การซื้อโดยมาร์จิ้น (Margin Purchases)
เมื่อนักลงทุนต้องการซื้อหุ้นที่ราคา 100 บาท จำนวน 1,000 หุ้น การซื้อโดยบัญชีเงินสด นักลงทุนจะต้องมีเงินจำนวน 100,000 บาท
การซื้อโดยมาร์จิ้น นักลงทุนสามารถยืมเงินจากโบรกเกอร์บางส่วน เพื่อทำการซื้อหุ้น เช่น นักลงทุนออกเงิน จำนวน 60,000 บาท และกู้เงินจากโบรกเกอร์อีกจำนวน 40,000 บาท ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้น จำนวน 1,000 หุ้น มูลค่าเท่ากับ 100,000 บาท
สัดส่วนที่จะกำหนดว่า นักลงทุนสามารถกู้ยืมเงินได้เท่าไร เรียกว่า Initial Margin Requirement ซึ่งในตัวอย่างนี้กำหนดไว้ที่ 60% นั้นคือ นักลงทุนออกเงิน 60% และโบรกเกอร์ ให้กู้ยืมเงิน 40% (โดยมีหุ้นเป็นหลักประกันการกู้ยืม)
เมื่อนักลงทุนทำการซื้อหุ้น ตามตัวอย่างข้างต้น บัญชีของนักลงทุนรายนั้นจะเป็นดังนี้
Account Balance:
สินทรัพย์ มูลค่าหุ้น เท่ากับ(100 x 1000)
|
100,000 บาท
|
|
เงินกู้ยืม
|
40,000 บาท
|
|
|
|
ส่วนทุน(Equity)
|
60,000 บาท
|
|
|
|
|
|
รวม
|
100,000 บาท
|
|
รวม
|
100,000 บาท
|
ตามตัวอย่าง นักลงทุนทำการกู้เงินจากโบรกเกอร์ จำนวน 40,000 บาท และสมมุติว่า โบรกเกอร์ ได้ทำการกู้เงิน อีกทอดหนึ่ง จำนวน 40,000 บาท จากธนาคารเพื่อให้นักลงทุนรายนี้ โดยธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยกับบริษัทโบรกเกอร์ที่อัตราดอกเบี้ย 10% และบริษัทโบรกเกอร์คิดอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมครั้งนี้กับนักลงทุนที่อัตราดอกเบี้ย 11% และหลักประกันที่โบรกเกอร์ได้รับคือ หุ้นจำนวน 1000 หุ้น
เมื่อหุ้นราคาลดลงจาก 100 บาท เหลือ 30 บาท ทำให้มูลค่าของหลักประกันที่โบรกเกอร์มีอยู่ลดลงด้วย โดย ลดลงจาก 100,000 บาท (หุ้น 1000 หุ้น ที่ราคา 100 บาท) เหลือ 30,000 บาท (หุ้น 1000 หุ้น ที่ราคา 30 บาท) ซึ่งทำให้หนี้จำนวน 40,000 บาท มีค่าสูงกว่าหลักประกัน
ถ้านักลงทุนรายนั้นเกิดหายตัว ไม่มาชำระหนี้จำนวน 40,000 บาท โบรกเกอร์จะต้องขาดทุนจำนวน 10,000 บาท จากการขายหุ้น เพื่อนำเงินไปใช้คืนธนาคาร
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการกำหนด Maintenance Margin ซึ่งเมื่อราคาหุ้นตกลงมาที่ระดับหนึ่ง เช่นที่ราคา 54 บาท บริษัทโบรกเกอร์จะทำการติดต่อผู้ลงทุนรายนั้น (ซึ่งเรียกว่า Margin Call) ให้ทำการขายหุ้น นำเงินสดมาเพิ่มในบัญชี หรือ นำเงินมาชำระหนี้บางส่วน
นอกจากนี้บริษัทโบรกเกอร์ ยังมีสิทธิ์ที่จะทำการบังคับขายหุ้น (Force Sell) อย่างน้อยในตัวอย่างนี้ บริษัทโบรกเกอร์จะต้องขายหุ้นให้ได้ในราคาที่ไม่ต่ำกว่า 40 บาท มิฉะนั้น บริษัทโบรกเกอร์จะต้องขาดทุน เมื่อนำเงินกู้ไปคืนธนาคาร
การคำนวณ Margin
สัดส่วนของ Margin จะเปลี่ยนไป เมื่อมูลค่าของหุ้นเปลี่ยนไป โดยสัดส่วนของ Margin คำนวณได้จากสูตร
Margin ปัจจุบัน = ส่วนทุน .
