May 3, 2024   2:12:10 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > "ธาริษา วัฒนเกส" อยู่ไปก็ไร้ศักดิ์ศรี !!!
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 21/12/2006 @ 09:07:58
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บทพิสูจน์คุณสมบัติข้อแรกของการเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)หรือแบงก์ชาติ ของนางธาริสา วัฒนเกส ในการแยกความเป็นอิสระของหน่วยงานแบงก์ชาติ ออกจากการเมืองในช่วงที่ผ่านมานั้น ถือว่า สอบตก อย่างเห็นได้ชัด

โดยเฉพาะการที่นางธาริษา กลับมาเซ็นอนุมัติมาตรการคุมเงินเก็งกำไรระยะสั้นให้ธนาคารพาณิชย์กันสำรอง 30 % สำหรับเงินทุนไหลเข้าระยะ 1 ปี ในช่วงเย็นวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ทั้งๆ ที่ตนเองอยู่ในช่วงพักร้อน และหลังจากที่เซ็นอนุมัตินโยบายดังกล่าวก็กลับไปพักร้อนเหมือนเดิม ปล่อยทิ้งให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงเหวอย่างไร้แนวรับ

รวมถึงการก้าวล่วงของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ข้ามเส้นมาพูดเรื่องนโยบายการเงิน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วรมต.คลังไม่มีสิทธิ ที่จะออกมาตัดสินนโยบายทางการเงินของประเทศแทนผู้ว่าแบงก์ชาติได้เลย

จากประเด็นนี้ทำให้เห็นชัดเจนเลยว่า การที่ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ

ยังทำตัวเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติอยู่อย่างนี้ โดยที่นางธาริษา ผู้ว่าแบงก์ชาติคนปัจจุบันไม่ออกมาขัดขวาง หรือทำอะไรเลย พร้อมกับปล่อยให้ผู้อื่นมาล้ำเส้นแบ่งของอำนาจหน้าที่แบบนี้ จึงทำให้เกิดคำถามว่า

ศักดิ์ศรีของผู้ว่าแบงก์ชาติคนปัจจุบันอยู่ที่ตรงไหน??? หรือไร้ซึ่งศักดิ์ศรีมานานแล้ว

!!!! คำถามนี้ นางธาริษา วัฒนเกส ต้องตอบ

-ใครคือผู้ว่าแบงก์ชาติ

จากมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติ โดยให้ธนาคารพาณิชย์กันสำรอง 30 % ของเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ที่อนุมัติโดยนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)หรือแบงก์ชาตินั้น ถือเป็นการทำตามอำนาจขอบเขตที่มีอยู่ของผู้ว่าแบงก์ชาติที่ไม่ได้ออกนอกลู่ นอกทางนัก แต่หากมองในแง่ของการประเมินผลกระทบที่จะได้รับจากมาตรการดังกล่าวนั้น ยังถือว่าอยู่ในขั้นที่แย่เลยทีเดียว

เนื่องจากดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงต่ำสุด 19.5 % จนถึงขนาดตลาดหลักทรัพย์ฯต้องงัดมาตรการหยุดซื้อขายชั่วคราว(Cricuit Breaker) มาใช้ เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย โดยดัชนีวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ปิดที่ 622.14 จุด ลบไป 108.41 จุด หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลง 14.84 %

ภายหลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงแล้ว ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังได้ออกมากล่าวถึงเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้นว่า ผลกระทบจากมาตรการของแบงก์ชาติเป็นเรื่องที่อยู่ในความคาดหมายอยู่แล้ว รวมถึงการกล่าววัตถุประสงค์และเหตุผลของมาตรการดังกล่าวเพื่อต้องการให้เงินบาทอ่อนค่าลง แทนนางธาริษา นั้น เห็นได้ชัดว่าการเมืองได้เข้ามาแทรกแซงแบงก์ชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธรออกมาประกาศเปลี่ยนนโยบายใหม่ว่า เงินลงทุนจากต่างประเทศที่นำมาลงทุนในตลาดหุ้น ไม่ต้องถูกหักสำรอง 30% ของวงเงิน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20

ธันวาคมนั้น ยิ่งย้ำให้เห็นชัดเจนว่า การตัดสินใจออกมาตรการดังกล่าวครั้งนี้มีรมว.คลัง เป็นผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย และถือเป็นการก้าวล่วงแบบล้ำเส้นการทำงานของแบงก์ชาติอย่างเกินเลย รวมถึงการมีบทบาทครอบงำการตัดสินใจของผู้ว่าแบงก์ชาติ

