May 15, 2024   7:25:20 PM ICT
ปั่นหุ้น ? ปั้นหุ้น ? ดูอย่างไร ?

โดย มนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
       
       ผมเห็นข่าวที่พูดถึงเรื่อง ?ปั่นหุ้น? หรือการ ?ปั้นหุ้น? เนื่องจากผมอยู่ในวงการหุ้นโดยตรง
       จึงข้อเสนอความเห็นเรื่องเกี่ยวกับการปั่นหุ้น ดังนี้
       
       1. การปั่นหุ้น ต่างกับการลงทุนและการเก็งกำไร
       * การลงทุนและการเก็งกำไร มักเป็นสิ่งควบคู่กัน คือการลงทุนในหุ้นโดยหวังผลตอบแทนระยะยาว ในรูปปันผล และ/หรือ กำไรจากราคาหุ้น ซึ่งแต่ละคน หรือแต่ละสถาบัน อาจมีเป้าหมายระยะเวลาการลงทุนที่เหมือนกัน หรือต่างกันได้ ตามเงื่อนไขในการลงทุนของแต่ละคน
       
       * การปั่นหุ้น มักจะมีการล่อลวงให้นักลงทุนทั่วไปหลงเชื่อ มีพฤติกรรมทั่วไป คือซื้อ-ลาก-ล่อ-ทุบ-กด-ดักซื้อตอนถูก-ลาก-ล่อ-ทุบ-กด... อาจทำกันหลายๆ รอบ มักจะไม่ทำกับหุ้นขนาดใหญ่ มีหุ้นกระจายจำนวนมาก หรือมีนักลงทุนสถาบันลงทุนด้วย เนื่องจากควบคุมยาก หลายๆ ครั้ง จึงมักเป็นหุ้นที่ขาดปัจจัยพื้นฐานรองรับ
       
       * การปั่นหุ้น ยุคหนึ่งเป็นการปล้นสถาบันการเงิน ผมเคยเขียนบทความในยุคนั้น ถึงกรณีหุ้นธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ (BBC) ซึ่งมีผู้ปั้นหุ้น ซื้อหุ้นที่โบรกเกอร์ 1 ราคา 20 บาทในบัญชีมาร์จิ้น โบรกเกอร์ 1 ออก 10 บาท นักลงทุนออก 10 บาท วันรุ่งขึ้นขายที่ 22 บาท ผู้ปั้นหุ้นจะได้ 10 บาทคืน บวกกำไร 2 บาท โดยมีบัญชีของตนเองซื้อไปที่โบรกเกอร์ 2 เป็นผู้ซื้อ
       
       วันรุ่งขึ้น ผู้ปั้นหุ้นขายที่ 24 บาท นักลงทุนจะได้ 11 บาทคืน บวกกำไร 2 บาทจากโบรกเกอร์ 2 โดยมีบัญชีของตนเองซื้อไปที่โบรกเกอร์ 3 เป็นเช่นนี้เรื่อยไป ตอนนั้น หุ้น BBC ขึ้นแรงมากอย่างต่อเนื่อง จากราคาประมาณ 20 บาท ขึ้นไปเป็น 60 บาท
       
       ตามหลักการทำนองนี้ ผู้ปั้นหุ้น จะใช้เงินเพียง 10 บาทในวันแรก และใช้หมุนเวียนไปยังโบรกเกอร์ต่างๆ จนถึงระดับประมาณ 60 บาท โบรกเกอร์รายสุดท้าย ออกเงินค่าหุ้น 30 บาท โดยที่ผู้ปั้นหุ้นใช้เงินเริ่มต้น 10 บาท และเก็บกำไรเข้ากระเป๋าไปแล้ว 20 บาท (หากท่านงงก็ไม่แปลก เพราะการปั้นหุ้นนั้น ซับซ้อนจริงๆ)
       
       และเมื่อมีเรื่องว่า กลุ่มนักการเมืองบางกลุ่ม ร่วมมือกับผู้บริหาร ยักยอกผลประโยชน์จากธนาคาร BBC หุ้นก็กลับไปสู่ปัจจัยพื้นฐาน แถวๆ ?ศูนย์? แต่ผู้ปั้นเก็บกำไรไปแล้ว 20 บาท
       
       
2. ตลาดทุนจะมีวัคซีนป้องกันการปั้นหุ้นได้อย่างไร
       
* นักลงทุนป้องกันตัวด้วยการลงทุนหุ้นตามปัจจัยพื้นฐาน การลงทุน และการเก็งกำไร ทุกคนก็หวัง ?ซื้อถูกขายแพง? และกลัว ?ซื้อแพงขายถูก? หุ้นก็มีการปรับตัวขึ้นลงตามปัจจัยพื้นฐาน ทั้งระดับบริษัท ระดับอุตสาหกรรม ระดับประเทศ (เช่น ภาพเศรษฐกิจ ความมั่นคง) ระดับโลก (เช่น สันติภาพ เศรษฐกิจโลก)
       
