March 29, 2024   5:33:10 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล" ย่องเก็บ "TFD-RCI
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 31/03/2006 @ 18:36:41
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล บิ๊กรพ.วิภาวดี แม้จะไม่เด่นดังในวงสังคม แต่ในแวดวงตลาดหุ้น เสี่ยอ้วน คือ ผู้เล่นรายใหญ่ (อีกคน) ที่มี คอนเนคชั่น กับบิ๊กๆ แทบทุกวงการ ล่าสุดพบรายชื่อ กลุ่มวิริยะเมตตากุล เข้าเก็บหุ้น TFD และ RCI รวมทั้งเดินเกมปั้นหุ้น PAE เพื่อหวังหวนคืนตลาดหุ้น


ปัจจุบัน ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล มีตำแหน่งเป็น กรรมการผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี (VIBHA) และยังเป็นรองประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลเจ้าพระยา และเป็นกรรมการ บริษัท โรงพยาบาลเสรีรักษ์

นอกจากนี้เขายังร่วมเป็นคณะกรรมการ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อีก 2 แห่ง คือ บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค (DCC) และ บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม (TFD) ของกลุ่มเตชะอุบล อีกด้วย

ทราบกันดีในวงการอสังหาริมทรัพย์ว่า ชัยสิทธิ์ สนิมสนมกับ วิชัย กฤษดาธานนท์ เจ้าของบริษัทกฤษดามหานคร (KMC) มายาวนาน ขณะเดียวกันในปี 2547 เขาได้ร่วมทุนเปิด บริษัท ออลเอ็กซเปิร์ท เป็นสถาบันวัยวัฒน์ และความงาม ให้บริการด้านคลินิกวัยทอง และการดูแลผิวพรรณ บนชั้น 17 อาคารโรงพยาบาลวิภาวดี ร่วมกับ กมล เอี้ยวศิวิกูล เจ้าของบริษัท ไมด้า แอสเซ็ท (MIDA)

อีกด้านหนึ่งก็รู้จักสนิมสนมกับ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เขาเป็นคนดึง คุณหญิงอ้อ เข้ามาถือหุ้น บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี (VIBHA) จำนวน 3,616,660 หุ้น ในสัดส่วน 0.62% และถือมาตลอดหลายปี โดยไม่ขายหุ้นออกมาเลย เช่นเดียวกับที่เขาดึง กมล เอี้ยวศิวิกูล เข้ามาถือหุ้นใหญ่ VIBHA ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ

ชัยสิทธิ์ เป็นนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน วปรอ.4414 (รุ่นปีการศึกษา 2544) รุ่นเดียวกับ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบล.เอเซีย พลัส รุ่นเดียวกับ บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น และ พายัพ ชินวัตร น้องชายนายกฯทักษิณ

เพื่อนร่วมรุ่น วปรอ.4414 ยังประกอบไปด้วย นายทหาร และนายตำรวจชั้นนายพล ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักธุรกิจที่มีชื่อเสียง และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เป็นจำนวนมาก

นอกจากธุรกิจโรงพยาบาล และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ซึ่งถือเป็นธุรกิจหลักแล้ว เสี่ยอ้วน ยังมีบริษัทรับเหมาก่อสร้างในนาม บริษัท ไทยริม แอนด์ แอสโซซิเอทส์ มีผลงาน เช่น รับเหมางานก่อสร้างที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตบางนา

อีกทั้งยังร่วมกับกลุ่มพันธมิตรเปิดบริษัท ทรัพย์ทวี พร็อพเพอร์ตี้ และ บริษัท 18 ทาวเวอร์ และอีกหลายบริษัท ซึ่งกิจการในเครือส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และค้าวัสดุก่อสร้าง

ในอีกมุมหนึ่ง ชัยสิทธิ์ เป็นนักเล่นหุ้น ที่มีพอร์ตเล่นหุ้นอยู่หลายโบรกฯ อาทิ บล.เอเซีย พลัส และได้รับจัดสรร หุ้นจอง เป็นประจำ ในฐานะนักเล่นหุ้นรายใหญ่

