April 18, 2024   4:01:15 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > หุ้น กฟผ. 28 บาท แพงเกิน? หรือถูกเกิน?
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 03/11/2005 @ 08:55:34
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ช่วงนี้ กลายเป็นเรื่องพูดกันไปทั่วเมืองเสียแล้ว ถือเป็นการโหมโรงครั้งใหญ่
ก่อนการเปิดซื้อหุ้นจองของ บริษัท กฟผ.(มหาชน)จำกัด ในวันที่ 12-17 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้[/color:ef97f10a91">

จากราคาที่เคยตั้งช่วงเอาไว้ว่าอยู่ระหว่าง 25-28 บาท กลายเป็น ราคาที่แน่นอนสูงสุดที่ 28 บาทต่อหุ้นไปเรียบร้อยแล้ว
โดยมีแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้าซื้อหลายประการ รวมทั้งเงินปันผลเบื้องต้น 0.75 บาท ต่อหุ้น
สถานการณ์ที่เป็นบวกต่อราคาหุ้นของ กฟผ.เช่นนี้ ทำให้ข้อหวั่นเกรงว่า หุ้นที่นำออกจำหน่ายทั้งหมด 1,245 ล้านหุ้น
(ไม่รวมที่ให้กับพนักงาน(ที่ตอนนี้เงียบกริบ เลิกคิดสไตร๊คเพราะความรักชาติไปหมดแล้ว) จะขายได้หมด
ไม่มีปัญหายามนี้ จึงไม่น่าแปลกประหลดาที่จะพบว่า วอลุ่มหรือส่วนแบ่งตลาดของบล.ในตลาดบางรายจึงพุ่งกระฉูดเป็นพิเศษ
เพราะแรงอัดฉีดหรืออานิสงส์ของหุ้น กฟผ. นั่นเอง

โดยเฉพาะ บมจ. บล. ภัทร จำกัด ที่ปรึกษาการเงินและอันเดอร์ไรเตอร์ใหญ่สุดของกฟผ.เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า
ลูกค้าของ บล.ภัทร พากันซื้อขายกระหน่ำในช่วงเวลาทองอย่างขยันขันแข็งเกินระดับปกติ
เพราะหวังว่าจะได้รับส่วนแบ่งเป็นหุ้นกรีนชูที่จะปันส่วนให้นั่นเอง
เพราะมีข้อกำหนดที่ทราบกันทั่วไปว่า ส่วนแบ่งจะเรียงตามลำดับลูกค้าที่เทรด ใครเทรดมาก จะมีสิทธิได้รับกรีนชูมากไปด้วย

ในขณะที่อันเดอร์ไรเตอร์รายอื่นๆนั้น คาดว่า น่าจะเกาะตามมาติดๆในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
เพราะตอนนี้ บางรายก็เริ่มขยับกันแล้วเช่น บล. ไทยพาณิชย์ ก็มีข่าวลือว่า ใครเปิดบัญชีพอร์ตใหม่ จะได้รับกรีนชูเป็นพิเศษ แต่ก็ยังไม่มีการยืนยัน

ด้วยพลังเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกที่ หุ้น กฟผ. จะขายหมดเกลี้ยงแน่นอน!

ในขณะที่หลายคนเริ่มเชื่อมากว่า ราคาที่ตั้งไว้อาจจะถูกเกินไปเสียแล้ว!ความเสี่ยงเกี่ยวกับธุรกิจของ บมจ. กฟผ.

จากเอกสารที่ยื่นขอจดทะเบียนต่อตลาดฯนั้น ที่ปรึกษาการเงินได้ระบุความเสี่ยงบางประการเอาไว้ ซึ่งขอนำลงโดยละเอียดดังนี้

