April 20, 2024   4:49:01 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ความจริงใน "BNT" ที่รอถูก "ถอดรหัส"
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 02/09/2005 @ 20:42:29
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บริษัท บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (BNT) เป็นอีกหนึ่งบริษัทในกลุ่มเสี่ยง ที่ถูกเกาะติดพฤติกรรมความเคลื่อนไหวของ ราคาหุ้น ที่ผิดปกติ ตลอดจนรายการเกี่ยวโยงในลักษณะ ซื้อแพง..ขายถูก มาเป็นระยะๆ

เริ่มตั้งแต่การแลกหุ้น แชนแนลวี (ประเทศไทย) กับ บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดมูลค่าหุ้นของแชนแนลวีในราคาหุ้นละ 6,700 บาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าตามบัญชีที่หุ้นละ 1,288.50 บาทค่อนข้างมาก

จากนั้นก็ถูกตั้งข้อสังเกตในกรณีขายที่ดินพร้อมอาคาร และโรงงาน รวม 2 หลัง บนที่ดิน 5 ไร่ 52 ตารางวา บริเวณถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เขตยานนาวา ให้แก่ ศรเทพ โกมุทบุตร ในราคา 161 ล้าน ทั้งๆ ที่มูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ (ที่ดิน+สิ่งปลูกสร้าง) ดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 202.61 ล้านบาท

ภาพลบของ บีเอ็นที มาถูกตอกย้ำมากขึ้นเมื่อผู้สอบบัญชีของ บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด ไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นต่องบการเงิน ณ 30 มิถุนายน 2548 ของบริษัท

มาถึงเหตุการณ์ล่าสุด บีเอ็นที ปรับโครงสร้างผู้บริหารระดับสูงพร้อมกันหลายตำแหน่ง เริ่มจากการลาออกจากการเป็น กรรมการบริษัท ของ ดวงจิต สุพัฒนศิรินันต์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน รวมถึงรับทราบการลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม (ซีอีโอ) ของ จเรรัฐ ปิงคลาศัย โดยเหลือตำแหน่ง กรรมการบริษัท เพียงตำแหน่งเดียว

จากนั้นมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ปิติพัฒน์ เพียรเลิศ จากเดิม คือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มาเป็น ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ และ กรรมการบริหาร โดยแต่งตั้ง ม.ร.ว. รุจยารักษ์ อาภากร ขึ้นรักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป

สัญญาณผิดปกตินี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นกับ บีเอ็นที เพราะก่อนหน้านี้มือการเงินของบริษัทที่เข้ามาทำงานได้ไม่นานต่างก็ทยอย ลาออก อย่างต่อเนื่อง

นับตั้งแต่ ดร.วิโรจน์ มโนพิโมกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (Chief Financial Officer) ลาออกเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 จากนั้น บีเอ็นที ก็ได้แต่งตั้งผู้บริหารใหม่ คือ สายใจ รักขิตธนะ เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินแทนมีผลวันที่ 1 เมษายน 2548

จากนั้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 นวลพรรณ ล่ำซำ ก็ยื่นใบลาออกจากการเป็น กรรมการ ของบริษัท และภายหลังได้ทยอยขายหุ้น BNT กว่า 31 ล้านหุ้นออกไปก่อนล่วงหน้า

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 สายใจ รักขิตธนะ ทั้งๆที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง Chief Financial Officer ของบริษัทเพียงแค่ 4 เดือนก็ขอลาออกมีผลวันที่ 1 สิงหาคม 2548 ก่อนจะแต่งตั้ง วิชัย เบญจพลาภรณ์ เข้าดำรงตำแหน่งแทน

เท่ากับว่า บีเอ็นที มีการเปลี่ยนตัว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ถึง 3 คนในรอบ 7 เดือน สัญญาณนี้ส่อให้เห็นความผิดปกติของ งบการเงิน ของบริษัทค่อนข้างชัดเจน

ประเด็นที่น่าสนใจที่สุด ก็คือ การลาออกของ จเรรัฐ ปิงคลาศัย บุคคลผู้นี้มีบทบาทอย่างมากในการเข้ามาพลิกฟื้น บีเอ็นที จากกลุ่มผู้บริหารชุดเดิม ทั้งๆที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งได้เพียง 3 เดือน เมื่อประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2548 ที่ผ่านมานี้เอง

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งกรรมการครั้งนี้ เป็นเพียงการปรับโครงสร้างการบริหาร ให้มีความกระชับขึ้น หลังจากที่ผมเข้ามาบริหารได้สักพักแล้ว และจากนี้ไปจะไม่ค่อยมีเวลา เพราะจะเข้าไปรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอีกบริษัทหนึ่งแต่ยังเปิดเผยไม่ได้ นายจเรรัฐ กล่าว

