May 2, 2024   8:35:03 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > อสมท. กับทฤษฎีเกม
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 15/11/2006 @ 21:59:23
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ช่วงนี้ นักวิเคราะห์หุ้นทุกสำนักพากันแนะนำให้ขายหุ้น MCOT หรือ อสมท. ด้วยเหตุผลความชัดเจนทางด้านบริหารไม่เพียงพอ และผังรายการซึ่งเป็นตัวทำรายได้เข้าบริษัทไม่นิ่ง

เหตุการณ์นี้ ถือเป็นเรื่องปกติที่นักวิเคราะห์หุ้นต้องลดทอนเหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงตัวผู้บริหารของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ออกมาเป็นำคแนะนำเรื่องราคาหุ้น

ในขณะที่โลกของการบริหารของ อสมท. ก็มีคำถามตามมาว่า เพียงแค่ 2 เดือนหลังการรัฐประหาร ทำไมองค์กรที่เคยมีวิสัยทัศน์ในยุคมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ จึงกลายเป็นองค์กรไร้หัวไปได้

การลุกขึ้นประท้วงถึงขั้นขับไล่รัฐมนตรีที่กำกับดูแลหน่วยงาน เรียกร้องไม่ให้มีผู้จัดการรายจากสื่ออื่นๆเข้ามา โดยอ้างเหตุผลเรื่องรักษาศักดิ์ศรีขององค์กร และขยายความเป็นการตอบโต้จากกลุ่มที่ถูกอ้างถึงในลักษณะสาดโคลนอย่างเอาเป็นเอาตายกลายเป็นยุทธการสาดโคลนกันไป

ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า การแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ซึ่งผ่านมา 2 ปีนอกจากยังไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับองค์กรได้ ยังแสดงชัดเจนว่า องค์กรนี้ยังสลัดไม่พ้นจากเงามืดของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ที่แสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจเราจึงได้เห็นการใช้ทฤษฎีเกมที่มีลับลมคมนัยหักโค่นกันอย่างที่ปรากฏ

มองจากมุมของทฤษฎีเกมแล้ว นี่คือการเล่นเกม โศกนาฎกรรมของส่วนรวม หรือTragedy of the Commons ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ จับเสือมือเปล่า หรือ FreeRider Game อย่างชัดเจน

ตัวต้นเหตุสำคัญของเรื่องนี้ เกิดจากฐานะที่ไม่ชัดเจนของอสมท.เองเป็นสำคัญ

อสมท. แม้จะอ้างว่าแปรรูปโดยนิตินัยไปแล้ว แต่สภาวะที่แท้จริง ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็น สินค้าสาธารณะ หรือ public goodsซึ่งเปิดช่องให้กับการเข้ามาหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจผ่านสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาได้ง่ายมาก

โดยลักษณะของสินค้าสาธารณะนั้น จะมีลักษณะใช้อภิสิทธิ์เพื่อผูกขาดตัดตอนในบางส่วน(จะมากหรือน้อยขึ้นกับธรรมชาติหรือโครงสร้างแต่เดิมที่ออกแบบเอาไว้) ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ในตลาด เปิดช่องให้กับการใช้สายสัมพันธ์พิเศษเข้ามาสบช่องหาประโยชน์ ทั้งจากคนภายในและจากคนภายนอก ซึ่งทำให้ ความไม่มีประสิทธิภาพแบบพาเรโต (Pareto Inefficiency) เกิดขึ้นเสมอ

อดีตของ อสมท. ที่บอกว่าเป็นแดนสนธยา ก็สะท้อนข้อเท็จจริงได้มากพอสมควร
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ผู้มีอำนาจรัฐนั้น ถือเสมอมาว่า สินค้าสาธารณะนั้น ต้องใช้อำนาจรัฐเข้าไปจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐและส่วนรวม (ซึ่งโดยนิตินัยก็เพือ่ประโยชน์ของผู้มีอำนาจนั้นและพรรคพวกเป็นสำคัญ โดยเจือจานเศษที่หกหล่นให้พนักงานภายในได้แบ่งไปบ้างเป็นขวัญและกำลังใจ)

