March 28, 2024   6:43:08 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > METRO, GEN-W1เทรดวันนี้
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 26/10/2005 @ 08:31:17
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

METRO เทรดวันนี้ ประเดิมบจ. กลุ่มบูรพชัยศรี [/color:c6ae375442">

กลุ่มตระกูล บูรพชัยศรี จัดว่าโด่งดังมาจากบริษัท เมโทรแมชีนเนอรี่ จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถแทรกเตอร์ รถขุด รถตัก ฯลฯ รายใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ มากว่า 30 ปี ได้ลิขสิทธิ์ผูกขาดเป็นตัวแทนนำเข้ารายเดียวจาก CATERPILLAR จากสหรัฐฯรวมถึง เครื่องมือกลหนัก สำหรับงานก่อสร้าง อันเป็นผลงานของทองไทร บูรพชัยศรี
ทว่า ณ วันนี้ของกลุ่มบูรพชัยศรี ภายใต้การบริหารจัดการของคนเจนเนอเรชั่นใหม่ได้ก้าวย่างเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้นับต่อจากนี้ คนจะเริ่มรู้จักมากขึ้นหลังจากวีระบูรพชัยศรี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน)หรือ METRO พร้อมจะนำบริษัทเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 25ตุลาคมนี้
การรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มบูรพชัยศรี เป็นการทำธุรกิจต้องอาศัยกลยุทธ์ตลาดเป็นสำคัญ เพราะไม่มีสายสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ขณะที่มีคู่แข่งขันมีจำนวนมากต่างจากทำธุรกิจของรุ่นพ่อของเขา ที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ทางราชการเป็นใบเบิกทาง
กลุ่มบูรพชัยศรีจะรับมือกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีคู่แข่งที่มีมากหน้าหลายตาในตลาดได้เพียงใด รวมถึงจะทำอย่างไรกับภาวะอุตสาหกรรมที่เริ่มจะชะลอตัว เกมนี้คงไม่ใช่เรื่องหมูอยู่ในอวย แน่นอน เพราะนอกเหนือจากผลประกอบการแล้ว ราคาหุ้นเป็นอีกปัจจัยสะท้อนความรุ่งโรจน์ของบริษัทฯ ในอนาคตเพื่อนสนิทกลุ่มทองแตง
หากย้อนดูประวัติความสัมพันธ์ของกลุ่มบูรพชัยศรี พบว่า วิชัย ทองแตง ทนายผู้มีชื่อเสียงโด่งดังกับ ทองไทร บูรพชัยศรี มีความสัมพันธ์กันมายาวนาน ซึ่ง วิชัย เคยเป็นกรรมการ คอยให้คำปรึกษาด้านกฎหมายกับบริษัท เมโทร แมชชินเนอรี่ มานานถึง 20 ปี
ส่วนทองไทร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 17.76 % ของบริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด(มหาชน) หรือSGFของวิชัย ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท เปาโล เมดิค จำกัด เป็นบริษัทในนามของวิชัย ยังถือหุ้นเพียง 13.30 %เท่านั้น
ทองไทร เข้ามาถือหุ้น SGFเมื่อต้นปี 2547 จนล่าสุดปิดสมุดทะเบียนเดือนเมษายน 2548 สัดส่วนการถือหุ้นของทองไทรยังไม่ได้หดหายไปไหน เป็นการยืนยันให้เห็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างทองไทรกับทนายวิชัยอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของกลุ่มบูรพชัยศรีมีให้กับกลุ่มทองแตง จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ดีในแง่ชื่อเสียงของทนายวิชัยแล้ว
สิ่งที่น่าจับตามองอีกประเด็นก็คือ วีระ บูรพชัยศรี ประธานกรรมการบริหารของMETROเคยผ่านประสบการณ์เป็นผู้บริหารแผนกสินเชื่อของธนาคาร ทิสโก้ จำกัด(มหาชน)หรือTISCO และมีความรู้ด้านตลาดทุน และตลาดหุ้นมาเป็นอย่างดี
ฉะนั้นการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นของกลุ่มบูรพชัยศรี คงจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นนักบจ.แรกของบูรพชัยศรี
วันนี้(26ต.ค.) เป็นวันแรกของบริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน)หรือ METRO จะเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งนายรัตนชัยผาตินาวิน กรรมการผู้จัดการ บมจ. เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า แม้ภาวะตลาดหุ้นจะไม่เอื้ออำนวย แต่บริษัทฯมีความมั่นใจในพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เนื่องจากมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น
จุดเด่นของเราอยู่ที่การเป็นผู้นำคอนโดมิเนียนใจกลางเมือง ย่าน สีลม สาธร ที่เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจการค้า การเงินการธนาคาร และที่อยู่อาศัย ซึ่งจะเรียกได้ว่าทำเลที่ตั้งของบริษัทฯจะอยู่ย่าน กลางเมืองของกลางเมือง โดยไม่ทำคอนโดแบบสะแบะสะบะและโฟกัสในจุดที่มีโพรซิชั่นนิ่งที่ชัดเจน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่กล่าวไว้เท่านั้น ซึ่งฐานลูกค้าจะอยู่ในระแวกของแต่ละทำเล ซึ่งอยู่ในกลุ่มระดับ B+ ถึง A+
