April 19, 2024   6:40:58 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เส้นทางลำเลียง.."เสบียง..กำไร" สู่ SPPT
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 12/11/2005 @ 07:26:03
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟ ของไทย ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และอื่นๆ มีโอกาสขยายตัวราว 54% ในช่วงปี 2548-2551


ทําให้คาดกันว่า จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตชิ้นส่วนโลหะที่มีความเที่ยงตรงสูง เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์อย่าง บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) ในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วน ฮาร์ดดิสก์ (HDD) ให้กับลูกค้าหลักคือ บริษัท มินีแบไทย (Minebea) ,JVC และ SEIKO ซึ่งเป็นผู้นําตลาดในกลุ่มชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก?ไดร์ฟในปัจจุบัน

ขณะที่ผู้บริหารมองสอดคล้องกันว่าธุรกิจของบริษัทในปี 2549 จะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

เรามองว่ายังไม่มีปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทในปี 2549 แม้ว่าในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้จะมีการชะลอคำสั่งซื้อไปบ้างตามฤดูกาลปลายปี แต่ในปีหน้าการที่เราเพิ่มเครื่องจักรเข้ามาใหม่ และเริ่มดำเนินการผลิตในช่วงครึ่งปีแรก จะทำให้บริษัทรับรู้รายได้เต็มที่ ในช่วงครึ่งหลังปี 2549 ซึ่งยอดขายจะดีกว่าปีนี้แน่ ชาคริต เมธิกุลชนันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) กล่าวอย่างมั่นใจ

บริษัทได้เปิดแผนเงินลงทุนในปี 2549 จะใช้เงินลงทุนราว 120 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงการลงทุน

ช่วงครึ่งปีแรก บริษัทมีแผนนำเงินลงทุน 90 ล้านบาท ขยายกําลังการผลิตจาก 150 ล้านชิ้น เป็น 200 ล้านชิ้นต่อป?โดยซื้อเครื่องจักรใหม่จำนวน 37 เครื่อง ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จในช่วงปลายไตรมาส 1 ปี 2549 และช่วงครึ่งปีหลังได้สำรองเงินไว้ราว 30 ล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนซื้อเครื่องจักรผลิตฮาร์ดดิสก์ ขนาด 1 นิ้วซึ่งหากตลาดมีความพร้อม โดยเฉพาะในตลาดยุโรป เราก็จะผลิตฮาร์ดดิสก์ทันทีที่โรงงาน จังหวัดอยุธยา

นอกจากนั้น บริษัทยังมีแผนที่จะก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในเขตโซน 3 เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ราว 16-18 ล้านบาทต่อปีบริเวณจังหวัด สิงห์บุรี และนครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการรออนุมัติจากบีโอไอ คาดว่าจะใช้งบเงินลงทุนในการซื้อที่ดินและก่อสร้างโรงงานไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งผู้บริหารบริษัทประมาณว่าจะแล้วเสร็จราวปลายปี 2549

สำหรับแหล่งเงินลงทุนในครั้งนี้ จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทปี 2548 และปี 2549 รวมกันราว 320 ล้านบาท

ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทยังมีแผนลงทุนในธุรกิจใหม่ โดยเป็นการขยายการลงทุนไปยังธุรกิจชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนกับ มร.โทอิชิ อิชิคาว่า นักลงทุนชาวญี่ปุ่น ในสัดส่วนฝ่ายละ 50% ของทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท เพื่อกระจายความเสี่ยงในธุรกิจฮาร์ดดิสก์ในอนาคตที่มีอยู่เพียงธุรกิจเดียว

เหตุที่เราฉีกธุรกิจไปจากเดิมเลย เพราะมองว่าตลาดเครื่องมือแพทย์เป็นตลาดที่ใหญ่มากสามารถจำหน่ายสินค้าได้ทั่วโลก แม้จะเติบโตไม่เร็ว แต่เรามองว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่บริษัทในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า ตามนโยบายลดการพึ่งพาธุรกิจฮาร์ดดิสก์ที่ปัจจุบันมีเพียงอย่างเดียว

ชาคริต คาดว่า บริษัทแห่งใหม่นี้จะเริ่มดำเนินการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ส่งให้แก่ลูกค้าที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ภายในเดือนมกราคม 2549 โดยประมาณการว่าจะมีรายได้เข้าสู่บริษัทประมาณ 5-10 ล้านบาทภายในปีหน้า

