April 28, 2024   5:09:37 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ฟันธง พ.ย.นี้ยังต้องระวังแรงขายทำกำไร
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 02/11/2006 @ 01:16:36
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

4 โบรกฯดัง FNS-AYS- TNITY-SCIBS ฟันธงหุ้นไทยรับผลกระทบจากค่าบาทแข็ง อาจจดดันให้มีแรงขายทำกำไรในระยะสั้น โดยเฉพาะในเดือน พ.ย.นี้ หลังมีการประกาศผลงานQ3/49 แต่เชื่อหลังจากนั้นแรงซื้อจะกลับเข้ามาอีกครั้ง จากเงินนอกที่ไหลเข้าต่อเนื่อง เศรษฐกิจอเมริกาชะลอตัว แถมตลาดหุ้นไทยยังราคาถูกและขยับขึ้นไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านในเอเชียด้วยกัน เชื่อหนุนหุ้นไทยในปี 2550 มีโอกาสปรับตัวสูงถึง 780 จุด

- FNS ชี้ บาทแข็งเร็วจูงใจขายทำกำไรในระยะสั้น แต่ทุนนอกไหลเข้าช่วยหนุนดัชนีฯพุ่งระยะกลาง-ยาว
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่แล้วนักลงทุนต่างประเทศเข้าซื้อสุทธิใน 6 ประเทศเอเชียรวมมูลค่า 612 ล้านเหรียญ ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 45% ซึ่งเป็นผลมาจากการขายทำกำไร ภายหลังดัชนีฯมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและจากการคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจสหรัฐที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดย MSCI-Ex Japan ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.1% ขณะที่ดัชนีประเทศอินเดีย (+1.6%) และ ฟิลิปปินส์ (+3.3%) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนตลาดไทยแทบไม่เปลี่ยนแปลง ทว่านักลงทุนต่างประเทศยังคงซื้อสุทธิ 147 ล้านเหรียญ

FOMC ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% และอาจปรับลดลงในไตรมาส 1 ปีหน้า ประกอบกับแนวโน้มการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ US Dollar Index อ่อนค่าลง 0.58% ขณะที่ดัชนีค่าเงินสกุลเอเชีย (JPMACI) เพิ่มขึ้น 0.82% ซึ่งคาดว่าแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์จะยังคงอ่อนตัวลง และส่งผลต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้น ซึ่งกระทบต่อการส่งออกของไทย ทว่าการแข็งค่าของเงินสกุลเอเชียนั้นจะดึงดูดความน่าสนใจในการลงทุนตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในระยะสั้นเงินบาทที่แข็งค่าเร็ว และแรงเกินไปจะสร้างแรงจูงใจต่อการขายทำกำไร จึงปรับมุมมองเชิงลบต่อตลาดไทยสัปดาห์นี้

การแข็งค่าของ JPY ส่งผลต่อการแข็งค่าเงินสกุลเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนการปรับตัวเพิ่มจากนโยบายอัตราดอกเบี้ย BoJ ที่มีแนวโน้มปรับขึ้น พิจารณาจาก MSCI-Sovereign Japan GBYields อายุไม่เกิน 3 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.1% ขณะที่ผลตอบแทนอายุ 7-10 ปี เพิ่มขึ้น 0.5% เวลาเ ดี ย ว กั น MSCI SovereignEmerging Markets GB Yieldsอายุ 7-10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.2% สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยให้ธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่ต้องคงอัตราดอกเบี้ยในระดับที่สูงอยู่ โดยเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในไทยโดยธุรกรรมซื้อขายเงินบาทสุทธิโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นวันละ 30 ล้านเหรียญ ส่งผลให้บาทแข็งค่าขึ้นผิดปกติ

บทวิเคราะห์ระบุว่า สองสัปดาห์แล้วที่เริ่มมีการขายทำกำไรในตลาดหุ้น และโยกเงินเข้าสู่ตลาดโภคภัณฑ์ โดย DJAIGCปรับตัวขึ้น 2.1% ซึ่ง AIG Petrochemicals ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากสุด 2.3% ขณะที่ AIGEnergy และ AIG IndustrialMetals เพิ่มขึ้นเพียง 0.7%

ดัชนี MSCI ในตลาดสำคัญยังคงทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง แต่สัญญาณทางเทคนิค ได้บอกว่าทั้ง MSCI-Ex Japan, ฟิลิปปินส์, มาเล เซียได้เข้าสู่ภาวะ Overbought (OB) และมีแนวโน้มจะถูกขายทำ กำ ไรในสัปดาห์นี้ ขณะที่อินเดีย ,อินโดนีเซียมีสัญญาณ OBอ่อนๆ

