April 28, 2024   12:35:59 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > มารู้จักคำศัพท์น่ารู้กันเห่อะ.....
 

Toon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 973
วันที่: 01/11/2006 @ 14:03:58
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับตราสารหนี้

Accrued Interest ดอกเบี้ยสะสมที่เกิดจากการลงทุนในตราสารหนี้ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งจะนับจากวันจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดจนถึงวันส่งมอบตราสาร

Amortizing Bond ตราสารหนี้ชนิดทยอยคืนเงินต้น คือ ตราสารหนี้ที่มีการทยอยชำระคืนเงินต้นบางส่วนให้แก่ผู้ถือ โดยกำหนดจำนวนเงินและงวดที่จะชำระไว้ล่วงหน้าในหนังสือชี้ชวน

ASK Price (Offer Price) ราคาของตราสารหนี้ที่ผู้ถือเสนอขาย

Automatic Order Matching (AOM) เป็นวิธีการซื้อขายวิธีหนึ่งในระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์
หรือ วิธีการซื้อขาย แบบจับคู่อัตโนมัติซึ่งจะประมวลคำสั่งซื้อและคำสั่งขายทั้งหมดเข้ามาในระบบและจัดเรียงลำดับการได้สิทธิซื้อหรือขาย โดยให้ความสำคัญกับคำสั่งที่มีราคาดีที่สุด ณ ขณะนั้นๆ และหากมีคำสั่งที่มีราคาดีที่สุดหลายคำสั่ง ระบบจะดูจากเวลาที่คำสั่งที่เข้ามาในระบบ (Price and then Time Priority) โดยจะจับคู่ให้อัตโนมัติ (Auto-matching) ไม่มีการแทรกแซงจากบุคคลใดทั้งสิ้น หากยังไม่มีคำสั่งซื้อและคำสั่งขายที่จับคู่กันได้ ระบบซื้อขายจะยังเก็บรวบรวม คำสั่งซื้อขายทั้งหมดไว้ เพื่อรอคำสั่งซื้อขายที่จะเข้ามาใหม่เพื่อจับคู่ซื้อขายต่อไป

BEX ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange) จัดตั้งโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดบริการการซื้อขายครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยให้บริการผ่านระบบซื้อขายแบบเรียลไทม์ มีข้อมูลที่โปร่งใส ตลอดจนถึงกระบวนการส่งมอบและชำระราคาที่เชื่อถือได้

Basis Point (bp) หน่วยย่อยของอัตราผลตอบแทน 100 bp = 1.00%

Bearer Bond ตราสารหนี้ชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือ ซึ่งเป็นพันธบัตรที่จ่ายคืนแก่ผู้ถือหรือผู้มีไว้ในครอบครอง และไม่ต้องสลักหลังเมื่อต้องการโอน เพียงแต่ใช้วิธีส่งมอบ

Benchmark Bond ตราสารหนี้ภาครัฐที่ใช้เป็นตราสารอ้างอิง

BIBOR อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นสำหรับการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นอัตราที่ได้จากการเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยสำหรับการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารพาณิชย์แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่มีระยะเวลากู้ยืมตั้งแต่ 1 สัปดาห์ ถึง 1 ปีจากธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศรวม 14 แห่ง

Bid Price ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งที่ส่งเข้ามาในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งราคาเสนอซื้อนี้จะถูกจัดเรียงตามลำดับของราคา โดยราคาเสนอซื้อที่สูงสุด (Best Bid) จะถูกจัดไว้เป็นลำดับแรกเพื่อรอการจับคู่กับคำสั่งเสนอขายที่ดีที่สุด (Best Offer) ที่เข้ามาในระบบซื้อขาย

Bill of Exchange (B/E) ตั๋วแลกเงิน หรือบางครั้งเรียกว่า Draft เป็นตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย (Drawer) ส่งให้บุคคลอีกผู้หนึ่งเรียกว่าผู้ถือ (Drawee) ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคล หนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า (Payer)

Bond พันธบัตรหรือหุ้นกู้ คือ ตราสารแห่งหนี้ระยะยาวซึ่งผู้ออกมีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแก่ผู้ซื้อตามเวลาที่กำหนด ในต่างประเทศจะใช้คำว่า Bond สำหรับตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Bond) และจะใช้คำว่า Debenture สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Bond) สำหรับในประเทศไทยนิยมใช้ Bond หรือพันธบัตรในการเรียกตราสารหนี้ภาครัฐ และใช้ Debenture หรือหุ้นกู้ในการเรียกตราสารหนี้ภาคเอกชน

Bondholder นักลงทุน หรือผู้ถือตราสารหนี้

Bondholders? Representative ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นกู้ในการใช้สิทธิต่าง ๆ ต่อผู้ออก หลักทรัพย์ โดยรายละเอียดของสิทธิและวิธีการกำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

Bond Index เครื่องวัดมูลค่าตลาดตราสารหนี้ โดยการเปรียบเทียบกับมูลค่าตลาดตราสารหนี้ ณ วันฐาน

Book Closing Date วันที่บริษัทกำหนดให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ปิดรับการโอนหุ้นกู้ของบริษัทเพื่อให้ นายทะเบียนหลักทรัพย์ตรวจสอบ และรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้ที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันดังกล่าว เป็นผู้ได้รับสิทธิรับดอกเบี้ยในงวดนั้น ดังนั้นหากผู้ลงทุนที่เข้าไปซื้อหุ้นกู้ในวันดังกล่าว หรือหลังจากนั้นก็จะไม่ได้รับสิทธิที่บริษัทประกาศมอบให้แก่ผู้ถือหุ้นในคราวนั้น ๆ

Bank of Thailand (BOT) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทหน้าที่หลัก ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน และดูแลระบบการเงินให้มั่นคง ก้าวหน้า และได้มาตรฐานสากล เพื่อให้เศรษฐกิจของ ประเทศมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ

Broker บริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ หมายถึงสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรม ด้านนายหน้าค้าหลักทรัพย์จากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

Business Risk ความเสี่ยงทางธุรกิจ คือความเสี่ยงที่บริษัทอาจเผชิญปัญหาที่ทำให้ บริษัทไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

