April 25, 2024   5:01:22 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > กูรูไม่หวั่นTFFดูดเงินจากตลาดหุ้น
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 14/07/2016 @ 08:37:34
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

โบรกฯ คาด กองทุน"ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์" (TFF)จะดึงเงินจากตลาดทุนบางส่วน แต่ไม่มีนัยสำคัญ เหตุผลตอบแทน 2-3% ต่อปี ยังถือว่าต่ำเมื่อเทียบเงินปันผลจากการลงทุนในตลาดหุ้น ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดยังอยู่ในระดับสูง ฟันโฟลว์ไหลเข้าหนุนดัชนีฯวิ่งสู่จุดสูงสุดของปีที่ 1500-1525จุด เตือนดัชนีฯ ปัจจุบันเสี่ยงต่อการปรับฐาน แนะสลับจากลงทุนในหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ-อัพไซด์สูง ชู INTUCH-ADVANC-BBL-TMB-SYNTEC-CENTEL-TPIPL-BEC แจ่ม


*** เอเซียพลัส คาด TFFแย่งเงินจากตลาดทุนบางส่วน
บล.เอเซียพลัส คาดว่ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF)มูลค่า1 แสนล้านบาทพร้อมเดินหน้าอาจจะดึงเงินจากตลาดทุนบางส่วน หลังจากที่ล่าช้ามานาน ทั้งนี้ คาดว่าการระดมเงินดังกล่าวน่าจะเป็นการแย่งเม็ดเงินลงทุนจากตลาดหุ้น แต่เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดที่ยังอยู่ในระดับสูงจึงไม่น่าส่งผลกระทบมากนัก
โดย TFF เป็นกองทุนปิด และไม่กำหนดระยะเวลาโครงการ โดยได้คัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม 2 แห่งบริหารและจัดการ คือ บลจ.กรุงไทย และ บลจ. เอ็มเอฟซี ซึ่งเตรียมเสนอ ก.ล.ต. เพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิ้นเดือน ก.ค.นี้ และคาดกองทุนดังกล่าวจะจ่ายผลตอบแทนราว 2-3% ต่อปี ในช่วงแรกระหว่างขั้นตอนจดทะเบียนในตลาด จะให้กองทุนวายุภักษ์นําร่องลงทุนไปก่อน ( นําเงินบางส่วนจากการขายหน่วยลงทุนวายุภักษ์เดิม เงินสดจากกระทรวงการคลังและการแลกหน่วยลงทุนของวายุภักษ์กับกองทุน TFF)
ส่วนของประชาชนกําหนดขาย เดือน ธ.ค. ปีนี้ สําหรับเงินที่ได้จะทยอยนําไปลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งขณะนี้มีความชัดเจนแล้ว 3 โครงการ ซึ่งในจํานวนนี้เป็นโครงการที่ได้ก่อสร้าง และ เปิดให้บริการ พร้อมมีกระแสเงินสดรับแล้ว เป็น โครงการก่อสร้างของกรมทางหลวง 2 เส้นทางคอื 1) มอเตอร์เวย์ หมายเลข 7 กรุงเทพ – บ้านฉาง และ 2) มอเตอร์เวย์ หมายเลข 9 วงแหวนรอบนอก กรุงเทพ พระนครศรีอยุธยา - พัทยา โดยกองทุน TFFจะถือห้นุ 50% ของเงินทุนทั้งหมด หรือคิดเป็นเงิน 4 หมื่นล้านบาท
ถัดมาเป็นโครงการที่ 3 ซึ่งยังอยู่ระหว่างการศึกษา EIA ซึ่งเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่โครงการทางด่วนพิเศษ สายพระราม 3 ดาวคะนอง มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเริ่มประมูลปลายปีนี้ จะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี และเปิดให้บริการปี 2563