       ดังนั้น บางครั้ง ซื้อหุ้นได้ถูก บางครั้งก็พลาด อาจซื้อหุ้นแพง ไม่ว่าหุ้นนั้น จะเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี หรือหุ้นเน่าหุ้นปั่น ผมแนะนำว่า หากเราซื้อหุ้นที่ดี แม้จะเป็นจังหวะที่แพง หากสภาวะตลาดฯ กลับมาเป็นปกติ ก็มักจะทำกำไรได้ และเติบโตได้ แม้บางครั้งยังไม่อยากขาย เพราะหุ้นลง เราก็ยังสามารถถือ เพื่อรอรับปันผล และรอจังหวะตลาดฯ ที่ดีได้
       
       แต่หุ้นเน่าหรือหุ้นปั่นนั้น กิจการอาจไม่สามารถทำกำไรที่ฟื้นตัวได้ ไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีพอในระยะยาวได้ และราคาหุ้นอาจตกต่ำอย่างรุนแรงได้ ถ้าระดับราคาไม่สมเหตุผลตามปัจจัยพื้นฐาน
       
       ผมเชื่อว่า หากนักลงทุนรายย่อย ลงทุนด้วยสติ ด้วยเหตุผล นักลงทุนรายที่มีกำลังปั้นหุ้น ก็จะไม่กล้า เพราะตัวเองอาจเป็นผู้ติดหุ้นเหล่านั้นเองก็ได้
       
       * บริษัทหลักทรัพย์ระวังเรื่องการปล่อยสินเชื่อ ตามตัวอย่างการปั่นหุ้นดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์จึงควรระวังไม่ปล่อยกู้ให้นักลงทุนในหุ้นที่ขาดปัจจัยพื้นฐานดีเพียงพอ โดยเฉพาะไม่ควรปล่อยกู้ให้ลงทุนในหุ้นโดยโถมเพียงหุ้นเดียว
       
       การลงทุนที่ดี ควรมีการกระจายความเสี่ยง มาตรการควบคุมความเสี่ยงเหล่านี้ จึงไม่ใช่เพียงเพื่อลดความเสี่ยงของบริษัท แต่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของลูกค้าผู้มีพระคุณด้วย
       
       * ฝ่ายกำกับเอาจริงจังในการควบคุม ผมเห็นผลของการติตามตรวจสอบอย่างเข้มงวดของ ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ ช่วงประมาณ 10 ปีที่แล้ว ได้มีส่วนช่วยปรามการ ?ปั่นหุ้น? ได้อย่างได้ผล และขอให้กำลังใจต่อไป
       
       การเก็งกำไรก็มีไปได้อย่างปกติ แต่จะไม่เห็นอาการหุ้นอภินิหาร ปรับตัวรุนแรงโดยไร้เหตุผลอย่างมากๆ ยาวนานอย่างเมื่อก่อน หากหุ้นขึ้นแรงอย่างไร้เหตุผล ก็มักจะยืนอยู่ไม่ได้นาน และนักลงทุนก็เรียนรู้ และระมัดระวังไม่หลงกลเหมือนอดีต
       
       อย่างกรณีวอแรนต์อนุพันธ์ ธนาคารนครหลวงไทย (SCIB-C 1) ที่ยกเป็นตัวอย่าง หากเราเข้าใจว่า ราคาวอแรนท์ ไม่ห่างจากมูลค่าถ้าใช้สิทธิ์ (Intrinsic Value) มากนัก ด้วยความเข้าใจ และความระมัดระวังว่า ค่าของเวลา (Time Value) ใกล้เป็นศูนย์ เพราะจะหมดเวลาในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ก็ถือได้ว่า ไม่มีอภินิหารเหนือ SCIB-C1 เป็นพิเศษ
       
       การที่วอแรนท์อาจวิ่งแรง ก็เพราะมี Gearing Ratio (ประมาณว่าวอแรนท์วิ่งเร็วกี่เท่าของการวิ่งของหุ้น คำนวณจาก ราคาหุ้น /ราคาวอแรนท์) สูงถึงประมาณ 10-20 เท่า ทำให้นักลงทุนจะเห็น SCIB-C 1 ขึ้นแรงเมื่อหุ้นขึ้นแรง และลงแร งเมื่อหุ้นลงแรงเช่นกัน
       
       หากราคา SCIB-C 1 เคลื่อนอย่างมีเหตุผลตาม SCIB และ SCIB มีระดับราคาที่สมเหตุผลกับปัจจัยพื้นฐาน และสภาวะตลาดฯ ผมก็คิดว่า ยังเป็นสภาพการเก็งกำไรตามปกติเท่านั้น
       
       ผมเชื่อว่า หลังการสอบสวนใหญ่ในอดีตครั้งนั้น หลักทรัพย์โดยทั่วไป ปรับตัวตามเหตุผล จึงยังเป็นธรรมต่อนักลงทุนพอควรเสมอมา นักลงทุนลงทุนได้โดยเข้าใจความเสี่ยง และเลือกเสี่ยงมากหรือน้อยตามที่ชอบ
       
       อย่างไรก็ตาม เราความระมัดระวังการ ?ปั่นหุ้น? เพื่อช่วยให้นักลงทุนไม่ลงทุนโดยไม่อยู่บนเหตุผล เพราะจะเป็นเพียงการพนัน และโดยปกติ ผมไม่เคยเห็นเจ้ามือตั้งใจแจกเงินครับ

ที่มา www.manager.co.th
       
       

เข้าชม: 1,492

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com