Callable Bond ตราสารหนี้ที่ผู้ออกมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยระบุระยะเวลา และราคาการใช้สิทธิไว้ล่วงหน้า ตั้งแต่เมื่อออกขายตราสารหนี้

Call Date วันที่ผู้ออกตราสารหนี้สามารถไถ่ถอนตราสารหนี้ได้ก่อนกำหนด ข้อมูลดังกล่าวนี้จะถูกระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน

Call Option สิทธิที่อนุญาตให้ผู้ออกตราสารหนี้สามารถไถ่ถอนตราสารหนี้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน ตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีราคาที่ต่ำกว่าตราสารหนี้ที่ปราศจากสิทธิแฝงที่มีคุณสมบัติอย่างอื่นที่เหมือนกันทุกประการ

Call Premium ราคาส่วนเพิ่มจากมูลค่าที่ตราไว้ของตราสารหนี้ ที่ผู้ออกตราสารหนี้อาจจ่ายให้แก่ผู้ถือ กรณีที่เป็น Callable Bond ดังนั้น

Straight bond price ? Call Premium = Callable Bond Price

Call Provision (กรุณาดู Call Option)

Call Price ราคาใช้สิทธิของตราสารหนี้ที่ผู้ออกกำหนดไว้เพื่อใช้สิทธิไถ่ถอนตราสารหนี้ก่อนกำหนด

Call Risk ความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนจริงผิดพลาดไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ เพราะระยะเวลาของการลงทุนเปลี่ยนแปลงไป เนื่องมาจากตราสารหนี้ดังกล่าวถูกไถ่ถอนก่อนกำหนด

Call Schedule วันที่ผู้ออกตราสารหนี้สามารถไถ่ถอนตราสารหนี้ดังกล่าวก่อนกำหนด วันที่ดังกล่าวจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าในหนังสือชี้ชวน ในส่วนที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์

Cap อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ออกหุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัว จะสามารถจ่ายให้กับผู้ให้กู้ได้

CAPS (กรุณาดู SLIPS)

Capital Gain ผลกำไรของส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย ที่เกินทุน

Capital Loss ผลขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ เมื่อขายหลักทรัพย์ได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา

Capital Market ตลาดทุน คือแหล่งระดมเงินออม และให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยปกติการหาเงินทุนสามารถกระทำได้จาก 2 แหล่ง คือ จากตลาดตราสารทุน และตลาดตราสารหนี้

Clean Price ราคาตราสารหนี้ที่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ อาจแสดงเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าที่ตรา ไว้ได้ (กรุณาดู Dirty price)

Clearing and Settlement คือการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ กระบวนการที่บริษัทสมาชิกผู้ซื้อชำระราคาหลักทรัพย์และรับมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และบริษัทสมาชิกผู้ขายส่งมอบหลักทรัพย์และรับชำระเงินค่าขายหลักทรัพย์จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์

Collateral หลักประกันหรือสิ่งที่ผู้กู้ใช้ในการค้ำประกันเงินกู้ ตามปกติผู้ให้กู้มีสิทธิยึดหลักประกันเงินกู้หรือดำเนิน การอื่นใดตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืม เมื่อผู้กู้ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้

Collateralized Bond Obligation (CBO) การนำเอาตราสารหนี้จำนวนหนึ่งมาผูกรวมกันแล้วแปลงให้เป็นหลักทรัพย์ หรือที่ เรียกกันย่อ ๆ ว่า CBOs เพื่อขายต่อให้กับนักลงทุนอีกต่อไป ข้อดีของ CBOs ก็คือ หลักทรัพย์ที่สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายหลักทรัพย์ที่มีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ ต่างกัน หรือที่เรียกกันว่า tranches และนักลงทุนก็สามารถเลือกลงทุนใน tranches ที่เหมาะกับความต้องการทั้งในเรื่องอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง

Collateralized Mortgage Obligation (CMO) คล้ายคลึงกับ CBO แต่แทนที่จะควบรวมตราสารหนี้ ตราสารที่ถูกนำมาควบรวมให้เป็นหลักทรัพย์ เพื่อนำมาขายต่อให้นักลงทุนอีกต่อไป เป็นเงินกู้ระยะยาวเพื่อที่อยู่อาศัย

Commercial Paper ตั๋วเงิน ตั๋วการค้าหรือตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 270 วัน

Company Rating อันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรหรือบริษัท เป็นการประเมินความสามารถทางธุรกิจและการเงิน รวมทั้งความพร้อมในการชำระหนี้โดยทั่วไปขององค์กรนั้น ๆ

Convertible Bond ตราสารหนี้แปลงสภาพ คือตราสารหนี้ที่ให้สิทธิผู้ถือในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ ตามเงื่อนไขที่ กำหนดไว้

Conversion Price ราคาแปลงสภาพของตราสารหนี้ที่ให้สิทธิผู้ถือในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ตามเงื่อนไขที่ กำหนดไว้

Conversion Value มูลค่าการแปลงสภาพ นักลงทุนจะใช้สิทธิ์ถ้ามูลค่าการแปลงสภาพสูงกว่าราคาไถ่ถอนหน้าตั๋ว ผู้ลงทุนควรจะแปลงสภาพและได้มูลค่าตามมูลค่าแปลงสภาพ แต่ถ้าต่ำกว่าก็ควรจะไถ่ถอน

Convexity อัตราการเปลี่ยนแปลงของความชันของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างราคาและอัตรา ผล ตอบแทนของตราสารหนี้ โดย Convexity เป็นอนุพันธ์อันดับที่ 2 ของสมการราคา

Corporate Bond หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทภาคเอกชน ครอบคลุมถึงบริษัทจดทะเบียน บริษัทมหาชน บริษัทจำกัด

Coupon Frequency จำนวนครั้งของการจ่ายดอกเบี้ยต่อปี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออกตราสารหนี้ โดยส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกครึ่งปี หรือปีละ 2 ครั้ง

Coupon Payment การจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือตราสารหนี้ในแต่ละงวด

Coupon Rate อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ของหุ้นกู้ อาจเป็นอัตราคงที่หรือลอยตัว โดยกำหนดเป็นอัตราร้อยละต่อปีที่ต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้นๆ ตามงวดการจ่ายดอกเบี้ยที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น

Covenants เงื่อนไขที่ผู้ออกจะต้องปฏิบัติตาม หรืองดเว้นการปฏิบัติตลอดอายุของตราสารหนี้ เช่น การห้ามจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสามัญเกินอัตราที่กำหนดเป็นต้น

Credit Rating Agencies สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ คือสถาบันหรือบริษัทผู้ให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรและตราสารหนี้ ในปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันประเภทนี้จัดตั้งขึ้นแล้ว คือ บริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด (TRIS Rating) และ บริษัท ฟิทซ์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (Fitch Ratings).