1. บมจ. กฟผ. ต้องรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและต้นทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าในจำนวนที่สูงซึ่งส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของ บมจ.กฟผ. ในปี พ.ศ. 2548
มติคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้ บมจ. กฟผ. เป็นผู้รับภาระลูกหนี้คาเอฟทีคงค้างที่คาดว่าจะบันทึกเป็นรายได้ในงวดบัญชีก่อนการแปลงสภาพ กฟผ. เป็นบริษัท ทั้งนี้ การรับภาระค่าเอฟทีดังกล่าวส่งผลให้ บมจ. กฟผ. ไม่สามารถรับรู้รายได้ค่าเอฟทีในรอบ 5 เดือน 23วันสิ้นสุด ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวนประมาณ 21,916.5 ล้านบาท นอกจากนี้ ในรอบระยะเวลาดังกล่าว บมจ. กฟผ. ยังได้ตัดหนี้สูญสำหรับลูกหนี้ค่าเอฟทีค้างรับจํนวน 4,794.1 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าเอฟทีที่บมจ. กฟผ. รับรู้เป็นรายได้ในรอบปีงบประมาณพ.ศ. 2546 เนื่องจาก บมจ. กฟผ. เห็นว่าจะไม่สามารถเรียกเก็บค่าเอฟทีจำนวนดังกล่าวได้
นอกจากนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ยังกำหนดให้ บมจ.กฟผ. รับรู้รายได้ค่าเอฟทีสำหรับงวดวันที่ 24 มิถุนายน - 30 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยบันทึกรายได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บได้จริงในงวดนั้นๆ (อัตราค่าเอฟทีที่เรียกเก็บในช่วงดังกล่าวยังเป็นค่าเอฟที ตามโครงสร้างอัตราไฟฟ้าเดิมซึ่งสะท้อนถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2548)

2. บมจ. กฟผ. มิได้เป็นผู้กำหนดค่าไฟฟ้าที่จำหน่าย
บมจ. กฟผ. มิได้เป็นผู้กำหนดค่าไฟฟาที่ บมจ. กฟผ. จำหน่ายแต่ กพช. เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดการพึ่งพิงรัฐบาลที่มีอำนาจในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าส่งผล ให้ บมจ.กฟผ. มีปัจจัยความเสี่ยงดังต่อไปนี้
การปรับอัตราค่าไฟฟ้า การดำเนินงานของบมจ. กฟผ. ขึ้นอยู่กับการปรับอัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นโดยรัฐบาล เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบมจ. กฟผ. เพื่อให้ บมจ. กฟผ. สามารถสร้างผลกำไร ในการดำเนินกิจการเมื่อมีการปรับค่าไฟฟ้าฐานรวมถึงการกำหนดและปรับค่าเอฟที
ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมาและอาจรวมถึงในอนาคตรัฐบาลได้ พิจารณาการปรับค่าไฟฟ้าฐานและค่าเอฟทีโดยพิจารณาจากผลประกอบการของบมจ. กฟผ. หรือสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติที่มีการเผยแพร่โดยทั่วไปและปัจจัยอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นโดยรัฐบาลอาจเพิ่มลดหรือให้ตรึงอัตราค่าไฟฟ้าในอนาคตเนื่องจากเหตุผลทางการเมืองสังคม เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหรือเหตุผลอื่นๆ เช่นในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลโดยคณะอนุกรรมการกำกับสูตรไฟฟ้าไม่อนุมัติให้ปรับอัตราค่าเอฟทีในบางช่วงเวลาซึ่งส่งผลให้ บมจ.กฟผ. ไม่สามารถเรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามอัตราที่คำนวณได้ ตามสูตรการปรับอัตราค้าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติที่มีการเผยแพราโดยทั่วไป ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดของ บมจ. กฟผ. ในการเพิ่มค่าไฟฟ่าที่จำหน่ายให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นและส่งผลให้ผลกำไรของ บมจ. กฟผ.ลดลง เช่น ในเดือนมิถุนายนและในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546
คณะอนุกรรมการกำกับสูตรไฟฟ้ามีมติไม่อนุมัติการปรับค่าเอฟทีและให้ บมจ. กฟผ.เรียกเก็บเพิ่มเติมในอนาคต หากค่าไฟฟ้าลดลงในป พ.ศ 2547 ถึง พ.ศ. 2549 แทนโดยบมจ. กฟผ. ได้บันทึกส่วนต่างดังกล่าวเป็นลูกหนี้ค่าเอฟทีที่ค้างชำระจำนวน 4,794.1 ล้านบาทและต่อมา บมจ. กฟผ. ได้ตัดหนี้สูญในส่วนของค่าเอฟทีค้างชำระดังกล่าวทั้งจำนวน ในงบการเงินสำหรับงวด 5 เดือน 23 วันสิ้นสุด ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2548
ดังนั้น บมจ. กฟผ. จึงไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า ในอนาคตรัฐบาลจะปรับเปลี่ยนอัตราค่าไฟฟ้าหรือกำหนดค่าเอฟทีในจำนวนที่แตกต่างจากอัตราค่าไฟฟ้าที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งคำนวณได้จากสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติที่มีการเผยแพร่โดยทั่วไปหรือรัฐบาลจะอนุญาตให้ปรับเปลี่ยนค่าเอฟทีเพื่อเป็นการชดเชยต้นทุนของ บมจ. กฟผ.ที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
ดังนั้น บมจ. กฟผ. จึงไม่อาจรับรองได้ว่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าในอนาคตหรือการเปลี่ยนแปลงในการกำหนดค่าเอฟทีโดยรัฐบาลหรือกรณีที่รัฐบาลไม่ดำเนินการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ สถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานและโอกาสของ บมจ. กฟผ.

