May 5, 2024   3:43:16 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > "BNT" 12 ปี..เปลี่ยน 4 ชื่อ เข็นสตอรี่ใหม่ "
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 27/08/2006 @ 01:46:59
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บีเอ็นที เละเป็นโจ๊ก กระอักผล ขาดทุน ผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงิน บรรดา ขาใหญ่ เจ๊งหุ้นยับ!!! เตรียมเข็นสตอรี่ใหม่ ถอนทุน(คืน) เริ่มจากเปลี่ยนชื่อ..ลดทุน 10 เหลือ 1 ก่อนใส่ทุนใหม่ จับตาโปรเจคใหม่ ประโคมข่าว ไล่ราคา-ก่อนทิ้ง



บมจ.ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น เป็นชื่อใหม่แกะกล่อง ของ บมจ.บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (BNT) ชื่อนี้ คือ ชื่อที่ 4 ในรอบ 12 ปี ของบริษัทแห่งนี้ เพราะก่อนหน้านั้น BNT เคยเปลี่ยนชื่อมาก่อนแล้ว 2 ครั้ง คือ บมจ.ออนป้า อินเตอร์เนชั่นแนล (ONPA) และ บมจ.ดิจิตอลออนป้า อินเตอร์เนชั่นแนล (DOI)

นอกจากนี้ในรอบ 12 ปี (นับตั้งแต่ 21 มิ.ย.2537) BNT มีประวัติการเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ มาแล้ว 13 ครั้ง หรือเฉลี่ยปีละ 1 ครั้ง ขณะเดียวกัน BNT ยังมีประวัติการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ และเปลี่ยนแปลง ซีอีโอ แทบจะมากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย

...และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีขบวนการ สร้างภาพ สร้างสตอรี่(ใหม่)ไล่ราคาหุ้น แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีใครมาสานต่อธุรกิจ อย่างบริสุทธิ์ใจ

หากย้อนประวัติของ BNT บริษัทนี้เคยเปลี่ยน เจ้าของ-ผู้บริหาร มาแล้วหลายกลุ่ม นับจากกลุ่ม วิโรจน์ ปรีชาว่องไวกุล (เจ้าของเดิม) มาเป็น ปิติพัฒน์ เพียรเลิศ จากนั้นก็เปลี่ยนมาสู่มือพันธมิตรกลุ่มไออีซี-เพาเวอร์ ไลน์ ผ่านตัวแทนกลุ่ม คือ จเรรัฐ ปิงคลาศัย และ ชาญศักดิ์ ศิริวัฒนชาติ ซึ่งช่วงนี้เองที่มีกระแสข่าว(ลือ)ว่า BNT ถูกครอบงำโดย พายัพ ชินวัตร ในฐานะเจ้าของตัวจริง

ช่วงที่เปลี่ยนถ่ายจากกลุ่มของ ปิติพัฒน์ เพียรเลิศ มาสู่มือพันธมิตรกลุ่มไออีซี-เพาเวอร์ ไลน์ ทั้ง 2 กลุ่มนี้ก็มีการ หักเหลี่ยม-เฉือนคม กันอย่างรุนแรง เป็นยุคที่มีอำนาจทางการเมืองเข้ามาผสมโรงกดดัน ในที่สุดก็เขี่ย ปิติพัฒน์ เพียรเลิศ (เจ้าของใหม่) ให้พ้นทางได้สำเร็จ

ก๊วนหุ้นไออีซี จึงวางตัว จเรรัฐ ปิงคลาศัย เข้ามากุมอำนาจบริหารอย่างเต็มตัว(ช่วงปี 2548) จากนั้น จเรรัฐ ก็เปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจของ BNT ใหม่หมด ให้อยู่ภายใต้รูปแบบเดียวกันกับ ไออีซี มีการออกหุ้นเพิ่มทุนขายเฉพาะเจาะจง (PP) เพื่อนำไป ซื้อกิจการ-แลกหุ้น สร้างสตอรี่ต่อยอดราคาหุ้น เป็นคอนเซปต์เดียวกันกับที่เขาใช้ปั้นหุ้น ดราก้อน วัน (D1) ในวันนี้

รวมไปถึงก็มีความพยายามจะร่วมทำธุรกิจวิทยุ (ปั้นหุ้น) ร่วมกับ บมจ.ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โฮลดิ้งส์ (TRAF) ของ สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ช่วงปลายปี 2548 ช่วงนั้น TRAF ก็ตกอยู่ในสภาพ หลังพิงฝา-หน้าชนกำแพง แต่ ปิติพัฒน์ เข้ามาขวางลำเสียก่อน..ดีลนี้จึง แท้ง กลางอากาศ