ผู้สื่อข่าว กรุงเทพธุรกิจ BizWeek รายงานว่า นอกจากหุ้นโรงพยาบาลวิภาวดี (VIBHA) แล้วปัจจุบัน ชัยสิทธิ์ ยังถือหุ้นใหญ่บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค (DCC) ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม (TFD) กฤษดามหานคร (KMC) โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม (RCI) และพีเออี (ประเทศไทย) (PAE)

เป็นที่น่าสังเกตว่าในระยะนี้ ชัยสิทธิ์ กำลังทยอยสะสมหุ้น TFD อย่างเงียบๆ แม้ว่าผลประกอบการไตรมาส 4/2548 ของบริษัทจะกลับมา ขาดทุน อีกครั้ง

ขณะที่นักวิเคราะห์จากค่าย บล.เคจีไอ ระบุว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหารของบริษัทลดลง และการที่ TFD ขายสินทรัพย์ (ดี) เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2548 ส่งผลให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่ไม่สามารถทำกำไรให้กับบริษัทได้มากเท่ากับที่ผ่านมา

ข้อมูลจากโครงสร้างผู้ถือหุ้น TFD เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2548 ระบุว่า กลุ่มวิริยะเมตตากุล เข้ามาถือหุ้นใหญ่รวมกันแล้ว ประมาณ 130 ล้านหุ้น หรือเท่ากับ 20.28%

โดยถือในชื่อ ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล 21 ล้านหุ้น 3.29% พิสุทธิ์ วิริยะเมตตากุล 6.5 ล้านหุ้น 1.02% ภวันณา บุญเกษมสันติ 10.9 ล้านหุ้น 1.71% และ บริษัท ซัคเซส คอนเนคชั่นส์ (พันธมิตรกลุ่มเดียวกัน) 90.92 ล้านหุ้น สัดส่วน 14.26%

ในช่วงเดือนมีนาคา 2549 พบว่า ชัยสิทธิ์ ได้ทยอยเข้ามาเก็บหุ้น TFD เข้าพอร์ตเพิ่มขึ้นโดยตลอด ครั้งละ 1-2 ล้านหุ้น คาดว่าเข้าถือหุ้น TFD รวมทั้งกลุ่มแล้ว ระหว่าง 22-25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่า เหตุที่ ชัยสิทธิ์ เดินหน้าเก็บหุ้น TFD เข้าพอร์ต สวนทางกับบทวิเคราะห์ และผลประกอบการของบริษัท นั่นก็แสดงว่า บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม อาจกำลังซุ่มเงียบทำโครงการอะไรอยู่ก็เป็นไปได้

เช่นเดียวกับที่เขาเข้าไปเก็บหุ้น โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม (RCI) เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ในช่วงปลายปีที่บริษัทมีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ และมีกระแสข่าวว่า บริษัทเตรียมแผนรุกหนักทางด้านการตลาด ในปี 2549 แต่มาเจอเหตุการณ์ร้อน ทางการเมืองเสียก่อน จน RCI ต้องชะลอแผนนี้ออกไป

เกมของ ชัยสิทธิ์ ยังไม่จบ เมื่อเขากำลังวางแผน ปั้นหุ้น บริษัท พีเออี (ประเทศไทย) ในหมวดฟื้นฟูกิจการ โดยเข้าซื้อหุ้น บิ๊กล็อต จำนวน 8.15 ล้านหุ้น ในสัดส่วน 21.29% ต่อจากกลุ่มของ นายกอบศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา (ประธานกรรมการบริษัท ฟรีอินเตอร์เน็ต) ที่เข้ามาฟื้นฟูกิจการ PAE เป็นไม้แรก

โดยซื้อต่อมาในราคาหุ้นละ 6 บาท เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2548

ล่าสุดมีสัญญาณว่าผู้บริหารกำลังวางแผน ปั๊มงานรับเหมา ให้กับบริษัท เพื่อจะนำหุ้น PAE กลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง ซึ่งตามแผนต้องทำให้บริษัท พีเออี (ประเทศไทย) กลับมาทำกำไรให้ได้เร็วที่สุดก่อน เพื่อจะนำหุ้นกลับเข้ามาเทรดในตลาดหลักทรัพย์ให้ทันภายในครึ่งแรกของปีนี้

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com