เอาเรื่องเกี่ยวกับจีนก่อน
ในปี 2006 ดัชนี shanghai (SSEC) +158% และดัชนี Shenzhen (SZSC) +178% ในช่วงเวลาเพียง 13 เดือน หากมีข่าวร้ายที่ตลาดไม่คาดคิด เช่น เศรษฐกิจ หรือ สงคราม อาจทำให้ตลาดหุ้นที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วแตะจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ปรับฐานอย่างรุนแรงได้ ที่สำคัญเม็ดเงินที่หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในตลาดเอเชีย เป็ดเม็ดเงินที่มีที่มา มากจากการเก็งกำไรค่าเงิน หรือที่เรียกว่า Carry Trade อธิบายความก็คือ การที่นักเก็งกำไรไปกู้ยืมเงินสกุลที่ดอกเบี้ยต่ำ เช่น สกุลเงินเยน Yen และนำเงินกู้เหล่านั้นมาลงทุนในสกุลที่ดอกเบี้ยสูงกว่าและมีแนวโน้มแข็งค่า เช่นค่าเงินต่าง ๆ ในเอเชีย คราวนี้พอสกุลเงินเยนแข็งค่าขึ้น หรือ มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย พวกนักเก็งกำไรที่กู้มาเล่น ก็ต้องตัดสินใจคืนเงินกู้ โดยต้องขายหุ้นทั่วโลก หรือขายทองคำ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อเอาเงินไปแลกเป็นเงินเยน เพื่อชำระคืนเงินกู้ ทำให้เกิดการขายและถือว่าเป็นการปรับฐานราคาของตลาดหุ้น ที่รอบนี้อาจจะมีแนวโน้มรุนแรงมากกว่าปกติ แต่ที่สำคัญคงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ? 2 เดือนและตัวเลขการปรับตัวของราคา น่าจะอยู่ในราว 10 ? 20% เนื่องจากเม็ดเงินที่ลงทุนส่วนใหญ่ในตอนนี้ เป็นเงินระยะสั้นที่เก็งกำไร ทั้งตลาดหุ้นและตลาดค่าเงิน เช่น กรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการสำรอง 30% เม็ดเงินไหลเข้า ตลาดทรุดลง 20% และจีนจะออกมาตรการสกัดการเก็งกำไร ตลาดทรุดลง 10%
ให้จับตาประเทศจีน กับมาตรการสกัดเก็งกำไร ที่อาจจะประกาศในช่วง 5 ? 9 มีนาคม 2550 เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญกับสภาพคล่องที่ล้นระบบ เม็ดเงินหลั่งไหลเข้าจีนจำนวนมากมานานหลายปี ได้กระตุ้นให้เกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นและสินทรัพย์อื่น ๆ ทำให้จีนพยายามออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อสกัดการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินหยวน ซึ่งคาดว่าทางการจีนกำลังประชุมสภานิติบัญญัติ เพื่อพิจารณาออกมาตรการต่าง ๆ ในการเก็งกำไร เช่น การขึ้นดอกเบี้ย เก็บภาษีกำไรจากตลาดหุ้น และการควบคุมการขยายสินเชื่อ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ถ้าประกาศออกมา จะกระทบตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นโดมิโน
ก่อนจะคุยเรื่องอื่นต่อ ซึ่งผมขอยกยอดไว้พรุ่งนี้ ก็แล้วกัน ผมขอแสดงความเสียใจต่อกรณีที่ต้องงดออกอากาศ ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ช่องเลข 6 ของรีโมทที่บ้านของผม เหตุการณ์นี้ทำให้ผมนึกไปถึงตอนปี 2540 ปีนั้นเป็นปีที่ 16 ไฟแนนซ์แรกโดนปิด ผมจำได้ว่าเป็นเดือนมิถุนายน โดยคำสั่งจากทางราชการ ซึ่งผลกระทบยังคงมีมาถึงปัจจุบัน สิ่งที่ผมเห็นในวงการเงินบ้านเรา คือ ตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่มีนวัตกรรมที่ใหม่ ๆ โดน ๆ ออกมาเลย ลักษณะเหตุการณ์ของ ITV ในตอนนี้มันเหมือนกันกับช่วงปี 2540 อยู่ 3 ประการ คือ
1. เป็นคำแถลงจากนายกรัฐมนตรี และระยะเวลาที่ให้พนักงานเตรียมตัว มีเพียง 2 วัน
2. การปิดไฟแนนซ์ครั้งนั้น ไม่ได้เตรียมแผนรองรับไว้ ว่าสินทรัพย์ ลูกค้าเงินฝากหรือพนักงานประจำอย่างไร
3. ไม่มีความช่วยเหลือใด ๆ จากเพื่อน ๆ ในวงการเดียวกัน เพราะลูกค้ากำลังจะย้ายจากบริษัทที่ถูกปิด ไปหาบริษัทที่เหลือ ซึ่งจะทำให้พวกเขาอยู่รอดได้ หรือมีกำไรมากขึ้น จึงไม่มีใครช่วย แปลกดีไหม
แปลกแต่จริง ผ่านไป 10 ปี เหตุการณ์เดิมย้อนกลับมา แต่ไปเกิดที่ช่องโทรทัศน์แทน ผมในฐานะแฟน ITV และลูกค้าผมบางคนก็มีหุ้น ITV ขอให้ผู้ที่มีอำนาจทั้งหลายพิจารณาแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ และปราศจากอคติ ผมจะนั่งรออีกหนึ่งเดือน