Isabella สมาชิก
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร โพสต์: 17 | วันที่: 13/12/2014 @ 06:04:41 คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่ ผลการโหวต เมื่อกล่าวถึง การลงทุน คุณนึกถึงอะไร... หลายคนอาจนึกถึงการฝากเงินไว้กับธนาคาร การลงทุนในหุ้น พันธบัตร กองทุนรวม หรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ที่จะทำให้เงินออมของเรางอกเงย และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วขึ้น ซึ่งการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้ต้องซื้อขายผ่านตลาดการเงิน ที่เชื่อแน่ว่า... มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจเรื่องตลาดการเงินหรือการลงทุนผ่านตลาดการเงินดีนัก ดังนั้นเพื่อให้เราเข้าใจการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ผ่านตลาดการเงินมากยิ่งขึ้น เราลองมาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าว่า ตลาดการเงินคืออะไร และมีความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องอย่างไรกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เราคุ้นหูกันดีตามสื่อต่างๆ
ตลาดการเงิน (Financial Market) คือ ตลาดที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้มีเงินเหลือกับผู้ที่ต้องการเงิน โดยเป็นแหล่งที่ผู้มีเงินเหลือและผู้ที่ต้องการเงินมาพบและตกลงซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินรูปแบบต่างๆ ระหว่างกันกล่าวคือ เป็นตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนหรือเปลี่ยนมือของหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น โดยเราสามารถแบ่งตลาดการเงินออกเป็น 2 ประเภท คือ...
- เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารหนี้ระยะสั้น และบัตรเงินฝาก ฯลฯ
- เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาวขององค์กรผู้ออกตราสารนั้นๆ เพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การขยายธุรกิจของผู้ประกอบกิจการเอกชนหรือการลงทุน ด้านสาธารณูปโภค ของภาครัฐบาล ฯลฯ
โดยผู้ที่ต้องการระดมเงินทุนจะออกหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินในตลาดทุน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล หน่วยลงทุน หรือใบสำคัญแสดงสิทธิ ฯลฯ เพื่อขายให้กับบุคคลภายนอกเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือขายให้กับประชาชนทั่วไปใน ตลาดแรก (Primary Market) โดยมี ตลาดรอง (Secondary Market) ซึ่งจัดตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่เสริมสภาพคล่องให้แก่หลักทรัพย์ที่ผ่านการจองซื้อในตลาดแรก ให้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกว่าจะสามารถขายหลักทรัพย์นั้นเพื่อเปลี่ยนกลับคืนเป็นเงินสดได้เมื่อต้องการ อย่างไรก็ตาม ตลาดรองสามารถแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งได้เป็น ตลาดรองที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ(Organized Market) และ ตลาดรองที่ไม่ได้มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ (Over-the-Counter: OTC) ที่ผู้ซื้อกับผู้ขายจะเจรจาและตกลงซื้อขายกันเอง ไม่มีตัวกลางคอยควบคุมดูแลการซื้อขาย เพื่อรักษาผู้ลงทุนเหมือนตลาดที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งคำว่า ทางการ หรือไม่นั้น อาจพิจารณาในด้านของระบบการซื้อขายและความเป็นมาตรฐานต่างๆ อ่านต่อได้ที่ http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1760&Itemid=1535
|