April 24, 2024   12:04:19 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > น้ำตาลขอนแก่น ข้ามฝั่งโขง..ลงทุน "ส.ป.ป.ลาว"
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 24/02/2006 @ 19:53:45
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เกาะติดสถานการณ์ น้ำตาลขอนแก่น (KSL) เมื่อตระกูล ชินธรรมมิตร์ พลิกวิธีแก้โจทย์ปัญหาราคาน้ำตาลในประเทศ จัดฉากอนาคตใหม่ ก่อนข้ามฝั่งโขงไปลงทุนถึง ส.ป.ป.ลาว ซึ่งแฝงไว้ด้วยผลประโยชน์ที่ มากกว่า และ ซับซ้อน ยิ่งกว่า[/color:3716dc9e09">


จากกรณีที่ทางภาครัฐยังคงนิ่งกับการปรับขึ้นราคาขายน้ำตาลทรายในประเทศ ก็เพราะยังเกรงใจคนบางกลุ่มอย่างผู้ประกอบการเครื่องดื่ม น้ำอัดลม และเครื่องดื่ม ชูกำลัง ที่จะได้รับผลกระทบทางตรงจากการปรับราคาน้ำตาลทราย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลทรายถือเป็นสินค้าที่อ่อนไหว ที่มีผลทางการเมืองค่อนข้างมาก

และกลายเป็นสถานการณ์ที่บีบบังคับให้ผู้ประกอบการน้ำตาลทราย (บางราย) ต้องเลือก ทางออก ด้วยวิธีการ กักตุน ก่อนจะ ลักลอบ นำน้ำตาลทรายออกไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ามาก จนเป็นสาเหตุของภาวะการขาดแคลนน้ำตาลทรายภายในประเทศตลอดระยะเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา

สถานการณ์อีกด้านหนึ่ง นักลงทุน ก็เริ่มเข้าไปเก็งกำไรจากหุ้น KSL โดยหวังผลจากราคาจำหน่ายน้ำตาลในประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอีกประมาณ 3-4 บาทต่อกิโลกรัม

ขณะที่ก่อนหน้านั้น หุ้น KSL ค่อยๆ ถูกดันราคาขึ้นจากข่าวการขยายตัวใน ธุรกิจต่อเนื่อง จากผลผลิตพลอยได้จากน้ำตาล ทั้งในส่วนของโครงการโรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น (ขนาด 30 เมกะวัตต์) โครงการผลิตเอทานอล ที่เพิ่งจะขยายกำลังการผลิตจากวันละ 150,000 ลิตร เป็น 400,000 ลิตร ตามต่อด้วยโครงการผลิตปุ๋ย และโครงการผลิตสารเคมี

ซึ่งผู้บริหารบริษัทคาดว่า สัดส่วนรายได้ของ บ.น้ำตาลขอนแก่น ซึ่งได้มาจากธุรกิจน้ำตาลทรายถึง 90% กำลังจะปรับสัดส่วนเหลือเพียง 80% ภายในปีนี้ เพราะบริษัทจะเริ่มมีรายได้จากธุรกิจต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเป็น 20%

จากราคาไอพีโอที่ 4.30 บาท (7 มี.ค.48) วันนี้ KSL ขยับขึ้นสู่ระดับราคา 9.35 บาท อย่างรวดเร็ว ด้วยค่า P/E ถึง 29 เท่า ขณะที่โบรกเกอร์แทบทุกสำนักก็ออกมาแนะนำนักลงทุนให้ ขายทำกำไร ก่อนที่หุ้น KSL จะหลุดระยะไซเรนท์พีเรียดในช่วงต้นเดือนมีนาคม

ทันทีนั้น น้ำตาลขอนแก่น ก็เริ่มจัดฉากเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ทั้ง 2 ด้าน (ราคาหุ้น กับราคาน้ำตาล) โดยเข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) เพื่อเพาะปลูกอ้อย และเตรียมก่อสร้างโรงงานน้ำตาล ในนาม บ.น้ำตาลสะหวันนะเขต

