May 11, 2024   5:32:46 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > อย่าเพิ่งดีใจเห็นหุ้นบวกแรง
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 11/01/2007 @ 21:04:26
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

วงการ เตือน ดัชนีฯขาขึ้นแค่ภาพลวงตา ต่างชาติซื้อก็จริง แต่คาดแค่ทำ Cover Short ซื้อจนพอใจเมื่อไหร่ก็หยุด และตลาดฯอาจกลับไปซึมเหมือนเดิมอีก ขณะที่ Citigroup แจกข่าวร้ายซ้ำเติมแนะลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นไทย ปรามาสอีกไม่นานดัชนีแตะ 550 จุดแน่ เหตุขาดปัจจัยบวก แถมการแก้ไขกม.ต่างด้าวยังทำร้ายจิตใจนักลงทุนต่างชาติต่อไป ส่วน Credit Suisse เตือนผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กระทบภาวะการลงทุน เหตุฝรั่งกลัวไทยปิดประเทศ ขณะที่ ASP เปิดโผ 10 บจ. ที่เข้าข่ายบัญชี 1-3 และมีต่างชาติถือหุ้นเต็มเพดานหรือใกล้เต็มเพดานที่อัตรา 49% ต้องสงสัยว่ามีนอมินี คือ SHIN- ADVANC - ITV- UCOM- PDI- RAIMON- GOLD- RANCH- GRAND- KTP

กลับมาคึกคักและมีบรรยากาศการลงทุนที่ดีอีกครั้ง สำหรับตลาดหุ้นของไทย หลังจากที่เริ่มเปิดศักราชใหม่ในปีหมู ดัชนีส่อแววซบเซาต่อเนื่องจากปลายปี และปรับตัวลดลงติดต่อกันมาตลอด เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดพื้นที่ในกรุงเทพมหานครถึง 8 จุด เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2549 รวมไปถึงล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ 9 ม.ค. ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่างพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าวฉบับแก้ไข จนกดดันดัชนีฯ ให้ไม่สามารถปรับตัวขึ้นมาได้ ผสมกับก่อนหน้าเรื่องมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าไปอีกจึงทำให้หนทางของตลาดหุ้นไทยดูมืดมน ต่างชาติขาดความเชื่อถือ การลงทุนหมดเสน่ห์

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมาซึ่ง ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงให้ทางหอการค้าต่างประเทศ และผู้ประกอบการต่างประเทศรับทราบ ถึงรายละเอียดต่างๆรวมไปถึงความจำเป็นในการแก้กม.ต่างด้าว จึงทำให้ภาวะการลงทุนเริ่มกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง ซึ่งดัชนีสามารถพลิกกลับมาปิดตลาดในแดนบวกได้กว่า 5 จุด และวานนี้ (11 ม.ค.) ดัชนีก็ยังคงปรับตัวขึ้นต่ออีก โดยปิดที่ระดับ 637.63 จุด เพิ่มขึ้นถึง 15.36 จุด มีมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 21,535.93 โดยหุ้นในกลุ่มบิ๊กแคปต่างปรับตัวขึ้นแทบทั้งหมดทั้งในกลุ่มพลังงาน ธนาคารพาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง ในขณะที่ปัจจัยลบอื่นก็ยังไม่มีเข้ามากระทบตลาดด้วย


