April 27, 2024   1:56:57 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > "TK" มีอุปสรรค "กลุ่มพรประภา"อนุรักษนิยม
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 16/09/2005 @ 22:18:59
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

สัญญาณร้าย ของ เศรษฐกิจ ดูเหมือนจะทำให้ การเดินเกมปล่อยสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ ของ ฐิติกร (TK) ภายใต้การคุมเกมของ กลุ่มพรประภา ต้อง ระมัดระวัง ทุกย่างก้าว


การขยับขึ้น ดอกเบี้ย เช่าซื้อ รถมอเตอร์ไซค์ ของ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK บริษัทเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

โดยประกาศขึ้นดอกเบี้ยจาก 1.8-2.5% เป็น 2.0-2.4% และ หั่นเป้าการเติบโตของรายได้ จาก 20% เหลือ 15%

เท่ากับเป็นการ ประกาศจำนน ต่อพิษ เศรษฐกิจ ของ กลุ่มพรประภา ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจเช่าซื้อที่นับวัน ยิ่งรุนแรง

ภายหลังผู้บริหารประเมิน ทิศทาง การขยายตัวของตลาด รถจักรยานยนต์ ทั่วประเทศเริ่มอิ่มตัว ในรอบ 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) ที่ผ่านมาโตขึ้นเพียง 1.3% จาก 1,190,892 คัน ในปี 2547 เป็น 1,206,875 คันในปีนี้ จากพิษของ ราคาน้ำมัน และ กำลังซื้อที่หดหาย

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ซูซูกิ ผ่าน บมจ. เอส.พี.ซูซูกิ (SPSU) ผู้จัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ซูซูกิ อีกธุรกิจของ กลุ่มพรประภา ก็อยู่ในภาวะย่ำแย่ ปรับตัวลดลงถึง 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปล่อยให้ ฮอนด้า และยามาฮ่า ชิงเค้กการตลาดไปครอง

กระทั่ง ผู้บริหารบริษัทไทยซูซูกิมอเตอร์ ต้องออกมายอมรับว่า สถานการณ์ตลาดรถจักรยานยนต์ในครึ่งปีหลังของบริษัท มีแนวโน้มชะลอลง และจะกระทบให้ยอดขายรถจักรยานยนต์ไม่เติบโตเช่นปีที่ผ่านมา

แม้วัดฝีมือแล้ว ผลงานการเติบโตของ ฐิติกร ในมือของ 2 พี่น้อง ปฐมา-ประพล พรประภา ทายาทของ ชุมพล พรประภา หุ้นส่วนใหญ่ของ บมจ. เอส.พี.ซูซูกิ ในครึ่งปีแรก ยังจะคงเติบโต 9% สวนทางกับ เอส.พี.ซูซูกิ

แต่ ทิศทางข้างหน้า หลายอย่าง เช่น อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ประกอบกับ หนี้ค้างชำระ (3-6 เดือน) ในไตรมาส 2 ปี 2548 ของบริษัทได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเป็น 4.5% ของพอร์ตสินเชื่อ จากเดิมมีหนี้ค้างชำระที่ 3.6%

ก็เป็นสัญญาณ ที่ทำให้ ฐิติกร ต้องกลับมาทบทวนบทบาท

ยอมปรับ เกมรุก มาสู่ เกมรับ ด้วยการขึ้นดอกเบี้ย พร้อมคุมเข้มสินเชื่อ

...นั้นหมายความว่าความสามารถทางการแข่งขันของบริษัทย่อมลดลงตาม

ประพล พรประภา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร อธิบายเกมตั้งรับทางธุรกิจของบริษัทว่า เพื่อที่จะรักษาความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ที่ผ่านมาได้เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยสินเชื่อช่วงต้นไตรมาส 3 โดยสินเชื่อ รถมอเตอร์ไซค์ปรับขึ้น จาก 1.8-2.5% เป็น 2.0-2.4% ก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยตั๋วเงินระยะสั้น (อาร์พี) 14 วัน ขึ้น 0.5% โดยขณะนี้เริ่มมีลูกค้าที่มาใช้อัตราดอกเบี้ยใหม่บ้างแล้ว และบริษัทยังคงที่จะพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับการปล่อย สินเชื่อรถยนต์ บริษัทได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 5-8%