Credit Risk (กรุณาดู Default Risk)

Credit Spread ส่วนต่างระหว่างพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนที่มีลักษณะเหมือนกัน ลักษณะดังกล่าวครอบคลุมถึง อายุของหุ้นกู้ มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย อัตราดอกเบี้ย การไถ่ถอน และการซื้อคืนหุ้นกู้ เป็นต้น

Current Par มูลค่าพาร์ที่ตราไว้ปัจจุบันของตราสารหนี้ ในกรณีทั่วไป มูลค่ามักคงที่ตลอดอายุของตราสารหนี้ ในกรณีที่เป็นตราสารหนี้ประเภททยอยชำระคืนเงินต้น มูลค่าในปัจจุบันจะลดลงตามจำนวนเงินต้นที่มีการทยอยจ่ายชำระคืน

Current Yield อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน คือ อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่ผู้ถือต้องการจากราคาปัจจุบันในตลาดของตราสารนั้น

Dealer ผู้ค้าหลักทรัพย์หมายถึง สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรมด้านการค้าตราสารหนี้จากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์

Debenture เป็นตราสารการกู้เงินระยะยาว (อายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป) จากประชาชน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด รวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ผู้ถือตราสารหนี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ตามระยะเวลา และอัตราที่กำหนด และจะได้คืนเงินต้นเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามที่ระบุในตราสาร

Default Risk การผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้เมื่อครบกำหนดชำระ หรือ การทำผิดเงื่อนไขและข้อตกลงที่กำหนดในหนังสือชี้ชวนการออกตราสารหนี้นั้น ๆ

Dirty Price ราคาหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่รวมดอกเบี้ยค้างรับซึ่งเป็นราคาที่ส่งมอบเมื่อมีการซื้อขาย อาจเรียกว่า Gross price โดย Dirty price/Gross price = ราคาที่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ (Clean price) + ดอกเบี้ยค้างรับ (Accrued Interest)

Disclosure ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ผู้ออกหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญซึ่งมีหรืออาจมี ผล กระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท หรือมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ หรือจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ ตัวอย่างของ ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย ได้แก่

? ข้อมูลที่ต้องรายงานตามรอบระยะเวลาบัญชี เช่น งบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำปี รายงานประจำปี เป็นต้น
? ข้อมูลเฉพาะของตราสารหนี้ เช่น ข้อมูลการปิดสมุดทะเบียน การจ่ายดอกเบี้ย และ/หรือเงินต้น การประชุมผู้ถือตราสารหนี้ เป็นต้น

ในการเปิดเผยข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ผู้ออกตราสารหนี้เปิดเผยข้อมูลผ่านทางระบบ ELCID โดย Online จากคอมพิวเตอร์ของบริษัทจดทะเบียนเข้าคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้สามารถกระจายเผยแพร่ออกไปได้อย่างกว้าง ขวางโดยทันที

Discount Bond ตราสารหนี้ที่มีราคาซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าพาร์ หรือมูลค่าที่ตราไว้ (Par Value)

Duration อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ โดยให้น้ำหนักตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินในแต่ละงวด

Effective Duration สมการที่ใช้ในการหามูลค่าความผันผวนของราคาตราสารหนี้ (ที่มี option แฝงอยู่) กับอัตราเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย

Embedded Option คือสิทธิที่แฝงอยู่ในตราสารหนี้ ตัวอย่างเช่น ตราสารหนี้ที่สามารถไถ่ถอนก่อนวันครบกำหนดโดยผู้ออกตราสารหนี้ (Callable Bond) สิทธิไถ่ถอน (Call Option หรือ Call Feature) ในที่นี้ก็คือสิทธิแฝงอยู่นั่นเอง

Event Risk ความเสี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่ได้คาดคิดกับผู้ออก ซึ่งมีผลต่อราคาของตราสารหนี้เช่น ผู้ออกถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างของบริษัท

Exchange Risk ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เกิดในกรณีที่ลงทุนในตราสารหนี้ในตลาดต่างประเทศที่ มีการซื้อขายเป็นเงินตราต่างประเทศ และได้รับผลตอบแทนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ

Ex-All (กรุณาดู XA)

Ex-Interest (กรุณาดู XI)

Ex-Principal (กรุณาดู XP)

Face Value (กรุณาดู Par Value)

Fed Fund Rate คืออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับเงินกู้ระยะสั้น (ระยะเวลา 1 คืน) กับธนาคารอีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นลูกหนี้

Financial Market ตลาดการเงิน คือ ตลาดที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้มีเงินออมกับผู้ที่ต้องการเงิน ถือเป็นแหล่งกลางที่ระดมเงินออมจากผู้ที่มีเงินและจัดสรรเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ

Fitch Ratings บริษัท ฟิทช์เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็น 1 ใน 2 บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย เริ่มดำเนินงาน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544

Fixed-rate Bond ตราสารหนี้ประเภทที่กำหนดอัตราดอกเบี้ย (Coupon rate) จ่ายเป็นอัตราคงที่แน่นอน

Floating-rate Bond ตราสารหนี้ประเภทที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ กำหนดขึ้น เช่น อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์

