May 3, 2024   8:18:51 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ข้อมูลพื้นฐานในการลงทุน
 

mrarthy
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 38
วันที่: 13/09/2006 @ 15:10:52
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ข้อมูลพื้นฐานในการลงทุน[/color:aa6bd22ed0">


ความพร้อมของการลงทุนในหุ้นนั้นนอกเหนือไปจากการรู้จักตลาดหลักทรัพย์, กระบวนการซื้อขาย รวมทั้งการได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือลูกค้าของบริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์แล้ว สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือการทราบและเข้าใจถึงข้อมูลพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์

ในส่วนนี้เราจะได้อธิบายให้คุณมีความเข้าใจถึงส่วนสำคัญที่คุณมักได้พบเห็นอยู่เสมอๆ เมื่อมีการรายงานหรือพูดถึงตลาดหลักทรัพย์

ข้อมูลพื้นฐานที่คุณจะต้องเข้าใจและใช้ในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเบื้องต้น 2 ประการ ด้วยกันคือ

[b:aa6bd22ed0">1. การพิจารณาภาพรวมของตลาด[/b:aa6bd22ed0">

การรับทราบข้อมูลและพิจารณาภาพโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์เป็นสิ่งแรกที่คุณได้พบเห็นหรือได้ยินอยู่เป็นประจำซึ่งมีหัวข้อที่สำคัญดังนี้

ดัชนีราคาหุ้น มีการคิดค้นกันมาหลายรูปแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่ ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET Index ซึ่งเป็นดัชนีราคาหุ้นที่คำนวณถัวเฉลี่ยราคาหุ้นสามัญแบบถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนหุ้นจดทะเบียน หมายความว่าหุ้นใหญ่หรือหุ้นที่มีทุนจดทะเบียนสูง หากมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของ SET Index มากกว่าการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของหุ้นเล็กหรือหุ้นที่มีทุนจดทะเบียนต่ำหรือน้อยกว่า
นอกจาก SET Index แล้วยังมีดัชนีราคาหุ้นอื่นๆ ที่มีการคิดค้นกันเพื่อใช้พิจารณาแนวโน้มของตลาดหลักทรัพย์อีก เช่น ดัชนี SET50 Index และดัชนีราคาหุ้นรายกลุ่มอุตสาหกรรม (Sectoral Indices) เพื่อใช้พิจารณาการเคลื่อนไหวของหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมว่าเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นอย่างไรในช่วงนั้น ๆ

ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แล้วตัวเลขที่ผู้ลงทุนมักได้ยินควบคู่กันไป คือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งแสดงให้นักลงทุนได้ทราบว่าตลาดหลักทรัพย์มีการซื้อขายหนาแน่นหรือคึกคักเพียงใด ถ้าภาวะตลาดดีผู้ลงทุนก็จะเข้ามาซื้อขายกันอย่างคึกคัก ในทางตรงกันข้ามหากภาวะตลาดซบเซาผู้ลงทุนก็จะเข้ามาซื้อขายกันน้อยลง ดังนั้นปริมาณการซื้อขายจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพิจารณาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์


จำนวนหุ้นที่มีราคาปิดสูงขึ้น ลดลงหรือเท่าเดิม หากวันใดที่หุ้นส่วนใหญ่มีราคาปิดสูงขึ้นจะเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพของสภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ดี ในทางตรงข้ามหากวันใดที่ราคาหุ้นส่วนใหญ่ติดลบ สภาพตลาดอาจไม่ดีนัก หรือถ้าหุ้นส่วนใหญ่มีราคาปิดค่อนข้างคงที่แสดงว่าตลาดหลักทรัพย์น่าจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ซึ่งผู้ลงทุนอาจจะพิจารณาทิศทางที่ปริมาณหุ้นเปลี่ยนแปลงไปในการวิเคราะห์ตลาดด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้อาจเป็นการมองภาพในระยะสั้น ๆ ผู้ลงทุนยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบด้วย

[b:aa6bd22ed0">2. การพิจารณาคุณภาพหุ้นรายตัว[/b:aa6bd22ed0">

นอกเหนือจากการพิจารณาภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ตามที่กล่าวมา คุณควรจะทราบด้วยว่าหุ้นที่ดีและน่าลงทุนนั้นสามารถดูได้จากอะไรได้บ้าง ซึ่งเราขออธิบายหลักการเบื้องต้นในการพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของคุณ ดังนี้

