April 20, 2024   4:47:16 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เกาะติดภาวะ "ถดถอย..NVL"
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 12/11/2005 @ 07:22:52
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เกาะติด นวลิสซิ่ง (NVL) หลังราคาหุ้นตกหนัก จับตาแผนประกาศ ขายขาดทุน พอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อล็อตใหญ่ ขณะที่ผู้บริหารยืนยัน กลุ่มพันธ์สายเชื้อ ยังไม่คิดทิ้งบริษัท


น่าติดตามอย่างยิ่งสำหรับความเคลื่อนไหวของ บริษัท นวลิสซิ่ง (NVL) และ กลุ่มพันธ์สายเชื้อ กลุ่มทุนใหญ่ภาคอีสาน ที่เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 และขึ้นมามีบทบาทในการบริหารแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ช่วง เดือน เมษายน 2548

แต่การเข้ามาของกลุ่มพันธ์สายเชื้อ กลับทำให้สถานะของ นวลิสซิ่ง ย่ำแย่ลงกว่าเดิมจนผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ปี 2548 ของบริษัทต้องประสบกับภาวะ ขาดทุน เป็นครั้งแรก

ปัจจุบันกลุ่มพันธ์สายเชื้อ ถือหุ้นอยู่ใน NVL จำนวนทั้งสิ้น 83.73 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 14.2 % ผ่าน นายสมชัย พันธ์สายเชื้อ, นางห่วยเกียว แซ่เซีย, นายสุดที่รัก พันธ์สายเชื้อ และ นายสุรศักดิ์ พันธ์สายเชื้อ (ไม่รวมถือผ่านนอมินี)

มีต้นทุนในการเข้าเก็บเฉลี่ยหุ้นละ 1.87 บาท (ซื้อหุ้นบิ๊กล็อตจากธนาคารไทยธนาคาร จำนวน 62.06 ล้านหุ้น ในราคา 2.10 บาท เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 (ตัวเลขหลังแตกราคาพาร์) จากนั้นได้เข้าเก็บหุ้นช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2547 อีก 21.09 ล้านหุ้น ที่ราคาเฉลี่ย 1.68 บาท

โดยรวมแล้วกลุ่มพันธ์สายเชื้อมีต้นทุนเข้ามาลงทุนใน NVL จำนวนกว่า 156.58 ล้านบาท แต่การเข้ามาของกลุ่มทุนภูธรกลุ่มนี้กลับทำให้หุ้น NVL หวือหวา และน่าสนใจในช่วงแรก หลังจากนั้นกิจการ และราคาหุ้นก็ค่อยๆ ถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้เป็นผลพวงมาจากผลงานของบริษัทเริ่มถดถอยมาตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2548 และมาขาดทุนในไตรมาส 2 จำนวน 0.40 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 9.10 ล้านบาท และฉุดให้กำไรงวด 6 เดือน เหลือเพียง 4 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีกำไร 25.43 ล้านบาท

ขณะเดียวกันสถานะทางการเงินของบริษัทก็แย่ลง โดย ทริสเรทติ้ง ได้ลดอันดับเครดิตองค์กรของ นวลิสซิ่ง จาก BBB เป็น BBB- ลดเครดิตหุ้นกู้มีประกัน 1,200 ล้านบาท จาก BBB+ เป็นระดับ BBB พร้อมคงแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น negative หรือ ลบ

ซึ่งสะท้อนถึงการที่บริษัทมีสภาพคล่องในระดับต่ำ จากเงินกู้ระยะสั้นจำนวนมากถึง 2,131 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียง 1,445 ล้านบาท โดยภายในเดือน ธันวาคมนี้บริษัทจะมีภาระหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระ 450 ล้านบาท

นอกจากนี้ NVL ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่ต้นทุนทางการเงินของบริษัทก็ยังสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