Floor ดอกเบี้ยต่ำสุดที่ผู้ออกตราสารหนี้จะจ่ายให้กับผู้ให้กู้

Government Bond (กรุณาดู Treasury Bond)

Gross Price (กรุณาดู Dirty Price)

High Yield Issues หุ้นกู้หรือตราสารหนี้ประเภทที่มีความเสี่ยงสูงและเสนอให้ผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน มักจะพบมากในบริษัทที่เพิ่งเกิดใหม่

Indenture ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ เช่นลักษณะสำคัญของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ชื่อผู้ออกหุ้นกู้ ประเภทของหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย อายุหุ้นกู้ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมไว้ในหนังสือชี้ชวน

Inflation Risk ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อหรือการลดลงของอำนาจซื้อ (Purchasing Power) โดยปกติการลงทุนในตราสารหนี้เป็นการลงทุนระยะยาว

Inscribed Bond ตราสารหนี้ชนิดจดบัญชี เป็นตราสารหนี้ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีตราสารหนี้ไว้ครอบ ครอง แต่ฝากไว้กับนายทะเบียนซึ่งจะออกใบรับให้แก่ผู้จดบัญชี

Interest-only Strip คือส่วนที่เป็นดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ถูกแยกออกจากตราสารหนี้ดั้งเดิม กล่าวคือเป็นการแยกขายระหว่างพาร์ และ ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับในแต่ละงวด

Interest Income เงินได้จากดอกเบี้ย จะเป็นรายได้ที่จะได้รับอย่างสม่ำเสมอของตราสารหนี้

Interest Rates อัตราดอกเบี้ย หรืออัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือตราสารหนี้หวังว่าจะได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ นั้นๆ (กรุณาดู Yield to Maturity)

Interest Rate Cap (กรุณาดู Cap)

Interest Rate Floor (กรุณาดู Floor)

Interest Rate Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งมีผลต่อราคา ตราสารหนี้

Investment Grade ตราสารหนี้ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว คือตราสารหนี้ที่ได้รับจัดอันดับ เครดิตตั้งแต่ BBB ขึ้นไป

Issue ตราสารหนี้หรือหลักทรัพย์

Issue Date วันออกตราสารหนี้ซึ่งกำหนดเป็นวันที่ ที่แน่นอน

Issuer ผู้ออกตราสารหนี้หรือหลักทรัพย์อื่นๆได้แก่ บริษัทมหาชน บริษัททั่วไป หน่วยงานภาครัฐ กระทรวงการคลัง เป็นต้น

Issue Rating อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้เป็นการประเมินความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและ เงินต้น ภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดไว้ของตราสารหนี้นั้นๆ จากสถาบันการจัดอันดับเครดิต

Issued Size มูลค่ารวมที่ออกขาย ของแต่ละตราสารหนี้โดยปกติจะมีหน่วยเป็นล้านบาท

Junk Bonds (กรุณาดู High Yield)

Legal Risk ความเสี่ยงที่รัฐบาลเปลี่ยนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้

Liquidity สภาพคล่อง คือ ความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงินสดของหลักทรัพย์

Liquidity Risk ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสารหนี้ทำให้ไม่สามารถซื้อขายตราสารใน จังหวะ เวลาและราคาที่เหมาะสมได้ หรือหากต้องการจะซื้อขายจริงต้องมีการเพิ่มหรือลดราคาเพื่อดึงดูดให้มีการตกลงซื้อขายเกิดขึ้น

Macaulay Duration คือเครื่องมือวัดความเสี่ยงของตราสารหนี้ ซึ่งเป็นการคำนวณระยะเวลาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ตราสารหนี้จะจ่ายกระแสเงินให้แก่ผู้ลงทุน ดังนั้น Duration จะมีหน่วยเช่นเดียวกับเวลา กล่าวคือ ถ้าหุ้นกู้หรือพันธบัตร 2 ตัวที่มีรายละเอียดเหมือนกัน หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่มีค่า Macaulay Duration สูงกว่า จะเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า

Marketability ความคล่องตัวในการซื้อขายคือ ความสามารถของหลักทรัพย์ที่จะซื้อขายได้ง่ายและรวด เร็ว โดยไม่คำนึงถึงผลกำไรหรือขาดทุน

Mark-to-Market การปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ให้เป็นจริงตามราคาตลาดล่าสุด

Market Maker บริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งใดแห่งหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่ดูแล ตราสารหนี้ของ บริษัทใดบริษัทหนึ่ง เพื่อให้ตราสารหนี้ดังกล่าว มีสภาพคล่องในการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง ในการทำหน้าที่เป็น Market Maker ของตราสารหนี้ บริษัทสมาชิกจะต้องส่งทั้งคำเสนอซื้อและคำเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวในขณะเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ลงทุนที่ต้องการขายหรือต้องการซื้อตราสารหนี้ดังกล่าวนั้นจะสามารถกระทำได้เสมอ

Maturity Date วันครบกำหนดไถ่ถอน หรือวันหมดอายุของตราสารหนี้นั้น ซึ่งผู้ออกจะต้องจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้าย (ถ้ามี) ให้กับผู้ถือ

Modified Duration คือการนำเอา Macaulay Duration มาแปลงโดยการหารด้วยราคาของตราสารหนี้ที่นำมาคำนวณในขณะนั้น Duration ถือว่าเป็นค่าอนุพันธ์ขั้นที่ 1 ระหว่างราคาของตราสารหนี้กับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความไวของราคาตราสารหนี้ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด

Money Market ตลาดเงิน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินทุน และการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี รวมทั้ง การโอนเงิน และการซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนระยะสั้น นอกจากนี้ ยังเป็นที่รวมกลไกทั้งหลายที่ทำให้การหมุนเวียนของเงินทุนระยะสั้น

Monte Carlo Simulation การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ โดยการจำลองข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อมูลที่มีอยู่ในอดีต จากนั้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินก็สามารถนำมาใช้ในการคำนวณมูลค่าความเสี่ยง หรือที่เรียกกันว่า Value-at-Risk (VaR)