ทั้งนี้หลังปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย อาจจะทำให้บริษัทต้องเสียมาร์เก็ตแชร์เล็กน้อย จากปี 2547 อยู่ที่ 35% แต่ปีนี้อาจจะลดลงเหลือ 33-32% เนื่องจาก ธุรกิจนี้มีการแข่งขันกันมาก โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ อาจจะชะลออย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีการแข่งขันด้านราคาสูงมาก

อย่างไรก็ตามแม้ว่ามาร์เก็ตแชร์จะลด แต่มาตรการดังกล่าว ก็จะทำให้บริษัทมีความมั่นคงในระยะยาว และเชื่อว่าในอนาคตทุกบริษัทก็จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยตามมา มิเช่นนั้นก็จะลำบากในการดำเนินงาน

ยอมรับว่าการปรับดอกเบี้ยขึ้นอาจจะทำให้เจ้าอื่น สามารถที่จะกินแชร์เราได้บ้าง แต่ภาวะแบบนี้มันก็ไม่คุ้มค่าที่จะลุยมากเกินไป เราน่าจะรักษาผลตอบแทนของเราให้มั่นคงมากกว่า

ประพล อธิบายว่า สัญญาณ ขาขึ้น ของดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ จะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจเช่าซื้อจะเริ่มแข่งขันกันลำบากมากขึ้น เนื่องจากมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้นการลดแลกแจกแถมที่เป็นอยู่ทุกวันนี้จะใช้ไม่ได้นาน...

ปกติสินเชื่อมอเตอร์ไซค์จะเป็นสินเชื่ออัตราคงที่ ในยามดอกเบี้ยขาลง ปล่อยสินเชื่อในอัตราคงที่ก็ทำได้ง่ายเพราะต้นทุนไม่สูง ในทางกลับกันหากดอกเบี้ยขาขึ้นการปล่อยสินเชื่อในอัตราคงที่ในระยะยาว อาจจะไม่คุ้มค่ากับต้นทุนดอกเบี้ย ที่จะปรับขึ้นไปในอนาคต

ทั้งนี้แม้ว่า บริษัทจะปรับดอกเบี้ยขึ้นก่อนรายอื่น แต่เชื่อว่า จะคงความสามารถทางการแข่งขันได้ เนื่องจากบริษัทมีแผนที่จะใช้กลยุทธ์ ในการดึงดูดใจผู้บริโภคได้ เช่น การใช้กลยุทธ์ด้านเงินดาวน์ หรือการผ่อนที่ยาวขึ้น อย่างไรก็ตามจะต้องดูความเหมาะสมของอายุการใช้งานรถด้วย

สำหรับไตรมาส 3 รายได้ของบริษัทอาจจะมีการเติบโตขึ้นเพียง 3% เนื่องจากเป็นช่วงหน้าฝน แต่ไตรมาส 4 เชื่อว่าจะเติบโตได้มาก เนื่องจากจะมีมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ๆ ออกมาหลายยี่ห้อ

รวมทั้งปีเราจะเติบโต 15% จากเดิมที่เคยตั้งเป้าเติบโตไว้ 20% จากรายได้ในปี 2547 ที่ทำได้ 1,600 ล้านบาท

ขณะเดียวกันบริษัทก็จะหันมารุกตลาดสินเชื่อต่างจังหวัดมากขึ้น เพราะมีโอกาสในการขยายตัวที่มากกว่า

โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนต่างจังหวัดในปีนี้เป็น 50% จากปี 2547 ที่มีสัดส่วนลูกค้าต่างจังหวัดเพียง 40% ที่ผ่านมาบริษัทได้มีการขยายสาขาสู่ต่างจังหวัด 5 สาขา รวมถึงปัจจุบันมีสาขา 47 แห่งใน 36 จังหวัด ตามแผนจะขยายอีก 2 สาขา แต่สำหรับปี 2549 บริษัทจะกลับมาทบทวนสภาพเศรษฐกิจอีกครั้งว่าจะคุ้มค่ากับการขยายสาขาหรือไม่