ซึ่ง KSL มีแผนที่จะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งนี้ให้แล้วภายในเดือน พฤษภาคม 2549 โดยจะเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง น้ำตาลขอนแก่น และ บ้านโป่ง อินเตอร์เทรด ในสัดส่วน 80 ต่อ 20

ย้อนสถานการณ์ก่อนหน้านั้น บ.บ้านโป่งฯ เคยลุยเดี่ยวเข้ามาบุกเบิกโรงงานน้ำตาลใน ส.ป.ป.ลาว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากกำลังภายในของบริษัทยังเข้าไม่ถึงชั้นใน ก่อนจะปรับแผนโดยการชักชวน บ.น้ำตาลขอนแก่น ซึ่งมีสายป่านที่ยาวกว่า...ให้มาลงทุนร่วมกัน

จำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.น้ำตาลขอนแก่น อธิบายภาพการลงทุนที่ ส.ป.ป.ลาว ไว้ว่า บ.น้ำตาลสะหวันนะเขต จะได้รับ สัมปทาน พื้นที่เพาะปลูกอ้อยในแขวงสะหวันนะเขต ส.ป.ป.ลาว เป็นพื้นที่กว่า 62,500 ไร่ (พื้นที่ใช้งานจริงประมาณ 40,000 ไร่) ภายใต้อายุสัมปทาน 30 ปี และสามารถต่อสัญญาได้อีก 20 ปี

แผนลงทุนครั้งนี้จะใช้เงินลงทุนรวมทั้งโครงการร่วมๆ 700 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในส่วนของพื้นที่เพาะปลูก 300 ล้านบาท และก่อสร้างโรงงานน้ำตาลอีกประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งบริษัทน่าจะสามารถ คุ้มทุน ได้ภายในระยะเวลา 8 ปี

ด้านแหล่งที่มาของเงินลงทุน บริษัทจะใช้เงินทุนหมุนเวียนภายใน และบางส่วนจะมาจากเงินกู้ยืม ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน (ธ.กรุงศรีอยุธยา) แต่ในหลักการแล้วเขาก็ยินดีที่จะสนับสนุน ซึ่งเราจะพยายามควบคุมสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ให้อยู่ไม่เกินระดับ 1.5 เท่า

ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะสามารถ เริ่มต้น ผลิตน้ำตาลทรายได้จริงภายในปี 2551 ซึ่งในช่วง 3 ปีแรกนี้บริษัทจะทำการปลูกอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอกับการหีบอ้อยที่ 300,000 ตันต่อปี

แต่เราคงจะไม่ทำโรงงานผลิต เอทานอล ขึ้นที่ ส.ป.ป.ลาว เพราะจำเป็นต้องสร้างผลผลิตอ้อยให้ได้ถึงปีละ 600,000 ตัน ถึงจะคุ้มค่าการลงทุน ซึ่งก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะยังต้องรอดูปัจจัยต่างๆ อีกหลายด้าน

ที่น่าสนใจก็คือ น้ำตาลขอนแก่น จะนับเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายแรกใน ส.ป.ป.ลาว และยังจะได้รับสิทธิส่งออกน้ำตาลทรายในนามของ ส.ป.ป.ลาว ไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ที่จัดโควตาพิเศษในการนำเข้าน้ำตาลทรายจากกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา

และยังจะได้ราคาจำหน่าย สูงกว่า ราคาตลาดโลกเสียอีก

ทีแรกคิดว่าจะส่งออกไปยังกลุ่มอียูทั้ง 100% แต่ขณะนี้เราได้ปรับแผน โดยจะขายบางส่วนใน ส.ป.ป.ลาว ที่มีดีมานด์อยู่ปีละ 50,000 ตัน ขณะที่บางส่วนก็จะส่งไปขายที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งขายได้ราคาถึงกิโลกรัมละ 28-32 บาท

ขณะเดียวกันที่เมืองจีนก็เริ่มมีอัตราการบริโภคน้ำตาลที่สูงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าภายในปีหน้า (2550) จีนจะต้องเริ่มนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศ...นี่คือโอกาสที่ดีของเรา

