March 29, 2024   7:07:33 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ละครธุรกิจ...SINGHA "เวสต์โคสต์"
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 12/11/2005 @ 07:21:29
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

อ่านเกม-เวสต์โคสต์ เจรจาซื้อหุ้น SINGHA จากกลุ่ม ผู้ถือหุ้นเดิม ถ้าข้อมูลชัด-เวสต์โคสต์ จัดตั้งเพื่อทำธุรกรรม เฉพาะกิจ...สิงห์ พาราเทค มีสิทธิถูกขุดคุ้ย งบการเงิน คล้ายกรณี ปิคนิค เพื่อหาตำหนิทางบัญชี


เหตุใด นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงจี้อยู่เพียงประเด็นเดียว โดยพุ่งเป้าไปที่ข้อมูลของ บริษัท เวสต์โคสต์ อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง คอมปานี ลิมิเต็ด บริษัทที่จะเข้ามาซื้อหุ้น สิงห์ พาราเทค (SINGHA) ต่อจากกลุ่ม ผู้ถือหุ้นเดิม (จำนวน 40 ล้านหุ้น สัดส่วน 12.50% ในราคาหุ้นละ 14.50 บาท)

จริงๆ แล้วโฟกัสไม่ได้อยู่ที่ความผิดปกติของ ราคาหุ้น สิงห์ พาราเทค (SINGHA) เพียงประการเดียว ที่เกิดความผิดปกติมาตั้งแต่กรณี นายสมจิตร โบว์เสรีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท เข้าเก็บหุ้น SINGHA ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2548 จนถึง เดือน กันยายน 2548 จำนวนประมาณ 16 ล้านหุ้นในราคา 7.96- 8.35 บาทต่อหุ้น

จากนั้นอีก 1 เดือนต่อมา ก็เกิดดีลซื้อขายหุ้นล็อตใหญ่

และยังเกิดคำถามขึ้นกับ กรรมการบริหาร ของบริษัทอย่างน้อย 2 คน คือ นางกอบแก้ว ด่านชัยวิจิตร และ นางรจนา มหาวนา ที่เข้าซื้อๆ-ขายๆหุ้น SINGHA มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2547 ถึง เดือน สิงหาคม 2548

ก่อนที่ นางกอบแก้ว จะแจ้งความจำนงว่าต้องการขายหุ้น SINGHA จำนวน 9 ล้านหุ้น (130 ล้านบาท) ให้กับ เวสต์โคสต์ เช่นเดียวกับนางรจนา ก็แสดงความจำนงว่าจะขายหุ้น SINGHA จำนวน 14.50 ล้านหุ้น (210 ล้านบาท) เช่นเดียวกัน

แต่เมื่อดูจากโครงสร้างผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2548 นางกอบแก้ว มีหุ้นอยู่เพียง 8.43 ล้านหุ้น ส่วน นางรจนา มีหุ้นอยู่จำนวน 11.36 ล้านหุ้นเท่านั้น...ทั้ง 2 คนไปเอาหุ้นส่วนเกินจากไหน-มาขาย

ความผิดปกติต่อมา-เหตุใดทาง เวสต์โคสต์ จึงมาเปิดบัญชีซื้อหุ้น SINGHA กับ บล.กิมเอ็ง โดย บล.กิมเอ็ง ไม่ได้เป็นที่ปรึกษา หรือเป็นนายหน้า แต่ลูกค้ามีระดับ (บางกลุ่ม) ของ บล.กิมเอ็ง กลับรู้ข่าวก่อน และเข้าไปซื้อ-ขายหุ้น SINGHA ก่อนจะมีการเซ็น MOU

จากนั้นก็มีข้อสงสัยประวัติความเป็นมาของ มร.ทิม คิทเช่น เจ้าของบริษัท เวสต์โคสต์ ที่ทาง SINGHA ระบุ มร.ทิม ประกอบธุรกิจค้าขายกับ SINGHA มานานกว่า 6 ปี และทราบว่าอยู่ในวงการธุรกิจค้าไม้มานานไม่น้อยกว่า 15 ปี

