March 28, 2024   8:42:22 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > KTB อ่วม!ตั้งสำรองเพิ่ม3.6พันลบ.
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 22/05/2015 @ 08:34:00
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

"แบงก์กรุงไทย" กระอัก บอร์ดอนุมัติตั้งสำรองพิเศษเดือน เม.ย.อีก 3.6 พันลบ. เพิ่มจากปกติเดือนละ 700 ลบ. หลัง NPL พุ่ง แต่ยังหวังในเดือนนี้หนี้เสียจะเริ่มลดลง ขณะที่โบรกเกอร์ชี้ เหตุมาจากปัญหาหนี้ของ SSI - สหฟาร์ม ที่ KTB เป็นเจ้าหนี้อยู่ เผยสัญญาณ NPL มีมาตั้งแต่ Q1/58 จากสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อเอสเอ็มอี เชื่อกดดันงบ Q2/58 อ่อนแอ พร้อมลดประมาณการกำไรปี 58 ลง 5% ประเมินระยะสั้นไม่น่าลงทุน ให้เป้าหมายระยะยาว 25.50-24.50 บ.

ยังมีข่าวร้ายเข้ามากดดันราคาหุ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB หลังจากก่อนหน้านี้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาอย่างหนัก เพราะผิดหวังต่อผลประกอบการในไตรมาส 1/2558 ที่ออกมาไม่น่าประทับใจ รวมถึงปัจจัยลบอย่างตัวเลขสินเชื่อที่ชะลอตัว และหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น ซึ่งล่าสุด ทางที่ประชุมคณะกรรมการของ KTB ก็ได้ อนุมัติตั้งสำรองพิเศษเดือนเมษายน 3.6 พันล้านบาท เพิ่มจากปกติเดือนละ 700 ล้านบาท ขณะที่นักวิเคราะห์ต่างประเมินทิศทางของ KTB ว่า ยังไม่เหมาะที่จะลงทุนในช่วงนี้
โดยราคาหุ้นของ KTB วานนี้(21 พ.ค.58) ปิดที่ระดับต่ำสุดของวันที่ 18.60 บาท ลดลง 0.80 บาท หรือ -4.12% มูลค่าการซื้อขาย 2,933.81 ล้านบาท

*** บอร์ดอนุมัติตั้งสำรองพิเศษเดือน เม.ย. 3.6 พันลบ. เพิ่มจากปกติเดือนละ 700 ลบ.
นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ตามที่ประชุมคณะกรรมการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 ได้มีมติอนุมัติการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมอีกจำนวน 3,600 ล้านบาท สำหรับงบการเงินประจำเดือน เมษายน 2558 แล้วนั้น
ธนาคาร ขอแจ้งให้ทราบว่าโดยปกติทุกปีที่ผ่านมาธนาคารได้ตั้งค่าเผื่อฯรายเดือนทุกเดือน และมีการตั้งค่าเผื่อฯเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งเป็นการเผื่อเหตุการณ์ในอนาคตที่อาจมีความไม่แน่นอนตามหลักการรอบคอบระมัดระวัง ในปี 2558 นี้ ธนาคารยังคงตั้งค่าเผื่อฯรายเดือน ๆ ละ 700 ล้านบาท และคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนและอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ธนาคารจึงพิจารณาตั้งค่าเผื่อฯเพิ่มเติมอีกจำนวน 3,600 ล้านบาท ซึ่งธนาคารเชื่อว่ามีความเหมาะสมที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดจากคุณภาพหนี้ได้
ทั้งนี้ธนาคารได้มีกระบวนการทบทวนความเหมาะสมของค่าเผื่อฯเป็นประจำสม่ำเสมอตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

*** ตั้งสำรองพิเศษเพราะ NPL พุ่ง แต่คาดหนี้เสียจะลดลงในเดือนนี้
นายวรภัค ยังได้เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซไทย" ว่า ถึงการตั้งสำรองพิเศษ 3,600 ล้านบาทในครั้งนี้เนื่องจากต้องการเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินการมากขึ้นในลักษณะ conservative จึงตั้งสำรองเพิ่มเติม และจะต้องบริหารหนี้เสียให้ลดลง โดยธนาคารฯเลือกที่จะเพิ่มการตั้งสำรองพิเศษ และคาดว่าหนี้เสียอาจลดลงในเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะทราบได้จากรายงานที่จะออกหลังสิ้นเดือนพฤษภาคมแล้วสองสัปดาห์
"การตั้งสำรองพิเศษเป็นเรื่องปกติที่เราดำเนินการอยู่แล้ว 2 ครั้งต่อปี คือ ในเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม แต่เนื่องจากหนี้เสียเพิ่มขึ้น เราจึงตัดสินใจเพิ่มการตั้งสำรองมากขึ้น ผลการดำเนินงานในเดือนพฤษภาคมจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า หนี้เสียลดลงหรือไม่" นายวรภัคกล่าว

*** ยันไม่ลดดอกเบี้ยเงินกู้ตาม KBANK หลัง NIM ต่ำสุดในระบบ
กรรมการผู้จัดการใหญ่ KTB ยังเผยอีกว่า ธนาคารฯ จะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ในขณะนี้ หลังจากธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประกาศนำร่องลดดอกเบี้ยเงินกู้ไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันส่วนอัตราดอกเบี้ย (NIM) ของ KTB ถือว่าต่ำที่สุดในระบบแล้ว

*** โบรกฯ ชี้เหตุตั้งสำรอง เพราะเจอพิษหนี้ของ SSI - สหฟาร์ม พร้อมลดประมาณการกำไรปีนี้ลง 5%
แหล่งข่าวจากนักวิเคราะห์ เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า การที่ KTB ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมครั้งนี้นั้น เกิดจากหนี้ของ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ที่มีมูลหนี้ 1.9 หมื่นล้านบาท และ สหฟาร์ม มูลหนี้ 6.9 พันล้านบาท และเงินหมุนเวียนอีก 2.7 พันล้านบาท ที่ยังคงประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก
โดยสัญญาณ NPL ของ KTB มีมาตั้งแต่ไตรมาส 1/58 แล้ว ประกอบกับมีลูกค้าเริ่มผิดชำระหนี้มากขึ้น ซึ่งมาจากสินเชื่อรายย่อย และ สินเชื่อเอสเอ็มอี โดยกดดันให้ธนาคารต้องตั้งสำรองพิเศษ และ ส่งผลให้กำไรไตรมาส 2/58 จะลดลงจากไตรมาส 1/58
“NPL และ การตั้งสำรองเป็นตัวกดดันการทำกำไรของ KTB ในปีนี้ เพราฐานลูกค้าอยู่ต่างจังหวัด และ เป็นรากหญ้าส่วนใหญ่ ซึ่งเวลาเศรษฐกิจแย่ กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น”
นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยได้ปรับลดประมาณการกำไร KTB ปี 58 ลง 5% เหลือ 3.52 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% YoY จากการปรับสมมติฐานสำรองหนี้เพิ่มขึ้น 25% จากเดิม 1.21 หมื่นล้านบาทเป็น 1.52 หมื่นล้านบาทและปรับลดคำแนะนำจาก "ซื้อ" เป็น "ถือ" เนื่องจากความกังวลต่อหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นกดดันธนาคารต้องตั้งสำรองหนี้ระดับสูงขึ้นทำให้ความสามารถในการเติบโตลดลง แต่ยังคงมุมมองบวกต่อ KTB ที่จะรับประโยชน์จากการลงทุนของรัฐ และ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจช่วยผลักดันการเติบโตของสินเชื่อสูงขึ้นในไตรมาสที่เหลือของปี โดยปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 25.50 บาท จาก 27.50 บาท

