magbandang สมาชิก
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร โพสต์: 87 | วันที่: 16/08/2005 @ 09:30:08 คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่ ผลการโหวต อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการลงทนและตลาดหุ้น ตั้งแต่ต้นปี 2548 จนถึงขณะนี้ แต่นับจากที่มีการกดดันจีน ให้เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบคงที่ 8.28 หยวน ต่อ 1 ดอลลาร์ มาเป็นอัตราที่ยืดหยุ่นมากขึ้นจนนำไปสู่การการเปบี่ยนแปลงเพิ่มค่าเงินหยวน 2% จาก 8.28 หยวน มาเป็น 8.11 หยวนและกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นลงไม่เกินวันละ 0.30% แนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยก็เริ่มมีแรงซื้อเข้ามาสะสมหุ้นพื้นฐานชัดเจนมากขึ้น พิจารณาย้อนหลังไปตั้งแต่ต้นปี 48
เดือน
ม.ค. ต่างชาติซื้อสุทธิ 47,921 ล้านบาท
ก.พ. ต่างชาติซื้อสุทธิ 31,619 ล้านบาท
มี.ค. ต่างชาติขายสุทธิ 10,141 ล้านบาท
เม.ย. ต่างชาติขายสุทธิ 7,150 ล้านบาท
พ.ค. ต่างชาติขายสุทธิ 3,014 ล้านบาท
จากนั้นเมื่อสัญญารการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนต่างชาติก็เริ่มกลับมาซื้อหุ้นหลักในกลุ่มพลังงาน สื่อสาร และสถาบันการเงินบางตัว ทำให้ในเดือน มิ.ย.ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ
มิ.ย. ต่างชาติซื้อสุทธิ 16,657 ล้านบาท
ก.ค. ต่างชาติซื้อสุทธิ 13,759 ล้านบาท
ในขณะที่ปริมาณซื้อขายสะสมชะลอตัวจาก 472,104 ล้านบาท มาเป็น 382,992 ล้านบาท ในเดือน มี.ค. และ 327,104 ล้านบาท ในเดือน มิ.ย.และลดลงมาอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดของปีในเดือน ก.ค. คือ ระดับ 264,859 ล้านบาท ในขณะที่เดือน เม.ย. ซึ่งมีวันหยุดทำการมากที่สุด ที่มีมูลค่าต่ำสุด 255,213 ล้านบาท เดือน ก.ค. จึงสะท้อนถึงระดับที่ซบเซามากที่สุดเดือนหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นจุดต่ำที่สุดของธุรกิจหลักทรัพย์ในรอบปี 2548
Volume การซื้อขายและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศบอกอะไรนักลงุทนบ้าง ? จากการที่เข้ามาเป็นผู้ซื้อสุทธิ มากถึง 89,461 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปี 48 จนถึง 31 ก.ค.48 และยังคงทำหน้าที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. จนถึงขณะนี้ โดยนักลงทุนสถาบันหรือกองทุนรวมขายสุทธิ มาโดยตลอดเช่นกัน ทั้งนี้พิจารณาจากสัดส่วนกาเข้ามาลงทุน ต่างชาติมีพอร์ตลงทุน 1.163 แสนล้านบาท
หรือประมาณ 25% ของมูลค่าตลาดรวมในขณะที่ตัวเลขของกองทุนรวม อยู่ที่ประมาณ 3.2 แสนล้านบาท
หรือประมาณ 7.6% ของมูลค่าตลาดรวมที่เหลือเป็นสัดส่วนของนักลงทุนทั่วไป
เป็นไปได้หรือไม่ว่าต่างชาติอยู่ในสภาพถอยไม่ได้เพราะซื้อหุ้นไปมากแล้ว แต่หากพิจารณาแล้วจากหุ้นที่ต่างชาติลงทุน คือ PTT PTTEP ADVANC UCOM SCB PSL RCL (เป็นการยกตัวอย่างเท่านั้น เพราะเราก็ไม่รู้แน่ชัดว่ามีกี่ตัว) ให้คำตอบที่ชัดเจนว่าไม่ใช่เพราะหุ้นดังกล่าว ล้วนแต่มีกำไรจะขายจนราคาลดลง 20% ก็ยังมีกำไร ในขณะที่พิจารณาจากผลตอบแทน และแนวโน้มธุรกิจยังคงมีผลตอบแทนเชิงบวกต่อเนื่อง แม้ว่าจะเป็นอัตราที่ชะลอลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจแต่ก็ให้ผลตอบที่ดีกว่าตลาดเงิน และตราสารหนี้ระยะยสั้น นอกจากนั้นหากพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบจะส่งผลเฉพาะธุรกิจมากน้อยแตกต่างกันไป ดดยที่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบไม่มาก และซึมทราบผลกระทบไปแล้วก็เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ค่อนข้างชัดเจน จากสถาพตลาดที่แม้แต่กลุ่มวอร์แรนท์ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มีมูลค่าอะไรก็ยังมีแรงเข้ามาเก็งกำไรแม้ว่าจะเป็นแค่ช่วยระยะสั้น ๆ ก็ตาม
อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนก็ยังคงมีอยู่มาก ที่นักลงทุนจำเป็นจะต้องระมัดระวังในการลงทุน และเลือกลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีมากกว่าการหวังรวยทางลัดจากหุ้นเก็งกำไรที่จากขึ้นลงหวือหวา ระยะเวลาที่เหลือของปีดัชนีราคาหุ้น ?ยังมีโอกาสที่จะขยับสูงขึ้นไป บริเวณ 730 ? 750 จุด? และอาจไปได้ไกลมากกว่า หากแนวโน้มเศรษฐกิจมีทิศทางที่กลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้น กลุ่มที่จะกลับมาเป็นหุ้นตลาดอีกครั้งก็คงหนีไม่พ้น กลุ่มเดินเรือ กลุ่มแบงค์ กลุ่มหลักทรัพย์ และกลุ่มอสังหาฯ ตัวเล็ก (หุ้นตลาดคือที่เก็งกำไรซะส่วนใหญ่ เฮ้อ มันก็แล้วแต่ใครจะเรียก ..อิ ๆ เอ..แร้ว หุ้นพลังงานไปใหนหว่า แฮ่..ๆ ..) ที่ยังมีศักยภาพในภาวะที่ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น
การยกกลุ่มหลักทรัพย์ก็เนื่องจากการเปิดตลาดอนุพันธ์ในเดือน พ.ย. 48 และการเข้าตลาดหุ้น ของ กฟผ. (ยังไม่รวมเบียร์ช้าง) จะช่วยหนุนให้ปริมาณากรซื้อขายเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างชัดเจน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อรายได้จากค่านายหน้าของธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งตัวที่น่าสนใจและเป็นตัวนำยังคงให้น้ำหนักที่ ASP KEST ตัวตามได้แก่ ZMICO TNITY BFIT เป็นต้น หากเวลามาถึงกลุ่มหลักทรัพย์มีตัวเล่นสลับกับเก็งกำไรได้ดีพอสมควรทีเดียว...
จบข่าว.....
Magbandang: 16/8/48
|