March 29, 2024   12:32:52 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > แบงก์ใหญ่โดนเท!! ผวาหนี้เสียปูดกดดันกำไร
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 20/04/2017 @ 09:13:02
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ภาพรวมบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันนี้ เรียกว่าโดนแรงเทขายในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่กดดันดัชนีฯ

หลังจาก ธนาคารกรุงไทย KTB ประกาศผลประกอบการไตรมาส1/60 แม้กำไรจะเพิ่มขึ้น 13% YoYและเพิ่ม 15% ที่ 8.5 พันล้านบาทเนื่องจากการตั้งสำรองที่ลดลง แต่เมื่อพิจารณาคุณภาพสินทรัพย์จะเห็นว่ายังอ่อนแอ โดยมี NPL เพิ่มขึ้นมาอีก 9.2 พันล้านบาทจากกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs)

อย่างไรก็ตาม การประกาศผลประกอบการหุ้นในกลุ่มธนาคารยังคงมีต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ สิ่งที่น่าจับตาคือธนาคารขนาดใหญ่อย่าง BBL และ KBANK ที่เตรียมแจ้งผลประกอบการไตรมาส1/60 ในวันที่ 20 เม.ย. ส่วน SCB จะรายงานวันที่ 21 เม.ย.นี้ ทำให้เกิดความกังวลว่าจะออกมาซ้ำรอยกับ KTB หรือไม่ที่เจอกับแรงเทขายตลอดทั้งวัน

บล.ธนชาต ระบุในบทวิจัยฯว่า กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ถูกกดดัน จาก NPL ที่ยังเร่งตัวขึ้นจะเป็นปัจจัยกดดันระยะสั้นในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และเมื่อถ้าพิจารณาจาก TradeCode จะเห็นว่าดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคาร (SETBANK) ปรับลดลงมาที่ “พักฐาน”เรียบร้อยแล้ว ควรเลี่ยงการซื้อกลุ่มธนาคารไปก่อน

ประเด็นดังกล่าว MoneyChannel ได้ต่อสายถึงนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคาร 2 ค่ายหลักทรัพย์ชั้นนำ

เริ่มกันที่ คุณอุษณีย์ ลิ่วรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บล.เอเซีย พลัส บอกว่า แรงขายในหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นมาจากผลกระทบ Sentiment การแจ้งงบของ KTB ที่แม้กำไรจะออกมาตามคาด แต่ความกังวลเกิดขึ้นจากคุณสินเชื่อ หรือหนี้NPL เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติเพราะเพียงแค่ไตรมาสเดียวขึ้นมาถึง 10% แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าธนาคารขนาดใหญ่จะเป็นคล้ายกันหรือไม่ เพราะหนี้NPL ของ KTB ส่วนใหญ่กระจุกในอุตสาหกรรมค้าข้าว ซึ่งที่ผ่านมาประสบปัญหากับราคาตกต่ำ และรวมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แต่เชื่อว่าในส่วนของ BBLและKBANK ไม่น่าจะเห็นการ Coverate ratio หดตัวเหมือนกับ KTB เพราะที่ผ่านมาได้ตั้งสำรองไปแล้วรองรับกับความเสี่ยงดังกล่าว แต่สิ่งที่น่าจับตาคือ SCB เพราะไตรมาส4/59 แม้ว่า NPL จะลดลงผลจาก SSI แต่ระดับ NPL ควรจะต้องลงได้มากกว่านี้ ประกอบกับการตั้งสำรองยังไม่สูงเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับ Coverate ratio ลดลง ทำให้ต้องติดตามว่ากำไรไตรมาส1/60 ของ SCB จะเป็นไปตามคาดหรือไม่


ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าภาพรวม NPL จะทำจุดสูงสุดในปลายปี แม้จะเร่งตัวไม่มากเหมือนในอดีต ซึ่งจะค่อยๆดีขึ้นตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจและสินเชื่อที่ดีขึ้น สำหรับในระยะสั้นมีความเสี่ยงหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่จะมีแรงขาย แต่ในระยะกลางยังคงแนะนำซื้อให้น้ำหนักเป็น Overweight

สำหรับหุ้น BBL ราคาพื้นฐาน 197.50 บาท กำไรสุทธิQ1/60 อยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% QoQ และเพิ่มขึ้น 2% YoY และหุ้น KBANK ราคาพื้นฐาน 232 บาท กำไรสุทธิQ1/60 อยู่ที่1.08 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% QoQ และเพิ่มขึ้น 13% YoY ส่วนหุ้น SCB กำไรสุทธิQ1/60 อยู่ที่ 1.33 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% QoQ และเพิ่มขึ้น 26% YoY

มาที่ด้าน คุณธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.อาร์เอชบี โอเอสเค (ประเทศไทย) ระบุว่า นักลงทุนมีความกังวลกับคุณภาพสินเชื่อธนาคารขนาดใหญ่จึงเทขายหุ้นออกมา หลัง KTB หนี้เสียขึ้นมาถึง 10% ภายในไตรมาสเดียวซึ่งเทียบเท่ากับประมาณการของฝ่ายวิจัยฯที่ประเมินNPLของ KTB ทั้งปี60 สะท้อนถึงการควบคุม NPL ไม่ได้ดีตามที่คาดหวัง ทำให้โอกาสการเติบโตจึงยาก

อย่างไรก็ตาม ต้องตามดูว่าจะเป็นเหมือนกันทุกธนาคารหรือไม่ แต่เชื่อว่าปัญหา NPL จะไม่เร่งตัวเหมือนในอดีตหลังปัญหานี้เกิดมาแล้ว 3 ปีขณะที่สถานการณ์ต่างๆเริ่มดูดีขึ้น ประกอบกับหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้นมาแล้ว 2 ไตรมาส ตามความคาดหวังสูงดังนั้นการขายออกมาจึงเป็นภาวะปกติ ปัจจุบันอัพไซด์ในกลุ่มธนาคารเหลือไม่มาก ยังคงแนะนเพียงถือ หรือรอซื้อเมื่ออ่อนตัว BBL ราคาพื้นฐาน 196 บาท และ KBANK ราคาพื้นฐาน 203 บาท

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com