ภาพความย่ำแย่ ถูกตอกย้ำอีกครั้งเมื่อ นายพรชัย กุลตั้งวัฒนา นักธุรกิจลิสซิ่งในจังหวัด นครพนม หนึ่งในกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่เพิ่งเข้ามาเก็บหุ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ยอมหุ้น NVL ขาดทุนออกจากพอร์ตล็อตใหญ่กว่า 4.75% เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548

ขณะที่ผู้บริหารของ นวลิสซิ่ง ก็แก้ปัญหาโดยวิธีประกาศขายพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทรวมมูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 44.4% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดที่มีอยู่จำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท ให้กับผู้สนใจประมาณ 5 ราย

โดยล่าสุดวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 บริษัทได้แจ้งขายพอร์ตสินทรัพย์ให้กับ ธนาคารธนชาต ในราคา 68.4 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายขาดทุน 1.6 ล้านบาท

นี่คือสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า พอร์ตสินทรัพย์ที่เหลืออีก 1,330 ล้านบาท ก็มีแนวโน้มที่จะขายในราคาขาดทุน

กระทั่งเกิดกระแสข่าวลือว่า กลุ่มพันธ์สายเชื้อ อาจจะถอนตัวจาก นวลิสซิ่ง และการขายพอร์ตสินเชื่อ ก็อาจจะมีการคัดเฉพาะพอร์ตลูกค้ารายใหญ่ (ชั้นดี) ขายออกไปในราคาขาดทุน ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธ์สายเชื้อ เองก็ทำธุรกิจลิสซิ่งขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน จึงอาจจะมีการทับซ้อนทางผลประโยชน์ขึ้นมาเมื่อใดก็ได้

ข้อสงสัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น นายธีรธร ธุวานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท นวลิสซิ่ง กล่าวยืนยัน ว่า การขายพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทแม้จะขาดทุน แต่ทางกลุ่มพันธ์สายเชื้อไม่ได้มีส่วนได้รับผลประโยชน์จากสินทรัพย์ที่ขายออกไปแต่อย่างใด ซึ่งบริษัทก็ได้รายงานตลาดหลักทรัพย์แล้วว่าผู้ที่ซื้อสินทรัพย์นั้นไม่เกี่ยวข้องกัน

สำหรับพอร์ตสินทรัพย์ที่แจ้งขายไปกว่า 1,400 ล้านบาทนั้น เป็นการแจ้งตัวเลขขั้นสูงที่บริษัทจะขายได้ แต่ในส่วนที่จะมีการขายจริง จะครบทั้ง 1,400 ล้านบาทหรือไม่นั้นยังไม่สามารถระบุได้ในขณะนี้

รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท นวลิสซิ่ง กล่าวอีกว่า การขายสินทรัพย์ออกไปนั้น เป็นประโยชน์กับบริษัทและผู้ถือหุ้นมากกว่า เพราะพอร์ตสินทรัพย์ของบริษัทส่วนใหญ่ที่ขายออกไปเป็นพอร์ตสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ เฉลี่ยเพียง 7% เท่านั้น หากเทียบกับพอร์ตสินเชื่อรายย่อยที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า 10%

ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ ที่ต้องการปรับทิศทางธุรกิจจากสินเชื่อเช่าซื้อรายใหญ่ ซึ่งมีจำนวนมากถึง 60-70% ของพอร์ตสินเชื่อรวม มาสู่ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรายย่อยแทน

ดังนั้นการขายพอร์ตสินเชื่อขนาดใหญ่ออกไป ก็จะทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนที่จะนำมาชำระหนี้ระยะสั้น และปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อยต่อไป