3. บมจ. กฟผ. คาดว่าจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่
เนื่องด้วย บมจ. กฟผ. ในฐานะที่เป็นบริษัทที่ประกอบกิจการสาธารณูปโภคซึ่งมีข้อจำกัดในศักยภาพในการสร้างผลกำไรจากกิจการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น บมจ. กฟผ.เชื่อว่าโอกาสของ บมจ. กฟผ. ในการสร้างและเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เป็นปัจจัยสํคัญต่อการเติบโตของ บมจ. กฟผ. ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อเพิ่มบทบาทของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนในอุตสาหกรรมไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งนโยบายดังกล่าวรวมถึงโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่และโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก และ บมจ. กฟผ. เชื่อว่ารัฐบาลมีความประสงค์ที่จะเริ่มดำเนินกระบวนการประมูลการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม้ซึ่งมีกํหนดการเดินเครื่องในช่วงปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
และเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ บมจ. กฟผ.มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปีพ.ศ. 2554-พ.ศ. 2558 โดยไม่ต้องเข้าประมูล ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าใหม่ดังกล่าวต้องไม่สูงกว่าโรงไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟาเอกชนที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ซึ่งทำให้บมจ. กฟผ.คาดว่าอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะถูกจำกัดโดยเปรียบเทียบกับอัตราค่าไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ บจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรี ยังคงมีสิทธิในการเข้าร่วมประมูลเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ซึ่งจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในระหว่างปี พ.ศ. 2554 กับ พ.ศ. 2558ร่วมกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่น ในส่วนของกำลังผลิตไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีไม่ได้กำหนดให้เป็นสิทธิของ บมจ. กฟผ. ดังนั้น บมจ. กฟผ. อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือรายใหม่หรือผู้ผลิตรายอื่นสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ในกรณีที่ บมจ. กฟผ. ไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวอีกต่อไป
ภายหลังจากปี พ.ศ. 2558 รวมถึง บจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรี อาจต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือผู้ผลิตไฟฟ้าอื่นสํหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ และหาก บมจ. กฟผ. ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตไฟฟ้าดังกล่าวได้ อาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจผลการดำเนินงานสถานะทางการเงินและโอกาสของ บมจ. กฟผ.

