April 25, 2024   10:49:34 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > งบแบงก์ Q1/60 กำไรโต 8-10% สินเชื่อฟื้น-ตั้งสำรองลดลง
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 23/03/2017 @ 08:42:35
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

โบรกเกอร์ คาดผลประกอบการกลุ่มแบงก์ Q1/60 โต 8-10% จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังเศรษฐกิจฟื้นตัว ลูกค้าขอสินเชื่อมากขึ้น โดยล่าสุดเดือน ก.พ. 60 สินเชื่อขยายตัวเป็นบวกแล้ว จากเดือน ม.ค.ที่สินเชื่อยังหดตัว ขณะที่ NPL ทรงตัว ทำให้ภาระตั้งสำรองลดลง ขณะที่เฟดส่งสัญญาณดอกเบี้ยโลกเป็นขาขึ้น หนุนดอกเบี้ยไทยปรับขึ้นตาม กลุ่มแบงก์รับอานิสงส์เต็มๆ แนะ BBL- KTB- TISCO-SCB-KBANK เป็นหุ้นเด่น

*** คาดกำไรไตรมาส 1/60 เติบโตจากการตั้งสำรองฯลดลง
   บทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุว่า แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะยังซบเซา การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเติบโตอย่างเชื่องช้า แต่ก็มีแนวโน้มดีขึ้น โดยกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ของธนาคารพาณิชย์เริ่มขยับลงทุนและกู้ยืมเงินมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ด้าน NPL ก็ค่อนข้างเสถียรขึ้น และ Coverage Ratio ที่สูง ทำให้คาดการณ์ว่าธนาคารพาณิชย์หลายแห่งจะตั้งสำรองค่าเผื่อฯเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อสินเชื่อลดลง
   สำหรับธนาคารที่มีกระแสว่าอาจมีข่าวบวกในระยะใกล้ คือ KTB ซึ่งหาก AQ เพิ่มทุนสำเร็จและนำมาชำระคืนหนี้ 1.3 หมื่นล้านบาท โดย AQ จะประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 7 เม.ย.นี้ และ SCB ซึ่งกำลังขายหุ้น SCB Llife ให้กับต่างชาติ ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจซื้อ คือ AIA, Manulife Prudential และ FWD Group ซึ่งหากขายออกไปได้ SCB จะบันทึกกำไรก้อนโตราว 3.5 หมื่นล้านบาท
   ส่วนธนาคารที่มี Valuation จูงใจในกลุ่มนี้ คือ TCAP ณ ราคาปัจจุบัน 48.75 บาท ซื้อขายที่ P/E ปี 60F ที่ 8.1 เท่าต่ำกว่า Median ของกลุ่มที่ 10.1 เท่า และมี P/BV ปีนี้ 1.0 เท่า ต่ำกว่า Median ของกลุ่มที่ 1.3 เท่า ขณะเดียวกันก็ให้ Dividend Yield 4.4% สำหรับปี 60F ดีกว่า Median ของกลุ่มที่ 3.5% ด้วย เราแนะนำซื้อ โดยให้ราคาพื้นฐาน 53 บาท
   บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า สินเชื่อแบงก์เดือน ก.พ. เพิ่มขึน 0.4% M-M ดีขึ้นจาก ม.ค. ที่หดตัว -0.7% M-M ทำให้ยอดสินเชื่อ 2 เดือนแรกปีนี้ หดตัว 0.3% จากสิ้นปี 59 โดยแบงก์ที่สินเชื่อโตดีสุดในเดือนนี้คือ KKP (+1.8% M-M) ส่วนกลุ่มแบงก์ใหญ่ SCB มีสินเชื่อโตดีสุด (+1.0% M-M) รองมาเป็น KBANK (+0.6% M-M) แนวโน้มกำไรของกลุ่มในไตรมาส 1/60 มีทิศทางเพิ่มขึ้น 8-10% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ทรงตัวไตรมาสก่อนหน้า ธนาคารที่น่าจะมีกำไรดีทั้ง Q-Q, Y-Y คือ BBL, KTB, TISCO หุ้นเด่นยังเป็น TISCO ราคาพื้นฐาน 72 บาท

