March 29, 2024   9:24:02 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ธปท.แจง แผน D-SIBs ช่วยเพิ่มเสถียรภาพ 5 แบงก์หลัก ยันทุกแบงก์ยังแข็งแกร่ง - ไม่กระทบเงินฝากของปชช.
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 27/09/2017 @ 08:33:55
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บมจ. เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่นโฮลดิ้ง คอมปะนี พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai พรุ่งนี้ วันที่ 27 ก.ย.นี้ ผู้บริหารเผยยอดจอง IPO ล้น 9.5 เท่า

ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า SSP

ทุนชำระแล้ว 922.00 ล้านบาท

มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท

หุ้นสามัญเดิม 691.63 ล้านหุ้น

*หุ้นสามัญเพิ่มทุน 230.38 ล้านหุ้น

*ราคาหุ้นIPOละ 7.70 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio)ที่ 18.3 เท่า

📌 P/E เฉลี่ยของบจ. ที่ประกอบธุรกิจคล้ายกันอยู่ที่ 18.8 เท่า » BCPG (16.8) EA (32.3) SPCG (8.8) TSE (17.1)

P/E ratio ของSSP ที่ 18.3 เท่า คำนวณจากผลประกอบการ 4 ไตรมาสล่าสุด (1 กรกฎาคม 2559-30 มิถุนายน 2560)หารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ (fully diluted) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ0.4210 บาท

*การกำหนดราคาเสนอขาย IPO ที่ 7.70 บาทมาจากการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนสถาบัน (book building)

มูลค่าระดมทุนรวม 1,773.89 ล้านบาท

มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 7,099.40 ล้านบาท

*ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
บล. กสิกรไทย จำกัด

*สัดส่วนการเสนอขายหลักทรัพย์
1. ผู้มีอุปการคุณของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ » 96.5 ล้านหุ้น (34.9%)

2. นักลงทุนสถาบัน » 130.1 ล้านหุ้น (47.1%)

3. ผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ » 49.8 ล้านหุ้น (18%)

*Unity I. Capital Limited ในฐานะผู้ถือหุ้นของ SSPได้นำหุ้นสามัญเดิมออกขายจำนวน 46.00 ล้านหุ้น ในราคาเดียวกัน

*SSP มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 ลำดับแรกหลัง IPO ได้แก่
1.กลุ่มครอบครัวไกรพิสิทธิ์กุล ถือหุ้น 70.02 %

2.Bank of Singapore Limited ถือหุ้น 1.03 %

3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้มาสเตอร์ร่วมทุน ถือหุ้น 0.44 %

*วัตถุประสงค์การใช้เงิน
1. เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน และเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป » ไม่เกิน 125 ลบ. (ภายในปี 2563)

2. ชำระคืนเงินกู้ของบริษัทฯ กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย » ไม่เกิน 715 ลบ. (ภายในปี 2560)

3. เงินลงทุนในโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และโครงการในอนาคตอื่นทั้งในส่วนของโครงการภายใต้การดำเนินงานของบริษัทและ/หรือบริษัทย่อย » ไม่เกิน 891.2 ลบ. (ภายในปี 2561-2563)

บริษัทมีนโยบายจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 40%ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองต่างๆทุกประเภทที่กฎหมายและบริษัทกำหนดไว้ในแต่ละปี

SSP ดำเนินธุรกิจถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company)ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นทั้งในและต่างประเทศ

ปัจจุบัน SSP ลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยลงทุน 100% ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1) โครงการเสริมสร้าง โซลาร์ จ.ลพบุรี ปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญา 40 เมกะวัตต์ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558

2) โครงการโซลาร์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) จ. ราชบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาและยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญา 5 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 และมีเงินลงทุน 86.9%- 100% ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 5 โครงการ ปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญารวม 93 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทะยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในปี 2561 จำนวน 23 เมกะวัตต์ และภายในปี 2563 จำนวน 70 เมกะวัตต์

นอกจากนี้ SSP ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา(solar rooftop)ในประเทศไทยจำนวน 2โครงการกำลังการผลิตติดตั้งรวม 1.4 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาส 4 ปี 2560

บล.กสิกรไทย เผยการดำเนินธุรกิจของ SSP จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยและในประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ให้การสนับสนุนการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดจากหนังสือชี้ชวนของบริษัทที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th และข้อมูลทั่วไปของบริษัทที่ www.sermsang.com และที่เว็บไซต์ www.set.or.th

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com