April 20, 2024   10:01:59 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ระบบกล่าวหากับระบบไต่สวน
 

????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 10
วันที่: 01/03/2006 @ 15:53:05
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

มองมุมใหม่:ระบบกล่าวหากับระบบไต่สวน

1 มีนาคม 2549

ชำนาญ จันทร์เรือง

พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติ 8 ต่อ 6 ไม่รับคำร้องของนายแก้วสรร อติโพธิ สมาชิกวุฒิสภาและคณะที่ประธานวุฒิสภาส่งไปให้วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 96 มาตรา 216 และมาตรา 209 หรือไม่นั้น นอกเหนือจากที่จะเป็นปัจจัยเร่งของการชุมนุมของฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามกับรัฐบาล จนในที่สุด ต้องยุบสภาดังที่ทราบกันทั่วไปแล้ว แต่ยังได้จุดประเด็นของการถกเถียงในปัญหาข้อกฎหมายขึ้นมาอีกอย่างกว้างขวาง โดยฝ่ายที่เห็นด้วยก็บอกว่าถูกแล้วเพราะเป็นดุลยพินิจของศาล ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็โต้แย้งว่าไหนว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวนไง ยังไม่ทันได้ไต่สวนหาข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ ก็มีมติไม่รับคำร้องเสียแล้ว

จึงอยากจะเรียนว่าในระบบวิธีพิจารณาคดีในศาลที่ใช้กันนั้น มีระบบวิธีพิจารณาคดีอยู่ 2 ระบบ เรียกว่า ระบบกล่าวหา (Accusatiorial System) กับระบบไต่สวน (Inquisitorial System) ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายไว้พอที่จะสรุปได้ว่า

ระบบกล่าวหานั้น มีที่มาจากประเทศอังกฤษและกลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมาย ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law) เช่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แคนาดา ฯ หลักการของระบบกล่าวหา มีวิวัฒนาการจากการแก้แค้นกันระหว่างผู้กระทำผิดกับผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดด้วยตนเอง แล้วรวบรวมพยานหลักฐานมานำสืบความผิดของจำเลยในศาล

ส่วนศาลหรือผู้พิพากษาจะวางตัวเป็นกลางโดยเคร่งครัด เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีแนวความคิดมาจากการพิจารณาคดีในสมัยโบราณ ซึ่งใช้วิธีทรมาน (trial by ordeal) และทำให้ทั้งสองฝ่ายต่อสู้คดีกันเอง (trial by battle) ส่วนศาลจะทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือกรรมการ ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นการเอาพยานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลย โดยฝ่ายโจทก์จะเอาพยานที่เป็นพรรคพวกของตนมาเบิกความกล่าวหาจำเลย ส่วนจำเลยก็เอาพวกของตนมาเบิกความรับรองความบริสุทธิ์ของตนให้ศาลฟังแล้วตัดสินคดีไปตามน้ำหนักพยานของแต่ละฝ่าย จากการที่ใช้วิธีการต่อสู้คดีกันนั้นเอง ระบบกล่าวหาจึงให้ความสำคัญอย่างสูงต่อหลักเกณฑ์ต่อไปนี้คือ

1. หลักการสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ให้ศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง

2. ถือหลักสำคัญว่าโจทก์และจำเลยมีฐานะในศาลเท่าเทียมกัน

3. ศาลจะวางตนเป็นกลางโดยเคร่งครัด ทำหน้าที่เหมือนกรรมการตัดสินกีฬาคอยควบคุมให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายลักษณะพยานโดยเคร่งครัดการปฏิบัติผิดหลักเกณฑ์อาจถูกศาลพิพากษายกฟ้องได้

4. ศาลจะมีบทบาทค้นหาความจริงน้อยมาก เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของคู่กรณีหรือคู่ความจะต้องแสวงหาพยานมาแสดงต่อศาลด้วยตนเอง

ส่วนระบบไต่สวนนั้นในทางทฤษฎียอมรับกันว่าระบบไต่สวนมีที่มาจากศาลทางศาสนาของคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิกในสมัยกลาง ซึ่งทางศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งสันตะปาปาแห่งกรุงโรม มีอิทธิพลเหนือฝ่ายอาณาจักรคือ กษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ในสมัยกลาง มีวิธีการพิจารณาคดีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายของทางศาสนาด้วยวิธีการซักฟอกพยาน ในรูปของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับคดีโดยตรง คือ พระผู้ทำการไต่สวนกับผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ถูกไต่สวน โดยไม่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นคนกลาง