*** โบรกฯ ชี้ระยะสั้นไม่น่าลงทุน
นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า แนวโน้มกำไรไตรมาส 2/58 อาจลดลงจากไตรมาส 1/58 โดยมองกำไรทั้งปีอยู่ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 0.79% YoY
แม้ KTB จะตั้งสำรองเพิ่มในเดือนเม.ย. จำนวน 3.6 พันล้านบาท แต่ยังมีมุมมองบวกต่อพื้นฐานของธนาคาร โดยคาดการณ์ว่าเดือนพ.ค. และ มิ.ย.การตั้งสำรองจะลดลง ล่าสุด ได้ปรับประมาณการตั้งสำรองมากขึ้นจากเดิม 1.4 หมื่นล้านบาทในปีนี้เป็น 1.8 หมื่นล้านบาท โดยรวม 3.6 พันล้านบาทเข้าไปแล้ว ซึ่งมองแนวโน้มไตรมาส 3-4/58 การตั้งสำรองน้อยลง โดยยังคงราคาเป้าหมายยังคงเป้าหมายเดิม 24.50 บาท/หุ้น
ด้านนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า ก่อนหน้านี้ KTB ได้มีการส่งสัญญาณมาก่อนหน้านี้ว่า NPL ยังสูง และ อาจทำให้เกิดการตั้งสำรองพิเศษ ซึ่งต้องยอมรับว่ากระทบต่อ KTB และ กลุ่มแบงก์ในระยะสั้นเท่านั้น โดยก่อนหน้านี้ หุ้น KTB – SCB – KBANK ก็ร่วงลงมาอย่างหนัก ซึ่งตลาดคาดการณ์ไว้แล้วว่า NPL ยังจะเพิ่มขึ้นต่อในไตรมาส 2/58 ซึ่งทำให้การตั้งสำรองเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
“หุ้น KTB ต้องมอง 2-3 ปี ระยะสั้นไม่น่าเล่น ถ้าจะเล่นสั้นกลุ่มพลังงาน โรงพยาบาล ก่อสร้าง เช่าซื้อ น่าเล่นกว่า เพราะมีสเปรดที่ดีขึ้นในช่วงดอกเบี้ยขาลง” นายปริญญ์ กล่าว


*** โบรกฯ เตือน TBANK-SCB อาจเจอพิษหนี้สหฟาร์ม ต่อจาก KTB
บทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุถึง กรณีสหฟาร์มว่ากระทบ Sentiment ธนาคารเจ้าหนี้หลักคือ KTB โดยตามข่าวระบุว่าบริษัทสหฟาร์มและบริษัทย่อย คือ โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส มีมูลหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ 1.03 และ 1.04 หมี่นล้านบาท โดยมี KTB เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ แต่ภายหลังครบกำหนดยื่นขอรับชำระหนี้พบว่ามีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ถึง 5.5 แสนล้านบาท ซึ่งกรมบังคับคดีจะมีการไต่สวนสืบพยานก่อนสรุปมีคำสั่งจำนวนเงินที่ให้ชำระเจ้าหนี้แต่ละราย และถ้าเจ้าหนี้รายใดไม่พอใจก็ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง
สำหรับสถาบันการเงินเจ้าหนี้หลักของกลุ่มสหฟาร์มเฉพาะภาระหนี้เงินต้นราว 11,500 ล้านบาท ประกอบด้วย KTB 6,900 ล้านบาท (60% ของหนี้เงินต้น),TBANK 2,200 ล้านบาท,ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 1,600ล้านบาท, SCB 540 ล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีดอกเบี้ยค้างชำระจำนวนหนึ่งและหนี้เงินกู้นอกระบบสถาบันการเงินอีกราว 2 หมื่นล้านบาท(เป็นเจ้าหนี้ซัพพลายเออร์ทั้งในกลุ่มบริษัทสหฟาร์มเอง และซัพพลายเออร์ทั่วไปอีกประมาณ 50 ราย) – ที่มา ฐานเศรษฐกิจ 14 ก.ค.2556
ปัจจุบัน กลุ่มสหฟาร์มผลิตไก่อยู่ที่ 4 แสนตัว/วัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังมีปัญหาว่าสินค้าไก่สดแช่แข็งส่งออกไปยุโรปของบริษัทถูกตรวจพบเชื้อปนเปื้อนและจะถูกส่งกลับหรือทำลายทิ้ง 8 ตู้คอนเทนเนอร์ (อยู่ที่ยุโรปแล้ว)และมีอีกไม่น้อยกว่า 50 ตู้ที่กำลังเดินทางไป(in Transit) ซึ่งในส่วนหลังนี้น่าจะต้องกลับมาไทยเพื่อเคลียร์ปัญหาและตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปใหม่อีกรอบ อย่างไรก็ตาม จากกรณีไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นว่ายุโรปจะยกเลิกการนำเข้าไก่จากไทย แต่จะมีการตรวจสอบเข้มงวดมากขึ้นเท่านั้น



 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com