เขายอมรับว่า ชื่อเสียงของบริษัทฯอาจจะไม่เป็นที่รู้จัก แพร่หลายของคนทั่วไปมากนักเนื่องจาก บริษัทฯเพิ่งจะก่อตั้งมาเพียง 5-6 ปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับบริษัทใหญ่ที่มีการตั้งมานานแล้ว อย่างไรก็ดี บุคลากรของบริษัทฯแต่ละคนล้วนแล้วอยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาประมาณ 20 ปีทั้งนั้น
สำหรับโอกาสของบริษัทฯจะถือว่ามีความได้เปรียบในแง่ของการเป็นผู้ริเริ่มการทำธุรกิจคอนโดมิเนียมเป็นเจ้าแรกภายหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งช่วงนั้นเราก็เทคโอเวอร์โครงการที่เป็นเอ็นพีแอลมา โดยเป็นการซื้อมาทั้งหนี้สินและทุนมากทั้งหมด และสามารถสร้างเสร็จได้ด้วยทุนของบริษัทฯเองทั้งหมด
ผมมองว่าทีมงานและตนเองมีความใจถึงที่กล้าเทคโอเวอร์สินทรัพย์ทั้งหมดของโครงการที่เป็นเอ็นพีแอลมาทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่ความใจถึงเท่านั้น แต่เป็นการอ่านขาดที่จะรุกเข้าไปลงทุนในโครงการที่ไม่มีใครกล้าเข้าไปในช่วงหลังวิกฤติเกิดใหม่ๆ นายรัตนชัย กล่าว
การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีปัจจัยทั้งหมด 3 ประการคือ ตาถึง ใจถึง และ มือถึง กล่าวคือ เหตุที่ต้องตาถึง เพราะในฐานะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะต้องมองให้ทะลุ วิเคราะห์ให้ขาด อ่านเกมให้ออกตั้งแต่ต้นจนจบเลยว่า สิ่งที่จะไปลงทุนมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงโอกาสที่จะประสบความสำเร็จอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นไปได้สูงเท่าใด
จากนั้น เมื่อวิเคราะห์ อ่านเกมทะลุแล้ว เมื่อโอกาสมาถึง ก็ต้องกล้าทำ เพราะที่ผ่านมา คนเห็นโอกาสพร้อมกันหลายคน แต่หลายคนไม่มีใครกล้า และสุดท้ายการจะประสบความสำเร็จและยืนยันในธุรกิจสังหาริมทรัพย์ได้ จะต้องมือถึง ต้องทำให้ได้ โดยที่สามารถส่งมอบสินค้าที่ดีให้กับลูกค้าได้ทัน ซึ่งลูกค้าจะเป็นคนตัดสินใจเองว่า บริษัทฯจะสามารถที่จะก้าวต่อไปหรือไม่
อุปสรรคของการทำธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือ ต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการผันแปรของราคาน้ำมัน ส่วนอุปสรรคในการทำธุรกิจที่มาจากตัวบริษัทฯ เอง นายรัตนชัยยืนยันว่าไม่มี
ราคาหุ้น 7 บาท ไม่ถือว่าแพง เพราะค่า P/E อยู่ที่ 7.7 เท่า ส่วนของตลาดฯอยู่ที่ 11 เท่า และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ 10 เท่า ขณะที่P/E เฮ้าส์ซิ่งที่เป็นคอนโดมิเนียมอยู่ที่ 9 เท่า ซึ่งราคาหุ้นที่ตั้งไว้ จะเป็นราคาที่มีส่วนลดลงมาเมื่อเทียบกับกลุ่มต่างๆ
ถึงแม้ภาวะอุตสาหกรรมพร็อพเพอร์ตี้ในปีนี้จะอยู่ในช่วงที่ไม่ค่อยจะสดใสนัก แต่บริษัทฯก็มีความมั่นใจว่าราคาหุ้นที่กำหนดขึ้นมานั้น เป็นราคาที่ไม่สูง เพราะบริษัทฯพยายามที่จะเน้นจุดขายที่ตัวสินค้าที่มีคุณภาพดีและทำเลเป็นหลัก ซึ่งจะมีความแตกต่างกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่พยายามจะกระจายสินค้าไปตามที่ต่างๆ แต่สินค้าของบริษัทฯจะอยู่ย่านใจกลางเมืองเพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้มีมูลค่าเพิ่มปรับตามเวลาอยู่ตลอด
ที่ดินหรือทำเลของคอนโดที่เป็นสินค้าของบริษัทฯจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาเช่นบางแห่งราคาที่ดินที่ซื้อมา 2.8 แสนบาท ต่อมาก็มีการปรับขึ้นเป็น 4.8 แสนบาท จุดนี้ก็ถือว่าเป็นจุดแข็งของบริษัทฯที่กล้าทำธุรกิจโดยเน้นย่านใจกลางเมือง
สำหรับความกังวลว่าที่ดินย่านใจกลางเมืองจะหมดลงนั้น นายรัตนชัย กล่าวว่า ตลอดเวลาที่มีการนำที่ดินมาทำโครงการ บริษัทฯก็จะมีการหาทำเลหรือที่ดินใหม่เข้ามาเพิ่มอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯยังมีที่ดินที่รอการพัฒนาอีกประมาณ 2-3 แปลง และคงจะไม่มีปัญหาใดๆ ในเรื่องของการหาที่ดินในการทำโครงการโบรกฯให้ราคาปริ่มจอง
บทวิเคราะห์ บล.ฟาร์อีสท์ ประเมินว่า METRO เริ่มต้นธุรกิจโดยการเข้าไปซื้ออาคารที่สร้างค้างใน ซ.ศาลาแดง และนำมาพัฒนาเป็นโครงการ สีลม เทอเรส ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยสามารถปิดการขายได้ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน ต่อมาได้ลงทุนพัฒนาโครงการ สีลม แกรนด์ เทอเรส ในซ.ศาลาแดง เช่นกัน ซึ่งก็สามารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์
ผลประกอบการในอดีตยังไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากวิธีการทางบัญชีและช่วงต่อของการพัฒนาโครงการสองโครงการแรกที่ยังมีช่องว่างอยู่ แต่เราคาดว่าตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไปซึ่ง METRO ได้เปลี่ยนวิธีการรับรู้รายได้เป็นวิธีสัดส่วนความสำเร็จของงานและการเปิดโครงการใหม่ๆที่มีความต่อเนื่องขึ้นจะทำให้ปี 48 เป็นฐานการเติบโตที่ใช้เปรียบเทียบได้ดี