การกลับมาเซ็นอนุมัติมาตราดังกล่าวของนางธาริษา ในระหว่างพักร้อน เป็นการแสดงให้เห็นว่าบทบาทของผู้ว่าแบงก์ชาติคนปัจจุบันเป็นเพียงแค่ ตรายาง ที่รอทำหน้าที่ในการเซ็นอนุมัติเท่านั้น ซึ่งนโยบายทั้งหมดถึงกำหนดไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่นางธาริษาเองไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ รวมถึงไม่ได้มีความคิดที่จะคัดง้างใดๆ กับการกระทำของรมว.คลังเลย

ถ้าเกิดผู้ว่าแบงก์ชาติไม่สามารถรักษาอิสระในการทำงาน อาจทำให้ความน่าเชื่อถือของผู้ว่าในสายตานักธุรกิจลดลง และจะกลายเป็นความเสื่อมศรัทธา ซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายการเงินของประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้

โดยที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เคยแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรม ในช่วงที่ วิโรจน์ นวลแข อดีต กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด หรือ KTB ต้องการจะกลับเข้ามานั่งในตำแหน่งผู้บริหารครั้งที่สอง หลังจากที่นายวิโรจน์ หมดวาระการเป็นผู้บริหารนั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ซึ่งเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติ ได้แสดงท่าทีที่เป็นอิสระ โดยการประกาศว่านาย วิโรจน์ ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ทำให้ไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้บริหารใน KTB ได้อีกเป็นวาระที่สองตามที่ต้องการ

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 21/12/2006 @ 09:08:43 : re: "ธาริษา วัฒนเกส" อยู่ไปก็ไร้ศักดิ์ศรี !!!
ถึงแม้ รมต. คลังสมัยนั้น(สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้แสดงท่าทีสนับสนุนนายวิโรจน์ แบบชัดเจน และเปิดเผย ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถทำให้นายวิโรจน์กลับมาเป็นผู้บริหารของ KTB ได้อีกคำรบ ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้บทบาทผู้ว่าแบงก์ชาติของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร โดดเด่นขึ้นมาในทันที เพราะเป็นการตอกย้ำว่า การบริหารงานต่างๆ ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง

ถ้าวันใดผู้ว่าแบงก์ชาติตกอยู่ใต้อำนาจของรมว.คลังมากเกินไป ศักดิ์ศรีความเป็นผู้ว่าทั้งหมด รวมทั้งความสง่างามในฐานผู้ว่าแบงก์ชาติก็จะหายไป เหมือนอย่างกรณีของนางธาริษา ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เจ้านายเก่าอย่างเห็นได้ชัด

-แพะของรมว.คลัง

การที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร แถลงว่า ธปท.จะผ่อนมาตรการที่ออกมาเพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยเงินลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทย และเงินลงทุนโดยตรง (FDI) ไม่ต้องกันสำรอง 30% ส่วนเงินลงทุนต่างชาติในตราสารหนี้และตั๋วเงินระยะสั้น และเงินกู้ยืม ยังต้องกันสำรอง 30% เหมือนเดิม

ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เปิดตลาดช่วงเช้าปรับตัวขึ้น 55 จุด ทันทีโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด โดยดัชนีปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 688.17 จุด เพิ่มขึ้น 66.03 จุด หรือเพิ่มขึ้น 10.61% มูลค่าการซื้อขาย 34850 ล้านบาท

หลังจากปิดตลาดช่วงบ่าย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ได้ปรับตัวขึ้นมา 60 กว่าจุดว่า มาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นที่หายไป 8 แสนล้านบาท

ขณะนี้กลับคืนมา 5 แสนล้านบาทแล้ว และไม่ได้หวังให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น 108 จุด เหมือนที่ตกลงไปเมื่อวานนี้(19ธ.ค.) โดยดัชนีที่ปรับตัวขึ้นมา 60-70 จุด ก็ถือว่าสบายใจได้ และขณะนี้ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมอีก เนื่องจากถึงจุดที่ ธปท.ต้องการแล้ว

คือ ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นต่ออีก และตลาดหลักทรัพย์เริ่มกลับมาแล้ว

