที่ปรับตัว
เพิ่มขึ้น 21.9% และดัชนีราคาผู้ผลิตของผลิตภัณฑ์จากเหมืองและเชื้อเพลิง
ที่เพิ่มขึ้น17.3%
คาดว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้น MoM ของดัชนีราคาผู้บริโภคน่าจะชะลอ
ตัวจากระดับที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 1% MoM ในไตรมาส 3 ปี 2548 สู่ระดับที่
เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 0.2%MoM ในไตรมาส 4 ปี 2548 ซึ่งจะส่งผลทำ
ให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปรับตัวขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ระดับประมาณ7% ตอน
ปลายปีนี้ และหลังจากนั้นเราคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะปรับตัวลด
ลงอย่างมากนับตั้งแต่เดือนก.ค.2549 เราคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะ
เพิ่มขึ้นประมาณ 3% YoY ในเดือนธ.ค. 2549 โดยใช้สมมติฐานราคาน้ำมัน
ดิบดูไบที่ระดับ 55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2549
แนวโน้มการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคจนถึงสิ้นปีนี้จะ
สนับสนุนให้คณะกรรมการนโยบายการเงินขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร
ระยะ 14 วันอีก 0.25% สู่ระดับ 3.5% ในการประชุมวันที่ 19 ต.ค. 2548
เรายังคงประมาณการดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเราไว้ที่ 4.7% ในปีนี้
และ 4.8% ในปีหน้า และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14
วันน่าจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ประมาณ 4.5% ในช่วงปลายไตรมาส 2
ปี 2549

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com