April 20, 2024   4:16:34 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > SPCG พุงปลิ้น!ปีหน้าโกย5พันลบ.
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 22/10/2014 @ 08:26:18
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

"เอสพีซีจี" ตั้งเป้ารายได้ปี 58 แตะ 5 พันล้านบาท จากการรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 260 MW เต็มปี พ่วงธุรกิจเทรดดิ้งอีกกว่า 1 พันล้านบาท พร้อมตั้งงบลงทุนกว่า 2 พันล้านบาท รองรับการขยายกำลังผลิตโซลาร์ฟาร์ม ที่รัฐเตรียมออกไลเซนส์อีกกว่า 700-800 MW มั่นใจภายใน 4-5 ปี กำลังผลิตรวมแตะ 500 MW พร้อมรุกโซลาร์ฟาร์มพม่า-เวียดนาม-ญี่ปุ่น-เนปาล ด้านโบรกฯแนะซื้อ ให้เป้า 32.50 บาท มองผลประกอบการระยะยาวเติบโตดี

** ตั้งเป้ารายได้ปีหน้า 5 พันลบ.-งบลงทุน 2 พันลบ.
นางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG เปิดเผยว่า บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ปีหน้าแตะ 5,000 ล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าจะทำได้ประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยจะมาจากการรับรู้รายได้จากจำหน่ายไฟฟ้าครบ 260 เมกะวัตต์(MW)เต็มปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้คาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจเทรดดิ้งเข้ามากว่า 1,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกันบริษัทฯตั้งงบลงทุนปีหน้ากว่า 2,000 ล้านบาท โดยจะใช้ลงทุนโซลาร์ฟาร์มในประเทศญี่ปุ่นราว 1,000 ล้านบาท และที่เหลือขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งตั้งเป้าหมายจะเพิ่มอีก 100-200 เมกะวัตต์ โดยบริษัทฯ สนใจจะเข้าร่วมโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของภาครัฐ ตามนโยบายเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งจะมีการเปิดใบอนุญาตราว 700-800 เมกะวัตต์ ????
นอกจากนี้บริษัทฯจะมีการก่อสร้างโรงประกอบแผงโซลาร์ร่วมกับบริษัท เคียวเซร่า ซึ่งเป็นพันธมิตรจากญี่ปุ่น ซึ่งโรงงานดังกล่าวอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี คาดมูลค่าการลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯจะลงทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นที่คาดว่าจะอยู่ระดับประมาณ 10-30% สำหรับที่มาของเงินลงทุน ปัจจุบันบริษัทฯมีเงินสดอยู่ราว 3,000 ล้านบาท
** ดันกำลังผลิตแตะ 500 MW ลุ้นงานก่อสร้างโซลาร์ฟาร์มเนปาล
นางสาววันดี กล่าวว่า บริษัทฯตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งที่เป็นเจ้าของเอง และร่วมลงทุนกับผู้อื่น แตะ 500 เมกะวัตต์(MW) ใน 4-5 ปี จากสิ้นปีนี้ที่จะมีกำลังการผลิตระดับ 260 เมกะวัตต์ โดยจะเน้นการขยายในประเทศเป็นหลัก คาดว่าจะมากกว่า 300 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือจะกระจายไปในกลุ่มประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ขณะที่ในช่วงปลายปีนี้บริษัทฯจะมีการเซ็นสัญญาร่วมทุนกับพันธมิตรเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิต 2 เมกะวัตต์ในประเทศพม่า มูลค่าการลงทุนราว 200 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯถือหุ้นสัดส่วน 50%
นอกจากนี้ บริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศเวียดนาม กำลังการผลิต 1.5 เมกะวัตต์ คาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท โดยน่าจะเห็นความชัดเจนในปีหน้า นางสาววันดี เปิดเผยด้วยว่า ในเดือนมี.ค. 2558 บริษัทฯจะเข้าประมูลงานรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศเนปาล กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ แต่ยังไม่สามารถระบุรายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าได้ โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นในประสบการณ์และศักยภาพของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

** จับมือจุฬาฯพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า
ล่าสุด บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมการใช้ไฟฟ้า โดยได้ใช้งบลงทุนราว 2.8 ล้านบาท ในการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะมียอดขายในปีแรก 1,000 ชุด สอดคล้องไปกับชุดติดตั้งโซลาร์รูฟ สำหรับที่อยู่อาศัย โดยราคาอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีอยู่ 3 ระดับ คือ 30,000 บาท 50,000 บาท และ 70,000 บาท นอกจากนี้ ยังได้มีการพูดคุยกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำอุปกรณ์ควบคุมการใช้ไฟฟ้าและแผงโซลาร์ที่ติดตั้งบนที่อยู่อาศัย ไปเสนอขายให้กับกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา????
ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวมีขอบเขตของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ดังต่อไปนี้??1) เพื่อจัดทำโครงการต้นแบบประหยัดพลังงานอัตโนมัติภายในบ้านอัจฉริยะ สำหรับรับทุนสนับสนุนการวิจัย โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหรกรรม สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
2) กำหนดให้ SPCG เป็นผู้ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยในสัดส่วน 50% ของจำนวนเงินทุน เท่ากับ 1,400,740 บาท?? 3) กำหนดให้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมดภายใต้ขอบเขตของ สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
4) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้มีกาหนดระยะเวลา 2 ปี?โดยบริษัทฯเชื่อมั่นว่าการร่วมมือระหว่าง SPCG และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนี้ จะสนับสนุนให้วงการวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการประหยัดพลังงานเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

** ธนชาต แนะซื้อ ให้เป้าหมาย 32.50 บาท
ด้านบทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ธนชาต แนะนำซื้อ SPCG ให้ราคาเป้าหมาย 32.50 บาท เนื่องจากราคาหุ้นซื้อขายที่ valuation ที่ถูกเพียง 9.3 เท่า ในปี 2015 เทียบกับคู่แข่งที่ 15 เท่า ขณะที่หุ้นยัง laggard ด้วยอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนที่แข็งแกร่ง เราเห็นโอกาสขยายธุรกิจของ SPCG นอกเหนือไปจากการประกาศร่วมทุนล่าสุดกับ HMPRO เพื่อขายแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือน เราคาดว่าจะมี upside จากราคาเป้าหมายของเราจากแผนที่จะมีการลงทุน 10% ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวม 150MW ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเรายังไม่ได้รวมมูลค่านี้ในราคาเป้าหมายของเรา
ทั้งนี้ ล่าสุด SPCG มีแผนที่จะจัดตั้งบริษัทย่อยร่วมทุน 50:50 กับ บมจ. ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม (TFD) เพื่อเข้ามาดูแลโครงการพัฒนาการลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Roof Top) เพื่อติดตั้งบนหลังคาอาคารคลังสินค้าและโรงงานอุตฯ ในพื้นที่โครงการของ TFD ราว 6 หมื่นตรม. ขนาดกำลังการผลิต 5 เมกกะวัตต์ ประเมินงบลงทุนราว 300 ลบ. โดยเฟสแรกคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงไตรมาส 4Q14 ด้วย คาดว่าจะ COD ในปี 2015 นอกจากนี้ TFD ก็มีแผนขยายพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรมอีก 1.2 แสนตรม. อีกด้วย
ข่าวดังกล่าวเป็นข่าวดี ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตของ SPCG เพิ่มขึ้นสุทธิเป็น 223.5 เมกกะวัตต์ (จากปัจจุบันที่ 221 เมกกะวัตต์) ด้วย TFD มีแผนที่จะขยาย จึงมีโอกาสที่ SPCG จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Roof Top) เพื่อติดตั้งบนหลังคาเพิ่มขึ้นอีก เราคาดว่าการร่วมทุนกับ TFD จะเพิ่มกำไรปกติของ SPCG ราว 10 ลบ. ต่อปี (4 ลบ./เมกกะวัตต์) แต่อย่างไรก็ตาม ประมาณการของเราได้สมมติให้ SPCG มีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาสุทธิ 10 เมกกะวัตต์ ในปี 2015-16 อยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงยังคงประมาณการของเราเช่นเดิม

** ดีบีเอสวิคเคอร์ส มองผลประกอบการโตต่อเนื่อง
ด้าน บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส แนำนำ SPCG ให้ราคาพื้นฐาน 29.70 บาท ตามแผนบริษัทจะขยายกำลังการผลิตเป็น 500 เมกะวัตต์ใน 3 ปีข้างหน้า ทั้งจากในประเทศและลงทุนต่างประเทศ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในประเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ โครงการไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (เดิมคือโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน) จำนวน 800 เมกะวัตต์, โครงการโซลาร์ฟาร์ม 576 เมกะวัตต์, โครงการโซลาร์รูฟ 70 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้รอสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดรูปแบบอยู่ ซึ่งมีกระแสข่าวว่า TOR ของโครงการไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 800 เมกะวัตต์จะออกมาในช่วงปลายปีนี้ และเปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าประมูล
ส่วนในต่างประเทศจะมีโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ของญี่ปุ่น ที่เปิดประมูลแล้วกว่า 7 พันเมกะวัตต์ และมีโอกาสจะเปิดเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะนำไปทดแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในส่วนนี้ทาง SPCG ได้ร่วมลงทุนกับพันธมิตรในญี่ปุ่น คือ บริษัท เคียวเซร่า ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผงโซล่าเซลล์รายใหญ่ของญี่ปุ่น และ SPCG ก็ใช้แผงของบริษัทนี้ในโซลาร์ฟาร์มของบริษัทในประเทศไทยด้วย โดย SPCG ถือหุ้น 10% ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ และ 100 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ใช้เงินลงทุนในส่วนของบริษัทไม่เกิน 1.5 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ 3Q58 เป็นต้นไป ซึ่งส่วนนี้คิดเป็นกำลังการผลิตส่วนเพิ่มเข้ามาอีก 6% ของที่บริษัทมีอยู่ในปัจจุบัน จึงแนะนำซื้อ เพราะมีมุมมองที่เป็นบวกกับแนวโน้มธุรกิจและผลประกอบการในระยะกลาง-ยาวของบริษัท

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com