* วงการ ชี้ คาดฝรั่งซื้อเพื่อทำ Cover Short
แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์ กล่าวกับ eFinanceThai.com ว่า การปรับตัวขึ้นของดัชนีฯ ในช่วง 2 วันที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องที่ดี ทำให้บรรยากาศการลงทุนที่ไม่ดีตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีที่แล้ว จนมาถึงขึ้นปีใหม่ในปีนี้ สดใสขึ้น โดยเฉพาะวานนี้แรงซื้อส่วนใหญ่ที่เข้ามานั้นเป็นแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหุ้นบิ๊กแคป หรือหุ้นขนาดใหญ่ปรับตัวขึ้นมาหมด แต่อย่างไรก็ตามการซื้อครั้งนี้ไม่ได้เป็นการเข้ามาซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว คาดว่าน่าจะเป็นการซื้อหุ้นเพื่อทำ Cover Short ของนักลงทุนกลุ่มนี้ จากก่อนหน้าที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมามากแล้ว เพราะฉะนั้นจากนี้ไปสิ่งต้องติดตามก็คือแรงซื้อนี้จะอยู่อีกนานเพียงใด และจะผลักดันให้ดัชนีฯ ปรับขึ้นได้ต่ออีกหรือไม่และจะยืนระยะเวลาได้นานเพียงใดด้วย
แรงซื้อที่เข้ามานั้น มีต่อเนื่องตลอดทั้งช่วงเช้าและบ่าย โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มแบงก์ที่มีเข้ามาอย่างหนาแน่นทีเดียว แต่ผมห่วงว่าเงินพวกนี้จะเข้ามาอีกนานแค่ไหน เพราะการทำ Cover Short ของฝรั่งก็ต้องมีการกำหนดเวลาไว้ หากถือว่าซื้อจนถึงจุดที่พอใจแล้วก็อาจจะหยุดซื้อ และตลาดฯก็อาจจะกลับไปเป็นแบบเดิมอีก เพราะอย่าลืมว่าตอนนี้ภาวะตลาดฯโดยรวมใช่ว่าจะดีจริง เมื่อมองจากปัจจัยแวดล้อมตอนนี้ ที่ต่างชาติส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยใจนัก ทั้งเรื่องมาตรการกันสำรอง 30% ที่ธปท. ยังไม่ยอมยกเลิก แล้วยังมีเรื่องการแก้ไขกม. ต่างด้าวที่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยยอมรับและไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลประกาศใช้ แม้ว่าหม่อมอุ๋ยจะชี้แจงไปแล้วก็ตาม และพร้อมที่จะขยายเวลาการลดสัดส่วนออกไปให้ก็ตาม เพราะต่างชาติมองว่าไม่มีจะดีกว่า แหล่งข่าว กล่าว

วานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,058. 04 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 135.70 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 2,193.73 ล้านบาท

นอกจากนี้ เขากล่าวว่า ในวันนี้ยังต้องติดตามอีกด้วยว่าดัชนีจะวิ่งแรงต่ออีกหรือไม่ เพราะปกติแล้วในวันศุกร์นักลงทุนอาจไม่ต้องการถือหุ้นข้ามสัปดาห์ ประกอบการสถานการณ์ในขณะนี้ก็ยังไม่น่าไว้วางใจนัก ความกังวลเรื่องการก่อเหตุบอลวางระเบิดในวันเด็ก หรือวันเสาร์ที่จะถึงนี้ยังมีอยู่ แม้รัฐบาลจะยืนยันว่าดูแลรักษาความปลอดภัยได้ก็ตาม ดังนั้นหากมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นอีก ตลาดหุ้นก็น่าจะเป็นด่านแรกที่จะได้รับผลกระทบดังกล่าว เพราะฉะนั้นนักลงทุนจึงไม่อยากเสี่ยงเก็บหุ้นเอาไว้ ซึ่งวันนี้คงต้องเกาะติดว่าดัชนีฯ จะเคลื่อนไหวอย่างไร

อย่างไรก็ตามใช่ว่าตลาดฯ จะไม่มีปัจัยบวกเลย เพราะหากพิจารณาจากปัจจัยการเมืองภายในประเทศขณะนี้สถานการณ์น่าจะเริ่มคลี่คลาย และเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประกาศยุติบทบาททางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่น่าจะช่วยลดกระแสความเคลื่อนไหวของคลื่นใต้น้ำไปได้ รวมไปถึงกรณีที่รัฐบาลยกเลิกพาสปอร์ตการฑูตของอดีตนายกฯ และภริยาด้วยเช่นกัน ขณะที่วานนี้การหารือและร่วมรับประทานอาหารของ พลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และ พล.ต.อ. โกวิทย์ วัฒนะ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้ภาพความขัดแย้ง แลข่าวลือการปลดผู้บัญชาสำนักงานตำรวจแห่งชาติลดลงไป ตลอดจนวานนี้ การเข้าพบ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่บ้านพักสี่เสาฯ ก็น่าจะช่วยให้บรรยากาศความตึงเครียดทางการเมืองลดลงไปได้บ้างเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้น่าจะเป็นเรื่องดีต่อตลาดหุ้นได้บ้าง

