March 29, 2024   4:49:23 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > บจ.อู้ฟู่โกยกำไร Q3/59 กว่า 2 แสนลบ.
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 22/11/2016 @ 08:47:50
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ตลาดหลักทรัพย์ เผย 527 บจ. รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 3/59 รวม 208,998 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 251.68% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปัจจัยบวกจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงตามทิศทางราคาน้ำมัน รวมถึงการไม่มีผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบการด้อยค่าสินทรัพย์ รวมถึงฐานที่ต่ำมากในปีก่อน ด้านโบรกฯ เล็งอัพเป้ากำไร บจ.ปีนี้ แต่ยังมองต่างชาติมีแนวโน้มขายหุ้นออกต่อเนื่องอีกไม่เกิน 1.8-3.6 หมื่นล้านบาท

นาย สันติ กีระนันทน์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ใน SET จำนวน 527 บริษัท หรือคิดเป็น 93.27% จากทั้งหมด 565 บริษัท (รวมกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (PF & REIT) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IFF) ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC และ บริษัทที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด หรือ NPG) นำส่งผลการดำเนินงาน งวดไตรมาส 3/ 2559 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2559 บจ. มีกำไรสุทธิจำนวน 425 บริษัท คิดเป็น 80.65% ของบริษัทที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด
โดย บจ. มีต้นทุนการผลิตโดยรวมลดลงทำให้มีกำไรขั้นต้น 590,659 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.50% ประกอบกับไม่มีผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบค่าใช้จ่ายการด้อยค่าสินทรัพย์ ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 208,998 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 251.68% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน แม้ว่ายอดขายรวม 2,495,729 ล้านบาท ลดลง 2.27% ซึ่งเป็นผลจากหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์มียอดขายลดลง
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บจ. มีทิศทางเดียวกับไตรมาส 3/2559 โดยมีกำไรสุทธิ 681,389 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.94% และมียอดขายรวม 7,367,911 ล้านบาท ลดลง 4.41% จากงวดเดียวกันในปีก่อน
ด้านความสามารถการทำกำไรของ บจ. ปรับสูงขึ้นทั้งงวดไตรมาส 3 ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 23.67% เพิ่มขึ้นจาก 21.12% ของช่วงเดียวกันในปีก่อน และงวด 9 เดือน มีอัตรากำไรขั้นต้น 25.36% เพิ่มขึ้นจาก 22.52% ขณะที่โครงสร้างเงินทุนของ บจ. ยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (ไม่รวมอุตสาหกรรมการเงิน) ณ สิ้นไตรมาส 3/2559 อยู่ที่ 1.22 เท่า ลดลงเล็กน้อยจาก 1.23 เท่า ในช่วงสิ้นปี 2558
ทั้งนี้ หากไม่รวมธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ในไตรมาส 3/2559 ยอดขายเพิ่มขึ้น 3.35% และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 17.88% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับงวด 9 เดือน จะมียอดขายเพิ่มขึ้น 4.51% และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10.18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
“ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 บจ. มีผลการดำเนินงานดีขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับเศรษฐกิจมหภาคที่ฟื้นตัวจากธุรกิจภาคการบริการและการอุปโภคบริโภค โดยมี 9 หมวดธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานเติบโตดี คือ มียอดขาย กำไรสุทธิ และอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น ได้แก่ หมวดธนาคาร พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อาหารและเครื่องดื่ม เหล็ก แฟชั่น บรรจุภัณฑ์ ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน บริการเฉพาะกิจ และ กระดาษและวัสดุการพิมพ์”
ด้านผลการดำเนินงานของ บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ในไตรมาส 3/2559 บจ. mai มีกำไรสุทธิ 1,954 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.51% จากงวดเดียวกันปีก่อน และงวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 6,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.05%