จำรูญ อธิบายแผนอนาคตต่อไปว่า โครงการลงทุนต่อจาก ส.ป.ป.ลาว บริษัทก็มีแผนที่จะขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำตาลให้ครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด

ต่อไปก็คงจะไปลงทุนที่ประเทศพม่า และกัมพูชา เพียงแต่ต้องเช็คด้วยว่าแต่ละประเทศนั้น ภาครัฐเขาส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำตาลมากแค่ไหน และมีความเสี่ยงระดับใด โดยเฉพาะเรื่องปัจจัยการเมือง ซึ่งถือว่าสำคัญที่สุด

อย่างไรตาม หากประเมินสถานการณ์ของ น้ำตาลขอนแก่น จากโปรเจคที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์นี้ แม้แผนโครงการลงทุนจะได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ของ ส.ป.ป.ลาว

แต่น่าสังเกตว่ามิติการลงทุนครั้งนี้ยังเป็นเพียง ร่าง ที่ผ่านเพียงการ เห็นชอบ ซึ่งยังต้องรอการ อนุมัติ จากรัฐบาลลาวต่อไป

ยิ่งกว่านั้น ด้วยระบบ ชลประทาน ของ ส.ป.ป.ลาว ที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่เอื้ออำนวยต่อปริมาณผลผลิต และด้านจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน โดยแรงงานส่วนใหญ่ยังนิยมข้ามมาทำงานที่ฝั่งไทย ซึ่งให้ค่าจ้างสูงกว่า 3 เท่า จึงเริ่มเกิด คำถาม ต่อความสำเร็จในอนาคตจากโครงการเพาะปลูกอ้อยบนพื้นที่กว่า 40,000 ไร่ ว่าจะไปถึงขั้นไหน

เราคงจะเริ่มสร้างจากโรงงานขนาดเล็ก เพราะต้องรอดูว่าจะมีจำนวนคนงานมาตัดอ้อยเพียงพอหรือไม่ แต่ที่เมืองไทยเราอาศัยรถตัดอ้อยนับร้อยๆ คันแทนการจ้างคนงาน...แต่ที่นี่คงใช้รถไม่ไหว คงต้องค่อยๆ ขยายจำนวนคนงานให้มาช่วยกันตัดอ้อย แล้วถ้าเห็นโอกาสที่จะขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้นได้ เราก็จะทำทันที

แต่ก็ยังมีการตั้งข้อสังเกตกันว่า การขยับครั้งนี้ของ น้ำตาลขอนแก่น อาจซ่อนไว้ด้วยวัตถุประสงค์ที่ ซับซ้อน กว่าการลงทุนทั่วๆไป โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่น้ำตาลทรายฝั่งไทยเริ่มขาดแคลน จากการถูก (แอบ) ลำเลียงไปขายประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง

สิทธิพิเศษ ของโควตาส่งออกน้ำตาลทรายจาก ส.ป.ป.ลาว จึงเริ่มถูกจับตา เพราะถือเป็นศูนย์กลางที่จะส่งไปขายต่อยังกลุ่ม อียู และสามารถอาศัยเป็น ทางผ่าน สู่ตลาดเวียดนาม และเมืองจีนได้เช่นกัน

และยังใช้เป็นเครื่องมือ กดดัน ให้ภาครัฐเร่งตัดสินใจปรับราคาขายขึ้นไป หากไม่ต้องการให้ประเทศเผชิญภาวะขาดแคลนน้ำตาลทรายที่ยาวนาน

หรืออย่างน้อยที่สุด ก็จะสามารถช่วย พยุง ราคาหุ้น KSL ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ท่ามกลางความเห็นจากบรรดานักวิเคราะห์ที่แนะนำให้ ขาย ไปก่อน

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ[/color:3716dc9e09">

 กลับขึ้นบน
innocent
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 729
#1 วันที่: 24/02/2006 @ 23:03:24 : re: น้ำตาลขอนแก่น ข้ามฝั่งโขง..ลงทุน "ส.ป.ป.ลาว"
[b:37204ed735">ตุนน้ำตาลไม่ดีนะ... .0008 ช่วยเอาออกมาขายกันหน่อยค่ะ..[/color:37204ed735">[/b:37204ed735">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com