จากนั้นก็มีความพยายาม สร้างข่าวใหม่ ด้วยการขายหุ้นเพิ่มทุนให้ ฟลุค เกริกพล มัสยวาณิช (บุตรชายมานิต มัสยวาณิช ) จำนวน 70 ล้านหุ้น ในราคา 1.10 บาท แล้วประโคมข่าวว่าจะดึง ฟลุค เข้ามาร่วมบริหาร สร้างภาพ ให้ดูว่าเสมือนว่าธุรกิจกำลังจะมีอนาคตสดใส

ส่วนประวัติของ มานิต มัสยวาณิช เขาผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม เซียนหุ้นรายใหญ่ เป็นเพื่อนนักเรียน วปรอ รุ่น 4414 (ปี 2544) รุ่นเดียวกันกับ พายัพ ชินวัตร และที่ผ่านมา มานิต มักจะลงทุนผ่าน ภรรยา น.ส.เสาวนีย์ จิระวุฒิกุล โดยจะไม่เคยใช้ชื่อของตัวเอง

จนเมื่อ BNT ประกาศงบการเงินงวดประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 มีผลขาดทุนจำนวนมากกว่า 333 ล้านบาท ที่สำคัญ ผู้สอบบัญชี ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน (ไม่รับรองงบ) ทุกกลุ่มจึง วงแตก แผนการ ปั้นหุ้น BNT ต้องเป็นอัมพาตทันที

แต่ก่อนที่ BNT จะประกาศงบปี 2548 ออกมา อัปลักษณ์ สุดๆ ช่วงที่ BNT เริ่มออกอาการท้องอืด-ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย จเรรัฐ เห็นท่าไม่ดีเขาจึงเป็นคนแรกที่ ชิ่ง (ลา) ออกไปก่อน จากนั้น ม.ร.ว.รุจยารักษ์ อาภากร (ลูกน้องเก่าปิติพัฒน์) ที่แปรพักตร์ไปอยู่กับฝ่ายตรงข้าม ก็เข้าเกียร์ถอยหลังตาม..

ขณะที่ ชาญศักดิ์ ศิริวัฒนชาติ ตัวแทนจากกลุ่มเพาเวอร์ ไลน์ (คนสนิทของ เสวก ศรีสุชาต ประธานกรรมการ PLE) ที่เข้ามาสวมตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ใน BNT แทน จเรรัฐ ต้องจบสิ้นภารกิจ (นอมินี) ไปเร็วกว่าที่คาด ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2549

การรับไม้ต่อจึงเป็นหน้าที่ของ สุพจน์ ทรงสวัสดิชัย ขึ้นมา รักษาการแทน พร้อมกับดัน วิชัย เบญจพลาพร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ขึ้นมาเป็นกรรมการบริหาร และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ร่วมผูกพันบริษัท (อีกตำแหน่ง) จากเดิมที่มีฐานะเป็นแค่ผู้รับมอบอำนาจ ทำการแทน

เห็นหรือยังว่า ตัวละคร ใน BNT สลับสับเปลี่ยนกันขึ้นมา (ใหญ่) ภายใต้รูปแบบเดิมๆ สร้างสตอรี่ ปั้นหุ้น..หาเงิน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ บรรดา ขาใหญ่ ก๊วนไออีซี-เพาเวอร์ ไลน์ และ พันธมิตร ที่เข้ามาเล่นหุ้นตัวนี้ ออกของไม่ทัน ต่างพากัน เจ๊งหุ้น จึงคิดหาทางกลับมา ถอนทุนคืน

ขณะที่ ฟลุค..เกริกพล มัสยวาณิช เกรงว่า บริษัท เอฟเอบี ครีเอชั่น ของตัวเองจะถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงรีบ ซ่อนหุ้น จำนวน 70.50 ล้านหุ้น ไว้ในชื่อบุคคลอื่น ด้าน ดิเรก วินิชบุตร ประธานกรรมการบริหาร บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ 20 ล้านหุ้น พ.อ.หญิง ศรีกัญญา ทองใบใหญ่ 195 ล้านหุ้น กลุ่มนี้เล่นหุ้น ฉาบฉวย จึงออกของ (ขาดทุน) ไปก่อน