Mortgage Back-Securities (MBS) หนึ่งในกระบวนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์เพื่อขายในตลาดรอง สินทรัพย์ในที่นี้คือ เงินกู้ระยะยาวเพื่อที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็จะถูกนำมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการออกหลักทรัพย์ดังกล่าว

Negative Pledge ขอบข่ายและข้อบังคับที่จำกัดผู้ออกหุ้นกู้มิให้กระทำละเมิดสัญญาบางอย่างที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ตัวอย่างเช่น การควบคุมมิให้อัตราส่วนที่แสดงถึงโครงสร้างเงินทุน (Debt to Equity Ratio) ลดลงต่ำกว่า 2 เป็นต้น

Non-Competitive Bid (NCB) การเสนอซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรก แบบไม่แข่งขันราคา โดยเสนอจำนวน หรือปริมาณพันธบัตรที่ต้องการเท่านั้น ไม่ต้องเสนออัตราผลตอบแทน ปัจจุบันกระทรวงการคลังกำหนดสัดส่วนให้แก่ผู้เสนอซื้อแบบ NCB ไว้ไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินประมูลพันธบัตรรัฐบาลแต่ละรุ่น

Odd Lot จำนวนหลักทรัพย์ซึ่งต่ำกว่า 1 หน่วยซื้อขาย (Board Lot) ในปัจจุบันจำนวน 1 หน่วยการซื้อขายเท่ากับ 100 หน่วย

Off-the-Run-Issue พันธบัตรภาครัฐที่ออกจำหน่ายแล้วในระยะเวลาหนึ่ง

On-the-Run Issue พันธบัตรภาครัฐที่เพิ่งออกจำหน่ายล่าสุด ซึ่งเป็นพันธบัตรที่มีสภาพคล่องมากกว่า พันธบัตรภาครัฐที่ออกจำหน่ายแล้วในระยะเวลาหนึ่ง

Options สิทธิที่จะซื้อหรือขายตราสารหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้สิทธินี้ ในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน

Option Adjusted Spread (OAS) มูลค่าความต่างระหว่างราคาในปัจจุบันของ พันธบัตรภาครัฐและหุ้นกู้ที่มีสถานะทัดเทียมกัน ค่าความแตกต่างดังกล่าวจะสามารถนำมาหาค่าความแตกต่างของราคาที่ได้จากการคำนวณทางทฤษฎีและราคาที่กำลังซื้อขายในปัจจุบัน

Outstanding Size มูลค่าคงค้างทั้งสิ้นที่เป็นปัจจุบันของแต่ละตราสารหนี้โดยทั่วไปมีมูลค่าเท่ากับ Issued size แต่ในกรณีที่มีการทยอยจ่ายคืนเงินต้นหรือไถ่ถอนก่อนกำหนด อาจมีมูลค่าน้อยกว่า Issued size ได้

Over-the-Counter (OTC) การซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์โดยการตกลงกัน ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายมากกว่าจะเป็นการประมูลกันตามที่ปฏิบัติกันในตลาดหลักทรัพย์

Overnight Repo ธุรกรรมซื้อคืนที่มีระยะสั้น (1 คืน) โดยมีตราสารหนี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

Par Value มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย หรือเรียกว่ามูลค่าพาร์ โดยทั่วไปจะมีค่าหน่วยละ 1,000 บาท ตราสารที่ขายในราคาที่ตราไว้ เรียกว่าขาย at par

Payment Date วันที่ผู้ออกตราสารหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวดที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

Political Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีเงินได้จากการซื้อขายตราสารหนี้

Portfolio หลักทรัพย์ทั้งหมดในความครอบครองของผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องประกอบ ด้วยหลักทรัพย์จำนวนตั้งแต่ 2 ชนิด หรือ 2 บริษัทขึ้นไป จุดประสงค์ของการสร้าง Portfolio ก็เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ หลายบริษัทหรือหลายประเภท

Positive Convexity อัตราการเปลี่ยนแปลงในทางบวกของความชันของกราฟระหว่างความสัมพันธ์ทางราคา และอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ ตราสารหนี้ที่ไม่มีสิทธิแอบแฝงจะให้ผลการเปลี่ยนแปลงในทางบวก กล่าวคือราคาของตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าหรือมากกว่าราคาของตราสารหนี้ที่ลดลงในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนในระดับเท่าเทียมกัน

Premium Bond ตราสารหนี้ที่มีราคาซื้อขายสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้หรือมูลค่าพาร์

Present Value มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินในอนาคต คือ การหาค่าส่วนลดของมูลค่าที่จะได้รับในอนาคตตามช่วงระยะเวลา ด้วยอัตราผลตอบแทนในปัจจุบัน

Price Risk ความเสี่ยงในด้านราคาตราสารหนี้ ความเสี่ยงประเภทนี้มีความสัมพันธ์ผกผันกันอัตรา ดอกเบี้ยในตลาด หากดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้น ราคาของตราสารหนี้จะลดลง หรือในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาดอกเบี้ยในตลาดลดลง ราคาของตราสารหนี้ก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีความผันผวน ย่อมส่งผลให้ราคาของตราสารหนี้มีความผันผวนด้วย

Primary Dealer สถาบันทางการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรประเภท Outright กับธนาคารแห่งประเทศไทย

Primary Market ตลาดแรกของการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยผู้ออกหลักทรัพย์ขายตราสารทุน และ/หรือตรา สารหนี้ ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์โดยตรง ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์

Principal (กรุณาดู Par value)

Priority Claim สิทธิเรียกร้องที่ผู้ถือตราสารหนี้นั้นจะได้รับค่าทดแทนเมื่อบริษัทมีปัญหาทางการเงิน หรือถูกฟ้องล้มละลาย

Private Placement การที่บริษัทออกหุ้นกู้ขายแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่ผู้ซื้อรายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยเจาะจงโดยที่ผู้ซื้อรับซื้อไว้เพื่อลงทุน มิใช่รับซื้อมาเพื่อนำออกจัดจำหน่าย ซึ่งต้องไม่เกิน 35 ราย หรืออาจเสนอขายแก่สถาบัน 17 ประเภทที่มีรายชื่อตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. การออกหุ้นขายแบบ Private Placement บริษัทผู้ออกหุ้นไม่ต้องจัดทำข้อมูลให้สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณา แต่วิธี Private Placement จะต้องเข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนด โดย ก.ล.ต.