เราคาดว่า METRO จะมีการเติบโตของรายได้ในช่วง 3 ปีข้างหน้า (ปี48-50)อย่างต่อเนื่อง จาก 1,005 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 1,542 ล้านบาทในปี 2550 ทั้งนี้เกิดจากการตั้งราคาขายที่สามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ตามระดับราคาดังกล่าวอาจไม่สามารถสร้าง GPM ได้สูงเช่นเดียวกับโครงการในอดีตได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กำไรสุทธิใน 3 ปีดังกล่าวจะเติบโตจำกัด
METRO มีโอกาสลงทุนเพิ่มเติมและจะทำให้กำไรในช่วงดังกล่าวมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้อีก เราจึงประเมินมูลค่าเหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2548 โดยอิงจากProspective P/E ที่ 8 เท่าซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ได้มูลค่าเหมาะสมที่ 7.20บาท
บล.ไซรัส ประเมินมูลค่าหุ้น METRO ด้วยวิธี DCF ซึ่งรวมโครงการปัจจุบัน และโครงการที่ METRO มีที่ดินอยู่ในมือ และมีแผนจะเปิดในช่วงปี 2548-2549 อีก 4 โครงการโดยใช้อัตราคิดลดสำหรับกระแสเงินสดที่ 12.0 % ต่อปี จะได้ราคาเหมาะสมสิ้นปี 2548ที่ 7.30 บาท มีระดับP/E เป้าหมายที่ 7.9 เท่า
สูงกว่ากลุ่มเฉลี่ยในปี 2548 อยู่ที่ 7.6 เท่า ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเฉลี่ยของกลุ่มที่อยู่อาศัยที่ 8.4 เท่าเล็กน้อย เนื่องจากคาดว่าผลกำไรในปี 2549 ของบริษัทฯจะลดลง ขณะที่การเติบโตของกำไรปกติในอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 9.1%
รายได้โตก้าวกระโดด อัตรากำไรขั้นต้นคงที่
บริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท เอ็มทีเอสพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 โดยนายวีระ บูรพชัยศรี ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5 ล้านบาท ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งเน้นในเขตพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ และเป็นพื้นที่ทำเลที่ดี
ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 470 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 235 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2 บาท เป็นทุนชำระแล้ว 300 ล้านบาท การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปในครั้งนี้ เป็นการเสนอขายหุ้นสามัญจำนวน 75 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2 บาท หรือคิดเป็น 33.33% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วภายหลังการเพิ่มทุน โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมเพิ่มทุนเพื่อนำไปเป็นเงินลงทุนในการพัฒนาโครงการอสังหามทรัพย์
ในปีนี้บริษัทสามารถพลิกมาทำกำไรสุทธิได้หลังจากที่ก่อนหน้านั้นประสบผลขาดทุนเป็นจำนวนมาก โดยงวดครึ่งปีสิ้นสุด 31 มิถุนายน 2548 มีกำไรสุทธิ 93 ล้านบาท หรือ 0.62 บาทต่อหุ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 17 ล้านบาท หรือขาดทุน 0.45 บาทต่อหุ้น
สาเหตุกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากยอดรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นมาที่ 327 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายได้เพียง 9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3,313% เนื่องจากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้เป็นวิธีตามอัตราร้อยละของงานที่ทำเสร็จในปีนี้ จากเดิมรับรู้รายได้เมื่อมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายไม่น้อยกว่า 40% ของโครงการที่เปิดขาย
แต่เมื่อดูอัตราการเติบโตของกำไรขั้นต้นพบว่า งวดครึ่งปีนี้มีอัตราการเติบโตของกำไรขึ้นต้นเท่ากันกับช่วงเดียวกันของปีก่อนคืออยู่ที่ 39% แสดงให้เห็นว่าแม้รายได้โตอย่างก้าวกระโดด แต่ต้นทุนขายก็โตอย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน
พบว่ามีต้นทุนขายเพิ่มขึ้นเท่ากันกับยอดรายได้ที่เพิ่มขึ้นคือ 3,313% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีต้นทุนขายเพียง 5 ล้านบาท ปรับเพิ่มมาที่ 198 ล้านบาท ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่ากำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีทำให้สามารถรับรู้รายได้ได้เพิ่มมากขึ้น
ด้านโครงสร้างทางการเงิน โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 434 ล้านบาท และมีหนี้สินรวม1,472 ล้านบาท ทำให้ D/E Ratio อยู่ที่ 3.38 เท่า ถือว่าเป็นสัดส่วนทางการเงินยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีหนี้สินทั้งระยะยาวและระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องแบกรับดอกเบี้ยจ่ายซึ่งถือเป็นต้นทุนทางการเงินที่สำคัญเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงในบริหารงานก็สูงตามไปด้วย

