สภาพแวดล้อมทางการเงินที่เอื้อต่อการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงปี 2003 ? 2006 มาจากการที่สภาพคล่องสูงและดอกเบี้ยต่ำที่สุดในการรอบ 40 ปี แต่ที่สำคัญในปี 2007 นี้ อัตราดอกเบี้ยกลับสู่ทิศทางขาลงอีกครั้ง นี่ยังไม่รวมปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง และการแก้ปัญหาหนี้เสียของระบบธนาคารเข้าสู่ระยะสุดท้าย ฉะนั้นธนาคารจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันครั้งใหญ่ ต้องคิดให้ดีว่าจะเปิดเกมบุก หรือ ถอย 1 ก้าวเพื่อตั้งหลัก
พูดไปแล้วในปี 2007 สภาพแวดล้อมทางการเงินก็ยังเอื้อต่อการทำกำไรของหุ้นกลุ่มธนาคาร เช่น สภาพคล่องยังน่าจะล้นตลาดอยู่ หลังธนาคารขนาดใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงมา ลูกหนี้สินเชื่ออยู่ในภาวะจ่ายดอกเบี้ยได้ ธนาคารเริ่มเปิดตลาดสินเชื่อใหม่ เช่น SMEs และ รายย่อย (Hire Purchase) ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยสินเชื่อ (Spread) ยังทรงตัวในระดับสูง
เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจทำให้การขยายสินเชื่ออาจต่ำกว่าเป้าหมาย การเข้าซื้อสะสมหุ้นในกลุ่มธนาคาร ที่มีความพร้อมและแข็งแกร่งที่สุด ได้แก่ SCB, KBANK, และ BBL
SCB คาดว่ายอดสินเชื่อจะเติบโตสูงกว่ากลุ่มธนาคารในปี 2007 ผ่านเครือข่ายทางการเงินที่ใหญ่ที่สุด ในกลุ่มธนาคาร เช่น SCBL ราคาเหมาะสมปี 2007 ที่ 70 บาท มี P/E 13 เท่า
KBANK จะเริ่มก้าวกระโดดในปี 2008 มีนโยบายกันสำรองในระดับสูง ที่เผื่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ราคาเหมาะสมปี 2007 ที่ 78 บาท มี P/E 13 เท่า
BBL ค่อนข้างระมัดระวัง (Conservative) อยู่ระหว่างรอการปล่อยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ เช่น กลุ่ม ก่อสร้าง ราคาเหมาะสมปี 2007 คือ 134 บาท มี P/E 13 เท่า
ส่วนธนาคารที่ยังยุ่งอยู่ คือ KTB ราคาหุ้น KTB ถูกกดดันจากการตรวจสอบทุจริตปล่อยกู้กลุ่ม KMC และจะต้องกันสำรองเพิ่ม เพื่อรองรับ IAS39 สำหรับเครื่องจักร อย่างไรก็ตาม KTB จะมีข่าวดีระยะสั้นเรื่องรอประกาศจ่ายปันผลอย่างน้อย 0.50 บาทต่อหุ้น XD ประมาณปลายเดือน มีนาคม 2550
KTB ต้องปรับเปลี่ยนคณะกรรมการของ KTB ใหม่หลังจากถูก คตส. มีมติให้ตั้งอนุกรรมการไต่สวนแก่บุคคลที่จะต้องรับผิดชอบทางอาญาและทางแพ่งคดี ผู้บริหารกับพวกให้สินเชื่อกับบริษัทในกลุ่มกฤษดามหานครร่วม 9.9 พันล้านบาทและอนุมัติให้ขายหุ้นบุริมสุทธิแปลงสภาพของบริษัท กฤษดามหานคร 118.5 ล้านหุ้น คิดเป็น 1.18 พันล้านบาท
กรรมการผู้จัดการใหญ่ คาดว่าในช่วงกลางปี 2550 จะได้ข้อสรุปเรื่องการปรับการตั้งสำรองตามมาตรฐาน IAS39 ของเครื่องจักร ซึ่งจะสำรองมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผลกำไรของธนาคาร แต่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ของ BTSEC คาดว่า KTB จะต้องกันสำรองเพิ่มสำหรับ IAS39 ประมาณ 6,000 ล้านบาท
อีกธนาคารหนึ่งก็คือ TMB
ที่เราเห็น ๆ ราคาหุ้นของตัวทหารไทย TMB นั้นลงมาเรื่อย มาจากการที่ทาง TMB ออกมาประกาศว่าจะมีการเพิ่มทุน จำนวน 35,000 ล้านบาท สาเหตุที่ TMB นั้นจะเพิ่มทุน ก็เนื่องมาจาก ทาง TMB จะต้องตัดขายหนี้เสีย และ จะต้องรองรับมาตรฐานบัญชีใหม่ IAS39 เกณฑ์ BASEL II ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ทุกธนาคารจะต้องกันสำรองเงินไว้ แต่เนื่องจาก TMB ยังมีเงินไม่พอที่จะใช้สำรอง จึงได้ทำการประกาศเพิ่มทุน จากข้อมูลแล้ว TMB จะต้องกันสำรอง 17,000 ล้านบาท แต่ ณ ปัจจุบัน ได้กันสำรองไปแล้วเพียง 12,000 ล้านบาท ซึ่งยังมีส่วนที่เหลือ อีกทั้ง ผลประกอบการในปี 2549 TMB ได้ขาดทุนประมาณ 12,000 ล้านบาท มูลค่าตามบัญชีก่อนเพิ่มทุนของ TMB ตอนนี้ ประมาณ 2.56 บาท หากได้มีการเพิ่มทุนแล้ว จะมีผลกระทบจากการเพิ่มทุน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดการเพิ่มทุน และจะส่งแผนเพิ่มทุนไปยัง กระทรวงการคลังภายในสิ้นเดือนมีนาคม
อีกธนาคารหนึ่งก็คือ BAY
ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยาเอง ก็อยู่ระหว่างควบรวมกิจการกับ GE ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของธนาคารกรุงศรีอยุธยา เดิม ตระกูลรัตน์รักษ์ มาเป็นผู้บริหารจากทาง GE แทน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ล่าสุดมือดีของธนาคารกรุงศรีฯ ได้ออกมาประกาศลาออกจากธนาคาร เพื่อไปร่วมงานในธุรกิจด้านบันเทิง โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.นี้เป็นต้นไป และน่าจะมีผู้บริหารไทยอีกหลายรายที่จะทยอยลาออกมา เพราะวัฒนธรรมการทำงานต่างกัน แต่สัดส่วนผู้ถือหุ้นยังใกล้เคียงกันอยู่ ซึ่งในอนาคต GE น่าจะทยอยซื้อเพิ่ม ผมเดาเอาว่า ตัวเลขที่ GE ต้องการ อย่างน้อยก็ 30% ขึ้นไป
ในครึ่งปีแรกของ BAY มองว่าผลประกอบการอาจไม่ค่อยดีนัก อีกประเด็นก็คือ เรื่องการกันสำรองตามเกณฑ์ IAS39 เช่นกัน BAY เองก็เพิ่งจะเริ่มกันสำรองในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นครั้งแรก ทางเราคาดว่า BAY จะต้องกันสำรองเพิ่มอีกประมาณ 7,000 ? 8,000 ล้านบาท และจะขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 15 มีนาคม 2550 โดยจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 0.20 บาท