4. การพึ่งพาผู้จำหน่ายเชื้อเพลิงรายเดียวในการส่งก็ซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิง
หลักในการผลิตไฟฟ้าของ บมจ.กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ บริษัทรวมของ บมจ. กฟผ. ที่ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้า และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กบางรายในปัจจุบัน บมจ. ปตท.เป็นผู้ จัดซื้อก๊าซธรรมชาติ จากผู้รับสัมปทานและทำหนาที่ ขนส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศแต่ผู้เดียว
บมจ. กฟผ. อาจไม่สามารถหาก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่ต้องการจากแหล่งอื่นได้ในเวลาที่ต้องการ แม้ว่า บมจ. กฟผ. จะสามารถซื้อเชื้อเพลิงชนิดอื่นรวมถึงการจัดซื้อจากต่างประเทศหรือ บมจ. กฟผ.อาจเลือกผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นนอกจากก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า เช่น นำมันเตา แต่ต้นทุนในการนำเข้าเชื้อเพลิง อาจจะต้องชำระเป็นเงินตราต่างประเทศอาจแพงกว่าต้นทุนในการซื้อเชื้อเพลิงที่ต้องชำระในปัจจุบันเมื่อเทียบราคาที่ต้องชำระในรูปสกุลเงินบาท
ในขณะเดียวกัน การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นนอกจากก๊าซธรรมชาติ อาจทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าหรือต้นทุนในการซื้อไฟฟ้าของ บมจ. กฟผ. สูงขึ้น
ดังนั้น หาก บมจ. ปตท. ไม่สามารถส่งมอบก๊าซธรรมชาติให้แก่ บมจ. กฟผ.หรือผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ในปริมาณที่ต้องการหรือในเวลาที่กำหนดอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ บมจ. กฟผ. หรืออาจทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าหรือต้นทุนในการซื้อไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และอาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจสถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานและโอกาสของ บมจ. กฟผ.

5. ความคุ้มครองจากกรมธรรมประกันภัยของ บมจ. กฟผ. อาจไม่ครอบคลุมความเสี่ยงจากการสูญเสียไดทั้งหมด
บมจ. กฟผ. ได้ทำประกันวินาศภัย (All-risk) ประกันภัยความรับผิดต่อทรัพย์สินของ บมจ. กฟผ. บุคคลภายนอก และการประกันภัยอื่นๆ แบบ Full Amount โดยมีทุนประกันภัยประมาณ 400,000 ลานบาท โดยกรมธรรม์หลักจะคุ้มครองความรับผิดที่เกิดจากความสูญเสียหรือเสียหายต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของ บมจ. กฟผ. อาคารโรงไฟฟ้า อาคารสถานีไฟฟาแรงสูงถังน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงที่บรรจุในถังน้ำมันที่ใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยมีวงเงินความรับผิดของผู้รับประกันภัยสำหรับทรัพย์สินดังกล่าวไม่เกิน 2,500 ล้านบาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง โดยผู้รับประกันภัยจะรับประกันเฉพาะส่วนของค่าเสียหายที่เกินกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งบมจ. กฟผ. จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายในส่วน 500 ล้านบาทแรกแบบสะสมในแต่ละรอบระยะเวลาประกันภัย
วงเงินการประกันภัยนี้ ไม่รวมความสูญเสียหรือเสียหายจากสงคราม การกระทำโดยเจตนา การก่อการร้าย ความบกพร่องของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และกรณีอื่นๆ อีกบางประการหากโรงไฟฟ้าของ บมจ. กฟผ. เสียหายทั้งหมดหรือบางส่วน และไม่สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ในช่วงเวลาหนึ่ง บมจ. กฟผ. ไม่อาจรับรองได้ว่าการประกันภัยของ บมจ.กฟผ. จะครอบคลุมความเสียหายในลักษณะดังกล่าวได้
ประเด็นความเสี่ยงหลังสุดในเรื่องประกันภัยนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียวเพราะเท่ากับว่า ในด้านหนึ่ง กฟผ. จะต้องเผชิญหน้ากับควาเมสี่ยงด้วยตัวเองค่อนข้างสูงพอสมควร เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่า การทำประกันภัยทรัพย์สินมูลค่า 4 แสนล้านบาทกับบริษัทประกันภัย 4 แห่งเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2547 ประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด(มหาชน) บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) บริษัท เทเวศประกันภัยจำกัด(มหาชน) และบริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด(มหาชน) และเพิ่งต่ออายุปีที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2548 นั้น เป็นการทำประกันภัยแบบจำกัดวงเงินความคุ้มครอง หรือไม่เกิน 2500ล้านบาท จากมูลค่าสินทรัพย์ 4 แสนล้านบาท และที่สำคัญคือ กฟผ. จะต้องแบกรับความเสียหายส่วนแรก 500 ล้านบาทเอง หากเกินจากนั้นบริษัทประกันภัยจึงจะจ่ายให้ตามวงเงินความคุ้มครองดังกล่าวข้างต้น
ถึงแม้ว่า กฟผ. จะได้ชี้แจงถึงเหตุผลการซื้อประกันภัยแบบนี้ว่า เพราะ กฟผ.มีเงินกองทุนเพื่อรับรองความเสี่ยงอันเกิดจากอุบัติเหตุต่อโรงไฟฟ้า และสายส่งอยู่กว่า 1 หมื่นล้านบาท จึงสามารถรับความเสี่ยงไว้เองได้พร้อมกับได้ยกสถิติตลอด 36 ปีที่ผ่านมาว่า มีอุบัติเหตุหนักหรือความเสียหายเกิดขึ้นกับ กฟผ. น้อยครั้งเช่น เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา เกิดไฟไหม้โรงไฟฟ้าบางปะกงเสียหายประมาณ 300 ล้านบาท แสดงให้ว่าระบบรักษาความปลอดภัยของ กฟผ.อยู่ในระดับดีมากก็ตาม
อย่างน้อยที่สุดข้อโต้แย้งของจ้าหน้าที่ระดับสูงจากบริษัทประกันภัย 1 ใน 4 แห่งข้างต้นว่า ตามหลักการแล้วเป็นวิธีการไม่ถูกต้อง ไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพราะไม่ได้ทำประกันความเสี่ยงไว้ 100%ก็เป็นการเตือนล่วงหน้าไว้แล้วเรื่องนี้ นักลงทุนที่ต้องการจะเข้าเป็นผู้ถือหุ้นของ กฟผ. จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยตัวเอง ว่าเชื่อมั่นกับการทำประกันภัยแบบจำกัดวงเงินความคุ้มครอง หรือไม่เต็มตามมูลค่าสินทรัพย์ มากน้อยเพียงใด