แม้ว่าการขายพอร์ตสินเชื่อล็อตแรกจะทำให้บริษัทขาดทุน 1.6 ล้านบาท แต่เงินจำนวน 68.4 ล้านบาทที่ได้มา ก็จะถูกนำไปปล่อยกู้ใหม่ในอัตราสินเชื่อที่สูง ในที่สุดอาจจะได้กำไรกลับมา 5 ล้านบาทก็ได้... แทนที่จะรอให้สินเชื่อเดิมครบกำหนด 2-3 ปี แล้วค่อยเดินเกมรุกรายย่อย ก็เปลี่ยนเป็นการขายพอร์ต เอาเงินมาปล่อยใหม่ ปีหน้าก็มีโอกาสที่จะเติบโตทันที นายธีรธร ธุวานนท์ ให้เหตุผลยืนยัน

นอกจากจะเป็นการปรับทิศทางของบริษัทแล้ว เขายังเชื่อว่า จะช่วยทำให้อัตราผลตอบแทนที่บริษัทจะนำไปปล่อยกู้ใหม่ สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยในปัจจุบันด้วย

ตอนนี้เรามีรีเทิร์นเฉลี่ย 8-9% ต้นทุนที่เอ็มแอลอาร์ หากดอกเบี้ยขึ้นมา ก็จะไม่คุ้ม แต่ถ้าเรามีลิสซิ่งรายย่อยที่รีเทิร์น 10% ขึ้นไปก็จะคุ้มค่ามากกว่า

ส่วนการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องตามแผนของผู้บริหาร นอกจากการขายพอร์ตเช่าซื้อออกไปแล้ว บริษัทยังมีนโนยายที่จะรีไฟแนนซ์หนี้ระยะสั้น ให้เป็นหนี้ระยะยาว เพื่อทำให้สะดวกต่อการกำหนดอัตราสินเชื่อ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาขออนุมัติวงเงินสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งจำนวน 500-1,000 ล้านบาท

โดยเขายอมรับว่าการขอวงเงินกู้ของบริษัทในยามนี้ อาจจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น หลังจากทริสเรทติ้ง ได้ลดอันดับเครดิตองค์กรของ นวลิสซิ่ง ลงมา 1 ระดับ จาก BBB เป็น BBB- แต่ก็มั่นใจว่าบริษัทสามารถแข่งขันกับบริษัทลิสซิ่งรายอื่นได้ โดยเฉพาะกับธนาคารพาณิชย์ (เช่น ธ.ธนชาต หรือ ธ.ทิสโก้) ที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่ามาก

นอกจากนี้ รองกรรมการผู้จัดการ นวลิสซิ่ง ยังกล่าวถึง ผลการขาดทุนของบริษัทว่า เป็นเพราะบริษัทอยู่ในช่วงของการปรับตัว จึงไม่ได้ดำเนินการอะไรมากนัก โดยยังเชื่อมั่นว่าด้วยเครือข่ายสายสัมพันธ์ ของคณะกรรมการบริษัท เช่น นายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และ นายพรวุฒิ สารสิน กรรมการอิสระ จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในการรุกตลาดได้ไม่ยาก

ตอนนี้กำลังรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาด เพื่อกำหนดแผนการรุกทางธุรกิจต่อไป นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญที่เรามีแล้ว บริษัทยังมีคณะกรรมการที่มีเครื่อข่ายทางธุรกิจ พร้อมที่จะช่วยเหลือหาตลาดให้อีกทาง

เขายังตอบคำถามอีกว่า การเข้ามาของกลุ่มพันธ์สายเชื้อ เป็นการลงทุนระยะยาว และต้องการทำธุรกิจจริง แม้ว่าที่ผ่านมาจะเคยมีบริษัทหลายแห่งติดต่อเข้ามา เพื่อจะเข้าเทคโอเวอร์กิจการ ทั้งบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องการเติบโตทางลัด หรือบริษัทนอกตลาดที่หวังเข้าตลาดทางอ้อม

แต่ทางกลุ่มพันธ์สายเชื้อก็อยากจะดำเนินธุรกิจเอง ดังนั้นเราจะเลือกทำเฉพาะในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับบริษัทให้มากที่สุด มือบริหารของกลุ่มพันธ์สายเชื้อกล่าวสรุป [/color:d79a52fbcb">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com