April 19, 2024   3:39:46 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ทหารไทย-ธนชาต เซ็นข้อตกลงควบรวม TMB เตรียมเพิ่มทุนให้ TCAP ถือ 20%
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 27/02/2019 @ 08:21:28
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -26 ก.พ. 62 18:27 น.

  นายนริศ อารักษ์สกุลวงศ์ เลขานุการ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ทางธนาคารฯ และธนาคารธนชาต แจ้งเซ็นสัญญาบันทึกข้อตกลงในการควบรวมกิจการ โดย TMB จะเพิ่มทุนมูลค่าประมาณ 50,000-55,000 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 1.1 เท่าของมูลค่าทางบัญชี (ล่าสุดอยู่ที่ 2.25 บาท) ให้ TCAP เข้าถือหุ้น 20% มูลค่าหลังควบรวมราว 130,000-140,000 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 1.9 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านราย ขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์อันดับ 6 ของไทย

  - เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ธนาคารฯ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแบบไม่มีผลผูกพัน ทางกฎหมาย กับ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (ธนาคารธนชาต), ING Groep N.V. (ING), บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (ทุนธนชาต) และ The Bank of Nova Scotia (“BNS”) เพื่อกำหนดกรอบความเข้าใจและหลักการสำหรับการเจรจาร่วมกันต่อไปเกี่ยวกับการเข้าทำธุรกรรมต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรวมกิจการระหว่างธนาคารฯ และธนาคารธนชาต (“ธุรกรรม” หรือ “การรวมกิจการ”) เพื่อร่วมดำเนินธุรกิจธนาคารด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น

  - การรวมกิจการจะทำให้ขนาดและศักยภาพทางธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มุ่งสู่การเป็นธนาคารชั้นนำ ขนาดใหญ่ของไทย โดยธนาคารภายหลังการรวมกิจการจะมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านคน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่หกในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไทย

  - ก่อนการรวมกิจการ ธนาคารธนชาตจะมีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ โดยจะมีการโอนบริษัทในเครือและบริษัทที่เกี่ยวข้องบางส่วน ทั้ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ถือหุ้นปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ทุนธนชาต และ/หรือ BNS และ/หรือ ผู้ถือหุ้นรายย่อย ตามที่มีการลงนามเข้าทำสัญญา ในกรณีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจนั้น เป็นที่คาดว่าผู้ถือหุ้นหลักของธนาคารธนชาตจะยังคงให้การสนับสนุนบริษัทย่อยและบริษัทในเครือดังกล่าว เพื่อให้จุดประสงค์ของการรวมกิจการบรรลุผล และเมื่อการปรับโครงสร้างดังกล่าวแล้วเสร็จ ธนาคารฯ คาดว่าจะรวมกิจการกับธนาคารธนชาตด้วยวิธีการโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติบุคคลเดียวตามกฎสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (SinglePresence Rule) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งโครงสร้างและขั้นตอนที่แน่นอนในการรวมกิจการจะขึ้น อยู่กับผลการวิเคราะห์ด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ และภาษี

  - ธนาคารฯ คาดว่าธุรกรรมนี้จะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 130,000-140,000 ล้านบาท ทั้งนี้ อาจมีการปรับมูลค่าในขั้นตอนสุดท้าย เนื่องมาจากการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (Due Diligence) และมูลค่าหุ้นทางบัญชีของธนาคารธนชาต และบริษัทในเครือล่าสุด โดยคู่สัญญาจะตกลงชำระค่าตอบแทนให้แก่กันในรูปแบบของเงินสดและเงินสดส่วนหนึ่งจะนำกลับมาลงทุนในธนาคารฯ ซึ่งหลังจากการเข้าทำธุรกรรมแล้วเสร็จและมีการเพิ่มทุนตามที่จำเป็น ING กระทรวงการคลัง และทุนธนชาตคาดว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นหลักของธนาคารภายหลังการรวมกิจการ โดย ING และทุนธนชาตจะถือหุ้นในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 20% ส่วน BNS คาดว่าจะถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

  - ธนาคารฯ จะจัดหาเงินทุนสำหรับการเข้าทาธุรกรรมครั้งนี้ ผ่านการระดมทุนทั้งการออกตราสารหนี้และ การออกหุ้นเพิ่มทุน โดยเงินทุนจากการออกหุ้นเพิ่มทุนคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 70% ของมูลค่าธุรกรรม สำหรับการออกหุ้นเพิ่มทุนประมาณ 50,000 - 55,000 ล้านบาท จะเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ ทุนธนชาต และ BNS โดยจะคิดมูลค่าหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารฯ เท่ากับ 1.1 เท่าของมูลค่าทางบัญชีล่าสุดของธนาคารฯ ภายหลังปรับปรุงมูลค่าจากการจัดหาเงินทุน ทั้งนี้ มูลค่าดังกล่าวจะต้องไม่ต่ากว่ามูลค่าขั้นต่ำที่จะได้กำหนดไว้ในสัญญาต่อไป

  - สำหรับเงินทุนจำนวนที่เหลืออีกประมาณ 40,000 - 45,000 ล้านบาท ธนาคารฯ คาดว่าจะออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของธนาคารฯ รวมทั้งอาจจะมีการออกหุ้นเพื่อเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนต่อไป และ/หรือ บุคคลในวงจำกัดกับนักลงทุนรายใหม่หรือนักลงทุนรายเดิม ทั้งนี้ ธนาคารฯ ประสงค์ที่จะดำรงไว้ซึ่งฐานะเงินกองทุนที่ยั่งยืนภายหลังธุรกรรมเสร็จสิ้น

  - ภายหลังการควบรวม จะมีการใช้ชื่อทางการค้าใหม่ (Rebranding) โดยชื่อทางการค้าใหม่ที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับการอนุมัติของคณะกรรมการธนาคาร

  - ธนาคารจะใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลในการดำเนินธุรกิจ เพื่อดำเนินการจัดการด้านบุคลากรและพนักงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ในกรณีที่ต้องมีการประเมินผลงานพนักงานจะมีการพิจารณาอย่างเป็นธรรมตามทักษะ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถ และคุณสมบัติของบุคคลนั้นๆ
- ภายหลังจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงแล้ว คู่สัญญาทุกฝ่ายประสงค์ที่จะตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ จัดเตรียม พิจารณา ต่อรอง และตกลงเข้าทำสัญญาตามที่คู่สัญญาจะได้ตกลงกันโดยทันที ธนาคารฯ คาดว่าธุรกรรมน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการอนุมัติและการยินยอม โดยภายหลังจากที่ธุรกรรมเสร็จสิ้น ธนาคารฯ และธนาคาร ธนชาตจะเริ่มดำเนินการรวมธุรกิจของทั้งสองธนาคารไว้ภายใต้ธนาคารเดียว



เรียบเรียง สุรเมธี มณีสุโข

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com