May 18, 2024   9:16:41 PM ICT
บล.กรุงศรีอยุธยา : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 06/05/53
Market Recap and Trend: แม้การเมืองจะดูดีขึ้น แต่การปรับลดลงของตลาดหุ้นต่างประเทศ
จะเป็นปัจจัยกดดัน SET วันนี้
                ความคาดหวังต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่น่าจะกลับไปสู่ภาวะปกติเร็วๆ นี้ ส่งผลให้
SET ปรับสูงแรงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ โดยปรับสูงขึ้นถึง 33.35 จุด ปิดตลาดที่ 796.86 จุด นำ
โดยกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ทุกกลุ่ม ด้วยมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 41,708 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม
นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นสุทธิ 1,526 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันซื้อหุ้นหนัก 5,392 ล้าน
บาท การปรับขึ้นของ SET เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาถือว่าตอบรับความคาดหวังต่อปัจจัยการเมือง
ไปมากแล้ว ขณะที่การปรับลดลงของตลาดหุ้นทั่วโลกจะกลับมากดดัน SET วันนี้ โดยตลาดหุ้น
Dow Jones ปรับลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันอีก 0.54% จากความกังวลต่อปัญหาหนี้ สินในยุโรป
ที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าล่าสุดกลุ่มประเทศ EU 15 ประเทศที่ใช้เงินยูโรและ IMF จะให้ความ
ช่วยเหลือกรีซมูลค่า US$1.44 แสนล้าน แล้วก็ตาม ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับลดลงแรง
2 วันติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ US$79.65/บาร์เรล จะเป็นปัจจัยกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน

Investment Strategy: แม้ความเสี่ยงทางการเมืองจะลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงจากการพักฐาน
ของตลาดหุ้นต่างประเทศอยู่ดี
               ทั้งนี้แม้ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะยังไม่มีท่าทีว่าจะสลายการชุมนุมอย่างเป็นทางการ แต่การ
ยอมยุบสภาฯ เพื่อเลือกตั้งใหม่ในเดือน พ.ย.คาดว่าจะทำให้ความร้อนแรงทางการเมืองลดลงไป
มากประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจหลายๆ ตัวแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวทุกๆ ด้านที่ดีกว่าที่เรา
ประมาณการไว้ในช่วงต้นปี เป็นปัจจัยสนันสนุนการ REBOUND ของตลาดเมื่อวันอังคารที่
ผ่านมา อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของ SET จะเริ่มเป็นไปอย่างจำกัดมากขึ้น เนื่องจาก 1.การ
เข้าซื้อหุ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตอบรับปัจจัยบวกทางการเมืองไปบ้างแล้ว 2.มีสัญญาณการ
พักฐานในตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อปัญหาหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงใน
ยุโรปมากขึ้น และ 3.ค่าเงินดอลลาร์ฯที่แข็งค่าขึ้นถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก และ
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์...สำหรับกลยุทธ์ลงทุนวันนี้ เน้นการเข้าเก็งกำไรเมื่อ SET อ่อนตัวมาที่
ระดับ 780-785 จุด โดยมีหุ้นเด่น ได้แก่...
                TCAP มีโอกาสเติบโตสูงหลังจากเข้าซื้อ SCIB
                THAI คาดผลการดำเนินงาน 1Q53 ขยายตัวสูง ราคาน้ำมันปรับลดลงเป็นปัจจัยบวก

Futures Strategy :
                ปิดสถานะ LONG ไปก่อน แล้วรอยืนยันทิศทางตลาดอีกครั้ง