ตลาดไทยยังอยู่ในภาวะปกติดังนั้น Flows ที่ไหลเข้าต่อเนื่องจะสนับสนุน SET ให้ปรับตัวลงไม่มาก จึงยังคงมุมมองเชิงบวกต่อ SET ในระยะกลาง ขณะที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลต่อการขายทำกำไรในระยะสั้น ทั้งนี้ MSCI-Thailand ยังคงUnderperformance เมื่อเทียบกับ MSCI-Asia Ex Japan ขณะเดียวกัน MSCI-Thailandในรูป USD ได้ให้ผลตอบแทนตั้งแต่สิ้นกันยายน จนถึงวันที่ 27 ต.ค.ราว 9% ขณะที่ MSCI ในรูปเงินบาทให้ผลตอบแทนเพียง 6.4%

นักลงทุนต่างชาติยังคงชะลอการลงทุนในเกาหลีใต้หลังสถานการณ์ในเกาหลีเหนือยังคงตึงเครียด โดยมีการขายสุทธิในสัปดาห์ที่แล้ว 440 ล้านเหรียญและขายสุทธิตลอดเดือนนี้ 416ล้านเหรียญ

เงินทุนเคลื่อนยังคงย้ายจากเกาหลีสู่ไต้หวันอย่างต่อเนื่องโดย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 708 ล้านเหรียญ และมียอดซื้อสุทธิสูงที่สุดในเอเชียเดือนตุลาคม 1.9 พันล้านเหรียญ

นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในไทย 147 ล้านเหรียญ ขณะที่ซื้อสุทธิตลอดเดือนนี้ 490 ล้านเหรียญ ทั้งนี้ไทยเป็นตลาดที่ปรับตัวแย่สุดในเอเชียจากปัญหาการเมืองภายใน อย่างไรก็ตามเราคาดว่าแนวโน้มมุมมองของไทยกำลังปรับตัวดีขึ้น หลังรัฐบาลพยายามอธิบายต่อนักลงทุนต่างประเทศอย่างเต็มความสามารถ

เงินทุนไหลเข้ามาในกลุ่ม TIP เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 206 ล้านเหรียญ ทั้งนี้เป็นการไหลเข้าไทยในสัดส่วนถึง 71% ขณะที่เงินทุนไหลเข้าฟิลิปปินส์ 60ล้านเหรียญ

ที่ฟิลิปปินส์ ข้อมูลการซื้อขายได้แสดงให้เราทราบว่าตลาดได้เข้าสู่ภาวะ Overbought แล้ว และมีแนวโน้มที่จะถูกขายทำกำไร โดยเราคาดว่าเงินลงทุนน่าจะโยกเข้าสู่ไทยในสัปดาห์หน้า

อินเดียมีการซื้อสุทธิ 141 ล้านเหรียญเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และมีการซื้อสุทธิสะสมถึง 7.5 พันล้านเหรียญในเดือนนี้ ทั้งนี้แรงซื้อสุทธิมีแนวโน้มการชะลอตัวลงจากภาวะ Overbought

- บล.ทรีนิตี้ คาดเดือน พ.ย.ดัชนีฯจะปรับฐานอย่างมีนัยสำคัญ
นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ จก. (TNITY)กล่าวว่า ?เราคาดการณ์ว่าช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับฐานอย่างมีนัยสำคัญเพื่อสะท้อนความเสี่ยงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ นักลงทุนควรหาจังหวะเข้าเก็บหุ้นกลุ่มพลังงาน (PTTEP ,TOP) กลุ่มธนาคาร (KBANK, SCB, BBL, TISCO, SCIB) และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (PS,LH, SPALI, AP) เพราะหุ้นกลุ่มดังกล่าวจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการปรับตัวของค่า PE และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น?