ก่อนหน้านี้ สายใจ รักขิตธนะ เคยเปิดเผยกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ถึงอนาคตใหม่ของ บีเอ็นที ว่า โมเดลธุรกิจของบริษัทจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่มีรายได้หลักจากธุรกิจวิทยุ และภาพยนตร์ ต่อไปรายได้หลักสัดส่วน 50% จะมาจากธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวี) ในต่างจังหวัดภายใต้ชื่อ Smile Network ซึ่งจะเริ่มเก็บค่าสมาชิกในเดือนกรกฎาคมนี้ ขณะเดียวกันในอนาคตก็จะนำเอาคอนเทนท์ไปเผยแพร่ในช่องทางอื่นๆ เพื่อหารายได้เพิ่ม

ขณะที่ จเรรัฐ วางนโยบายการแลกหุ้นกับบริษัทที่เกี่ยวกับสื่อเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะทำให้บีเอ็นทีในอนาคตเติบโตอย่างมีพันธมิตร

ซึ่งล่าสุด จเรรัฐ บอกว่า โดยจากนี้ไปแต่ละเดือน จะมีการประกาศรายชื่อพันธมิตรไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งตอนนี้สามารถเจรจาได้เรียบร้อยทุกรายแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเข้ามาร่วมถือหุ้นใน บีเอ็นที

แม้ จเรรัฐ จะยืนยันถึงความต่อเนื่องของแผนธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไป แต่ตัวเขาเองกลับ ทิ้ง (ลาออก) กลางคัน ก่อนที่จะนำ บีเอ็นที ไปถึงเป้าหมาย

เช่นเดียวกับความเคลื่อนไหวภายในกลุ่มของ พายัพ ชินวัตร ซึ่งเข้ามาเก็บหุ้น BNT เพิ่มจากเดิมที่ถือ 22.14 ล้านหุ้น 1.19% เพิ่มเป็น 81.46 ล้านหุ้น สัดส่วน 4.38% กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 3 ของบริษัท ล่าสุดพบว่ากลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะเป็น นอมินี ของพายัพอย่างน้อย 2 คน คือ โยคิน เจริญสุข และ ฉันทิดา กรินพงศ์ พนักงานในกลุ่มบริษัท ชินวัตรไหมไทย ได้ขายหุ้นออกไปแล้วเป็นจำนวนมากในช่วง เดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา

จับตาอนาคตของ บีเอ็นที นับต่อจากนี้หลังจาก ทุนการเมือง ถอย มืออาชีพ แห่ลาออก จะเข้าสูตร น้ำยิ่งลด..ตอยิ่งผุด หรือไม่ [/color:d39502e530">

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 02/09/2005 @ 22:19:45 : re: ความจริงใน "BNT" ที่รอถูก "ถอดรหัส"
ซวยแล้วเพิ่งเก็บมา 17700 หุ้นที่ 0.56 บาทอ่ะ...
.0002
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 03/09/2005 @ 13:38:46 : re: ความจริงใน "BNT" ที่รอถูก "ถอดรหัส"
ทำไมเว็บนี้ยังบอกว่า พายัพ ยังมีหุ้นอยู่อ่ะ...
ไม่รู้เขียนเมื่อไหร่...
ดูเองนะ...

http://www.manager.co.th/mgrweekly/viewnews.aspx?newsID=9480000118832
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#3 วันที่: 03/09/2005 @ 18:41:03 : re: ความจริงใน "BNT" ที่รอถูก "ถอดรหัส"
ในข่าวเขาก็บอกนี่ว่ายังมีหุ้นใน bnt แต่ผมแอบได้ยินว่าวันจันทร์เขาจะปั่นหุ้นตัวนี้ ตอนนี้ชักจะดังมากเลย ไม่รู้จะกล้าปั่นรึเปล่า
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#4 วันที่: 07/09/2005 @ 07:08:09 : re: ความจริงใน "BNT" ที่รอถูก "ถอดรหัส"
พายับอีกแล้ว ชื่อก็บอกชัดเจนว่าพายับ แล้วยังจะตามไปอีก แล้วที่ตามๆไปน่ะ เงินเย็นอ๊ะเป่า ถ้าไม่ให้อยู่เฉยๆ เพราะเขาจะพาไปแอ่วดอยแล้วให้พักบนดอยนานๆ ถ้าเงินไม่เย็นแนะนำให้ไปแอ่วที่อื่นก่อน บนดอยมันหนาวนะจะบอกให้
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com