May 3, 2024   3:28:54 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > กูรูมองระบบโลกเสรีสร้างจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจของไทย-ประเทศกำลังพ
 

???
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 410
วันที่: 11/09/2006 @ 16:46:26
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

.0007 .0007


ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจมองระบบการค้าการลงทุนในโลกเสรีเป็นตัวชี้ทิศทางจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจของไทยและประเทศกำลังพัฒนาที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นไปของโลก ขณะที่ประธานแบงก์เตือนมิติใหม่เชิงนโยบายเศรษฐกิจการใช้วิธีการนอกงบประมาณต้องระวังเรื่องความโปร่งใส

ในการสัมมนาทางวิชาการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)งานเสวนาจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย:มิติเชิงนโยบายเศรษฐกิจ
นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การเข้าสู่ระบบการค้าเสรีจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่บังคับให้ไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ จำเป็นต้องปรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจระยะปานกลางและระยะยาวของประเทศในระยะ 5-20 ปี

นายโอฬาร กล่าวว่า ความสนใจของต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทยนั้น จะต้องมีสิ่งดึงดูดสำคัญที่ประกอบด้วยมาตรการจูงใจทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี รวมถึงขนาดของตลาดในประเทศที่ไม่เล็กจนเกินไป, คุณภาพฝีมือแรงงาน และอัตราค่าจ้างแรงงาน

ดังนั้นหากประเทศไทยยังขาดคุณสมบัติเหล่านี้ ก็อาจจะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการกำหนดนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนต่างชาติ และสามารถดึงการลงทุนของต่างชาติให้เข้ามาในไทยแทนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย, เวียดนาม, จีน และอินเดีย

ประเทศต่างๆ ในเอเชีย และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ พยายามจะแย่ง จะทำตัวเองให้น่าสนใจ เหมือนหญิงหลายคนกำลังจ้องชายรูปงาม เพราะฉะนั้นเราต้องทำตัวเองให้น่าสนใจ นายโอฬาร กล่าว

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเปลี่ยนไปจากอดีตที่เคยใช้โครงสร้างภาคการเกษตรเป็นตัวหลัก ขณะนี้กลายเป็นหน้าที่หลักของภาคการส่งออกและการลงทุน

นอกจากนี้ เม็ดเงินจากการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น ซึ่งต่างจากเดิมที่จะเน้นเข้ามาลงทุนในด้านการผลิตสินค้า(FDI) ดังนั้น จึงเห็นว่าประเทศไทยควรต้องมีกลไกเข้ามารองรับและดูแลในเม็ดเงินจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนโดยตรง

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ (BBL) กล่าวว่า จุดเปลี่ยนของเศรษฐกิจไทยที่เห็นได้ชัดเจนคือวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 40 เพราะได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกและทำให้นโยบายการเงินต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยการมีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้ามาจัดการระบบต่างๆ

นายโฆสิต ได้นำเสนอมิติในเชิงนโยบายด้านเศรษฐกิจ 2 เรื่อง คือ การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (dual track) ที่ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากเศรษฐกิจของไทยที่เป็นประเทศกำลังพัฒนายังจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ขณะที่การกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศไม่สามารถทำได้นาน เพราะจะทำให้หนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น หรือหากกระตุ้นด้วยการใช้จ่ายภาครัฐจะทำให้เกิดปัญหาขาดดุลและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

หากให้น้ำหนักไม่ดี ก็จะไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้นช่วงหลัง ๆ dual track จึงหายไป วิธีการคือควรกระตุ้นด้านการใช้จ่ายในประเทศแบบชั่วคราว ไม่ควรใช้ไปตลอดกาล เพราะแกนหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศ คือการมีชัยชนะในตลาดโลก นั่นคือการส่งออก นายโฆสิต กล่าว

นายโฆสิต กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องเพิ่มความสามารถด้านประสิทธิภาพการผลิต(productivity)ให้เติบโตได้ตามศักยภาพของประเทศ

ส่วนมิติที่ 2 คือ การคลังสาธารณะ ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจในปี 40 ทำให้โครงสร้างการคลังของประเทศเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เคยให้ความสำคัญมากในระบบงบประมาณ แต่ปัจจุบันหันไปใช้วิธีการแบบเอกชนมากขึ้น เป็นระบบกึ่งการคลัง หรือ ใช้วิธีการนอกงบประมาณด้วยการเพิ่มกิจกรรมให้ภาคธุรกิจหรือใช้เครื่องมือทางการตลาด

นายโฆสิต กล่าวว่า การใช้ระบบการคลังนอกงบประมาณจำเป็นต้องทำให้มีความโปร่งใส ซึ่งเป็นหลักสำคัญของงบประมาณที่ได้กำหนดให้มีระเบียบและขั้นตอนที่อาจทำให้เกิดความล่าช้าอยู่บ้าง และต้องไม่ขัดแย้งกับกลไกตลาด และความเป็นสาธารณะ

นายโฆสิต ยังกล่าวถึงการตั้งเป้าหมายในระยะ 20 ปีข้างหน้าให้จีดีพีประเทศเติบโตได้เฉลี่ย 5.5% นั้น เป็นการตั้งโจทย์ที่ไกลเกินไป ขณะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ดังนั้น การตั้งโจทย์ในลักษณะนี้อาจจะกลายเป็นภาระแก่ภาครัฐและเอกชนในอนาคต