ทั้งนี้ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์มองว่าปัจจัยที่จะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนดัชนีฯ ให้เพิ่มสูงขึ้นมาจากทิศทางสัญญาณอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลางสหรัฐลดลงส่งผลให้ส่วนชดเชยความเสี่ยงลดลงเช่นเดียวกัน อีกทั้งส่วนต่างผลตอบแทนจากตราสารทุนและตราสารหนี้ในปัจจุบันยังคงน่าสนใจอยู่ที่ประมาณ 7% ซึ่งสามารถกระตุ้นความน่าสนใจให้กับนักลงทุนได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังได้ประเมินความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยว่ายังถือว่าช้า หากเทียบกับดัชนีของประเทศในตลาดภูมิภาคเอเชียประมาณ 10% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโอกาสที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะสามารถปรับตัวแตะได้ถึงระดับ 780-800 จุดในระยะเวลา 6 เดือนจากนี้ไป หรืออยู่ในช่วงต้นปี 2550 มีความเป็นไปได้สูง และการที่เศรษฐกิจในประเทศจีน ญี่ปุ่น และยุโรป แข็งแกร่งขึ้น ช่วยทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมีแนวโน้มอ่อนตัวลงสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาที่เริ่มอ่อนแอตามลำดับ จึงส่งผลให้เงินทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียเพิ่มมากขึ้น

นายวิศิษฐ์ กล่าวเสริมว่า การปฏิวัติภายในประเทศเป็นปัจจัยที่สะท้อนถึงความตกต่ำทางเศรษฐกิจของอเมริกาได้ โดยพิจารณาถึง SET ในช่วง 3 เดือนก่อนและ 6 เดือนหลังจากปฎิวัติ ร.ส.ช.ในปี 2534 ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นก่อนที่เศรษฐกิจอเมริกาจะตกต่ำลงถึง 3 เดือน ดังนั้นถ้าจะเปรียบเทียบ SET ในช่วงหลังปฏิรูปการปกครองปี 2549 กับ ปี 2534 ที่ผ่านมา มีลักษณะเคลื่อนตัวคล้ายกัน จึงมีความเป็นได้ว่าจากภาวะดังกล่าวจะสามารถสะท้อนให้ภาพเศรษฐกิจอเมริกาที่จะกลับมาตกต่ำได้อีกครั้ง นั่นก็แสดงว่าจากนี้ไปจนถึงช่วงต้นปีหน้าจะมีเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชีย และเรามีโอกาสจะได้เห็น SET ปรับตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน

- AYS เชื่อกลางเดือน พ.ย.หุ้นไทยยังปรับฐานเพื่อขึ้นต่อ
บทวิเคราะห์จาก บล.กรุงศรีอยุธยา (AYS) ระบุว่า กระแสเงินทุนต่างชาติเข้าสู่ตลาดทุนต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปีนี้ ถึง วันที่ 25 ต.ค. ภายหลังการทำรัฐประหาร นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อหุ้นสุทธิรวม 1.1 แสนล้านบาท โดยเริ่มกลับเข้าซื้อล่าสุด ตั้งแต่เดือน ก.ค. 49 ซึ่งซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 เดือนและเฉพาะในเดือน ต.ค. 49 สิ้นสุด 25 ต.ค.ได้ซื้อสุทธิรวม 1.6 หมื่นล้านบาทคาดว่าแนวโน้มการเข้าซื้อจากนักลงทุนต่างชาติจะยังคงมีต่อเนื่องในเดือนนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จำกัดความเสี่ยงของการปรับตัวลดลงของ SET หากมีการขายทำกำไรออกมา

ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างมีนัย สะท้อนถึงเงินไหลเข้าเงินบาท ณ 26 ต.ค. ยืนที่ 37.0 บาทต่อ US$ ซึ่งแข็งค่าขึ้น 13.9% (ณ 20 ก.ค 48 ซึ่งเป็นวันที่ค่าเงินหยวนขยายช่วงการซื้อขาย)ในขณะที่ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น 4.9% และค่าเงินอื่นในสกุลภูมิภาคเช่น สิงคโปร์แข็งค่า 7.2% เกาหลีแข็งค่า 9.3% ฟิลิปปินส์แข็งค่า11.5% อินโดนิเซียแข็งค่า 7.2% และริงกิตมาเลเซียแข็งค่า 3.3%

เห็นได้ชัดว่าค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นสูงสุดซึ่งสามารถสะท้อนได้ในระดับหนึ่งถึงการไหลเข้าของเงินทุนที่เข้าสู่ตลาดทุนไทย แนวโน้มในระยะสั้นเราคาดว่าค่าเงินจะยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตามการคาดหวังของค่าเงินหยวนที่ยังมีแนวโน้มการแข็งค่าขึ้นจากแรงกดดันของประเทศคู่ค้าหลักเช่นสหรัฐ และอาจจะส่งผลลบต่อหลักทรัพย์ ในกลุ่มส่งออกเช่น อิเล็กทรอนิกส์

