May 6, 2024   2:20:46 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > กลุ่มธนาคาร? แบงก์ใหญ่เจ๋ง การแข่งขันสูง = ?ซื้อเมื่ออ่อนตัว
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 03/01/2007 @ 08:23:03
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

?กลุ่มธนาคาร? ภาพรวมในปี50 ขยายตัวต่อเนื่อง จากปัจจัยราคาน้ำมันทรงตัว อัตราดอกเบี้ยปรับลด แต่เชื่อการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น หลายแบงก์จะหันมาเน้นปล่อยสินเชื่อ SME มากกว่ารายย่อย ช่วยให้ธุรกิจดีขึ้น เซียนหุ้นมองการแข่งขันด้าน Retail และธุรกิจ SME สูง แต่แบงก์ใหญ่แกร่งเหตุต้นทุนไม่สูง ทำให้กลุ่มแบงก์น่าลงทุน แนะนำ?ซื้อเมื่ออ่อนตัว?

นายธงชัย เจริญสิทธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวถึงธุรกิจธนาคารพาณิชย์ภายในปี 2550 ว่า การแข่งขันด้านธุรกิจของแต่ละธนาคารจะมีมากขึ้นกว่าทุกปี ซึ่งการแข่งขันดังกล่าวเชื่อว่าน่าจะค่อนข้างรุนแรงพอสมควร ส่วนธุรกรรมของธนาคารที่จะเห็นแข่งขันกันมากในปีนี้ น่าจะเป็นเรื่องของการปล่อยสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) มากกว่าการปล่อยสินเชื่อให้รายย่อย (รีเทล)

ทั้งนี้ มองว่าการที่ธนาคารพาณิชย์ต่างแข่งขันการปล่อยสินเชื่อ SME มากขึ้นเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจปี 2550 จะขับเคลื่อนด้วยภาคการลงทุนแทนการส่งออกชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ที่สำคัญ ราคาน้ำมันดิบ อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางที่ดีขึ้น รวมไปถึงการจัดทำงบประมาณขาดดุลของภาครัฐที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่การแข่งขัน SME จะมีมากขึ้นกว่าปกติ

?ผมคิดว่าปี 2550 เศรษฐกิจยังขยายตัวต่อไปได้ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามากระตุ้น ทั้งในเรื่องของราคาน้ำมันที่น่าจะทรงตัว อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง รวมไปถึงการจัดทำงบประมาณขาดดุล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี ส่วนด้านธุรกิจแบงก์ปีหน้ามองว่าน่าจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านเอสเอ็มอี ดังนั้น แต่ละแบงก์จะมีแคมเปญต่างๆออกมาเพื่อใช้ในการแข่งขัน? นายธงชัย กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก KBANK ถึงแผนการดำเนินงานในปี 2550 โดยธนาคารตั้งเป้าผลประกอบการปี 2550 จะไม่ต่ำกว่าปีนี้แน่นอน เนื่องจากธนาคารมีแผนการลงทุนด้านเทคโนโลยี และบุคลากรโดยการใช้เงินลงทุนสูง เพื่อจะทำให้ Cost to Income Ratio อยู่ที่ประมาณ 55% จากปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 50% ทั้งนี้ ในระยะยาวจะทำให้ธนาคารมีศักยภาพในการทำธุรกิจและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในอนาคต อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารเน้นการลงทุนที่สูง ก็เพื่อต้องการรักษาการเติบโตของผลประกอบการไม่ให้น้อยกว่าปีนี้ เพราะสินเชื่อในปีหน้ายังสามารถเติบโตได้ตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว จึงทำให้ผลประกอบการของธนาคารยังคงจะเป็นไปตามเป้าหมาย

ด้านนายสหัสตรี ทิพยบุตร รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) คาดว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะเติบโตได้ดีและเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ เป็นผลมาจากภาวะอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันดิบที่เริ่มนิ่งและทรงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของธุรกิจธนาคารปีนี้จะมีการแข่งขันที่รุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะการเข้ามาร่วมลงทุนกับธนาคารพาณิชย์ไทยด้วยแล้วยิ่งน่ากลัว ดังนั้น ต้องจับตามองเรื่องนี้ให้ดี เพราะจะทำให้การแข่งขันทางด้านธุรกิจทางการเงินมีมากขึ้นทันที อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ต่างๆได้เตรียมรับมือกับเรื่องนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการบริการที่ต้องมีการพัฒนาให้ดีมากกว่าเดิม

?ธุรกิจแบงก์พาณิชย์ปีหน้าคิดว่าจะมีการแข่งขันมากน้อยแค่ไหน ซึ่งผมคิดว่าขึ้นอยู่กับการเข้ามาลงทุนของต่างชาติว่ามีมากน้อยแค่ไหนเป็นหลักด้วย อย่างกรณีที่จีอีจะเข้ามาร่วมทุนกับธนาคารกรุงศรีฯ ซึ่งจะทำให้แบงก์อื่นต้องเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่มีมากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม มองว่าสิ่งที่ควรปรับปรุงเพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นคือเทคโนโลยีและการบริการ? นายสหัสตรี กล่าว

นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท หลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จำกัด(มหาชน) หรือ ASP ให้ความเห็นว่า กลุ่มธนาคารยังคงถือเป็นหุ้นที่มีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน โดยภาพรวมแล้วการแข่งขันน่าจะเป็นเรื่องของ Retail และธุรกิจ SME ที่เชื่อว่าน่าจะแข่งขันกันมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันการทำธุรกรรมทางการเงินอื่น เช่นการขาย Product Unit Business มากขึ้น ซึ่งผู้นำด้าน SME อย่าง KBANK ที่มี Net Margin อยู่ในระดับสูงที่สุดในกลุ่ม และมี BAY ที่เป็นคู่แข่งรายสำคัญเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาด เนื่องจากมีจุดแข็งเรื่องพันธมิตร

ด้าน บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) (ASL) ออกมาวิเคราะห์ถึงหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ว่า สถาบันการเงินต่างปรับโครงสร้างการถือหุ้นในบ.ย่อย ธพ.ขนาดใหญ่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากเป็นผู้นำในตลาด โดยดำเนินการในรูปแบบ Universal Banking มีความพร้อมทั้งด้านการให้บริการและสาขา และไม่ต้องปรับตัวมาก ทำให้ต้นทุนเพิ่มเติมเกิดขึ้นไม่มาก ขณะที่ธพ.ขนาดเล็กคงต้องลงทุนต่อเนื่องเพื่อขยายเครือข่าย กลุ่มส่วนแบ่งตลาดสูง อาทิ BBL, KTB, KBANK และ SCB ที่มีส่วนแบ่งตลาด 20%, 16.7%, 13.5% และ 12.7% ยังคงเป็นผู้นำ อีกทั้งเงินกองทุนและสำรองที่แข็งแกร่งจะเป็นฐานรองรับความเสี่ยงในการทำธุรกิจในช่วงต่อๆไป พบว่า BBL และ SCB มีระดับเงินกองทุนและสำรองเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ (Equity+Reserve)/Assets สูงในระดับ 15.0% และ 14.6% (เทียบกับเฉลี่ยกลุ่ม ธพ.ที่ 12.5%) สำหรับปี 2550 แนะนำลงทุนใน ธพ.ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นผู้นำตลาด BBL (เป้าหมาย 140 บาท), KTB (เป้าหมาย 14 บาท), KBANK (เป้าหมาย 76 บาท) และ SCB (เป้าหมาย 70 บาท)

สิ่งหนึ่งที่ควรจับตามอง นั่นคือ ?BASEL II? ได้ปรับปรุงมาตรฐานโดยพิจารณาระดับความเพียงพอของเงินกองทุนเทียบกับสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งยังคงใช้ขั้นต่ำที่ 8% (ไทยใช้ 8.5%) แต่ปรับการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยง (credit risk) และเพิ่มการวัดความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (operational risk) เข้ามาเป็นฐานในการคำนวณเงินกองทุน กฎเกณฑ์ที่เข้มข้นจะทำให้ธนาคารแข็งแกร่งขึ้น ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ เกณฑ์ปัจจุบันสินเชื่อทั่วไปมีน้ำหนักความเสี่ยงที่ 100% ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยมีน้ำหนักความเสี่ยง 50% ส่วนเกณฑ์ใหม่ (standardized approach) สินเชื่อรายใหญ่มีน้ำหนักความเสี่ยง 100% สินเชื่อที่อยู่อาศัยมีน้ำหนักความเสี่ยงลดลงเป็น 35% สินเชื่อ SMEs มีน้ำหนักความเสี่ยง 75% ส่วนสินเชื่อที่เป็น NPLs มีน้ำหนักความเสี่ยง 150% ผลคือทำให้ธนาคารคงต้องปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับความเสี่ยง ซึ่งปีหน้าสถาบันการเงินคงต้องเร่งลด NPLs ลงเพื่อเตรียมรับ BASEL II นอกจากนี้ ปี 2551 ยังจะมีเรื่อง FTA ไทย-สหรัฐฯ (รอเจรจากับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง) ซึ่งสหรัฐฯพยายามผลักดันให้ไทยเปิดเสรีด้านการเงิน

ปิดท้ายด้วย ช่วง 9 เดือนแรกปี 2549 ส่วนต่างดอกเบี้ย (Net Interest Margin: NIM) ของ ธพ.ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 3.16% จากปี 2548 ที่ 2.85% และปี 2547 ที่ 2.55% นอกจากนี้ ปลายปี 2549 สถาบันการเงินบางแห่งก็ได้ออกตราสารกึ่งทุนหรือ Hybrid Tier1 ระดมทุนเสริมเงินกองทุน อาทิ KTB และ TMB คาดว่า NIM โดยรวมของระบบในปี 2549 จะอยู่ที่ประมาณ 3% และลดลงเป็น 2.8% ปลายปี 2550 (NIM เฉลี่ยช่วง 9 เดือนแรกของ BBL, KBANK และ SCB อยู่ที่ 3.0%, 3.9% และ 3.3% ตามลำดับ) สำหรับปี 2550 ธนาคารส่วนใหญ่ตั้งเป้าที่จะรักษา NIM ไว้ใกล้เคียงเดิมถึงลดลงเล็กน้อย

มุมมองทางเทคนิค เราพบว่าการปรับตัวสูงขึ้นเป็น up trend แต่จะมีการอ่อนตัวลงเล็กน้อยเนื่องจาก MACD ปรับฐาน โดยมีแนวรับประมาณ 244-250 จุด ซึ่งเป็นแนวรับที่น่าสนใจ กลยุทธ์ : ซื้อเมื่ออ่อนตัว

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com