April 19, 2024   9:34:34 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > UPAลั่นQ4/58พลิกกำไร-ลุ้นPPAพม่า200MW
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 26/06/2015 @ 08:25:29
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

"ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย" การันตีงบโค้งสุดท้ายปีนี้เห็นกำไร หลังรับรู้รายได้โรงไฟฟ้า - กำไรจากการโอนอสังหาฯ แต่ยอมรับ Q2-Q3/58 ยังขาดทุน ตั้งเป้ามีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 500 MW ในปี 63 เดินหน้ารุกธุรกิจพลังงานเต็มสูบ ล่าสุดเซ็นซื้อหุ้น "อันดามันเพาเวอร์ " เล็งเข้าถือมากกว่า 75% ใช้เงินลงทุนไม่เกิน 340 ลบ. พร้อมคาดได้ PPA จากรัฐบาลเมียนมาร์ 150-200 MW ภายในปีนี้ ลุ้นชิงเค้กโรงไฟฟ้าอีกกว่า 1,000 MW ในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย?

*UPA การันตีโค้งสุดท้ายปีนี้เห็นกำไร หลังรับรู้รายได้โรงไฟฟ้า - กำไรจากการโอนอสังหาฯ
นายนพพล มิลินทางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ UPA เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะเริ่มมีผลประกอบการเป็นกำไรตั้งแต่ไตรมาส 4/58 เป็นต้นไป หลังจากไตรมาส 1 ขาดทุน 20.50 ล้านบาท และคาดว่าจะยังขาดทุนต่อเนื่องในไตรมาส 2 และ 3 ขณะที่ไตรมาส 4/58 จะเริ่มรับรู้รายได้ธุรกิจโรงไฟฟ้าของ APU เข้ามาเต็มไตรมาส รวมถึงจะบันทึกกำไรจากการโอนคอนโดมิเนียมที่เขาใหญ่กว่า 50 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มโอนตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 นอกจากนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการพิจารณาแบ่งขายที่ดินบางส่วนในจังหวัดพังงา ซึ่งมีอยู่ที่หมด 19-20 ไร่ เข้ามาในช่วงปลายปีนี้ด้วย ??
อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าปีนี้จะพลิกกลับมามีกำไรได้หรือไม่ จากปีก่อนที่ขาดทุน 64.63 ล้านบาท โดยขอประเมินภาพรวมทั้งปีอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายปี
"ตั้งแต่เราจะยังคงอยู่ในสภาวะขาดทุนไปจนถึงไตรมาส 3 และน่าจะเริ่มเห็นผลประกอบการกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 4 หลังรับรู้รายได้ของ APU รวมถึงโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนั้นผลประกอบการของบริษัทฯจะเริ่มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง" นายนพพล กล่าว ?

* ตั้งเป้ามีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 500 MW ในปี 63
ทั้งนี้ บริษัทฯตั้งเป้าหมายจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2563 ซึ่งจะมาจากทั้งในและต่างประเทศโดยไม่จำกัดประเภทของพลังงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ เพื่อมุ่งหวังจะนำธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจหลักของ UPA
?อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังไม่มีแผนล้างขาดทุนสะสมจำนวน 303.13 ล้านบาท ในขณะนี้ แม้จะมีเงินจากการเพิ่มทุนกว่า 2 พันล้านบาท เพราะอยู่ในช่วงของการเร่งลงทุนเพื่อสร้างผลประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยต้องการให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจว่า UPA จะเร่งสร้างศักยภาพของธุรกิจให้มีกำไรและล้างขาดทุนสะสมดังกล่าวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ?