แต่ด้วยผลประกอบการที่เป็นฤดูกาล ในไตรมาส 3 จะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของกลุ่มนี้ คาดว่าการปรับตัวลงของกลุ่มนี้ อาจจะมีแรงซื้อกลับเพื่อเก็งกำไรในช่วงสั้น DELTA, HANA ตลาดฯอาจพักฐานเพื่อไปต่อ รอเข้าซื้อที่ระดับ 715-720สภาวะตลาดในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาปรับตัวอยู่ในกรอบ 679-725 จุดโดยปิดสูงขึ้น 5.8% หรือสูงกว่า AYS คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 673-709จุด ซึ่งสาระสำคัญของการปรับตัวขึ้น เกิดจากการเคลื่อนย้ายทุนจากต่างชาติเป็นสำคัญไหลเข้าสู่ตลาดทุนทั่วโลกรวมถึงไทย ซึ่งประเมินว่าจะยังส่งผลต่อภาวะตลาดฯในเดือนพ.ย. นี้เช่นกัน

ในเชิงเปรียบเทียบ SET ที่ระดับ 728.49 จุด (ราคาปิด ณ 26 ต.ค.) กับราคาปิด ณ สิ้นปี 48 ที่ 713.73 จุดนั้น เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 2.1% และเมื่อเทียบกับตลาดฯ ในภูมิภาคเอเชียที่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างมาก ประเมินว่ายังมีโอกาสที่ SET จะปรับตัวขึ้นได้จากทุนต่างชาติที่ไหลเข้าต่อเนื่อง กอปรกับในช่วงกลางเดือน พ.ย. จะเป็นช่วงเวลาที่บริษัทได้ประกาศงบ 3Q49 ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลง ดังนั้นช่วงจังหวะดังกล่าวคาดตลาดจะมีการปรับฐาน (เพื่อขึ้นต่อ)

- นครหลวงไทยมั่นใจระยะสั้นหุ้นไทยยังไปได้ หลังเม็ดเงินนอกยังหนุน

นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.นครหลวงไทย กล่าวถึงแนวโน้มภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทยในระยะสั้นว่า เชื่อว่าดัชนีฯยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจะได้แรงหนุนจากเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ยังไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย รวมถึงตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเซีย เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐยังคงชะลอตัว

อย่างไรก็ดี หากดัชนีฯมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงก็คงมีแรงขายทำกำไรออกมาในระยะกลาง ซึ่งคงต้องขึ้นอยู่กับว่าดัชนีฯจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ในขณะที่ระยะยาวก็ยังคงเชื่อว่าเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติก็ยังไหลเข้ามาลงทุนตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะคาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจสหรัฐก็ยังคงมีการชะลอตัวอยู่

มองว่าในเดือน พ.ย.นี้ดัชนีฯจะมีการปรับเพิ่มขึ้น แต่ในเดือน ธ.ค.จะปรับขึ้นมากน้อยแค่ไหนคงต้องดูว่ามีการขายทำกำไรในช่วงท้ายปี โดยมองดัชนีฯสิ้นปีนี้อยู่ที่ 750 จุด ส่วนในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า มองว่าดัชนีฯจะอยู่ที่ประมาณ 780 จุด เพราะเชื่อว่ายังมีแรงส่งจากเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติอยู่ นายสุกิจ กล่าว

ทั้งนี้ แนะนำนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นขนาดใหญ่ เช่นกลุ่มธนาคาร หรือพลังงาน เพราะจะเป็นหุ้นที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้าลงทุน

- เชียนหุ้นชี้ SET INDEX บวกแรง หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือนต.ค.ไม่สูงอย่างคาด -บาทแข็งค่าหนุนเงินไหลเข้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ปิดตลาดที่ระดับ 730.87 จุด เพิ่มขึ้น8.41 จุด มูลค่าการซื้อขาย 12,762.05 ลบ.

นักวิเคราะห์บล.ซีมิโก้ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นแรงในช่วงปลายตลาด เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนต.ค.ของกระทรวงการพาณิชย์ซึ่งไม่สูงอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ทำให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเรื่องแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่จะไม่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังสนับสนุนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะเข้าสู่ขาลงในปี 50 อีกด้วย ขณะที่ค่าเงินบาทวันนี้ยังคงแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 36.65 บาทต่อดอลลาร์ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำสุด แสดงให้เห็นว่มีเม็ดเงินไหลเข้าต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรระมัดระวังการซื้อขาย เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป นักลงทุนต่างชาติอาจจะขายทำกำไรระยะสั้นได้ โดยนักลงทุนควรหาจังหวะขายเมื่อดัชนีตลาดหุ้นแตะระดับ 738 จุด



.000002

[/color:c8f0c290d8">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com