คงต้องมาลุ้นกันว่าตลาดฯวันนี้เป็นอย่างไร ถ้าฝรั่งยังซื้ออยู่ ก็เชื่อว่าดัชนียังไปต่อ เว้นแต่จะเลิกซื้อ และมีปัจจัยลบอะไรเข้ามากระทบอีก เพราะฉะนั้นนักลงทุนไทยเองตอนนี้อย่าเพิ่งประมาท คิดว่าตลาดหุ้นเป็นขึ้นแล้ว การลงทุนยังต้องระมัดระวัง เพราะเราไม่รู้ว่าครั้งนี้ของจริงหรือปล่าว อย่าลืมว่าตอนนี้ความเชื่อมั่นของต่างชาติหดหายไปมากแล้ว อีกทั้งประเด็นเรื่องกม.นอมินี นั้นก็ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันตลาดหุ้นอยู่ ดังนั้นจึงยังไม่น่าวางใจ แหล่งข่าว กล่าว


* Citigroup แนะ ลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นไทย มองดัชนีแตะ 550 จุดแน่
บทวิเคราะห์การลงทุนโดย Citigroup เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 ระบุว่า Citigroup ยังคงคำแนะนำลดน้ำหนักการลงทุนตลาดหุ้นไทย โดยมองว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย หรือ SET Index มีแนวโน้มปรับลดลงสู่ระดับ 550 จุดในระยะสั้น อันเป็นผลจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่ถดถอย หลังคณะมนตรีไทยเห็นชอบให้มีการแก้ไขกฎหมายการประกอบกิจการของคนต่างด้าว

โดย Citigroup คาดว่า ในที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเห็นชอบการแก้ไขกฎหมายการประกอบกิจการต่างด้าว ซึ่งจะกดดันให้นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยลดน้ำหนักการลงทุนหุ้นไทย และจากการที่ตลาดยังคงขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ คาดว่า SET Index จะปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดของปีให้ได้เห็นในระยะสั้น

ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปลงทุนโดยตรงในไทยอาจเกิดความลังเลจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดย Citigroup มองว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ออกมาไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาในปัจจุบัน เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในระยะยาวอยู่ช่วงชะลอตัว ซึ่งยังต้องอาศัยเม็ดเงินลงทุนใหม่เพื่อกระตุ้นการขยายตัว นอกจากนี้ ยังออกมาในช่วงที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคธุรกิจกำลังชะลอตัว

ทั้งนี้ จากปัจจัยลบที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ Citigroup ยังคงคำแนะนำ ลดน้ำหนักการลงทุนตลาดหุ้นไทย เนื่องจากยังไม่เห็นปัจจัยสนับสนุน และยังไม่มีโอกาสปรับขึ้นในระยะอันใกล้

อย่างไรก็ดี Citigroup ประเมินว่าแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติจะเริ่มชะลอลงในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า หลังทยอยเทขายเพื่อลดความเสี่ยงมาอย่างต่อเนื่อง



* Credit Suisse ชี้ พ.ร.บ.ต่างด้าวยังกระทบภาวะการลงทุนในหุ้น-ฝรั่งกลัวไทยปิดประเทศ
บทวิเคราะห์การลงทุนโดย Credit Suisse วันที่ 10 มกราคม 2550 ระบุ การแก้ไขกฎหมายการประกอบกิจการของต่างด้าวที่ได้รับความเห็นชอบจากในหลักการจากคณะรัