April 17, 2024   1:23:23 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เมื่ออินเดียมี ปัญหามลพิษ-ไฟฟ้าไม่พอใช้...
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 26/01/2015 @ 08:25:35
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เมื่ออินเดียมี ปัญหามลพิษ-ไฟฟ้าไม่พอใช้...
จำต้องพึ่งทุนต่างชาติ 3 ล้านล้านลุยพลังงานทดแทน

“มลภาวะย่ำแย่” บวก “ไฟฟ้าขาดแคลน” กดดันให้ นายกฯ โมดี ต้องเปิดทางให้กับธุรกิจพลังงานสะอาดต่างชาติเข้ามาขุดทองในอินเดีย คุยโว 5 ปี มีไฟใช้มากถึง 1.4 แสนเมกะวัตต์ ลงทุน 3 ล้านล้านบาท



นาย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เตรียมเป็นประธานเปิดงาน RE-Invest 2015 (1st Renewable Energy Global Investment Promotion Meet & Expo) ระหว่าง 15-17 กุมภาพันธ์ ณ กรุงนิเดลี พร้อมต้อนรับกองทัพอินเวสเตอร์ พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากทั่วทุกมุมโลก

โดยจุดประสงค์ของงานในครั้งนี้ คือต้องการให้ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าเข้ามารับรู้ถึง นโยบายเรื่องควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission) และ เป้าปริมาณไฟฟ้าที่รัฐบาลอินเดียวางไว้เพื่อให้เพียงพอต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการของประชาชนชาวภารตะทุกคน


ปัจจุบัน กิจกรรมการใช้พลังงานทั้งหลายในอินเดียกำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศโลกโดยเฉลี่ยปีละ 2 พันกว่าล้านเมตริกตัน ซึ่งนั่นทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่ (ถูกพูดว่า) ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming มากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองลงมาจาก จีน และ สหรัฐอเมริกา

และด้วยเหตุนี้เอง ภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องหาทางออกให้กับชาวโลก โดยหนึ่งในโซลูชั่นก็คือ การนำโซล่าฟาร์ม และวินด์ฟาร์มเข้ามาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อเป็นกำลังเสริม (ปริมาณมหาศาล) ให้บรรดาโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินในการผลิตนั่นเอง

ด้านเศรษฐกิจของอินเดียที่เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งจากการใช้สำหรับภาคบริการ รวมไปถึงภาคการผลิต โดยมีตัวขับเคลื่อนหลักอยู่ที่อุตสาหกรรมไอที โทรคมนาคม และสิ่งทอ

ขณะเดียวกัน ยังมีชาวภาระตะอีกกว่า 400 ล้านคนทั่วประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการไฟฟ้าจากภาครัฐ โดยพวกเขาเหล่านี้ต้องอาศัยพึ่งพิวเพียงเครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก หรือเทียนไขในการประกอบกิจกรรมประจำวัน

ซึ่งทั้งสองปัจจัยเรื่อง การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการขาดแคลนไฟฟ้าสำหรับใช้ในภาคครัวเรือน ส่งผลให้รัฐบาลของนายกฯ โมดี ต้องเข้ามาเทคแอคชั่นในเรื่องนี้อย่างจริงจัง พร้อมกับนำเสนอประเด็นปัญหาข้อนี้ให้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติลำดับต้นๆ เลยทีเดียว

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสอดคล้องกับความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และตอบสนองต่อสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเพื่อเป็นการตอบโจทย์ต่อความยากลำบากในการใช้ชีวิตของพ่อแม่พี่น้องชาวอินเดีย นายกโมดีได้วางเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าในประเทศเพิ่มเติมไว้ที่ 1.4 แสนเมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ ซึ่งจะแบ่งเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 แสนเมกะวัตต์ และพลังงานลมขนาด 4 หมื่นเมกะวัตต์ โดยใช้โนฮาว และทุนหลักจากผู้ประกอบการต่างชาติ

เพราะฉะนั้นการเปิดทางของนาย โมดี ในครั้งนี้ อาจเป็นโอกาสทองฝังเพชร สำหรับธุรกิจไฟฟ้าพลังงานทางเลือกสัญชาติไทยก็เป็นได้ เพราะในปัจจุบัน หลายบริษัทก็มีความพร้อม ทั้งด้านเงินทุนและความเชี่ยวชาญ บวกกับความตั้งใจทำงานจริง

คำถามมันก็เลยเกิดขึ้นว่า “มีใครบ้างที่สนใจจะเข้าไปแบ่งหน้าเค้กก้อนนี้”



 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com