???? สมาชิก
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร โพสต์: 1,238 | วันที่: 11/03/2007 @ 19:10:56 คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่ ผลการโหวต แม้สถานีโทรทัศน์ "ไอทีวี" จะไม่ถูกสั่ง "ดับจอ" โดยยังสามารถแพร่ภาพต่อไปได้ภายใต้ชื่อใหม่ "ทีไอทีวี" ด้วยการบริหารของกรมประชาสัมพันธ์
แต่บนรอยยิ้มของพนักงานกว่าพันชีวิต ..กลับไม่สามารถช่วยกอบกู้เงินลงทุนของ "นักลงทุน" ที่ขาดทุนยับจากราคาหุ้นไอทีวี ที่เคยถูก "จุดพลุ" ขึ้นไปแถวๆ 30 บาท
พลิกตำนานหุ้นไอทีวี ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ "กุมภาพันธ์ 2545" หลังบริษัทดำเนินการเสนอขายหุ้นไอพีโอให้กับประชาชนทั่วไป จำนวน 300 ล้านหุ้น สนนราคาหุ้นละ 6 บาท ก่อนจะเริ่มเทรดในตลาดหลักทรัพย์วันแรกเมื่อ 13 มีนาคม 2545 แต่ราคาหุ้นไอทีวีกลับยังคงวิ่งอืด..ไม่ทันกิน
กระทั่งรอยต่อระหว่างปี 2546-2547 จากหุ้นที่ไร้ความหวือหวา กลับกลายเป็น "หุ้นร้อน" เมื่อไอทีวีประกาศเพิ่มทุนเป็น 7,800 ล้านบาท โดยจัดสรรเป็น 1,560 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 5 บาท
ด้วยการออกหุ้นสามัญใหม่ 300 ล้านหุ้น คิดเป็นเงิน 1,500 ล้านบาท จัดสรรให้กับ 2 พันธมิตร คือ "ไตรภพ ลิมปพัทธ์" และ "กันตนา"
...ราคาหุ้นไอทีวี ทะยานจากแดน "หลักเดียว" พุ่งขึ้นสูงสุดที่ 32 บาท
แต่ท้ายที่สุด การเข้ามาถือหุ้นของพันธมิตรใหม่ทั้งสองรายกลับต้องล้มเลิก แล้วแปลงสภาพตัวเองเป็นผู้ผลิตรายการเท่านั้น ขณะที่ราคาหุ้นไอทีวีวิ่งเข้าวินไปแล้ว
แผนสองของการ "ทำราคา" ไอทีวี ดำเนินต่อไปในปีเดียวกัน (ปี 2547) เมื่ออนุญาโตตุลาการ (สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) ชี้ขาดให้ "ไอทีวี" จ่ายค่าสัมปทานแก่สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) เหลือเพียงปีละ 300 ล้านบาท (จากเดิม 1,000 ล้านบาท) พร้อมปรับสัดส่วนรายการระหว่าง "สาระ" และ "บันเทิง" เหลือ 50 : 50
แล้วโครงสร้างผู้ถือหุ้น "ชินคอร์ป" (ถือหุ้นไอทีวี 52.92%) ก็เปลี่ยนมือจากครอบครัวชินวัตรมาเป็นเทมาเส็ก (สิงคโปร์)
จนเมื่อ 12 ธันวาคม 2549 "ศาลปกครองสูงสุด" มีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แล้วให้ "ไอทีวี" ย้อนกลับไปปฏิบัติตามสัญญาเดิม ด้วยการจ่ายค่าสัมปทานปีละ 1,000 ล้านบาท พร้อมให้นำเสนอรายการระหว่าง "สาระ" และ "บันเทิง" ในสัดส่วน 70 : 30 ตามสัญญาเดิม
พร้อมเรียกให้ ไอทีวี ชำระค่าสัมปทานที่ค้างจ่าย จำนวน 2,210 ล้านบาท ดอกเบี้ย 15% อีกเป็นจำนวน 464.5 ล้านบาท ให้แก่ สปน. และชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท
..เป็นชนวนให้ราคาหุ้นไอทีวีดิ่งลง..ไร้แนวรับ จนเหลือแค่ "บาทเดียว" หมดทางฟื้น!!
แน่นอนว่า ในช่วงสถานการณ์ "น้ำขึ้น" ของหุ้นไอทีวี โดยเฉพาะในปี 2547 ย่อมมีคนที่ร่ำรวยออกไป โดยเฉพาะบรรดา "นอมินี" จำนวนมากที่คนวงในส่งเข้ามาในลักษณะ "เสือปืนไว"
แม้แต่ชื่อของ "ทวีฉัตร จุฬางกูร" และ "กบข." (กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ) ที่เคยปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายละ 9.50 ล้านหุ้น และ 6.03 ล้านหุ้น ตามลำดับ ก็มีการขายหุ้นออกไปในปลายปี 2546 ที่มีข่าว 2 พันธมิตรใหม่ (ไตรภพ และ กันตนา)
กระทั่งล่าสุด สปน. เข้ามายึดไอทีวี "ผู้เสียหาย" รายที่อ่วมที่สุดหนีไม่พ้นผู้ถือหุ้น "ชิน คอร์ปอเรชั่น" ซึ่งมีต้นทุนอยู่ที่หุ้นละ 6 บาท ที่ถือหุ้นใหญ่โดย "กองทุนเทมาเส็ก" ซึ่งระยะแรก (ปี 2549) มีข่าวว่า อาจมีการขายทีวีแห่งนี้ให้แก่เศรษฐีในเมืองไทย..แต่ก็ไม่ทัน และถึงแม้กองทุนแห่งนี้จะมีทุนไม่อั้น แต่ก็เสียหายอย่างหนักจากการถือหุ้น (ทางอ้อม) ในไอทีวี
ถือเป็นการปิดบัญชี "ชินคอร์ป" ในไอทีวี หลังเข้ามาเสพอำนาจตั้งแต่ปลายปี 2544
ส่วน "ณฤทธิ์ เจียอาภา" (เจ้าของ บมจ.ซีเฟรชอินดัสตรี) ที่แอบเข้ามาตุนหุ้นไอทีวีอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปี 2548-2549 รวมกว่า 26.62 ล้านหุ้น (2.21%) กับ "เสี่ยปู่..สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล" เซียนหุ้นรายใหญ่อีกราย ที่เข้ามาโกยหุ้นเข้าพอร์ตถึง 8.30 ล้านหุ้น (0.69%) ในช่วงระหว่างปี 2548-2549
แม้ "เสี่ยปู่" จะถอนตัวออกไปแล้ว แต่ก็ต้องเจ็บพอสมควร ส่วน "ณฤทธิ์" ยังคงอดทนถือต่อไป
นี่คือตำนานหุ้นไอทีวี ที่มีทั้ง "ผู้ร่ำรวย" และ "ผู้เสียหาย
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek[/color:e1837d09bf">
|