* เซ็นซื้อหุ้น "อันดามันเพาเวอร์ " เล็งเข้าถือมากกว่า 75% ใช้เงินลงทุนไม่เกิน 340 ลบ.
นอกจากนี้ ?นายนพพล คาดว่ากระบวนการซื้อหุ้นของ บริษัท อันดามันเพาเวอร์ แอนด์ ยูทิลิตี้ จำกัด (APU) จะแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ มั่นใจว่าจะเข้าถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 75% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่ 3.4 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท หรือคิดเป็นมูลค่า 340 ล้านบาท หากบริษัทฯสามารถเข้าซื้อหุ้นทั้งหมด 100% ในบริษัทดังกล่าว โดยจะใช้เงินจากการเพิ่มทุนล่าสุด ซึ่งทำให้ปัจจุบันบริษัทฯมีเงินสดกว่า 2 พันล้านบาท สำหรับการใช้เพื่อเข้าลงทุน ??
"กระบวนการซื้อหุ้น APU จะแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือน ส.ค. ซึ่งเรามีความตั้งใจจะถือหุ้นทั้งหมด 100% แต่อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมว่าจะขายออกมาทั้งหมดหรือไม่ แต่เบื้องต้นมั่นใจจะถือไม่ต่ำกว่า 75% ใช้เงินลงทุนไม่เกิน 340 ล้านบาท โดยบริษัทฯจะใช้ APU เป็นฐานสำหรับการทำธุรกิจพลังงาน ซึ่งจะกลายเป็นธุรกิจหลักของ UPA ในอนาคต" นายนพพล กล่าว??
ทั้งนี้ปัจจุบัน UPA มีโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สธรรมชาติที่ได้เริ่มเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว 6 เมกะวัตต์ และสามารถขยายเพิ่มได้ถึง 20 เมกะวัตต์ ตามดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น โดย ณ กำลังการผลิตปัจจุบันจะทำให้มีรายได้เดือนละ 20 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2-3 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าผลประกอบการของ APU จะบันทึกเข้ามาในบริษัทฯตั้งแต่งวดไตรมาส 3/58 เป็นต้นไป หลังการเข้าซื้อหุ้นแล้วเสร็จ??

* คาดได้ PPA จากรัฐบาลเมียนมาร์ 150-200 MW ภายในปีนี้
ด้านนายอุปกิต ปาจรียางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อันดามันเพาเวอร์ แอนด์ ยูทิลิตี้ จำกัด และผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ของ UPA ในสัดส่วน 25.04% เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอใบอนุญาตขายไฟฟ้า (PPA) โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เพิ่มอีก 150-200 เมกะวัตต์ คาดจะได้รับ PPA ภายในปีนี้ ??อย่างไรก็ตามเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดส่งไฟฟ้า ซึ่งต้องรอให้พื้นที่ดังกล่าวมีความพร้อมก่อนคาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีถึงจะเริ่มก่อสร้างได้ โดยโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ปัจจุบันซึ่งได้ PPA มาแล้ว 20 เมกะวัตต์ ปัจจุบันจ่ายไฟฟ้าไปแล้ว 6 เมกะวัตต์ และสามารถขยายสัญญาและผลิตไฟฟ้าเพิ่มได้ถึง 50 เมกะวัตต์ หากมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น โดยโครงการที่มีอยู่ปัจจุบันมีผลตอบแทนจากการลงทุน 15%
"ปัจจุบันเราจ่ายไฟไปแล้ว 6 เมกะวัตต์ และขยายได้ถึง 20 เมกะวัตต์ หากความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เพราะพื้นที่ดังกล่าวจะต้องมีการก่อสร้างและพัฒนาเพื่อทำเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงมีดีมานด์ในการใช้ไฟค่อนข้างมาก ซึ่งถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้าขนาด 150-200 เมกะวัะตต์ จะยังสร้างไม่ได้ภายใน 2 ปีนี้เพราะต้องเรื่องระบบสายส่งต่างๆแล้วเสร็จก่อน แต่บริษัทฯจะยังคงมีรายได้จากโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน ที่สำคัญ PPA ฉบับปัจจุบันมีความยืดหยุ่นสูงสามารถขยายได้ถง 50 เมกะวัตต์ หากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเกิน 20 เมกะวัตต์แรกที่ได้รับมาแล้ว นอกจากนี้บริษัทฯจะมีรายได้จากการก่อสร้างสถานีย่อยในเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเข้ามาด้วย เช่นในปีนี้ที่จะมีรายได้ราว 5 ล้านเหรียญสหรัฐ จากงานก่อสร้างดังกล่าว ซึ่งมีอัตรากำไรสุทธิถึง 15% " นายอุปกิต กล่าว??

* ลุ้นชิงเค้กโรงไฟฟ้าอีกกว่า 1,000 MW ในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย?
นอกจากนี้รัฐบาลเมียนมาร์ยังมีโครงการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าอีกกว่า 1,000 MW ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเร็วๆนี้ ซึ่งบริษัท UPA จะมีโอกาสอย่างสูงในการเสนอตัวเข้าเป็นผู้ดำเนินการโครงการดังกล่าว


 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com