การออกมาเปลี่ยนแปลงนโยบาย หรือออกมาดีใจกับการปรับตัวดัชนีตลาดหุ้นของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ในฐานะรมว.คลัง ถือเป็นแสดงอาการรุกรี้รุกรน เพราะเมื่อพิจารณาการซื้อขายของวานนี้(20ธ.ค.)เห็นได้ชัดว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะเมื่อดูตัวเลขการเทขายของนักลงทุนต่างชาติที่มีอยู่ 2872 ล้านบาท

ในขณะที่นักลงทุนสถาบันกลับเข้าซื้อมากถึง 9738 ล้านบาท ซึ่งสิ่งที่เห็นนั้นเกิดขึ้นภายหลังจากแบงก์ชาติเรียกบรรดาโบรกเกอร์ และบลจ.ทั้งหลายเข้าพบเมื่อบ่ายโมงของวันที่ 19

ธ.ค. ส่วนการที่นักลงทุนสถาบันซื้อมากขนาดนี้ โดยสวนทางกับนักลงทุนต่างชาติ จะเป็นการซื้อตามใบสั่งหรือไม่นั้น คงต้องตามไปถามผู้จัดการกองทุนจะรู้ดีที่สุด

เห็นได้ชัดว่าคนที่ออกมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรของค่าเงินบาท คือนางธาริษา ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นร่วงระเนระนาด และถูกนักลงทุนด่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ในขณะที่พระเอกที่ขี่ม้าขาวมายกเลิกมาตรการสำรองเงินทุนต่างชาติ 30% คือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร......................

ล้อมกรอบ

 ธปท. ความเป็นอิสระ และระบบการเมือง

งานวิจัยเรื่อง การเมืองไทย กับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เขียนโดย รศ.ดร.พัชรี สิโรรส และผศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ได้พูดถึงความเป็นอิสระของแบงก์ชาติกับการเมืองไทย ว่า อะไรเป็นสาเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบอนุรักษ์นิยมไว้ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 50 ปี ตั้งแต่มีการสถาปนาธนาคารแห่งนี้ขึ้นมา

โดยงานวิจัยชิ้นนี้ที่คัดลอกมาเพียงบางส่วน ต้องการชี้ให้เห็นว่า ความเป็นอิสระจากแรงกดดันทางการเมืองทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถรักษาจุดยืนในการดำเนินนโยบายการเงินแบบอนุรักษ์นิยมไว้ได้ อย่างไรก็ตามความสามารถในการรักษาความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงเวลากว่า 50 ปี ที่ผ่านมานี้ไม่ได้อยู่คงที่ในบางยุคบางสมัย

ธนาคารฯ สามารถทำงานของตนได้อย่างอิสระ แต่ในบางช่วงความเป็นอิสระของธนาคารฯก็ถูกรบกวนอย่างหนักจนถึงขั้นผู้นำของผู้นำธนาคารต้องลาออก เพื่อเป็นการประท้วงการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือผู้นำธนาคารบางคนถึงขั้นถูกปลดออกเพราะการขัดแย้งกับรัฐบาลอย่างรุนแรง คำถามก็คือ อะไรเป็นสาเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาความอิสระในการทำงานไว้ได้

ในบทนำเราได้ยกแนวคิดของสำนักเศรษฐศาสตร์การเมืองหลาย ๆ คนขึ้นมาเป็นแนวทางอธิบาย แต่กรณีศึกษาธนาคารแห่งประเทศไทยที่เราศึกษาชี้ไห้เห็นข้อสรุปที่น่าสนใจหลายประการนอกเหนือจากที่ทฤษฎีซึ่งเรายกมาได้อธิบายไว้ กล่าวคือ

ระบบการเมือง ช่วงที่เราศึกษาบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วง 50 ปีที่แล้วมา เป็นช่วงที่เกี่ยวกับการเมืองไทยยุคอำนาจนิยมแบบอำมาตยาธิปไตย ยุคประชาธิปไตย

และธิปไตยครึ่งใบ ระบอบการเมืองทีแตกต่างกันมีผลอย่างมากต่อความสามารถของธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาความเป็นอิสระในการทำงานกรณีศึกษาของเราชี้ให้ถึงลักษณะการแบ่งปันอำนาจระหว่างผู้นำการเมืองในยุคต่าง ๆ กับธนาคารแห่งประเทศไทย