 กลับขึ้นบน
อาฟง
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
#1 วันที่: 26/10/2005 @ 08:33:00 : re: METRO, GEN-W1เทรดวันนี้
GEN-W1ประเดิมวันนี้ไม่น่าเกิน25สต. [/color:832766ccbc">

GEN-W1 ได้ฤกษ์เทรดวันนี้ บล.ซิกโก้ส่งซิกราคา 0.25 บาทแนะขายทำกำไรหุ้นลูก โบรกเกอร์ฯเชื่อทั้งปี 48 ขาดทุน 8 ล้านบาท เหตุราคาน้ำมันขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนขยับตาม พร้อมให้ราคาเป้าหมาย 0.90 บาท
วันนี้ (26 ต.ค.) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เจนเนอรัลเอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GEN-W1 จำนวน 238,362,035 หน่วย อายุ 5 ปีราคาใช้สิทธิหุ้นละ 2.25 บาท ต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ 0 บาท โดยสัดส่วนใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้ 1 หุ้น จะเริ่มทำการซื้อขายให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)เป็นวันแรก
บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ SSEC กล่าวว่า จากการประเมินมูลค่า GEN-W1 โดยใช้ Black Scholes Model ภายใต้เงื่อนไข HistoricalVolatility ที่ 50% Risk free rate ที่ 5.75% และ Dividend Yield 0.00%ราคาหุ้นแม่ที่ 1.00 บาท ซึ่งเป็นราคาปิด ณ วันที่ 21 ต.ค.48 จะได้มูลค่า GEN-W1 ประมาณ 0.25 บาท
สำหรับต้นทุนการแปลงสิทธิ ณ ราคาหุ้น GEN ที่ 1 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการแปลงสภาพ (ราคาหุ้นลูก+ราคาใช้สิทธิ) จะเท่ากับ 2.50 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาหุ้นแม่ในกระดาน ดังนั้นในระยะสั้นจึงแนะนำให้ขายทำกำไรหุ้นลูก
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแรงเหวี่ยงของวอร์แรนต์ในการซื้อขายในวันแรก โดยสมมติให้ต้นทุนของผู้แปลงสภาพวอร์แรนต์เท่ากับราคาปิดก่อน XW ที่ 1.23 บาท จะทำให้ได้ราคาที่เหมาะสมที่ 0.37 บาท ซึ่งราคาที่เหมาะสมตามทฤษฎี (Black Schole) ยังคงเท่ากับ 0.25 บาท
นักวิเคราะห์รายหนึ่ง ประเมินว่า ในปี 48 บริษัทอาจมีขาดทุนสุทธิประมาณ 8 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.02 บาท และมีรายได้จากการขายรวมประมาณ 978 ล้านบาท เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่เริ่มชะลอตัว รวมถึงราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนค่าบริการติดตั้ง และต้นทุนผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ผลิตภัณฑ์พื้นและผนังคอนกรีตปรับตัวสูงขึ้น ส่วนปีหน้าอาจมีกำไรสุทธิประมาณ 16 ล้านบาทคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.03 บาทและมีรายได้จากการขายรวมประมาณ 1,100 ล้านบาท ดังนั้นแนะนำขาย โดยให้ราคาเป้าหมายปีนี้ที่ 0.90 บาท
ก่อนหน้านี้นายวิชญา จาติกวณิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่งจำกัด (มหาชน) หรือ GEN ผู้ผลิตและจำหน่ายเสาเข็มและวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ เปิดเผยว่า ในปี 48 บริษัทอาจมีรายได้ประมาณ 1,200 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 20%เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีรายได้รวมจำนวน 1,027.10 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 48.09ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.11 บาท เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 และ 4/48 งานในมือส่วนใหญ่จะเป็นงานพื้นและผนังที่มีมาร์จิ้นสูงถึง 10-12% และงานคอนกรีตเสริมใยแก้วที่มีมาร์จิ้นประมาณ 30 ซึ่งสูงกว่างานเสาเข็ม
ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งงานดังกล่าวบริษัทสามารถบริหารต้นทุนได้ดี อย่างไรก็ดีบริษัทได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลบ้างแต่ไม่มากนักนัก เพราะขณะนี้ต้นทุนค่าขนส่งของบริษัทยังไม่ปรับขึ้น แต่หากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นบริษัทก็จะขึ้นราคาสินค้าและค่างานเพื่อให้สอดคล้องต้นทุนที่สูงขึ้นนายวิชญา กล่าว
 กลับขึ้นบน
WhyNot
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 16
#2 วันที่: 26/10/2005 @ 13:39:50 : re: METRO, GEN-W1เทรดวันนี้
gen-w1 แปลงตัวแม่อัตรา 1:1 @ 2.25 บาท

