thaihoon สมาชิก
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร โพสต์: 14,583 | วันที่: 05/01/2021 @ 08:36:10 คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่ ผลการโหวต ในบรรดาลูกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ดูเหมือนบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เป็นลูกคนโตที่ทำผลงานโดดเด่นให้แม่ชื่นอกชื่นใจมาตลอด (แม้ในปี 2563 จะสะดุดไปเล็กน้อย จากผลกระทบไวรัสมหาภัยโควิด)
ในช่วงที่ผ่านมารายได้หลักของปตท.ก็มาจากลูกหัวแก้วหัวแหวนคนนี้นี่แหละ
โดย PTTEP เป็นธุรกิจต้นน้ำ ในแง่ของการสำรวจขุดเจาะก๊าซฯ และปิโตรเลียม โดยเฉพาะก๊าซฯ ซึ่งจะมีลูกคนอื่นมาเอาก๊าซฯ ไปต่อยอดสู่ธุรกิจอื่น อย่างธุรกิจกลางน้ำคาบเกี่ยวไปต้นน้ำก็จะมีธุรกิจปิโตรเคมี ดำเนินการผ่านบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ส่วนโรงกลั่น ทำผ่านบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP และบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC
รวมทั้งธุรกิจไฟฟ้าผ่านบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC และปลายน้ำที่เป็นค้าปลีกในสายน้ำมันผ่านบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR น้องใหม่ที่จ่อจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เร็ว ๆ นี้
แต่ล่าสุดพี่ใหญ่เริ่มขยับ
เดิมจากต้นน้ำมาสู่กลางน้ำ มีเป้าหมาย 1) เพื่อกระจายความเสี่ยงของธุรกิจ และ 2) เป็นการบริหารจัดการภายในกลุ่มปตท. เกิดการ Synergy ภายในเครือมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เห็นได้ชัดจากการได้รับสิทธิ์พัฒนาโรงไฟฟ้า Gas to Power กำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ในเมียนมา มูลค่าลงทุน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 60,000 ล้านบาท
ความน่าสนใจของโครงการนี้ เป็นการลงทุนด้านพลังงานแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงการผลิตไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย การสำรวจและการพัฒนาแหล่งผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซ
จึงถือเป็นก้าวสำคัญของ PTTEP.!!
สิ่งที่จะเห็นจากโครงการนี้ จะเห็นการ Synergy ธุรกิจ โดย PTTEP เป็นต้นน้ำ ทำการสำรวจขุดเจาะ นั่นหมายถึงการส่งต่อให้กับกลางน้ำ ซึ่ง PTTEP อาจลงทุนเอง หรือจับมือกับพันธมิตร แต่ขาแรกที่จะได้ก่อนเลย คือ การขายก๊าซฯ ป้อนให้กับโรงไฟฟ้าดังกล่าว
โดยมีการประเมินขนาดของโรงไฟฟ้าที่ 600 เมกะวัตต์ จะต้องใช้ปริมาณก๊าซประมาณ 100,000 ล้านบีทียูต่อวัน หรือ 17 บาร์เรลต่อวัน (BOED) หรือคิดเป็นสัดส่วนของก๊าซที่จะขายเพิ่มได้ประมาณ 5% ของปริมาณขายของ PTTEP ในปัจจุบัน
ส่วนอีกขาที่จะได้ ในแง่ของเงินลงทุน จากการขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานด้านไฟฟ้าของเมียนมา ซึ่งมีสัญญา 20 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้ 5 ปี
นั่นแปลว่า จะทำให้ PTTEP มี Recurring Income เกิดความเสถียรในแง่ของรายได้มากขึ้น.!!
ในส่วนการผลิตก๊าซฯ เนื่องจาก PTTEP มีแหล่งก๊าซฯ ในเมียนมาอยู่แล้ว ได้แก่ โครงการซอติก้า และโครงการเมียนมา เอ็ม 3 ก็จะได้ราคาพรีเมียม มีแม่ป้อนวัตถุดิบให้ ก็จะทำให้ต้นทุนถูกลง ทำให้มาร์จิ้นดีขึ้น ถ้าเทียบกับโรงไฟฟ้าอื่น ๆ
ขณะที่ต้นทุนขนส่งอาจไม่มี หรือมีไม่เยอะ ทำให้ต้นทุนต่ำ นำไปสู่ห่วงโซ่สุดท้ายในส่วนของกำไรก็จะดีตามไปด้วย
ก็เป็นบริบทก้าวสำคัญของ PTTEP ในการก้าวสู่กลางน้ำ
ซึ่งในอนาคตไม่แน่อาจมีปลายน้ำต่อไปก็ได้ ใครจะไปรู้
อ้อ
คนที่รู้ดีสุดน่าจะเป็น เฮียพงศธร ทวีสิน นะเจ้าคะ
อิ อิ อิ
|