ในยุคของมิ่งขวัญ ซึ่งเป็นผู้บริหารที่คัดสรรจากภายนอก อาศัยความช่ำชองและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลจากการทำงานในองค์กรรถยนต์ของญี่ปุ่น สร้างกรอบการทำงานของตนในฐานะผู้บริหารที่สามารถสร้างแผนธุรกิจล่วงหน้า หรือ scenario thinking โดยถ่วงดุลระหว่างผู้มีอำนาจรัฐ ผสมเข้ากับการกระจายผลประโยชน์ฝ่ายต่างๆทั้งภายในและนอกองค์กรในรูป ได้-ได้ (win-win situation)

การใช้ความสามารถทางธุรกิจและการตลาดเพื่อพลิกภาพลักษณ์ของอสมท.ที่ภาพลักษณ์คร่ำครึให้เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมสื่อกระแสนิยม ทำให้รายได้ใน 2 เสาหลักขององค์กร เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหลังจากเข้าตลาดก็ทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นอย่างน่าสนใจ

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ มิ่งขวัญวางตัวในฐานะผู้คุมนโยบายที่มุ่งแต่งเติมสีสันให้สาระของข่าวและรายการน่าตื่นตาตื่นใจรองรับความต้องการของธุรกิจโฆษณาที่เป็นตัวสร้างรายได้อย่างชัดเจน โดยไม่พยายามลงลึกในรายละเอียดต่างๆที่จะก่อให้เกิดแรงต้านจากพนักงานอย่างเต็มรูป ซึ่งในส่วนนี้ ก็คงทำให้พนักงานนิ่งเงียบอยู่ได้มาโดยตลอด ไม่มีแรงกระเพิ่มต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

จะบอกว่า มิ่งขวัญปรนเปรอ พนักงานด้วยโบนัสหรือเงิน ก็คงจะไม่ถูกไปเสียทีเดียวแต่ถ้าจะมองว่า ทำให้ขวัญ กำลังใจ และบรรยากาศการทำงานดีขึ้น ก็น่าจะเหมาะสมกว่า

อันที่จริง มิ่งขวัญ กำลังวาดฝันจะสร้างรายได้จากเสาที่สาม ด้วยการหาทางลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากทรัพยากรที่มีอยู่เหลือเฟือ ซึ่งจะสร้างรายได้ในระยะยาว แต่เหตุพลิกผันทางการเมือง ทำให้มิ่งขวัญต้องจากไปกะทันหัน เพราะคนบัญชา มิสู้ฟ้าลิขิตและมีการเปลี่ยนแปลงบอร์ด และผู้บริหารชั่วคราวของ อสมท. สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปชนิดเลี้ยวกลับ 180 องศาอย่างไม่น่าเชื่อ

หากพนักงานบางส่วนของ อสมท. ไม่ลุกขึ้นมาประท้วงแต่งชุดดำ เราก็คงไม่รู้กันว่ามีการกระทำใต้โต๊ะบางอย่างเกิดขึ้นเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงผังรายการในรูปของผลัดอำนาจ-ผลัดผลประโยชน์ และเราก็คงไม่รู้อีกเช่นกันว่า ก่อนหน้านี้ ก็ยังมีปัญหาหมักหมมซ่อนเอาไว้ให้ต้องแก้ไขกันในรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ ซึ่งสะท้อนธรรมาภิบาลและซากเดนวัฒนธรรมที่มิ่งขวัญไม่เคยพูดถึงเอาไว้เกิดขึ้น

ที่น่าสนใจก็คือ ภายใต้การเล่นเกม จับเสือมือเปล่า และ โศกนาฏกรรมของส่วนรวมที่ดำเนินอยู่นี้ สังคมโดยรวมเป็นผู้เสียประโยชน์ เนื่องจากคู่กรณีต่างไม่มีใครพูดความจริงกันอย่างเปิดเผย ต่างฝ่ายต่างเก็บวาระซ่อนเร้นของตนเองเอาไว้ เพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างถูกครอบงำด้วยความคิดเชิงอำนาจ หรือ political thinking กันหมด โดยอ้างถึงความชอบธรรมเฉพาะส่วน
ไม่มีใครที่แสดงให้เห็นว่า มีความพย=


[/color:7706c3639b">[/size:7706c3639b">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com