**************
หลักทรัพย์ GEN
หัวข้อข่าว สรุปข้อสนเทศ : GEN-W1
วันที่/เวลา 21 ต.ค. 2548 13:17:00

สรุปข้อสนเทศ
ลักษณะเงื่อนไขและสาระสำคัญใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GEN-W1)

วันที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2548 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 26 ตุลาคม 2548)
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Main Market)
จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิ 238,362,035 หน่วย
จำนวนหุ้นรองรับการใช้สิทธิ 238,406,250 หุ้น
ผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ในอัตรา 2 หุ้น เดิมต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ)

สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ
ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้ 1 หุ้น ในราคาการใช้สิทธิ 2.25 บาท ต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ ทั้งนี้ราคาการใช้สิทธิและอัตราการใช้สิทธิอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ส่วนที่ 3 เงื่อนไขการปรับสิทธิ

ชนิดของใบสำคัญแสดงสิทธิ ชนิดระบุชื่อผู้ถือและโอนเปลี่ยนมือได้

อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ
5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ซึ่งตรงกับวันที่ 30 กันยายน 2548 และกำหนดให้วันใช้สิทธิสุดท้ายในวันที่ 30 กันยายน 2553 โดยหากตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ ให้เลื่อนเป็นวันทำการถัดไป

ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ หน่วยละ 0 บาท
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com