Prospectus เอกสารที่บริษัทผู้เสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนทั่วไปต้องจัดทำขึ้น เพื่อเปิดเผยข้อมูลแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท และรายละเอียดของการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนั้น หนังสือชี้ชวนจะต้องแสดงข้อมูลลักษณะธุรกิจของบริษัท โครงการในอนาคต โครงสร้างการบริหารงาน ผู้บริหารบริษัท ข้อมูลทางการเงิน ผลประกอบการในอดีตและที่คาดการณ์ว่าจะเป็นไปใน อนาคต ประเภทของหุ้นกู้ที่เสนอขาย จำนวนหุ้นกู้ มูลค่าที่ตราไว้ ราคาพาร์ อัตราดอกเบี้ย วันครบกำหนดไถ่ถอน และข้อมูลอื่นๆ ข้อมูลในหนังสือชี้ชวน มีความสำคัญต่อผู้ลงทุนที่จะใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนในหุ้นกู้นั้น ร่างหนังสือชี้ชวนของบริษัทจะต้องผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก่อนจัดทำเผยแพร่ให้ประชาชน

Public Offering การที่บริษัทนำหลักทรัพย์ของตนออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปในวงกว้าง จุดประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการและเพื่อกระจายการถือครองหลักทรัพย์ให้ประชาชนทั่วไป การเสนอขายตราสารทุนหรือตราสารหนี้แก่ประชาชน จะต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่ รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriters) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้

Puttable Bond ตราสารหนี้ที่ให้สิทธิผู้ถือในการไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยระบุรายละเอียดของเงื่อนไข และวิธีการไว้ล่วงหน้าในหนังสือชี้ชวน

Put Through (PT) เป็นวิธีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการต่อรองเพื่อตกลงซื้อขายกัน (Dealing) แล้วจึงบันทึกรายการซื้อขายเข้ามาในระบบซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการซื้อขายด้วยวิธีนี้จะไม่นำกฎเกณฑ์ในเรื่องการกำหนดราคาซื้อขายสูงสุดและต่ำสุดของหลักทรัพย์ในแต่ละวัน (Ceiling and Floor ) และช่วงราคา (Spread) มาใช้ในการพิจารณา บริษัทสมาชิกสามารถประกาศโฆษณา (Advertise)
การเสนอซื้อหรือเสนอขายของตนผ่านระบบการซื้อขายเพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบได้ ด้วย หากมีผู้สนใจรายการใด ก็สามารถให้โบรกเกอร์ของตนติดต่อไปต่อรองเพื่อตกลงซื้อขายกันได้

Quality Spread (กรุณาดู Credit Spread)

Rate of Return อัตราผลตอบแทน หมายถึง ผลประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับในรูปแบบต่างๆ จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล และกำไรจากส่วนต่างของราคาเมื่อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น

Redemption Value ราคาไถ่ถอน สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีการทยอยคืนเงินต้น ราคาไถ่ถอนในงวดสุดท้ายก็คือราคาหน้าตั๋วของตราสารหนี้นั้นๆ ซึ่งโดยมากมักจะถูกกำหนดไว้ที่ 1,000 บาท

Registrar นายทะเบียนหลักทรัพย์ ทำหน้าที่รับฝาก ถอน โอนหลักทรัพย์ และออกใบหลักทรัพย์

Reinvestment ผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อนักลงทุนนำดอกเบี้ยไปลงทุนต่อ

Reinvestment Risk ความเสี่ยงจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนต่อ หรือความเสี่ยงจากการนำเอาดอกเบี้ยที่ได้รับไปลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยผลตอบแทนที่ได้รับ

Repo Market ตลาดซื้อคืนพันธบัตร เป็นตลาดของการกู้ยืมเงินระยะสั้น โดยมีสัญญาว่าจะซื้อหรือขายคืนในระยะเวลาที่กำหนด

Repo Rate อัตราดอกเบี้ยในธุรกรรมซื้อคืน โดยทั่วไปเงื่อนไขในการกำหนดจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ เช่น ความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ ระยะเวลาการทำธุรกรรม ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน

Repurchase Agreement (REPO) ธุรกรรมซื้อคืน หรือการประกอบธุรกิจซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีตราสารหนี้เป็น หลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีสัญญาขายหรือซื้อคืน

Risk ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่คาดไว้

Risk-Risk ความเสี่ยงจากการลงทุนโดยขาดความรู้ (Black Box Risk) เกี่ยวกับตราสารหนี้ หรือความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการไม่ทราบถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของราคาและอัตราผลตอบแทน

Saving Bond พันธบัตรออมทรัพย์ เป็นพันธบัตรรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย สามารถลงทุนในตลาดแรก ซึ่งสามารถจองได้โดยตรงผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน หรือธนาคารอื่นๆ ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้

Scripless ระบบที่ข้อมูลการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ถูกเก็บโดยศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แทนที่จะมี การออกใบหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะเป็นตัวกลางในการรับฝากหุ้นและจัดทำรายงานแสดงผู้ถือหุ้นแก่ผู้ถือหุ้น เพื่อง่ายต่อการซื้อขาย หรือโอนเปลี่ยนมือหุ้นและป้องกันไม่ให้ใบหุ้นสูญหาย

SEC สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission, Thailand) หรือที่เรียกสั้นๆว่า สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อช่วยในการปรับปรุงระบบและโครงสร้างตลาดทุนของประเทศ ก.ล.ต. จะเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์และบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้กรอบกฎหมายในเรื่องสำคัญ ๆ อย่างเช่น การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และ องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์

Secondary Market ตลาดรองเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ ภายหลังการขายในตลาดแรกแล้ว ผู้ลงทุนที่ต้องการ ซื้อตราสารทุนและตราสารหนี้นั้นๆต้องซื้อขายผ่านตลาดรอง โดยอาจซื้อขายจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือในตลาด OTC