ส่วนประวัติของ เวสต์โคสต์ นั้นมีการซื้อสินค้ากับ SINGHA มานานหลายครั้งแล้ว ไม่มีปัญหาในการชำระเงินแต่อย่างใด นายสมจิตร โบว์เสรีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าวไว้ตามหนังสือที่ สพ.097/2548 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2548

ขณะที่ข้อมูลของบริษัท เวสต์โคสต์ เพิ่งจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2548 มีทุนชำระแล้ว 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 200 ล้านบาท) ส่วนงบการเงินเนื่องจาก เวสต์โคสต์ ยังประกอบการไม่ครบรอบปีบัญชี จึงยังไม่ได้จัดทำงบการเงิน

คำถามคือ เวสต์โคสต์ เพิ่งจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 จะประกอบธุรกิจค้าขายกับ SINGHA มานานกว่า 6 ปีได้อย่างไร

แล้วตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มร.ทิม คิทเช่น สั่งซื้อสินค้าจาก SINGHA อย่างไร? ยังเป็นข้อสงสัย

นอกจากนี้ทาง SINGHA ยังแจ้งด้วยว่ายอดขายที่บริษัทขายสินค้าผ่าน เวสต์โคสต์ สำหรับงวดไตรมาส 3 ปี 2548 มียอดขาย ประมาณ 23% ของยอดขายรวม...ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง

ย้อนกลับมาที่คำถามว่า...ทำไม!! ตลาดหลักทรัพย์จึงต้องสั่งการหลายครั้งให้ SINGHA ชี้แจงข้อมูลของ เวสต์โคสต์ อย่างละเอียด

ทำไม!!...ทำไม!!

แม้เรื่อง...ใครสร้างราคาหุ้น SINGHA จะสำคัญ...แต่ประเด็นใหม่ที่ นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พยายามให้น้ำหนักมากกลับเป็นข้อมูลของ เวสต์โคสต์ มากกว่า

สัญญาณที่ นายสุทธิชัย ส่งออกมานี้กำลังสื่อเป็นนัยๆให้จับตา ออเดอร์สินค้า ที่ สิงห์ พาราเทค ขายให้กับ เวสต์โคสต์...ว่าเหตุใด!! เวสต์โคสต์ ที่เพิ่งจดทะเบียนก่อตั้ง กลับมีออเดอร์สั่งซื้อสินค้าจาก SINGHA เฉพาะงวดไตรมาส 3 ปี 2548 คิดเป็นประมาณ 23% ของยอดขายรวม

ถ้าข้อมูลของ มร.ทิม คิทเช่น และ เวสต์โคสต์ ทำธุรกรรมกับ SINGHA ถูกต้องครบถ้วน และ เวสต์โคสต์ ไม่ใช่บริษัทที่ถูก อุปโลกน์ ขึ้นมาเฉพาะกิจ ทุกอย่างก็จบ ทางการจะตามต่อเฉพาะเรื่อง...ใครสร้างราคาหุ้น SINGHA เท่านั้น

แต่หาก มร.ทิม คิทเช่น เป็น นอมินี ให้กับ ใคร..? และ เวสต์โคสต์ ถูกจัดตั้งขึ้นมา เพื่อทำธุรกรรม เฉพาะกิจ โฟกัสทั้งหมดจะพุ่งตรงไปที่...งบการเงิน ของ สิงห์ พาราเทค ทันทีว่า ทำถูกต้องหรือไม่

บทสรุป...อาจคล้ายกับกรณีของ บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น กรณีจัดทำเอกสาร และบัญชีไม่ถูกต้อง

บทลงโทษจะเข้า มาตรา 312 กรณีที่ กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล กระทำหรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้

(1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชีเอกสารหรือหลักประกันของนิติบุคคลดังกล่าว (2) ลงข้อความเท็จหรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี (3) ทำบัญชีไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบัน หรือไม่ตรงต่อความเป็นจริง

ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาทถึง 1 ล้านบาท

ดีลนี้ที่เราคิดกันว่าไม่น่าจะมีอะไรซับซ้อน แท้จริงแล้วดีลนี้อาจจะมีอะไรที่ ลึก กว่าที่เราคิด และ ลับ กว่าที่เราคาดก็เป็นไปได้ [/color:7d7dd22a06">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com