March 29, 2024   2:34:05 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > สังคมข่าวหุ้น
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 02/05/2018 @ 08:42:47
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

*นักลงทุนต่างชาติ ยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย ล่าสุดตัวเลขเดือนเมษายน ขายออกอีกกว่า 21,449 ล้านบาท และทำให้ช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ต่างชาติขายออกไปแล้ว 79,556 ล้านบาท แต่ก็ยังดีที่นักลงทุนสถาบัน บัญชีโบรกฯ และรายย่อยยังช่วยกันยันดัชนีไว้ด้วยการซื้อสุทธิเกือบ 8 หมื่นล้านบาท

*หุ้น IRPC ราคาปรับลงไปเมื่อวันก่อนหน้านี้หลุดจาก 7.00 บาท (ปิด 6.95 บาท) ทำให้เกิดอาการเสียวทันที เพราะเกรงว่าจะกลับขึ้นมายืนเหนือ 7.00 บาทได้ยาก แต่ที่ไหนได้ลงไปแค่วันเดียวเท่านั้น พอวันถัดมา วิ่งกลับขึ้นมาได้ และมาปิด 7.05 บาท แต่ราคานี้ยังต่ำกว่าราคาที่ PTT รับซื้อหุ้น IRPC มาจากแบงก์ออมสินที่ระดับ 7.10 บาท ซึ่งหากคิดหรือคำนวณแบบนี้ ระดับ 7.10 บาท ก็น่าจะรับมือไหววันนี้

*หุ้น “บัตรกรุงไทย” หรือ เคทีซี ภายใต้การบริหารของ “คุณหมอระฑียร” ยังวิ่งขึ้นสนุกสนานรับข่าวเตรียมเข้า MSCI แถมยังมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องแตกพาร์ว่ามีความเป็นไปได้ ล่าสุดราคาขึ้นไปปิด บวกอีก 18 บาท มาที่ 366 บาท และราคานี้ถือว่ามากกว่าเป้าหมายของโบรกฯ ทุกแห่งแล้ว ทำให้มีคำแนะนำ หรือคำเตือนเกี่ยวกับการลงทุน และอาจมีแรงขายทำกำไรออกมา

*หุ้นเกี่ยวกับสินเชื่อไม่มีหลักประกันอีกตัวคือ AEONTS ที่ราคาวิ่งขึ้นมาไม่แพ้กัน หลังจากผู้บริหารวางเป้าหมายพร้อมออกบัตรเครดิตที่ไปจับกลุ่มระดับบนหรือที่มีรายได้สูงมากขึ้น ทำให้โอกาสในการสร้างกำไรสูงเช่นเดียวกับเคทีซี ขณะที่กลุ่มคนเหล่านี้ยังมีอำนาจในการซื้อที่ดี ขณะที่โบรกฯ ส่วนใหญ่ มองผลประกอบการปีนี้ยังออกมาสวย และแนะนำซื้อ มีราคาเป้าหมายสูงสุด 210 บาท ที่ให้ไว้โดย บล.กรุงศรี

*หุ้นแบงก์ขนาดใหญ่ทั้ง SCB KTB KBANK และ BBL ราคาปรับลงมาต่อเนื่อง แต่เท่าที่ดูเส้นกราฟ ราคาหุ้นเริ่มย่ำฐานกันแล้ว เพียงแต่ยังไม่ดีดขึ้นเท่านั้น เพราะมีปัจจัยกดดันจากมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 ว่าจะต้องมีการตั้งสำรองฯ เพิ่มมากน้อยแค่ไหน เพราะผู้บริหารของธนาคารแต่ละแห่ง ก็ยังพูดไม่ค่อยเต็มปากว่า จะมีตั้งสำรองฯ เพิ่มหรือไม่ หรือนักวิเคราะห์เองก็ยังให้ประเด็นดังกล่าวเป็นปัจจัยลบที่คอยกดดันอยู่ แต่หากจะให้เลือกหุ้น 4 แบงก์นี้ที่ดูแล้วเหมาะต่อการเข้าสะสมก็คือ BBL เพราะเงินกองทุนแกร่งสุด

*เกิดอะไรขึ้นกับ กรุงเทพประกันชีวิต หรือ BLA เพราะล่าสุด “วิพล วรเสาหฤท” ได้ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ มีผลวันที่ 5 พ.ค.นี้ หลังเพิ่มเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 หรือผ่านไปเพียง 1 ปีกับอีก 1 เดือนกว่า ๆ เอง โดยก่อนที่นายวิพล จะเข้ามารับงาน ตำแหน่งนี้ว่างลงอยู่เกือบ 1 ปี เมื่อ “โชน โสภณพนิช” ได้ลาออกในช่วงปี 2559 ก่อนจะกลับเข้ามารับตำแหน่งเป็นกรรมการ หรือบอร์ดของบริษัท ก็ต้องจับตาดูว่า นายโชน จะหวนคืนสู่เอ็มดีหรือไม่

*บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) ก็มีลาออกเช่นกัน เมื่อ “ศุภจี สุธรรมพันธุ์” ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้ลาออกจากตำแหน่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา และบริษัทอยู่ระหว่างการสรรหากรรมการใหม่ และจะแต่งตั้งในที่ประชุมคณะกรรมการโดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป

*บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้ง ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASP แจ้งผลการดำเนินงานตามงบการเงินรวมไตรมาส 1 ปี 2561 ซึ่งยังไม่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยมีกำไรสุทธิเป็นจำนวนเงิน 228.17 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2560 จำนวน 192.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% “ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ” บอสใหญ่ของบริษัท คงปลาบปลื้มสุด ๆ

* แต่ตัวเลขกำไรออกมาไม่ดี คือ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็งฯ มีกำไรสุทธิไตรมาสแรก 148.84 ล้านบาท ลดลง 108.10 ล้านบาท หรือลดลง 42.07% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ 256.94 ล้านบาท ปัจจัยหลัก ๆ มาจากค่านายหน้าลดลง ซึ่งก็น่าจะเป็นผลมาจากการถูกดึงมาร์เก็ตติ้ง และนักลงทุนรายใหญ่บางส่วนไป แต่ข่าวว่าเริ่มมีอดีตพนักงานที่ลาออกไป จะขอกลับเข้ามาทำงานหลายคน แต่เมย์แบงก์ฯ จะเลือกเป็นบางคนเท่านั้น

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com