Secured Bond ตราสารหนี้มีประกัน เป็นตราสารหนี้ที่ผู้ออกจัดให้มีหลักประกันเฉพาะเจาะจงหรือผู้ค้ำประกัน เพื่อการชำระหนี้ของตราสารหนี้นั้น ๆ

Securitized Bond ตราสารหนี้ที่เกิดจากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ โดยผู้ถือตราสารหนี้จะได้รับเงินต้นและดอกเบี้ยคืนจากกระแสเงินสดที่ได้จากสินทรัพย์ที่นำมาแปลงนั้น ๆ

Senior Bond ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ ซึ่งผู้ถือตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีสิทธิทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ ในการเรียกร้องสินทรัพย์ทดแทนและสูงกว่าผู้ถือตราสารหนี้ด้อยสิทธิ

Sensitivity Analysis คือการคำนวณหาค่าความไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคา และความเปลี่ยนแปลง ของดอกเบี้ย ปกติแล้วจะเป็นการเปรียบเทียบในหลายๆ ดอกเบี้ยเพื่อสังเกตดูความเปลี่ยนแปลงในแต่ละระดับ

Settlement Date วันชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันกำหนดให้ เป็นวันทำการที่สอง ในกรณีการซื้อขายตราสารหนี้และเป็นวันทำการที่สาม ในกรณีซื้อขายตราสารทุน

Sharpe Ratio เป็นการเปรียบเทียบและวัดประสิทธิภาพจาการลงทุนวิธีหนึ่ง โดยการนำเอาผลตอบแทนจากการลงทุน (Rate of Return) หารด้วยความผันผวนของผลตอบแทนที่เกิดแล้ว (Standard Deviation of Return)

Shelf Registering คือใบอนุญาตที่ ผู้ออกตราสารหนี้สามารถออกและเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต และในการเสนอขายครั้งต่อๆ ไป ให้เพียงแค่ยื่นเฉพาะข้อมูลสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่

Short-term Debenture ตราสารหนี้ระยะสั้น ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่เกิน หนึ่งปี นับแต่วันที่ออก และเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

SLIPS ตราสารหุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หรือที่เรียกว่า SLIPS (Stapled Limited Interest Preferred Shares) หรือบางแห่งเรียกว่า CAPS (Capital Augmented Preferred Securities) เป็นตราสารประเภทกึ่งหนี้กึ่งทุน กล่าวคือ มีลักษณะของหุ้นบุริมสิทธิที่เป็นตราสารประเภททุน และหุ้นกู้ด้อยสิทธิซึ่งเป็นตราสารหนี้ ทั้งนี้ โดยลักษณะพื้นฐานของหลักทรัพย์ประเภทนี้จะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์ 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนแรกเป็น ตราสารหุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ และส่วนที่สองเป็นตราสารหนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งมีอายุ 7 ปี

Spread ผลต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย

Standard Deviation ?s? - ค่าความแปรปรวนของผลตอบแทน เป็นเครื่องมือที่วัดความผันผวนของราคาจากค่าเฉลี่ย เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้วัดความเสี่ยง ของค่าความคลาดเคลื่อนของราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Straight Bond ตราสารหนี้ที่ปราศจากสิทธิแฝงอื่นซึ่ง option สามารถแบ่งออกเป็นหุ้นกู้ที่มีอัตราดอก เบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัว และมีการจ่ายคืนเงินต้นเพียงครั้งเดียว ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน

Strips คือการแยกดอกเบี้ยและเงินต้นออกจากกัน (Separate Trading of Registered Interest and Principal of Securities) และเสนอขายดอกเบี้ยและเงินต้นที่แยกออกมาให้เป็นตราสารหนี้ที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย (Zero Coupon Bond) ผลประโยชน์พลอยได้เพิ่มเติมที่ได้จากการแยก (stripping) ก็คือ เราสามารถนำเอา ดอกเบี้ยเหล่านั้น (ซึ่งปัจจุบันเป็นตราสารหนี้ที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย) มาคำนวณและสร้างกราฟของความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน (Yield) กับอายุคงเหลือของตราสารหนี้ (Time to maturity) ณ วันที่คำนวณนั้น ๆ

Structured Note ตราสารหนี้ชนิดหนึ่งที่มีการออกแบบให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ซื้อ โดยมากตราสารหนี้ชนิดนี้จะควบรวมสิทธิอื่นๆเพื่อชักจูงความต้องการของนักลงทุนให้มีความสนใจมากขึ้น

Subordinated Bond ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ เป็นตราสารหนี้ชนิดไม่มีประกัน ประเภทที่ผู้ถือมีสิทธิการรับชำระคืนเงินภาย หลังเจ้าหนี้ ทั่วไปและเจ้าหนี้อื่นๆในกรณีที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นล้มละลายเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีกรณีดังกล่าว การจ่ายชำระคืนดอกเบี้ยและเงินต้นไม่ด้อยสิทธิกว่าเจ้าหนี้รายอื่น ๆ

Systematic Risk ความเสี่ยงที่เป็นระบบ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความเสี่ยงประเภทนี้คือส่วนหนึ่งของความเสี่ยงทั้งหมดของการลงทุนซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ (Unsystematic Risk) ด้วยการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง (Diversification) และส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (Systematic Risk) ก็คือส่วนที่นักลงทุนจะนำมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่คิดว่าจะได้รับกับการลงทุนนั้น ๆ

Taxable Income รายได้พึงประเมิน หรือเงินรายได้ของบริษัทที่ต้องเสียภาษีเงินได้ หลังจากที่หักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ได้แล้ว

Tenor (กรุณาดู Term to Maturity)

Term Bonds พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่จ่ายคืนมูลค่าพาร์ทั้งหมด เมื่อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน

Term Repo ธุรกรรมซื้อคืนที่มีสัญญาซื้อคืนหรือขายคืนที่มีอายุมากกว่าหนึ่งวัน

Term to Maturity อายุของตราสารหนี้ ณ วันที่ออก มักมีหน่วยเป็นจำนวนปี

Time to Maturity ระยะเวลาที่เหลืออยู่จนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนของตราสารหนี้ มักมีหน่วยเป็นจำนวนปีโดย ณ วันออกตราสารหนี้ Term จะเท่ากับ Time to maturity (TTM)