ประพล บอกอีกว่า ปีนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพอย่างชัดเจนนัก แต่เชื่อว่าในปี 2549 การแข่งขันปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อจะลดลง เนื่องจากรายเล็กๆ ในตลาดอาจจะต้องออกจากธุรกิจเพราะให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับต้นทุนดอกเบี้ย

ทางด้าน ปฐมา พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้เตรียมการที่จะจ้างให้ ทริส เรทติ้ง มาจัดอันดับเครดิตของบริษัท เตรียมไว้ในอนาคตบริษัทจะออกตั๋วเงินระยะสั้น (ตั๋วบี/อี) มาใช้ในการดำเนินงานได้ หลังจากปัจจุบัน การออกตั๋วบี/อี ของบริษัทจดทะเบียนได้ ถูกทำลายความน่าเชื่อถือ ด้วยการผิดนัดชำระตั๋วของ บริษัทปิคนิค คอร์ปอเรชั่น (PICNI) ทำให้ฐิติกรจำเป็นต้องจัดเรทติ้งก่อน

ซึ่งการออกตั๋วบี/อีจะมีต้นทุนที่ถูกกว่าการกู้เงิน และอัตราดอกเบี้ยจะไม่ผันผวน ซึ่งเป็นหัวใจในการบริหารต้นทุนทางการเงินของบริษัท ที่วางแผนออกตั๋วบี/อี ต่อเนื่อง 2-4 ปีเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยให้คงที่

อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่างนี้ ปฐมา บอกว่า ได้มีการป้องกันความเสี่ยงด้านดอกเบี้ยขาขึ้นด้วยการออกหุ้นกู้มูลค่า 745 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 วงเงิน ได้แก่ หุ้นกู้ครั้งที่ 1/2548 วงเงิน 545 ล้านบาท อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2550 อัตราดอกเบี้ย 4.2% ต่อปี และหุ้นกู้ครั้งที่ 2/2548 วงเงิน 200 ล้านบาท อายุ 3 ปีครึ่ง ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2552 อัตราดอกเบี้ย 4.8% ต่อปี

สำหรับหุ้นกู้ดังกล่าวคิดเป็น 25% ของเงินกู้ทั้งหมดประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยบริษัทมีวงเงินเหลือจากสถาบันการเงินอีกกว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีขึ้นไป โดยมีวงเงินกู้ระสั้นเพียง 10% ของสินเชื่อ

โดยวงเงินทั้งหมดนี้สามารถที่จะรองรับการปล่อยสินเชื่อได้นานถึง 6 เดือน

ปัจจุบันเรามีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนเพียง 1.5 เท่า ขณะที่ธุรกิจเช่าซื้อจะมีหนี้สินต่อทุนสูง 8-9 เท่า หมายความว่าเรายังสามารถขอเงินกู้ได้อีก แต่จะรักษาไว้ไม่ให้เกิน 5 เท่า

นี่คือการมองเกมอย่างระมัดระวังของ ฐิติกร หลังจากที่เคยประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 จนทำให้ต้องตัดลดค่าใช้จ่าย เจรจายืดหนี้ และปรับลดเงินเดือนพนักงาน

แม้ความตั้งใจของทั้ง ปฐมา และ ประพล จะเคยกล่าวไว้ช่วงที่นำ ฐิติกร เข้าตลาดในช่วงปี 2546 ว่า ภายใน 5 ปี (2551) ต้องการได้ส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 40% ของตลาดรถจักรยานยนต์ทั่วประเทศ โดยสัดส่วนของตลาดต่างจังหวัด 85% และกรุงเทพฯ 15% แต่หนทางการเดินเกมธุรกิจในวันนี้ ก็ไม่ราบรื่นอย่างที่คิด [/color:cb4b03f7e8">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com