[b:aa6bd22ed0">ราคา (Price)[/b:aa6bd22ed0"> โดยปกติผู้ลงทุนมักเห็นราคาของหุ้นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงจากแรงซื้อ แรงขายอยู่ตลอดเวลา และเมื่อตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการผู้ลงทุนมักดูราคาปิดของหุ้นที่ตนเองสนใจว่าเพิ่มขึ้น ลดลง หรือเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด และราคาก็หมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ลงทุนพิจารณาว่าเหมาะสมต่อการซื้อขาย หรือถือหุ้นนั้น ๆ ไว้หรือไม่อย่างไร แต่ในการวิเคราะห์คุณภาพของหุ้นต่าง ๆ นั้น ราคาหุ้นจะต้องนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลการดำเนินงานอันได้แก่ กำไรต่อหุ้น การจ่ายปันผล หรือข้อมูลอื่น ๆ อีกหลายประการ ดังนั้นราคาจึงเป็นเพียงตัวกำหนดเพื่อประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นเท่านั้น


[b:aa6bd22ed0">ราคาปิดต่อกำไรหุ้น (P/E Ratio)[/b:aa6bd22ed0"> เป็นเกณฑ์ที่คิดจากอัตราส่วน (Ratio) ราคาปิด (Close Price: P) เทียบกับกำไร ต่อหุ้น (Earnings per share: E) ซึ่งสามารถแสดงคุณภาพในระดับพื้นฐานของหุ้นตัวนั้น ๆ ได้ ค่า P/E Ratio คำนวณได้จากการเอาราคาปิดของหุ้น ณ วันทำการหนึ่ง ๆ หารด้วยมูลค่ากำไรต่อหุ้นของหุ้นนั้น ๆ ดังมีสูตรดังนี้
P/E = [u:aa6bd22ed0">ราคาปิด หรือราคาตลาดของหุ้น (P) [/u:aa6bd22ed0">
กำไรสุทธิต่อหุ้นประจำงวด 12 เดือนของหุ้น (E)

ตัวเลขที่ได้เป็นการบอกว่า หุ้นหรือหลักทรัพย์ตัวนั้นจะใช้เวลากี่ปีในการที่ผลตอบแทนหรือกำไรสุทธิจะรวมกันเท่ากับราคาของมัน ณ เวลาที่ทำการคำนวณ เช่น หุ้น ABC มีราคาปิด (Price: P) เท่ากับ 100 บาทและมีกำไรต่อหุ้น (Earnings per share: E) เท่ากับ 20 บาท ดังนั้นค่า P/E Ratio จึงเท่ากับ 100/ 20 หรือ 5 เท่านั้นเอง (ซึ่งหมายความว่าหุ้นตัวนี้ ณ เวลาที่คำนวณนี้จะใช้เวลาเพียง 5 ปีในการที่กำไรต่อหุ้นจะรวมกันเท่ากับราคาของมัน)

หุ้นตัวใดมีค่า P/E Ratio ต่ำย่อมมีคุณภาพที่จัดได้ว่าดีกว่าหุ้นที่มีค่า P/E Ratio สูง ในทางกลับกันสมมุติว่าหุ้น DEF มีราคาปิดเท่ากับ 200 บาท และมีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 20 บาท ดังนั้น ค่า P/E Ratio ของหุ้นตัวนี้จึงเท่ากับ 200 หารด้วย 20 หรือ 10 เท่า (ซึ่งหมายความว่าหุ้นตัวนี้ ณ เวลาที่คำนวณนี้จะใช้เวลา 10 ปี ในการที่กำไรต่อหุ้นจะรวมกันเท่ากับราคาของมัน) เมื่อเปรียบเทียบหุ้น ABC กับหุ้น DEF เราก็พอจะสรุปได้ในระดับหนึ่งว่าหุ้น ABC มีคุณภาพดีกว่าหุ้น DEF กล่าวโดยสรุปหุ้นที่มีค่า P/E Ratio ที่ต่ำกว่าแสดงว่ามีความสามารถในการทำกำไรได้ดีกว่า หรือราคาหุ้นยังต่ำกว่าหุ้นที่มีค่า P/E Ratio สูงเมื่อคิดจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานหรือผลกำไร

[b:aa6bd22ed0">อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield)[/b:aa6bd22ed0"> หมายถึง อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ซึ่งหากหุ้นตัวใดมี Dividend Yield สูงอาจได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนมากกว่าเนื่องจากให้ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลมากกว่าซึ่งสามารถเปรียบเทียบระหว่างหุ้นแต่ละตัวได้ว่าตัวใดน่าสนใจมากกว่ากัน
อัตราเงินปันผลตอบแทนสามารถคำนวณได้จากสูตรดังนี้คือ