Total Trading มูลค่ารวมการซื้อขายตราสารหนี้

Treasury Bills ตั๋วเงินคลัง ระยะสั้น ที่มีอายุหน้าตั๋วน้อยกว่า 1 ปีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนิยมออกพันธบัตรประเภทนี้ ตั๋วเงินระยะสั้นมีสภาพคล่อง (Liquidity) มากที่สุดในตลาดรอง ตั๋วเงินประเภทนี้โดยปกติจะไม่มีดอกเบี้ย ดังนั้น ราคาซื้อขายจึงต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว หรือมีส่วนลด (Discount Bond)

Treasury Bonds พันธบัตรภาครัฐที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป อย่างเช่น พันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond), พันธบัตรเพื่อการลงทุน (Investment Bond) และ พันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (Loan Bond)

TRIS Rating บริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด (ทริส) เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 โดยการสนับสนุนของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้บริการวิเคราะห์และประเมินสถานะความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ตามแผนพัฒนาระบบการเงินของประเทศในการพัฒนาตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้

Trustee ผู้ดูแลสินทรัพย์ หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไว้ คือ ต้องเป็นสถาบันการเงิน บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ประเภทธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และบริษัทจำกัดหรือมหาชน จำกัด ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งไม่ใช่การจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งต่อการทำหน้าที่โดยไม่เป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหุ้นกู้

Underwriter ผู้จัดการการจำหน่ายหลักทรัพย์ ทั้งที่เป็นตราสารหนี้และตราสารทุน และจะต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ในการประกอบธุรกรรมนี้

Unsecured Bond ตราสารหนี้ไม่มีประกัน เป็นตราสารหนี้ที่ผู้ออกมิได้จัดให้มีหลักประกันเฉพาะเจาะจง เพื่อการ ชำระหนี้

Unsystematic Risk เป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงทั้งหมดของการลงทุนซึ่งทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ (Unsystematic Risk) ความเสี่ยงประเภทนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งหมดด้วยการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง (Diversification) และส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็คือ Systematic Risk

Variable Rate อัตราดอกเบี้ยลอยตัว หรืออัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงตามอัตราอ้างอิงที่กำหนด เช่น อัตรา THBFIX + Spread ในกรณีที่อัตราดังกล่าวสูงหรือต่ำจนเกินไป อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับเปลี่ยนให้เท่ากับอัตรา Cap และ Floor ตามที่ผู้กู้กับผู้ให้กู้ตกลงไว้ในตราสารหนี้

Volatility Risk ความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับความผันผวนของราคา ความผันผวนของราคาตราสารหนี้ขึ้นอยู่กับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย วิธีการวัดความผันผวนที่นิยมใช้ก็คือ Standard Deviation (กรุณาดู Standard Deviation เพิ่มเติม)

XA ช่วงเวลาปิดสมุดทะเบียนของตราสารหนี้ ผู้ที่ซื้อหุ้นกู้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่ได้รับสิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น ก็คือจะไม่ได้รับทั้งดอกเบี้ย และเงินทยอยจ่ายเงินต้น ช่วงเวลาปิดสมุดทะเบียนเท่ากับ 14 วันก่อนวันจ่ายในงวดนั้น ๆ

XI ช่วงเวลาปิดสมุดทะเบียนของตราสารหนี้ ผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ในช่วงดังกล่าวจะไม่ได้รับดอกเบี้ยที่จะ จ่ายในงวดที่จะถึงนั้นๆ ในปัจจุบันสำหรับหุ้นกู้ภาคเอกชน ช่วงเวลาปิดสมุดทะเบียนเท่ากับ 14 วัน ก่อนวันจ่ายดอกเบี้ยในงวดนั้นๆสำหรับการจ่ายดอกเบี้ยทุกงวด 3 เดือน และ 6 เดือน

XP ช่วงเวลาปิดสมุดทะเบียนของตราสารหนี้ ผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่ได้รับเงินที่จ่ายทยอยเงินต้นในงวดนั้นๆ ปัจจุบัน หุ้นกู้ภาคเอกชนมีช่วงเวลาปิดสมุดทะเบียนเท่ากับ 14 วัน ก่อนวันจ่ายเงินทยอยจ่ายเงินต้นในงวดนั้น

Yield อัตราผลตอบแทน

Yield Curve เส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน (Yield) กับอายุคงเหลือของตราสารหนี้ (Time to maturity) โดยทุกจุดบนเส้น Yield Curve จะแสดงอัตราผลตอบแทนตามอายุที่เหลือของตราสารหนี้

Yield to Call อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่คำนวณโดยมีสมมุติฐานว่าถือตราสารหนี้ดังกล่าวจนถึงวันที่ผู้ ออกตราสารหนี้มีสิทธิเรียกไถ่ถอนก่อนกำหนด

Yield to Maturity อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่คำนวณโดยมีสมมุติฐานว่า ถือตราสารหนี้ดังกล่าวจนถึงวันครบ กำหนดไถ่ถอน

Yield to Put อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ ที่คำนวณโดยมีสมมุติฐานว่า ถือตราสารหนี้ดังกล่าวจนถึงวันที่ผู้ ถือตราสารหนี้มีสิทธิขอไถ่ถอนก่อนกำหนด

Yield to Worst อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ โดยมีสมมุติฐานว่า สถานการณ์หรือสิทธิแอบแฝงทุกอย่างที่จะทำให้ราคาตราสารหนี้ลดลงต่ำที่สุดได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณราคา

Zero Coupon Bonds ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย (coupon) ระหว่างอายุของตราสารหนี้นั้นโดยราคาที่จำหน่ายใน ครั้งแรกหรือตลาดแรกนั้น จะเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ผู้ออกตราสารหนี้จะไถ่ถอนเมื่อครบกำหนด[/color:5d772602d9">

.0005

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com