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 03/11/2005 @ 09:12:25 : re: หุ้น กฟผ. 28 บาท แพงเกิน? หรือถูกเกิน?
ขอบคุณครับ ท่านอาฟง

ถ้าเป็นจริงที่ว่าจะปันผลไตรมาส2
0.75สต. ผลตอบแทนดีกว่าไฟฟ้าตัวอื่นระยะสั้ืน
ระยะยาว ดูโครงสร้างทรัพย์สินแล้วประเมินไม่ถูกมันเยอะทั้งแผ่นดิน

พวกเขื่อนนี่ทรัพย์สินของการไฟฟ้าหรือของกรมชลฯ
ที่ดินแนวสายไฟฟ้าที่เวรคืนของใคร
แล้วบรรดาสายโทรศัพท์ สายเคเบิ้ลท้องถิ่น
วันหน้าการไฟฟ้าจะเก็บค่าพาดผ่านหรือเปล่า
ต่างๆอีกมากมาย เอหนี้สินอีกประมาณไหน
สุดท้ายเขายังคงต่อต้านการเข้าตลาด

ใครรู้ช่วยตอบที
 กลับขึ้นบน
ปรัชญา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 332
#2 วันที่: 03/11/2005 @ 09:13:44 : re: หุ้น กฟผ. 28 บาท แพงเกิน? หรือถูกเกิน?
อ้าว....ข้อความข้าบนผมเองครับ .000A
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#3 วันที่: 04/11/2005 @ 00:46:53 : re: หุ้น กฟผ. 28 บาท แพงเกิน? หรือถูกเกิน?
.0008 คิดว่าถ้าจองได้ให้ไปจองดีกว่าครับ จองให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าไม่ดีจริงนักการเมืองคงไม่อยากได้จนตัวสั่นหรอกครับ .0000
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com