*** ฟันโฟลว์ไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่อง
บล.เอเซียพลัส ระบุว่า Fund Flow ที่ยังคงไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงไทยอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากตลาดคาดหวังถึง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่น่ายังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง เมื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจาก Brexit โดยรวมทําให้ตลาดหุ้นไทยยังคงเดินหน้าขึ้นทําจุดสูงสุดในรอบปีต่อไป ในปีนี้ให้ผลตอบแทนในปีนี้ แล้วสูงถึง 14.5% ดัชนีปัจจบันไต่ระดับขึ้นมาอย่ที่ 1475 จุดแล้ว ทําให้ระดบั Expected P/E สูงกว่า16.6 เท่า ซึ่งนับว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ตลาดหุ้นมาเลเซีย ที่ 16 เท่า อินโดนีเซีย ที่ 16.5 เท่า และจีน ที่ 13.9 เท่า (แต่ยังตํ่ากว่าฟิลิปปินส์ที่ 20.2 เท่า)
อย่างไรก็ตาม หากประเมินในภาวะตลาดที่มีสภาพคล่องสูงที่ผ่านมาทุกครั้ง ดัชนีตลาดหุ้นไทยมักจะเคลื่อนไหวเกินไปจากเป้าหมาย 3-5% หรือ ขยับ P/E ขึ้นเป็น 17-18 เท่า (ดังเช่นปี 2555 P/E อยู่ที่ราว 16.5 เท่า, ปี 2557 ดัชนีหุ้นไทยพุ่งขึ้นทดสอบ 1600 จุด ขณะที่ระดับ P/E สูงถึงกว่า 21 เท่า และปี 2558 ระดับ P/E อยู่ที่ประมาณ 18.8 เท่า ) จึงทําให้ดัชนีมีโอกาสขึ้นไปแตะ 1,500-1,525 จุด ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับแนวทางการประเมินมูลค่าหุ้น โดยใช้มูลค่าเป้าหมายของหุ้นรายตัวมาคํานวณ ดัชนีเป้าหมายหรือแนวคิด Bottom-Upซึ่งสมมติให้ราคาหุ้นทุกบริษัทใน Coverageของฝ่ายวิจัยมา อยู่ที่ Fair Value
ส่วนราคาหุ้นอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น สมมติให้คงที่ ได้ SET Index target ประมาณ 1,535 – 1,550 จุด ( ซึ่งส่วนต่างของทั้ง 2 วิธีนี้ มาจากกระบวนการทํา Valuation รายบริษัทที่มีทั้ง Price Relativeซึ่งสะท้อนประมาณการกําไรในปี 2559 เพียง 1 ปี และ Discounted-Cash Flow ที่ Fair Value สะท้อนภาพกระแสเงินสดในระยะยาว )
ดัชนีปัจจุบันถือว่าความเสี่ยงต่อการปรับฐานยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่เชื่อว่า ดัชนีน่าจะสลับหรือหมุนเวียน จากการขายทํากําไรหุ้นที่มีราคาแพง หรือเกิน Fair Value เช่น BAY, SCB, KTB, KBANK, TRUE, JAS, HMPRO, ROBINS, THAI, BEM, AAV, VGI, BANPU, LANNA, TISCO, EGCO, BANPU และ THANI เป็นต้น สลับมาลงทุนในหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ มี upside สูง หรือ ในช่วงสั้นๆ แนะนําห้นุ Domesticที่มี Beta สูง แต่ราคาหุ้นยัง Laggards อยู่มาก คือ INTUCH, ADVANC, BBL, TMB, SYNTEC, CENTEL, TPIPL และ BEC