ส่วนก๊วนหุ้น ไออีซี-เพาเวอร์ ไลน์ ยังอยู่กันครบ เริ่มจาก กลุ่มเพาเวอร์ ไลน์ มี พวงพันธุ์ บูลภักดิ์ 100 ล้านหุ้น อำนวย กาญจโนภาศ 38.23 ล้านหุ้น สมศักดิ์ คุปตเมธี 37.50 ล้านหุ้น และ ฉัตร์สุดา เบ็ญจนิรัตน์ 85.40 ล้านหุ้น

กลุ่มเสี่ยพ. ลงทุนผ่านหัวหอก โยคิน เจริญสุข ถือ 82.60 ล้านหุ้น กลุ่มไออีซี มีตัวแทน คือ สุวิทย์ วิชชาวุธ แม้แต่ มาม่าบลู ก็เข้าลงทุนผ่าน สุธิดา แจ่มวุฒิปรีชา และ วัลลีย์ พิทักษ์

จึงเท่ากับว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ใน BNT วันนี้ หาเจ้ามือตัวจริงไม่ค่อยได้ มีแต่พวกที่จ้องเข้ามาตักตวงผลประโยชน์ เด็ดยอดราคาหุ้น มากกว่า เพราะกลุ่มต่างๆ ก็รู้อยู่แล้วว่า BNT ไม่มีธุรกิจที่มั่นคง

ถึงวินาทีนี้เริ่มเห็นเนื้อแท้หรือยังว่า มีใครบ้าง? อยู่เบื้องหลัง เกมปั้นหุ้นรอบใหม่นี้

วิถีแห่งเกมที่ รายย่อย ต้องจับตาในภาคต่อ ก็คือ วิธีการเติมออกซิเจน กระตุ้นลมหายใจ BNT ให้กลับมามีชีวิตใหม่ ในเบื้องต้นจะคล้ายกับกลยุทธ์ที่ ประยุทธ มหากิจศิริ ใช้ผ่าทางตัน บมจ.ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ (TFI) ที่งัดแผน ลดทุนมโหฬาร

โดย BNT มีมติลดทุนจดทะเบียนบริษัทจาก 2,280 ล้านหุ้น ให้เหลือ 230 ล้านหุ้น ด้วยวิธีการลดจำนวนหุ้น BNT ในอัตรา 1 หุ้นเดิม เหลือ 0.10 หุ้น เพื่อนำไปล้างส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น และล้างขาดทุนสะสม

พร้อมกันนี้ BNT ก็ออกมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 230 ล้านหุ้น (1 ต่อ 1) เป็น 460 ล้านหุ้น ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ในราคาหุ้นละ 1.10 บาท ระดมทุน มูลค่า 253 ล้านบาท

โดยบอกวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนไว้ 3 ประการ คือ 1) เพื่อใช้รองรับการขยายกิจการของบริษัทและบริษัทย่อย 2) เพื่อใช้รองรับการลงทุนในบริษัทอื่น และ 3) เพื่อสำรองเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทและบริษัทย่อย

เพราะฉะนั้นให้จับตา โปรเจคใหม่ ที่เตรียมจะคลอดมา ประโคมข่าว ไล่ราคาหุ้นในอีกไม่ช้า ก่อนเดินแผนทิ้งหุ้น ถอนทุนคืน ในโอกาสต่อไป

ประเด็นที่นักลงทุนต้องประเมินให้ออกนับจากนี้ จนก่อนถึงวัน ปิดสมุดทะเบียน พักการโอนหุ้น (5 กันยายน 2549) สมการเชิงซ้อนถูก ผูกเงื่อน เอาไว้ เพื่อทำให้นักลงทุน หลงประเด็น

กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ถอดสมการราคาหุ้น พบว่า ณ 30 มิถุนายน 2549 BNT มีสินทรัพย์รวม 537 ล้านบาท หนี้สิน 312 ล้านบาท และมีส่วนผู้ถือหุ้น 225 ล้านบาท ในงวดครึ่งปี 2549 บริษัทมีรายได้รวม 117 ล้านบาท (ซึ่งน้อยมาก) และมีผล ขาดทุนสุทธิ 341 ล้านบาท แต่หุ้นกลับเทรดกันที่ มาร์เก็ตแคป 729 ล้านบาท หรือ 0.32 บาท/หุ้น

มาร์เก็ตแคป ที่เทรดกันในตลาดขณะนี้ นับว่า โอเวอร์ มากอยู่แล้ว แต่ก็มีกระแสข่าวว่า มีความพยายามจาก เซียนหุ้น (บางกลุ่ม) จะทำให้ราคาหุ้นโอเวอร์มากไปกว่านี้อีก