การแบ่งปันอำนาจในยุคอำมาตาธิปไตยของจอมพล สฤษดิ์และถนอมนั้น ผู้นำทหารคุมกำลังทัพและปล่อยให้เทคโนแครต เช่น ดร. ป๋วยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างค่อนข้างอิสระ กลุ่มการเมืองอื่นๆ เช่น สื่อมวลชน พรรคการเมือง รัฐสภา ฯลฯ ยังไม่มีบทบาทมากนักภายใต้การปกครองของทหาร ทำให้เทคโนแครตมีอำนาจสูงในการสร้างนโยบาย นำนโยบายมาปฏิบัติและเป็นผู้ประเมินผลของนโยบายเองด้วย

อย่างไรก็ดี กรณีศึกษาของเราชี้ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทหารและเทคโนแครตก็มิใช่ราบรื่นเสมอไป บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมการเมืองแบบอุปถัมภ์ทำความอึดอัดใจมาสู่เทคโนแครตที่มือสะอาด เช่น ดร.ป๋วยก็ใช้ความเฉลียวฉลาดที่จะหลีกเลี่ยงการขดแย้งโดยตรงเสีย และใช้พลังภายนอก เช่น การยอมรับของวงการการเงินต่างประเทศมาเป็นเครื่องต่อรองกับผู้นำการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้นำการเมืองในยุคนี้จึงอยู่ในลักษณะของความร่วมมือมากกว่าการขัดแย้ง

ความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยถูกกระทบกระเทือนมากขึ้น เมือไทยมรการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย ปัญหาเกิดขึ้นเมือนักการเมืองเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่ากี่กระทรวงการคลังและมีนโยบายเศรษฐกิจขยายตัว สภาวะแวดล้อมทางการเมืองยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อยู่ในฐานะจะคัดค้านนโยบายการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มาจากการเลือกตั้งแม้ว่าจะเป็นการขัดกับนโยบายการเงินแบบอนุรักษ์นิยมของธนาคารฯก็ตาม

ทั้งนี้ความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มลดลงเรื่อยๆ เมื่อไทยเข้าสู่การเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ แม้นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม จะให้ความสำคัญกับบทบาทของเทคโนแครต แต่การเมืองที่คณะรัฐมนตรีจำนวนมากมาจากการเลือกตั้ง และฝ่ายบริหารต้องตอบคำถามในรัฐสภา

ทำให้เทคโนแครตไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นอิสระแบบสมัยอำมาตยาธิปไตยของจอมพลสฤษด์และถนอม เทคโนแครตที่คุมกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มมีแนวทางเลือก( Policy Choices) แตกต่างกัน

แม้จะเห็นพ้องกันในเรื่องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจก็ตาม ความขัดแย้งได้นำไปสู่การปลดนายนุกูล ประจวบเหมาะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยยุคนั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคนของตนเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน และนับแต่นั้นมากระทรวงการคลังก็เข้ามาควบคุมการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเต็มที่

ความขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทสไทยปะทุอีกครั้งหนึ่งในระบบการเมืองประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2533 เมื่อนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งได้เข้ามาเป็นรับมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนำไปสู่การปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2534

อย่างไรก็ตาม ภายหลังการปลดนายกำจร สถิรรกุล รัฐบาลได้แต่งตั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยถึงยุคปัจจุบันเป็นคนภายในของธนาคารเองการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้ระบบการเมือประชาธิปไตยเป็นไปในลักษณะประณีประนอม มีความร่วมมือกับกระทรวงการคลังมากขึ้น

โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างใหม่ของนโยบายการเงินแบบเสรี นักการเมืองที่มาจาก

การเลือกตั้ง ดูจะปล่อยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินงานโดยอิสระ ทั้งนี้เพราะทราบดีว่า การปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน จึงค่อนข้างระวังตนในเรื่องนี้ ในการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยุคหลัง ผู้นำการเมืองก็คัดเลือกผู้ที่มีภูมิหลังเป็นเทคโนแครตทางการเงินการคลัง(เช่นดร.วีรพงษ์ รามางกูรนายสุธี สิงห์เสน่ห์นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ฯลฯ)

เพื่อให้เกิดการประสารงานระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ยุทธวิธีดังกล่าวนับว่าเป็นผลดีไม่ปรากฏข้อบาดหมางในการทำงานระหว่างสองสถาบันนี้อย่างที่เป็นมาในอดีต การทำงานของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเต็มไปด้วยบรรยากาศของความร่วมมือร่วมใจในท่ามกลางบรรยากาศการเมืองประชาธิปไตย
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com