อัตราเงินปันผลตอบแทน = [u:aa6bd22ed0">มูลค่าปันผลต่อหุ้น(Dividend) X 100 [/u:aa6bd22ed0">
ราคาตลาดของหุ้น(Stock price)

เช่น หุ้น ABC มีราคาตลาดอยู่ที่ 20 บาท ประกาศจ่าย เงินปันผลเท่ากับ 2 บาท ดังนั้น

อัตราเงินปันผลตอบแทน หุ้น ABC = [u:aa6bd22ed0"> 2 x 100 [/u:aa6bd22ed0">= 10%
20


ปริมาณการซื้อขาย การที่ผู้ลงทุนจะซื้อหรือขายหุ้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นหรือสภาพคล่องนับว่ามีส่วนสำคัญ กล่าวคือหากหุ้นมีสภาพคล่องสูงหรือมีปริมาณหุ้นเข้ามาหมุนเวียนซื้อขายมาก การเข้าซื้อหรือขายย่อมทำได้ง่าย หากมีสภาพคล่องต่ำหรือมีปริมาณการซื้อขายน้อยการเข้าซื้อย่อมเป็นไปได้ยากเพราะขาดผู้เสนอขาย ในทางกลับกันหากผู้ลงทุนต้องการขายหุ้น แต่ไม่มีผู้เสนอซื้อ หรือมีเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้การขายหลักทรัพย์นั้นเป็นไปได้ยากส่งผลเสียต่อผู้ลงทุนที่มีความเร่งรีบในการใช้เงิน ดังนั้นการพิจารณาปริมาณการซื้อขายหุ้นจึงมีความจำเป็นด้วยเช่นกัน


การพิจารณาหุ้นในเชิงธุรกิจการเงิน หมายความถึงการวิเคราะห์ดูว่าหุ้นที่สนใจลงทุนนั้นมีศักยภาพในการเจริญเติบโต มีความมั่นคงเข้มแข็งในทางการเงินและการบริหารและมีโอกาสที่จะตอบแทนผลกำไรที่คุ้มค่าแก่ผู้ที่เข้ามาซึ้อหุ้นนั้น ๆ ไว้มากน้อยเพียงใด การพิจารณาในเรื่องดังกล่าวนี้อาจจะค่อนข้างละเอียดซับซ้อนซึ่งเมื่อผู้ลงทุนได้ทำความเข้าใจในการลงทุนเบื้องต้นดีพอแล้วจึงค่อยศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 13/09/2006 @ 17:44:34 : re: ข้อมูลพื้นฐานในการลงทุน
อยากเล่นหุ้น จะต้องเริ่มต้นยังไงครับ
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 13/09/2006 @ 17:55:43 : re: ข้อมูลพื้นฐานในการลงทุน
[b:99ff008093">อยากจะเล่นหุ้น คุณรู้จักกับองค์ประกอบการลงทุนก่อนนะครับ[/size:99ff008093">[/b:99ff008093">[/color:99ff008093">
องค์ประกอบที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย ได้แก่

[b:99ff008093">1.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand)[/b:99ff008093"> ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตามตัวตลาดหลักทรัพย์เองไม่ได้ทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์โดยตรงแต่จะควบคุมดูแลให้การซื้อขายหลักทรัพย์ดำเนินไปอย่างมีระเบียบ คล่องตัว โปร่งใสและยุติธรรมเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ลงทุน และส่งเสริมให้เกิดการระดมเงินออมจากประชาชนไปลงทุนในกิจการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม


[b:99ff008093">2.บริษัทสมาชิก (Broker)[/b:99ff008093"> ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป โดยบริษัทสมาชิกได้รับค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน


[b:99ff008093">3.หลักทรัพย์จดทะเบียน (Listed Securities)[/b:99ff008093"> หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนหลักทรัพย์ของตนให้มีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์โดยทั้งหลักทรัพย์จดทะเบียน และบริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด และเป็นไปตามข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์ (Listing Agreement)


[b:99ff008093">4.ผู้ลงทุน (Investor)[/b:99ff008093"> เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของตลาดหลักทรัพย์โดยผู้ลงทุนอาจเป็นประชาชนทั่วไปหรือนิติบุคคลทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่เข้ามาซื้อขายหลักทรัพย์โดยหวังผลตอบแทนในรูปของกำไรจากการซื้อขาย (ผู้ลงทุนระยะสั้น) หรือดอกเบี้ย และ เงินปันผล (ผู้ลงทุนระยะยาว)
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com