March 29, 2024   6:19:59 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > โซลาร์ฯราชการล่มไม่เป็นท่า
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 12/01/2017 @ 08:37:35
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

โซลาร์ฯราชการส่อแววล่ม หลังกฤษฎีกาตีความส่วนราชการไม่สามารถผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้ ด้านบอร์ดกพช.นัดถก 17 ม.ค.นี้ ทบทวนแนวทางจัดการ ทางด้านกกพ.ยันไม่มีผลต่อผู้ชนะจับสลากระยะที่ 1 จำนวน 281 MW ขณะที่ PSTC เผยรับผลกระทบไม่มาก เพราะโครงการดังกล่าวใช้วิธีจับสลาก ไม่คาดหวังผลอยู่แล้ว โบรกฯกลับมอง GUNKULสุดอ่วม รับเคราะห์ 2 เด้ง เหตุเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง-เข้าร่วมชิงประมูล

***บอร์ด กพช.นัดถกโซลาร์ฯราชการ หลังกฤษฎีกาชี้ชัดขัดกฏหมาย
พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) พิจารณาทบทวนแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์) จากส่วนราชการ ระยะที่ 2 ในวันที่ 17 ม.ค.นี้ หลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความออกมาแล้วว่าส่วนราชการไม่สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าได้ ในเบื้องต้นอาจปรับรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์ส่วนราชการเป็นเชื้อเพลิงประเภทอื่น หรืออาจดำเนินการในรูปแบบโรงไฟฟ้าเพื่อชุมชน และอาจเปลี่ยนรูปแบบมาใช้วิธีการประมูลมาเป็นการจับสลากแทน เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า เบื้องต้นภารกิจและหน้าที่ของส่วนราชการบางประเภทไม่มีวัตถุประสงค์ที่ให้อำนาจผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายได้ รวมถึงติดขัดกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายตัว เช่น พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนกิจการของรัฐ (ทีพีพี) พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ มีส่วนราชการเพียงบางแห่งเท่านั้นที่สามารถดำเนินการได้ เช่น สหกรณ์การเกษตร เนื่องจากกฎหมายอนุญาตให้สหกรณ์สามารถดำเนินกิจการที่เข้ามาช่วยเสริมกิจการของสหกรณ์ได้ เช่น สหกรณ์ที่ทำกิจการปั๊มน้ำมัน เพื่อสนับสนุนสมาชิก เป็นต้น
“ขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าส่วนราชการทำโซลาร์ส่วนราชการไม่ได้ ถึงทำก็ขายไม่ได้ ซึ่งเราคงไม่ได้ปรับกฎหมายเพื่อแก้ปัญหา แต่เบื้องต้นจะเสนอ 2 แนวทางให้ กพช. พิจารณา คือ 1.ยกเลิก หรือ2.ให้ส่วนราชการเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นหรือไม่ เช่น ส่วนราชการผลิตไฟฟ้าได้แต่วัตถุประสงค์เพื่อใช้เอง เป็นทางเลือกหนึ่ง”
ปัจจุบันรัฐบาลมีเป้าหมายรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์สหกรณ์และส่วนราชการ 800 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นของสหกรณ์ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้รับซื้อไปแล้ว 280 เมกะวัตต์ แห่งละ 5 เมกะวัตต์ เหลืออีก 120 เมกะวัตต์ที่ต้องดำเนินการต่อ และอีก 400 เมกะวัตต์เป็นของส่วนราชการ ซึ่งต้องทบทวนว่าจะดำเนินการอย่างไร

***กทพ.ระบุไม่มีผลต่อจับสลากระยะที่ 1 จำนวน 281 MW
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ในฐานะโฆษกกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)กล่าวว่า แผนทบทวนโซลาร์ฟาร์มส่วนราชการและสหกรณ์ระยะที่ 2 จำนวน 519 เมกะวัตต์ จะไม่มีผลต่อผู้ชนะการจับสลากระยะที่ 1 จำนวน 281 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตามต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 17 ก.พ.นี้ เกี่ยวกับข้อสรุปในขั้นต่อไป

***PSTCยันไม่รับผลกระทบ
นายพระนาย กังวาลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PSTCกล่าวว่า บริษัทฯ จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก หากมีการยกเลิกการประมูลโซลาร์ฟาร์มส่วนราชการและสหกรณ์ระยะที่ 2 ที่เหลือจำนวน 519 เมกะวัตต์ เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นรูปแบบจับสลาก ไม่สามารถคาดหวังผลการได้รับใบอนุญาตขายไฟฟ้าได้
ปัจจุบันบริษัทมุ่งเป้าหมายไปที่การเปิดประมูลใบอนุญาตขายไฟฟ้าพลังงานชีวมวล-ชีวภาพมากกว่า ซึ่งปัจจุบันมีศักยภาพเพียงพอรองรับการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 100 เมกะวัตต์ รอเพียงแค่กำหนดการเปิดประมูลอย่างเป็นทางการจากภาครัฐ
นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างเจรจาพันธมิตรเพื่อลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนและขยะอุตสหกรรมกำลังการผลิตรวม 23 เมกะวัตต์ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

**GUNKUL อ่วมสุดรับผลลบ 2 เด้ง ทั้งก่อสร้าง-ขายไฟ
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด มองว่าบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวมากกว่าบริษัทอื่นๆ เนื่องจาก GUNKUL เป็นทั้งผู้ที่เข้าประมูลงานขายไฟฟ้า และยังเป็นผู้ที่เข้าประมูลงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าด้วย ในขณะที่รายอื่นอาจได้รับผลกระทบเพียงการจำหน่ายไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ดีกรณีดังกล่าวคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของหุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนมากนัก เนื่องจากการรับซื้อไฟฟ้าเพียง 500 เมกะวัตต์(MW) ทำให้ผู้เข้าร่วมแต่ละรายได้รับโควต้าจำนวนน้อยมาก ซึ่งบางรายได้รับเพียง 1 MW เท่านั้น


 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com