ราคาหุ้นปัจจุบัน x จำนวนหุ้น
ณ วันทำการซื้อหุ้นวันแรก ราคาหุ้นปัจจุบัน จะเท่ากับ ราคาซื้อ ในตัวอย่างนี้ คือ 100 บาท ต่อหุ้น
ดังนั้น Margin
|
=
|
60,000
|
|
|
(100 x 1000)
|
|
=
|
60%
|
แต่เมื่อราคาหุ้นลดลงจาก 100 บาท เหลือ 80 บาท บัญชีของนักลงทุนจะเปลี่ยนไปตามมูลค่าของหุ้น โดยบัญชีของนักลงทุนจะเป็นดังนี้
Account Balance: เมื่อราคาหุ้นเหลือ 80 บาท
สินทรัพย์
|
80,000 บาท
|
|
เงินกู้ยืม
|
40,000 บาท
|
|
|
|
ส่วนทุน
|
40,000 บาท
|
|
|
|
|
|
รวม
|
80,000 บาท
|
|
รวม
|
80,000 บาท
|
(หมายเหตุ จะสังเกตุเห็นว่า เฉพาะจำนวนเงินกู้ยืมที่ไม่เปลี่ยนแปลง)
ดังนั้น Margin ใหม่
|
=
|
40,000
|
|
|
(80 x 1000)
|
|
=
|
50%
|
และเมื่อราคาหุ้นลดลงเหลือ 50 บาท Margin จะลดลงเหลือเพียง 20% ดังนี้
Account Balance: เมื่อราคาหุ้นเหลือ 50 บาท
สินทรัพย์
|
50,000 บาท
|
|
เงินกู้ยืม
|
40,000 บาท
|
|
|
|
ส่วนทุน
|
10,000 บาท
|
|
|
|
|
|
รวม
|
50,000 บาท
|
|
รวม
|
50,000 บาท
|
ดังนั้น Margin
|
=
|
10,000
|
|
|
(50 x 1000)
|
|
=
|
20%
|
ณ ที่ราคา 50 บาท นี้ บริษัทโบรกเกอร์จะเริ่มกังวล เพราะถ้าราคาลดลงมาต่ำกว่า 40 บาท จะทำให้บริษัทโบรกเกอร์ต้องขาดทุน หรือแม้แต่ที่ราคา 50 บาท ในตอนนี้ ถ้ามีการบังคับขายจริง อาจจะขายได้ที่ราคาต่ำกว่า 50 บาท หรือ อาจจะต่ำกว่า 40 บาท
ดังนั้นบริษัทโบรกเกอร์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนด Maintenance Margin ขั้นต่ำขึ้น โดยนักลงทุนต้องรักษาไม่ให้ Margin ต่ำกว่า Maintenance Margin ในตัวอย่างนี้กำหนด Maintenance Margin ไว้ที่ 25% ซึ่งนั้น หมายถึง ราคาหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 53.33 บาท
เมื่อราคาหุ้นเท่ากับ 53.33 บาท Margin จะเท่ากับ Maintenance Margin คือ 25% ดังนี้
Account Balance: เมื่อราคาหุ้น เท่ากับ 53.33 บาท
สินทรัพย์
|
53,330 บาท
|
|
เงินกู้ยืม
|
40,000 บาท
|
|
|
|
ส่วนทุน
|
13,330 บาท
|
|
|
|
|
|
รวม
|
53,330 บาท
|
|
รวม
|
53,330 บาท
|
ดังนั้น Margin
|
=
|
13,330
|
|
|
(53.33 x 1000)
|
|
=
|
25%
|
ข้อกำหนดที่สำคัญของการซื้อโดยมาร์จิ้น คือ นักลงทุนจะต้องรักษา Margin ให้ไม่ต่ำกว่า Maintenance Margin ซึ่งในตัวอย่างนี้คือ 25%
ในตัวอย่างนี้ เมื่อราคาหุ้นต่ำกว่า 53.33 บาท นักลงทุนจะต้องทำการ นำเงินฝากเข้าบัญชีเพิ่ม ขายหุ้นออกเพื่อชำระหนี้ หรืออย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อรักษาให้ Margin สูงกว่า Maintenance Margin
การคำนวณราคาหุ้นเฉพาะตัว ก่อนถึง Maintenance Margin
เมื่อนักลงทุนทำการซื้อหุ้นโดยระบบมาร์จิ้น การคำนวณราคาหุ้นเฉพาะตัวหนึ่งตัวใด ก่อนที่ราคาหุ้นจะตกลงมา ต่ำกว่า Maintainance Margin สามารถทำได้โดยการใช้สูตร
ราคาหุ้น
|
=
|
(1- Margin Requirement) x ราคาหุ้นที่ซื้อ
|
|
|
1 – Maintenance Margin
|
จากตัวอย่าง Margin Requirement เท่ากับ 60% ราคาหุ้นเมื่อทำการซื้อเท่ากับ 100 บาท และ Maintenance Margin กำหนดไว้ที่ 25%
ดังนั้นราคาหุ้น
|
=
|
(1- 60%) x 100
|
|
|
1 – 25%
|
|
|
|
|
=
|
53.33 บาท
|
นั้นคือ เมื่อราคาหุ้นเท่ากับ 53.33 บาท จะทำให้มาร์จิ้น เท่ากับ Maintenance Margin |