Recommended Portfolio: พอร์ตจำลองมีอัตราผลตอบแทน -5.5% ดีกว่าอัตราผลทอบแทน
SET ที่ -8.1% (Update วันที่ 19 เม.ย. 53)
                พอร์ตจำลองมีอัตราผลตอบแทน -5.5% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ SET มี
อัตราผลตอบแทน -8.1% หรือพอร์ตจำลองมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า SET อยู่ 2.6% ในขณะที่
ถ้าพิจารณาตั้งแต่จัดทำพอร์ตจำลอง (ก.ย. 49) มีอัตราผลตอบแทน +150% ดีกว่าตลาดที่มีอัตรา
ผลตอบแทน +5% อยู่ 137% โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา TUF เป็นหุ้นที่ปรับลดลงน้อยที่สุดหรือ
ปรับลดลง -2.6% …สำหรับสัปดาห์นี้ถือหุ้นทั้ง 4 ตัว ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ได้แก่ STANLY
(ได้รับผลดีจากหอุตสาหกรรมรถยนต์ฟื้นตัวและมองว่ามีภูมิต้านทานต่อปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง
มาก โดยส่วนหนึ่งเป็นตลาดส่งออก) CPALL (การขยายสาขา และเพิ่มกำไรขั้นต้นส่งผลดีต่อผล
การดำเนินงาน) TUF (คาดผลการดำเนินงานขยายตัวดีต่อเนื่องในปี 2010) และ TICON (ให้
อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง ธุรกิจโรงงานให้เช่าฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ)

News in Brief
BOT: ธปท.เผยเป็นไปได้สูง ที่จะมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงต่อไป
                ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผย มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดแรงกดดันต่ออัตรา
เงินเฟ้อพื้นฐาน(Core CPI) ในช่วงต่อไป หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นและรัฐบาลลดมาตรการ
บรรเทาค่าครองชีพลง ขณะที่ ระบุว่า ธปท.จะพยายามดูแลเงินเฟ้อพื้นฐาน ให้อยู่ในกรอบเป้า
หมายซึ่งกำหนดไว้ที่ 0.5-3.0% ทั้งนี้นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท. เผยเงินเฟ้อทั่วไป
ในเดือนเม.ย. ที่ชะลอลงมาบวก 3% จากที่เพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนก่อนหน้านั้น เป็นการชะลอ
ตัวทั้งในหมวดอาหารและไม่ใช่อาหาร สะท้อนให้เห็นว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ที่มาจากอุปสงค์
หรือการใช้จ่าย ยังมีไม่มาก ขณะเดียวกันหากดูเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนเม.ย. ที่เพิ่มขึ้นสูงถึง
0.5% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนมี.ค.และก.พ. แสดงว่าเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในแนว
โน้มขาขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันต่อเงินเฟ้อพื้นฐานในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูระดับเงิน
เฟ้อในปัจจุบัน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และยังไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
(รอยเตอร์)

KTC เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ 4 เดือนแรกปีนี้โต 20%,คาดไตรมาส 2 โต 10%
              KTC เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต4 เดือนแรกปีนี้โต 20% โดยไม่ได้รับผลกระทบ
จากการเมือง ทั้งนี้ ใน 4 เดือนแรก มียอดใช้จ่ายบัตร คิดเป็นเม็ดเงินที่ 3.4 หมื่นล้านบาท ขณะ
ที่ คาดว่า ปีนี้ยอดบัตรเครดิตใหม่จะได้ตามเป้า 2 แสนใบ หลัง 4 เดือนแรกสามารถทำได้แล้ว
6.1 หมื่นใบ ขณะที่หนี้ค้างชำระ 2 เดือน ถึง 6 เดือน ในเม.ย.อยู่ที่ 5.11% ลดลงจากมี.ค.ที่
5.39% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้มีความสามารถในการชำระคืนหนี้ดีขึ้น สำหรับ
ไตรมาส 2/53 คาดว่า ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะเพิ่มขึ้น 10% โดยในเดือนเม.ย.53 ยอดใช้
จ่ายผ่านบัตรเครดิตอยู่ที่ 7.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเม.ย. ปีก่อนที่ 7.5พันล้านบาท ซึ่งเป็นผล
จากผู้ใช้บัตรเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น ใช้จ่ายผ่านบัตรประเภทเติมน้ำมัน ค่ารักษา
พยาบาล และห้างสรรพสินค้า รวมถึงไม่ได้รับผลกระทบจากการเมืองเพราะเป็นกลุ่มผู้ใช้ระดับ
บน นอกจากนี้ คาดว่า ในปีนี้รายได้ค่าธรรมเนียมจะเพิ่มขึ้นจากการขายประกัน การใช้บัตรผ่อน
สินค้า รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตร โดยซื้อสินค้าผ่านไปรษณีย์และอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
(รอยเตอร์) 
เข้าชม: 1,043

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com