ในเฟสแรกนี้เราเริ่มดำเนินการผลิตเครื่องมือแพทย์ก่อน ต่อจากนั้นเรายังมีเฟสที่ 2 กำลังอยู่ระหว่างการอนุมัติในการผลิตสินค้าประเภทอื่นอีก ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทมียอดขายในปี 2549 เพิ่มขึ้นได้อีก

จากแผนการลงทุนดังกล่าวทำให้ผู้บริหารบริษัทประมาณการรายได้ในปี 2549 จะเพิ่มขึ้นราว 30% เป็นประมาณ 820 ล้านบาท โดยจะมีอัตรากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 28-30% และจะรักษาอัตรากำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 24%

โดยรายได้หลักจะมาจากยอดขายผลิตภัณฑ์ไพวอท (Pivot) 49.4% ,ผลิตภัณฑ์ฟลูอิด ไดนามิค แบริ่ง (Fluid Dynamic) 35.7% ,ผลิตภัณฑ์สปินเดอร์ มอเตอร์ (Spindle Motor) 13.35% ,ผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk) 1 นิ้ว 0.4% และสินค้าอื่นอีก 1.2%

ในขณะที่ปี 2548 บริษัทประเมินว่า รายได้ทั้งปีจะเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ราว 50% หรือราว 630 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยงวด 9 เดือน 2548 บริษัทมีรายได้รวม 479.38 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 122.56 ล้านบาท

ยอมรับว่ายอดขายในไตรมาสที่ 4 จะปรับลดลงจากยอดขายในไตรมาสที่ 3 ที่มีจำนวน 175.88 ล้านบาท เนื่องจากเป็นธรรมชาติของลูกค้าที่จะชะลอคำสั่งซื้อสินค้าช่วงปลายปี

ชาคริต กล่าวว่า บริษัทคาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลปีนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นประมาณ 7-8% ต่อปี จากนโยบายการจ่ายปันผล 40% ของกำไรสุทธิ ซึ่งในงวด 6 เดือนแรกปี 2548 ได้จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นแล้วในอัตราหุ้นละ 0.14 บาท

ด้าน บล.กรุงศรีอยุธยา ประเมินว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ? FDB และฮาร์ดดิสก?1 นิ้ว เป็นปัจจัยหนุนต่ออัตรากําไรขั้นต้นให้สูงขึ้น

โดยมองว่า ผลิตภัณฑ? Fluid Dynamic Bearing (FDB) มีแนวโน้มการเติบโตแทนที่ Spindle Motor จากคุณสมบัติทางเทคนิคที่ดีกว่าในด้านเสียง ความร้อน และการใช้ไฟโดย SPPT มีสัดส่วนยอดขายของ FDB ในไตรมาส 3/2548 ที่ 35.7% จาก 21.5% ในไตรมาส 3/2547 ขณะที่ผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์ 1 นิ้ว อยู่ในช่วงเริ่มต้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ?และคาดว่ามีโอกาสการขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในหมวด Consumer Electronics โดยทั้ง FDB และฮาร์ดดิสก? 1 นิ้ว มีอัตรากําไรขั้นต้น ราว 38-40%

การขยายตัวของทั้ง 2 ผลิตภัณฑ?จะเป็นปัจจัยหนุนต่อ Gross Margin โดยรวม เราจึงปรับประมาณการกำไรขั้นต้นปี 2548 จากเดิมที่ 26% เป็น 29% และในปี 2549 อยู่ที่ 28% ลดลงเล็กน้อย เพื่อสะท้อนค่าเสื่อมราคาที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเครื่องจักรใหม? ส่งผลให้กําไรสุทธิ 48 เป็น 147 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% จากประมาณการเดิม ส่วนปี 2549 กําไรสุทธิเป็น 183 ล้านบาท ขยายตัว 25% จากปี 2548 ฝ่ายวิจัย บล.กรุงศรีอยุธยา คาดการณ์

ราคาหุ้นของเราตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ได้ปรับตัวขึ้นมาโดยตลอดจากราคา 2.40 บาท และเคยสูงสุดถึง 4.60 บาท ซึ่งสะท้อนถึงผลการดำเนินงานทุกไตรมาสของเราที่มีรายได้ และกำไรโตขึ้นมาโดยตลอด ชาคริต เมธิกุลชนันทร์ กรรมการผู้จัดการ ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท กล่าวปิดท้าย [/color:9e3d1af3c8">

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 12/11/2005 @ 16:13:59 : re: เส้นทางลำเลียง.."เสบียง..กำไร" สู่ SPPT
ออกข่าวแบบนี้ แสดงว่าต้องขายแล้วสิ ว้า!
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com