** โบรกฯ ชี้กำไร Q3/59 พุ่งเพราะฐานต่ำในปีก่อน
บล. ทิสโก้ ระบุ ไตรมาส 3/59 กำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมากเพราะฐานที่ต่ำในปีก่อน ที่บจ.มีกำไรรวมเพียง 6.01 หมื่นล้านบาท เนื่องจากในช่วงเวลานั้นหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีผลขาดทุนจำนวนมากสต็อกน้ำมันและสินค้าคงคลัง ผลจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว หากเทียบ QoQ กำไรสุทธิรวมจะลดลง 15% ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัจจัยฤดูกาล
จากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะปรับประมาณการกำไรปีนี้ขึ้นอีก ส่วนประมาณการกำไรปีหน้าโดยรวมยังค่อนข้างคงทรงตัว เราเชื่อว่าเป็นเพราะนักวิเคราห์ส่วนใหญ่ในตลาดมีมุมมองที่ระมัดระวังต่อแนวโน้มประมาณการกำไรในปีหน้า เนื่องจากความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอกสูงขึ้น (การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่าง ๆ ของสหรัฐฯ หลังได้ผู้นำใหม่) ความผันผวนของราคาน้ำมัน และผลกระทบในช่วงถวายความอาลัยอาจทำให้เศรษฐกิจในประเทศสูญเสียแรงส่ง
ด้านเงินทุนต่างชาติยังมีแนวโน้มไหลออกอยู่ แต่มอง downside risk นับจากนี้เริ่มมีจำกัด เนื่องจาก
(1) อิงจากปีที่ต่างชาติซื้อสุทธิย้อนหลังนับตังแต่ปี 2005 เป็นต้นมา จะซื้อสุทธิโดยเฉลี่ย 7.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นปีนี้ (YTD) ที่ซื้อสุทธิมาแล้วราว 9.2 หมื่นล้านบาท จะสะท้อนโดยนัยว่าโอกาสที่ต่างชาติจะขายสุทธิจนกลับมามียอดซื้อสุทธิตามค่าเฉลี่ยในอดีต (Mean Reversion) จะอยู่ที่ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท
(2) การคำนวณต้นทุนการซื้อสะสมของต่างชาติในรอบปีนี้ (นับตั้งแต่กลางเดือน ก.พ. – ต้นเดือน ต.ค.) จะอยู่ที่ 1460-70 ซึ่งเป็นระดับ SET Index ที่เคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบัน แต่หากรวมผลกระทบจากค่าเงินจะคิดเป็นต้นทุน SET Index ที่ประมาณ 1430 หรือคิดเป็น Downside Risk ประมาณ 3%
(3) ในทางปัจจัยเทคนิค การขายของต่างชาติในช่วงนี้ 1-2 เดือนนี้ หากจะเป็นการขายเพียงระยะสั้นของแนวโน้มการซื้อคืนรอบใหญ่ (หลังจากที่ขายสุทธิเกือบ 4 แสนล้านบาทในช่วงปี 2013-15) ควรจะถอยมาไม่เกิน Fibonacci Retracement ที่ระดับ 38.2% และ 50.0% ตามลำดับ หรือคิดเป็นแรงขายอีกราว 1.8 หมื่นล้านบาท และ 3.6 หมื่นล้านบาทตามลำดับ โดยเราให้น้ำหนักกับ Fibonacci Retracement ที่ 38.2% มากกว่า 50.0%
ทั้งนี้เราไม่ได้มองว่าเงินทุนต่างชาติจะไหลออกไปยาวเลย เพราะสภาพคล่องในระบบการเงินโลกที่ยังอยู่ในระดับสูงมาก ดังนั้นเมื่อมีความชัดเจนในนโยบายใหม่ของนาย Donald Trump เกิดขึ้น ตลาดเกิดใหม่ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลกำไร และการประเมินมูลค่าที่น่าสนใจกว่า ยังคงดึดดูดเม็ดเงินลงทุนเหล่านี้ต่อไปในระยะยาว
ด้านความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ล่าสุดปิดการซื้อขายที่ 1,478.30 จุด เพิ่มขึ้น 4.44 จุด ขณะที่ต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องอีก 2,752.22 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2,081.33 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 630.25 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป ซื้อสุทธิ 1,301.13 ล้านบาท
รวมตั้งแต่ต้นปี ต่างชาติยังซื้อสุทธิ 86,088.62 ล้านบาท สถาบันขายสุทธิ 23,022.75 ล้านบาท บัญชีบริษัหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 18,823.32 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป ขายสุทธิ 81,889.18 ล้านบาท

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com