*** ให้น้ำหนักลงทุนกลุ่มแบงก์มากกว่าตลาด หลังดอกเบี้ยขาขึ้น
   บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ภายหลังที่ Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้น 0.25% สู่ระดับ 0.75-1.00% และเริ่มเห็นธนาคารกลางแห่งอื่นๆ ปรับขึ้นดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน อาทิ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับขึ้นดอกเบี้ย Reverse Repo ขึ้น 0.1% ทำให้เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า ทิศทางดอกเบี้ยโลกกำลังขยับเข้าสู่ขาขึ้นรอบใหญ่ ในส่วนของดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น เชื่อว่ามีโอกาสขยับขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกในช่วง 2H60 สะท้อนได้จากอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรระยะกลาง-ยาว ที่ขยับขึ้นไปแล้วตั้งแต่ช่วง 2H59 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ประกอบกับสภาพคล่องทางการเงินในระบบธนาคาร (คำนวณจากเงินฝากรวมตั๋วเงินระยะสั้น B/E หักด้วยสินเชื่อที่ไม่รวมธุรกรรมด้าน interbank) ที่ลดลงต่อเนื่องมาที่ราว 5.85 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือน ม.ค.60 เทียบเท่าสัดส่วน L/D (รวม B/E) ที่ 95.3% ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างตึงตัว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนความต้องการสินเชื่อที่จะเติบโตเร่งตัวขึ้นจากโครงการลงทุนใหญ่ของภาครัฐที่ทยอยเกิดขึ้น ล้วนผลักดันให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศขยับตัวขึ้นซึ่งจะเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี (หลังจากคงที่ที่ระดับ 1.5% มาตั้งแต่ เม.ย. 2558)
   นายชัยยศ จิวางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ได้รับปัจจัยบวกจากนลท.ต่างชาติพลิกกลับเป็น Net Buy สอดคล้องกับทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งทำให้กระแส Fund Flow มีโอกาสไหลเข้าต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากการทำ Window Dressing ไตรมาส 1/2560 ในช่วงปลายเดือนมี.ค. ดังนั้นประเมินว่า SET จะปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านบริเวณ 1,575 – 1,585 จุด ทั้งนี้แนะนำเก็งกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารซึ่งได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น แนะนำ SCB KTB และ KBANK

***แบงก์ใหญ่ได้เปรียบแบงก์กลาง-เล็ก
   ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า หากอัตราดอกเบี้ยกลับทิศทางเป็นขาขึ้น กลุ่ม ธ.พ.ใหญ่จะมีความได้เปรียบมากกว่า ธ.พ.กลาง-เล็ก แต่ต้องเป็น ธ.พ.ใหญ่ที่เข้าข่ายคุณสมบัติดังนี้
1) มีมูลค่าของสินเชื่อที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมากกว่าเงินฝากที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
2) มีสถานะสุทธิเป็นผู้ให้กู้ยืม (Net Lender) ในตลาด interbank
  โดย KTB, BBL เป็นธนาคารที่ได้เปรียบสูงสุดในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ส่วน BAY และ KBANK เสียเปรียบสุด เนื่องจากมีเงินฝากที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมากกว่าสินเชื่อ
   โดยรวมที่ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการเติบโตมากขึ้น ทำให้ฝ่ายวิจัยเพิ่มน้ำหนักลงทุนกลุ่ม ธ.พ. เป็นมากกว่าตลาด จากเดิม เท่าตลาด โดยคาดกำไรสุทธิปี 2560-61 ของ กลุ่มฯ เพิ่มขึ้น 7.5% yoy และ 8.4% yoy โดย top picks เลือก SCB, BBL, TCAP
  SCB (FV@B178) : ราคาหุ้นยัง laggard เมื่อเทียบกับโอกาสการเติบโตของธุรกิจที่จะกลับมาพร้อมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งประสิทธิภาพการหารายได้ดอกเบี้ยและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่แข็งแกร่ง พร้อมกับคุณภาพสินทรัพย์ที่จะแข็งแกร่งขึ้นมากในปี 2560
BBL(FV@B197.50) : เป็น ธ.พ.ใหญ่ ที่จะได้รับผลบวกมากเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มฯ (รองจาก KTB) ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยกลับทิศทางเข้าสู่ขาขึ้น ราคาหุ้นปัจจุบันยังถูกแถมปันผลจูงใจ
   TCAP(FV@B53) : จากแนวโน้มการฟื้นตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 2560 ประกอบกับพัฒนาการบวกของธุรกิจที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของผลการดำเนินงานจากนี้ ราคาปัจจุบันยัง laggard หุ้น ธ.พ.ขนาดกลาง-เล็กอื่นๆ แถมปันผลจูงใจเช่นกัน

*** ธปท.มองแบงก์เริ่มปรับตัวปิดสาขา รับ Internet Banking
   นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงช่วงไตรมาส 1 ของปีนี้ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปิดสาขา มากกว่าเปิดสาขา เนื่องจาก พฤติกรรม และ life style ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีการนำเทคโนโลยีมาให้บริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ ประกอบกับ ธนาคารพาณิชย์ต่างบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงปรับตัวโดยทบทวนจำนวนเครือข่ายที่ตั้งสาขา Relocate และเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่าน Mobile Banking หรือ Internet Banking หรือ การนำเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ด้วยตนเองด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง มีความสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา
   นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังปรับรูปแบบสาขา ให้มีขนาดที่เหมาะสม อยู่ในที่ตั้งที่ลูกค้าเข้าถึงง่าย เช่น มีสาขาตามห้างสรรพสินค้า community mall ส่วนพนักงานของธนาคารจะได้รับการอบรม เวียนงาน ให้มีประสบการณ์ และทำงานได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่ง ธปท. ก็มีการติดตาม การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ การดูแลลูกค้าและ พนักงานให้มีความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง


 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com