thaihoon สมาชิก
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร โพสต์: 14,583 | วันที่: 03/02/2021 @ 08:44:06 คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่ ผลการโหวต เกิดอาการเซ็งไปตาม ๆ กัน สำหรับบริษัท บางกอก เดค-คอน จำกัด (มหาชน) หรือ BKD และ บริษัท เซเว่น ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ 7UP ที่ก่อนหน้านี้ทั้งสองบริษัทมีดีลจะซื้อขายสินทรัพย์ระหว่างกัน
โดย BKD ขายหุ้นทั้งหมด (40%) ที่ถือในบริษัท โกลด์ ชอร์ส จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำประปาส่งงให้พื้นที่บางส่วนของ จ.ภูเก็ต และบางส่วนของ จ.พังงา ให้ 7UP มูลค่า 550 ล้านบาท
จากที่คิดว่า ดีลนี้จะ win-win ทั้งคู่ สุดท้ายดีลล่มไม่เป็นท่า
ไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขได้
โดย 7UP ในฐานะคนซื้อให้เหตุผลว่า จากการแพร่ระบาดของโควิดส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำใน จ.ภูเก็ต ลดลงอย่างมาก ทำให้รายได้ของโกลด์ ชอร์ส ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทจึงต้องชะลอการลงทุนออกไปก่อน
ก็พอเข้าใจได้อะนะ
ส่วน BKD ในฐานะคนขาย ก็ต้องเออออห่อหมก ยอมรับชะตากรรม
ดีลนี้จึงกลายเป็นเรือล่มปากอ่าวซะงั้น..!!
ที่จริงก่อนหน้านี้ ทั้ง BKD และ 7UP ตั้งความหวังไว้กับดีลนี้ค่อนข้างสูง
โดย BKD หลังจากรู้ตัวว่า ตนเองไม่มีความชำนิชำนาญงานด้านสาธารณูปโภค
ก็คงคิดว่าขายทิ้งไปซะดีกว่า อย่างน้อย ๆ ก็ได้เงินสด 550 ล้านบาท มาเติมสภาพคล่อง
เพราะถ้าดูกระแสเงินสดและเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีแค่ 16.88 ล้านบาท เท่านั้น ขณะที่มีส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีสูงถึง 86.67 ล้านบาท
สถานการณ์เงินสดค่อนข้างตึงมือนะเนี่ย
ดังนั้น แทนที่จะได้เงินสด 550 ล้านบาท เข้ามา เพื่อไปจ่ายหนี้ หรือลงทุนต่อ ก็ปลิวหายไปกับสายลม
นั่นหมายความว่า หาก BKD ได้งานโครงการใหม่ช่วงนี้ อาจต้องใช้วิธีไปกู้บริดจิ้งโลน ซึ่งดอกเบี้ยสูงแทนนะสิ
ส่วน 7UP หลังจากก่อนหน้านี้เป็นกระดองเต่าที่พยายามไล่ล่าเนื้อมาเติมอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจพลังงานทางเลือก ธุรกิจติดตั้งกล้องตรวจจับน้ำมันรั่วอัจฉริยะ ธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจเกมบนมือถือ ธุรกิจจัดดจำหน่ายแก๊ส LPG ธุรกิจติดตั้งกล้องวงจรปิด และธุรกิจบำบัดน้ำ ธุรกิจคัดแยกและกำจัดกากอุตสาหกรรมแบบไม่เป็นอันตรายโดยการฝังกลบ รวมทั้งธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารในเส้นทางเดินเรือระหว่างชายฝั่งภาคตะวันออกกับภาคกลางตอนล่างและภาคใต้
แม้จะมีธุรกิจที่หลากหลาย แต่ยังไม่เห็นธุรกิจหลักที่ชัดเจน
เป็นโจทย์ที่ 7UP ยังแก้ไม่ตกสักที
ขณะที่ถ้าไปดูกระแสเงินสดและเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มี 37 ล้านบาท
ก็ถือว่าไม่สูง ถ้าเทียบกับส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีที่ 129 ล้านบาท
ดังนั้น การเก็บเงินสดไว้กับตัวในสถานการณ์อย่างนี้น่าจะดีสุด ครั้นจะไปกู้แบงก์มาซื้อหุ้นโกลด์ ชอร์ส ก็อาจไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสม
แต่ 7UP ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียโอกาสที่จะมีรายได้ประจำเข้ามามากขึ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นโครงการผลิตและจำหน่ายน้ำประปาส่งให้พื้นที่บางส่วนของ จ.ภูเก็ต และบางส่วนของ จ.พังงา ที่เพิ่มขึ้น
จากเดิม 7UP ถือหุ้นโกลด์ ชอร์ส อยู่แล้ว 41% หากซื้อเพิ่มจาก BKD มาอีก 40% ก็จะรวมถือทั้งหมดเป็น 81% แต่ในส่วนนี้จะหายไป
ทั้ง BKD และ 7UP จึงต้องกลับไปซดน้ำแห้วทั้งคู่..!!
เรื่องทั้งหมดก็เป็นเช่นนี้แหละคุณขา
อิ อิ อิ
Cr.https://www.kaohoon.com/content/420112
|