May 2, 2024   10:40:13 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > โตโยต้า-อีซูสุ
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 16/11/2006 @ 17:36:27
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

แซงขึ้นหน้าเจนเนอรัล มอเตอร์สเป็นที่หนึ่งในตลาดรถยนต์โลก ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของโตโยต้าเสียแล้ว เพราะเป้าหมายต่อไปคือ เป็นที่หนึ่งของโลกไปยาวนานที่สุด

ดังนั้น ล่าสุด โตโยต้าก็เลยจัดการสร้างพันธมิตรใหม่เพิ่มความแข็งแกร่งให้มากขึ้นประกาศจับมือกับอีซูสุ มอเตอร์ส ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่แขจ่งขันกันมายาวนาน และเข้าถือหุ้นในอีซูสุฯเสียเลยในสัดส่วน 5.9%

เป้าหมายชัดเจนคือ เพื่อปิดจุดอ่อนในเรื่องเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กของตนเอง โดยยืมเทคโนโลยีบางส่วนของอีซูสุมาใช้สร้างความแข็งแกร่งเป็นกลยุทธ์สร้างพลังผนึกหรือ tie-up ในเชิงยุทธศาสตร์ธุรกิจระยะยาวที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

การตัดสินใจดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดูแล้วเสียหน้าไม่น้อยสำหรับค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่า เทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กของตนยังสู้คู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่าไม่ได้ แต่การข้ามกำแพงของหน้าตาดังกล่าวมาได้ เพื่อผลประโยชน์ในระยะยาว เป็นความกล้าหาญทางจริยธรรมอย่างหนึ่ง
เข้าหลักปรัชญา ไม้ไผ่ยิ่งลำใหญ่ ยิ่งต้องค้อมปลายให้โค้งต่ำเข้าไว้

อีซูสุมอเตอร์ ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก แม้ว่าผลการดำเนินงานในตลาดโลกจะย่ำแย่ ต้องกลายเป็นบริษัทในเครือของมิตซูบิชิ และเจนเนอรัลมอเตอร์สของอเมริกาเพื่อความอยู่รอด และยึกครองตลาดโดดเด่นเฉพาะในเมืองไทยเป็นหลัก(ที่อื่นแพ้เรียบ) จนแทบจะกลายเป็นรถยนต์ไทยไปเสียแล้ว การได้จับมือกับโตโยต้าและมียักษ์ใหญ่ค่ายนี้เป็นพันธมิตรทางการเงินและเทคโนโลยี ก็ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ หลังจากที่พันธมิตรหลักคือ มิตซูบิชิ และ เจนเนอรัล มอเตอร์ส มีปัญหาการเงินเรื้อรัง ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป

โตโยต้ามองว่า ตลาดรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กเป็นตลาดที่มีอนาคตไกลในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายที่ต้องการบุกในอนาคต โดยเฉพาะจีนและอินเดียที่มีช่องทางขยายตัวอีกมากมายหากมีการเปิดตลาดเสรีตามข้อตกลงการค้าโลก การได้เข้ามาใช้ความแข็งแกร่งของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่มีเทคโนโลยีให้คำตอบทางด้าน ประหยัดน้ำมัน ให้กำลังแรง และลดมลพิษ เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องเอาชนะให้ได้

ก่อนหน้านี้ โตโยต้า ถือหุ้นใหญ่ในฮีโน่ มอเตอร์สอยู่แล้ว และสามารถเข้ายึกครองตลาดรถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ได้แข็งแกร่งผ่านทางฮีโน่ แต่ตลาดรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กนั้น มีอีซูสุเป็นก้างขวางคอมาตลอด

เป้าหมายของความร่วมมือกัน ถูกประกาศออกมาว่า จะสร้างเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ควบคุมมลพิษทางอากาศให้ดีขึ้น สร้างเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถเก๋ง และผลิตเครื่องยนต์ดีเซลไฮบริด แต่รูปแบบความร่วมมือกันนี้ จะไม่ครอบคลุมไปถึงการจัดการธุรกิจอื่นๆ โดยแต่ละค่ายต่างก็มีอิสระในการดำเนินแผนการตลาด การขาย การออกแบบและพัฒนาตราสินค้าของตนเองตามเดิม เรียกว่าแข่งขันกันเต็มรูป

ความร่วมมือกันเช่นนี้ ไม่เพียงแต่สร้างประโยชน์ให้โตโยต้ามหาศาล เพราะจะทำให้แผนกรถยนต์เครื่องดีเซลขนาดเล็ก สามารถพัฒนาตนเอง ควบคู่กับเร่งเอาชนะทางการตลาดและการขายสินค้าเพื่อเอาชนะคู่แข่งให้ได้ แต่ยังเป็นประโยชน์กับอีซูสุต่อไปได้ด้วย เพราะเป็นที่รู้กันว่าระบบการทำงานผลิตของโตโยต้านั้น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าคู่แข่งได้ดีเพียงใด

โตโยต้ายอมรับว่า ข้อเสนอร่วมมือทางธุรกิจนี้ เกิดจากโตโยต้าเป็นผู้ริเริ่มก่อนเพราะมองเห็นศักยภาพในการพัฒนาเครื่องยนต์ของอีซูสุในยามที่กำลังจะถูกเจนเนอรัลมอเตอร์สทิ้งเพราะปัญหาการเงิน หลังจากร่วมมือกันมานานเกือบ 30 ปี

ในเชิงยุทธศาสตร์แล้ว เท่ากับว่า จากนี้ไป โตโยต้าจะไม่ได้รับข้อกังขาอีกต่อไปเกี่ยวกับปัญหาเรื่องคุณภาพของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กแบบที่เคยถูกถามเสมอมาในอดีต

ในขณะเดียวกับ ความร่วมมือกับอีซูสุ ก็จะทำให้โตโยต้าสามารถตัดปัญหาการแข่งขันจากค่ายรถยนต์ที่พยายามข้ามาเข้ามาแข่งขันในตลาดรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก นั่นคือ ฮอนด้ามอเตอร์สไปได้ และทำให้โอกาสของฮอนด้าในตลาดดังกล่าว ดูริหรี่ลงไป เมื่อเทียบกับความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด และการขายอื่นๆประกอบด้วย

ถือเป็นการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัวอย่างแท้จริง และเชื่อว่าจะยิ่งทำให้โตโยต้า สามารถปรับกลยุทธ์การผลิตรถยนต์ได้หลากหลายสนองตอบตลาดรถยนต์ขนาดเล็กได้อย่างพลิกแพลงกว่าเดิม เป็นความชาญฉลาดอย่างแท้จริง


.00020



[/color:b935695e6b">[/size:b935695e6b">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com