May 4, 2024   5:50:04 AM ICT
แนะศึกษา LTF-RMF ให้ดีก่อนเลือกซื้อ
เอ็มดี บลจ. ไอเอ็นจี ?มาริษ ท่าราบ? แนะก่อนลงทุน LTF-RMF ผู้ลงทุนต้องศึกษาความแตกต่างให้ดี เพื่อเลือกกองทุนให้เหมาะกับความต้องการ เผยแม้ 2 กองทุนนี้ จะให้สิทธิประโยชน์ภาษีเหมือนกัน แต่ในรายละเอียด ทั้ง 2 กองต่างกัน นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ในเครือกลุ่มไอเอ็นจีจากเนเธอร์แลนด์ กล่าวในงานเสวนา ?วางแผนทางการเงินอย่างชาญฉลาดด้วย LTF และ RMF? วันนี้ ว่าสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุน 2 กองทุนนี้ ต้องทำความรู้จักความเหมือน และความแตกต่างก่อน
       
        โดยทั้งกองทุนที่เน้นลงทุนหุ้นระยะยาว (LTF-Long Term Equity Fund) และกองทุนที่เน้นลงทุนและสะสมไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ (RMF-Retirement Mutual Fund) ต่างให้สิทธิประโยชน์ภาษีผู้ถือหน่วยรายละไม่เกิน 300,000 บาท เหมือนกัน
       
        แต่นโยบาย 2 กองทุนนี้ ต่างกัน แม้ทั้ง 2 กองฯ จะให้สิทธิประโยชน์ภาษีไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 300,000 บาทเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ถ้าผู้ลงทุนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
       
        เมื่อลงทุนใน RMF ต้องรวมกับเงินสะสมที่ผู้ลงทุนจ่ายเข้าสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. ส่วน LTF ไม่ต้องนับรวม
       
        นอกจากนี้ RMF วัตถุประสงค์ออมระยะยาว เพื่อใช้ยามเกษียณอายุ ขณะเดียวกัน นโยบายการลงทุนก็หลากหลาย ผู้ลงทุนสามรถเลือกกองทุน RMF ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่สูงถึงต่ำ กล่าวคือ ถ้ารับความเสี่ยงได้มาก ก็เลือกลงทุนกองทุนหุ้น แต่ถ้ารับความเสี่ยงได้น้อย เลือกลงทุนตราสารหนี้ หรือกองทุนคุ้มครองเงินต้น
       
        นายมาริษกล่าวอีกว่า ผู้ลงทุนใน RMF ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปี นับแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และต้องถือไว้จนถึงอายุ 55 ปี หากผิดเงื่อนไข ผู้ลงทุนต้องคืนภาษีทั้งหมดที่ได้รับยกเว้น
       
        แต่หากลงทุนกองทุนนี้เกิน 5 ปี คำนวณคืน 5 ปีปฏิทิน ย้อนหลังเท่านั้น นอกจากนี้เมื่อขายหน่วยลงทุน กำไรที่ได้ ก็ต้องเสียภาษีด้วย
       
        วัตถุประสงค์การตั้งกองทุน LTF นายมาริษกล่าวว่า เนื่องจากภาครัฐเห็นว่า นักลงทุนสถาบัน เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแต่ละวันน้อยมาก เพียง 15% จึงผลักกันให้กองทุน LTF เกิด โดยระดมเงินออมจากผู้ลงทุนรายย่อย
       
        โดยให้แรงจูงใจสิทธิประโยชน์ภาษีผู้ลงทุน ซึ่งเขาเชื่อว่า ระยะยาว ถ้าเงินนักลงทุนสถาบันเพิ่มขึ้น จะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีเสถียรภาพ
       
        อย่างไรก็ตาม LTF นโยบายการลงทุน ไม่หลายหลายเหมือน RMF เนื่องจาก LTF เน้นลงทุนเฉพาะหุ้น โดยมีนโยบายลงทุนไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าสินทรัพย์ (NAV-Net Asset Value)
       
        ?LTF ผู้ลงทุนสามารถเลือกประเภทกองทุนที่มีการจ่ายปันผล และไม่จ่ายปันผล ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบาย และความต้องการของผู้ลงทุน ว่าต้องการเงินสดเร็วแค่ไหน โดยกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผล ซึ่งอาจะกำหนดจ่ายทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็แล้วแต่ เมื่อจ่ายปันผลแล้ว ผู้ลงทุนต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% แต่ก็ถือว่าน้อยกว่าการฝากเงิน ที่เมื่อได้ดอกเบี้ย ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%? นายมาริษกล่าว
       
        นอกจากนี้ ระยะเวลาถือหน่วยลงทุน LTF นับแค่ 5 ปีปฏิทิน โดยถ้าลงทุนวันที่เท่าไร เดือนใดก็ได้ ปีนี้ ถือว่าเป็นการลงทุนปีที่ 1 และจะไถ่ถอนหน่วยได้ปี 2551 แต่การไถ่ถอน ต้องดูว่าแต่ละกองทุน มีนโยบายไถ่ถอนอย่างไร ซึ่งตามกฎ ไถ่ถอนได้ปีละ 2 ครั้ง
       
        นายมาริษยกตัวอย่างว่า ผู้ที่มีรายได้ 20,000 บาทต่อเดือน ถ้าไม่ลงทุน LTF-RMF ต้องเสียภาษี 4,800 บาทต่อปี แต่ถ้าลงทุน RMF โดยใช้สิทธิเต็มที่ คือไม่เกิน15% ของเงินได้พึงประเมิน จะเสียภาษี 1.2 พันบาทต่อปี
       
        และถ้าลงทุนทั้ง LTF-RMF ก็ไม่ต้องเสียภาษี จึงกล่าวได้ว่า สำหรับบุคคลที่มีรายได้ 20,000 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี 100% ส่วนบุคคลที่มีรายได้ 100,000 บาทต่อเดือน ประหยัดภาษีได้ประมาณ 50% และผู้มีรายได้ 200,000 บาทต่อเดือน ประหยัดภาษีได้ 29-30%
       
        นายมาริษกล่าวว่า สำหรับผู้ต้องการลงทุน LTF-RMF ต้องรู้วัตถุประสงค์ และความต้องการของตัวเองก่อน เพื่อจะเลือกลงทุนที่เหมากับตัวเอง เพราะ LTF-RMF ก็มีนโยบายการลงทุนต่างกัน ซึ่งรวมถึงความเสี่ยง
       

เข้าชม: 2,110

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com