ดังนั้น ในศาลศาสนา ผู้ไต่สวนจึงต้องทำหน้าที่แสวงหาพยานหลักฐาน ซักถามพยานและชำระความโดยไต่สวนคดีด้วยตนเองตลอด และด้วยที่ศาสนจักรมีอิทธิพลเหนือฝ่ายอาณาจักร ระบบศาลของฝ่ายอาณาจักรจึงได้รับอิทธิพลและได้วิวัฒนาการมาเป็นระบบไต่สวนในปัจจุบัน

ตามระบบไต่สวน ศาลไม่ได้ทำหน้าที่วางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัดเหมือนระบบกล่าวหา แต่จะทำหน้าที่ค้นหาความจริงด้วยตนเอง ศาลจะมีบทบาทในการดำเนินคดีอย่างสูง ผิดกับในระบบกล่าวที่ศาลมีบทบาทน้อยมาก เพราะต้องวางตัวเป็นกลาง โดยที่ระบบไต่สวนเน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการดำเนินคดี เช่น การสืบพยาน การดำเนินการต่างๆ ในศาลจึงยืดหยุ่นกว่าระบบกล่าวหา

จากที่มาของระบบกล่าวหากับระบบไต่สวนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะทำให้เราเห็นหลักการสำคัญที่ว่าเมื่อใดที่คู่ความหรือคู่กรณีมีสถานะเท่าเทียมกันแล้ว การใช้ระบบกล่าวหาจะเกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย เพราะเป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างต้องปกป้องรักษาสิทธิของตนเอง แต่ถ้าเมื่อใดที่คู่กรณีหรือคู่ความมีสถานะไม่เท่าเทียมกันแล้ว การใช้ระบบไต่สวนย่อมจะเหมาะสมและเป็นธรรมแก่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งอยู่ในสถานะเสียเปรียบ เช่น กรณีพิพาทระหว่างราษฎรหรือเอกชนกับรัฐ เป็นต้น เพราะพยานหลักฐานต่างๆ มักจะอยู่ในการครอบครองของฝ่ายรัฐเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นการยากที่ฝ่ายราษฎรจะนำสืบหรืออ้างพยานหลักฐานตามระบบกล่าวหาที่มีหลักว่า ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นนำสืบ โอกาสที่จะชนะคดีสำหรับราษฎรหรือเอกชน จึงเป็นไปได้ยาก

สำหรับประเทศไทยเรานั้นได้มีการใช้ระบบกล่าวหาสำหรับคดีแพ่งและคดีอาญา (เว้นในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง) และใช้ระบบไต่สวนในคดีที่ใช้อำนาจตามกฎหมายมหาชนในศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ฉะนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้องของนายแก้วสรรและพวกไว้วินิจฉัย โดยให้เหตุผลว่าคำร้องมิได้แสดงให้เห็นว่าการกระทำใดของนายกรัฐมนตรีเป็นการเข้าไปบริหาร จัดการเกี่ยวกับหุ้น ฯลฯ แต่มิได้ไต่สวนแสวงหาเท็จจริงจนเป็นที่ยุติเสียก่อน จึงสร้างความกังขาต่อบรรดานักกฎหมายทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกฎหมายมหาชนเป็นอย่างยิ่งว่า ตกลงแล้วศาลรัฐธรรมนูญใช้ระบบกล่าวหาหรือระบบไต่สวนในการพิจารณาคดีกันแน่

เพราะการกระทำเช่นนี้เสมือนหนึ่งเป็นการตัดฟ้องหรือยกฟ้อง เพราะเหตุคำฟ้องเคลือบคลุมในระบบกล่าวหา ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในระบบไต่สวนได้ จึงเป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญควรจะต้องมีคำอธิบายให้กระจ่างชัดกว่านี้ นอกเหนือจากเพียงการยกข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นเหตุผลในการที่จะไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยเท่านั้น

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 01/03/2006 @ 22:34:07 : re: ระบบกล่าวหากับระบบไต่สวน
ว่างๆเข้าไปคุยห้องแชทบ้างสิจ๊ะ มีคนคิดถึง อ้อ แล้วก็ ใจเย็นๆหน่อยก็ดีนะเซียนดอย เห็นตอบดุเดือดจริงๆ คนอื่นเค้ามาทักมาชวนคุยก็อย่าหยิ่งมากนัก คุยกับเค้าบ้างก็ได้
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 01/03/2006 @ 22:55:28 : re: ระบบกล่าวหากับระบบไต่สวน
พวกโรคจิตน่ะไม่ว่า ไม่รุ้ว่าคนหรือเสือเห็นชวนทะเลาะไปเรื่อย 55555555
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com