การทำแบบนั้นเป็นภาระของรัฐและเอกชน หากเอกชนไม่ปรับก็ไม่มีใครปรับ การปรับตัวของภาคเอกชนคือการปรับเข้าสู่ value creation คือการปรับจากผู้รับจ้างเข้าไปอยู่ใน value chain ซึ่งเป็นการปรับในด้าน productivity ทำยากแต่ต้องหาวิธีทำ นายโฆษิต กล่าว

นอกจากนั้น นายโฆสิต ยังมองว่า สิ่งสำคัญที่ภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาคือ ด้านการศึกษา, องค์ความรู้, การวิจัยและพัฒนา ซึ่งทั้งหมดเรียกว่าภูมิคุ้มกันตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง[/color:8741841386">[/size:8741841386">

.0007 .0007

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 12/09/2006 @ 16:21:44 : re: กูรูมองระบบโลกเสรีสร้างจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจของไทย-ประเทศกำ
ในวันที่ 10 กันยายน 2549 นี้จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะมีการรณรงค์เช่นเดียวกับทั่วโลก เนื่องจากเป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายสากล ทั้งนี้แม้ว่าการรายงานอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทยจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆแล้วดูเหมือนว่าประเทศไทยยังมีปัญหาน้อย แต่ข้อมูลที่ต้องพิจารณาร่วมกันด้วยคือ จำนวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหรืออาจจะเรียกว่าผู้ที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ ซึ่งจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่าคนไทยที่พยายามฆ่าตัวตายนั้นโดยเฉลี่ยมากกว่าผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 5 เท่าตัวของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ดังนั้นปัญหาในเรื่องการฆ่าตัวตายจึงไม่ใช่ปัญหาเล็กๆอีกต่อไป ทั้งรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องรณรงค์ป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง นอกจากนี้ถ้าจะคำนวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทย โดยคำนวณจากอายุการทำงานเฉลี่ยที่เหลืออยู่จนถึงเกษียณและค่าเฉลี่ยรายได้ที่จะหาได้จนถึงอายุเกษียณ พบว่าในปี 2548 ประเทศไทยสูญเสียทรัพยากรมนุษย์เพราะการฆ่าตัวตายคิดเป็นความสูญเสียในเชิงเศรษฐศาสตร์ถึงประมาณ 16,000 ล้านบาท ต้นทุนดังกล่าวข้างต้นยังมิได้รวมถึงผลกระทบทางสังคมด้านอื่นๆที่ตามมาด้วย ซึ่งเมื่อหากคิดรวมแล้วย่อมจะขยายผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากผลกระทบจากการฆ่าตัวตายย่อมมีผลกระทบต่อสังคมเป็นวงกว้างและลึก ซึ่งไม่อาจจะประเมินได้เหมือนในกรณีผลกระทบทางเศรษฐกิจ
แนวทางการแก้ไขอย่างตรงประเด็น ถ้าพิจารณาถึงสาเหตุของการฆ่าตัวตายที่มาจากปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายในครอบครัว ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องการเรียน ปัญหาเรื่องการทำงาน และปัญหาสุขภาพ กลุ่มคนที่จะช่วยแก้ไขและป้องกันการฆ่าตัวตายแยกออกเป็น
1.คนในครอบครัวและผู้ที่ใกล้ชิด เนื่องจากความอบอุ่นและความรักความเข้าใจกันในครอบครัวจะเป็นทั้งเกราะป้องกันและเป็นตัวช่วยประคับประคองไม่ให้คนในครอบครัวคิดที่จะฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะการอบรมและสั่งสอนเด็ก/เยาวชนให้มีความเข้มแข็งในทางอารมณ์ เด็ก/เยาวชนในปัจจุบันควรจะมีความรู้ความเข้าใจด้านจิตวิทยาที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในเด็ก/เยาวชน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงและบานปลายมากยิ่งขึ้น
2.บุคคลากรที่มีความชำนาญด้านสุขภาพจิต นอกจากนี้ในปัจจุบันมีภาคเอกชนที่เข้ามาเป็นตัวช่วยโดยการตั้งเป็นสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย มีอาสาสมัครรับฟังปัญหาทางโทรศัพท์ ซึ่งอาสาสมัครเหล่านี้ต้องผ่านการอบรม 6 เดือน เน้นให้ความเป็นเพื่อนประคับประคองอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ เนื่องจากผู้ที่มีความคิดจะฆ่าตัวตายมีแนวโน้มจะล้มเลิกความคิดเมื่อได้ระบายปัญหากับใครสักคนที่รับฟังอย่างเข้าใจ
นอกจากนี้คนไทยควรจะปรับแนวความคิดเสียใหม่ได้แล้วว่าความเจ็บป่วยทางจิตใจก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนย่อมมีโอกาสเป็นได้ การเข้าพบจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตเพื่อหาทางแก้ไขควรจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งคนที่ขอรับบริการและผู้ที่ให้บริการด้านสุขภาพจิต ควรจะมีมุมมองที่ถูกต้องเหมาะสมในประเด็นนี้ เพื่อทั้งสองฝ่ายจะได้มีความร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ให้มีความรุนแรงลดลง และป้องกันปัญหาที่อาจจะมีขึ้นมาใหม่ให้น้อยลง สังคมไทยก็จะเป็นสังคมที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น เป็นการลดบรรยากาศของความตึงเครียดไปในตัว[/color:5d11d6fb54">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com