สมการที่ 1..ถ้าราคาหุ้น BNT ในปัจจุบันเทรดกันที่ 0.30 บาท ภายหลัง ลดทุน-เพิ่มทุน ตามสิทธิ 1 ต่อ 1 ราคา 1.10 บาท ผู้ถือหุ้นจะมีต้นทุนอยู่ที่ 2.05 บาท เทียบเท่ากับ มาร์เก็ตแคป ใหม่ของ BNT (จากทุนจดทะเบียน 460 ล้านหุ้น) เท่ากับ 943 ล้านบาท

สมการที่ 2..ถ้าราคาหุ้น BNT เทรดอยู่ที่ 0.40 บาท ผู้ถือหุ้นจะมีต้นทุนอยู่ที่ 2.55 บาท เทียบได้กับ มาร์เก็ตแคป ใหม่ของ BNT เท่ากับ 1,173 ล้านบาท

สมการที่ 3..ถ้าราคาหุ้น BNT เทรดอยู่ที่ 0.50 บาท ผู้ถือหุ้นจะมีต้นทุนอยู่ที่ 3.05 บาท เทียบเท่ากับ มาร์เก็ตแคป ใหม่ของ BNT เท่ากับ 1,403 ล้านบาท หรือเกือบ 2 เท่าของ มาร์เก็ตแคป ในปัจจุบัน

ถ้าราคาหุ้น BNT ถูกไล่ขึ้นมาที่ 0.50 บาท (จริง) ถือว่าเสี่ยงมากที่ ผู้ถือหุ้น จะลงทุนแล้วถูก ลดทุน 10 เหลือ 1 และต้องไปจ่ายเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนอีก 1 ต่อ 1 ราคาหุ้นละ 1.10 บาท เพราะราคานี้ถือว่า โอเวอร์สุดๆ ที่จะเสี่ยงกับอนาคต..ในวิมานเมฆ

ถามว่า ราคาไหน ของ BNT จึงจะเหมาะสมกับ ฐานะ ที่ต้องเจียมเนื้อเจียมตัว ในภาวะที่ธุรกิจยังลุ่มๆ ดอนๆ เพราะหลังเพิ่มทุนจบ BNT จะมี ส่วนผู้ถือหุ้นใหม่ อยู่ที่ ประมาณ 480 ล้านบาท (เดิม 225 ล้านบาทบวกทุนใหม่ 253 ล้านบาท)

ภายใต้เงื่อนไขว่าถ้าบริษัทจะไปรอด BNT ต้องก่อหนี้ ไม่เกิน 1 เท่าของทุน เพราะฉะนั้น Asset ที่เหมาะสมกับขนาดบริษัทในอนาคต จึงไม่ควรเกิน 960 ล้านบาท (480 คูณ 2)

เท่ากับว่าราคาหุ้น BNT ใน ปัจจุบัน+อนาคต ก็ควรจะเทรดที่ราคา (ชนเพดาน) ไม่เกิน 0.30-0.32 บาท หรือเทียบเท่า มาร์เก็ตแคป ภายหลัง ลดทุน-เพิ่มทุน อยู่ระหว่าง 943-989 ล้านบาท หรือ 2.05-2.15 บาท/หุ้น นี่คือราคาหุ้นที่ผ่านการมองโลกในแง่ดีสุดๆ แล้ว!!!

แต่หากมองโลกในแง่ดีลดลงมาอีกนิด ราคาแถวๆ 0.24-0.26 เทียบเท่า มาร์เก็ตแคป 805-850 ล้านบาท หรือ เท่ากับราคาหุ้นหลัง ลดทุน-เพิ่มทุน บริเวณ 1.75-1.85 บาท..ก็น่าจะเหมาะสมสำหรับหุ้นตัวนี้


๐ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฉบับที่ 115 ประจำวันที่ 25-31 สิงหาคม 2549 ๐[/color:8133d8b98e">

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 27/08/2006 @ 15:45:54 : re: "BNT" 12 ปี..เปลี่ยน 4 ชื่อ เข็นสตอรี่ใหม่ &
.....................
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 28/08/2006 @ 02:48:04 : re: "BNT" 12 ปี..เปลี่ยน 4 ชื่อ เข็นสตอรี่ใหม่ &
[b:85ff9f5a38">นี่แหล่ะ หุ้น Blue Shit ตัวจิงเสียงจิง[/b:85ff9f5a38">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com