*** วงการเชื่อเงินไม่ไหลออกจากตลาดหุ้น เหตุผลตอบแทน 2-3%ไม่จูงใจ
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ถึงการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย วงเงิน 1 แสนล้านบาท ที่คาดว่าจะเปิดขายหน่วยลงทุนในปลายปีนี้ แม้เป็นกองทุนที่การันตีผลตอบแทนที่ 2-3% ต่อปี แต่มองว่า ยังไร้แรงจูงใจให้กับนักลงทุนในตลาดหุ้น เพราะถือเป็นผลตอบแทนใกล้เคียงพันธบัตรรัฐบาล หรือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่ยังต่ำกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้น
หากพิจารณาจากกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 59 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท และ หากจ่ายปันผลประมาณ 40% จะอยู่ที่ 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (TFF)ที่ยื่นจัดตั้งกองทุนเริ่มต้นทุนจดทะเบียนที่ 1 พันล้านบาท จากนั้นจะขยายไปเป็น 1 หมื่นล้านบาท และ 1 แสนล้านบาท
“ส่วนใหญ่คนที่ลงทุนในหุ้นกับอินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์จะแตกต่างกัน เงินที่ลงทุนก็คนละส่วน ปันผลก็แตกต่างกัน ซึ่งหุ้นมีความเสี่ยงสูง แต่ผลตอบแทนก็สูงเช่นเดียวกัน โดยนักลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเรามีอยู่ 6 แสนคน 1 ล้านบัญชี”
อย่างไรก็ตาม มองว่าการที่รัฐบาลออกกองทุนดังกล่าว เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุน ผู้ออม หรือ นักลงทุนสถาบัน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ดึงเงินออกจากตลาดทุน ประกอบกับ เป็นการจัดตั้งกองทุนเพื่อจะนำไปลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยรัฐบาลไม่ต้องระดมเงินโดยการออกพันธบัตรรัฐบาล
ด้าน นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า กองทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวอาจไม่สร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากผลตอบแทนอยู่ระดับต่ำ เพียง 2-3% ต่อปีจึงคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ
“ปัจจุบันลูกค้าของเราจะแบ่งเงินคนละส่วน เช่น เงินส่วนนี้ลงทุนในหุ้น อันนี้ลงทุนใน BE อันนี้ลงทุนในบอนด์ทำให้เราเชื่อว่าเม็ดเงินในตลาดหุ้นจะไม่ลดลง เพราะผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนกองทุนดังกล่าว แต่หากในอนาคตรัฐบาลมีแผนไปโรดโชว์ หรือ ให้ผลตอบแทนที่มากขึ้น ก็อาจสร้างความสนใจให้กับนักลงทุนสถาบันได้”นายกรภัทร กล่าว

*** ครม.ไฟเขียว "ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์" มูลค่า 1 แสนลบ.
วันอังคารที่ผ่านมา(12 ก.ค.59) คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติอนุมัติจัดตั้ง"ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์" (TFF) มูลค่า 1 แสนล้านบาท โดยให้คลังใส่เงินก้อนแรก 1 หมื่นล้านบาท การันตีผลตอบแทน 2-3% เตรียมจดทะเบียนภายในเดือน ก.ค.นี้ เน้นกลุ่มสถาบันการเงินและรายย่อย โดย บลจ.กรุงไทย-บลจ.เอ็มเอฟซี ทำหน้าที่จัดตั้งกองทุนและบริหารกองทุน เบื้องต้นอยู่ระหว่างให้อัยการสูงสุดพิจารณาร่างสัญญา คาดเปิดให้ลงทุนได้ ธ.ค.นี้ โดยในระยะแรกกระทรวงการคลังจะลงทุนแต่เพียงรายเดียว วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โดยใช้เงินที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน ประเภท ข ของกองทุนรวมวายุภักษ์1 วงเงิน 1,000 ล้านบาท และใช้เงินสด หรือหลักทรัพย์ หรือนำหน่วยลงทุนประเภท ก. ของกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 ไปชำระราคาค่าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนณ วงเงิน 9,000 ล้านบาท ส่วนในระยะต่อไปนั้น เงินลงทุนจากนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งนักลงทุนรายย่อยผ่านการจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนฯ เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
สำหรับผู้มีสิทธิถือหน่วยลงทุน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง และนักลงทุนภาครัฐ เช่น กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 และรัฐวิสาหกิจ นักลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายย่อย โดยคาดว่าจะสามารถจดทะเบียนแล้วเสร็จภายใน 1 เดือนหลังจากนี้ไป ในส่วนของการันตีผลตอบแทนนั้น ได้กำหนดที่ 2-3%

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com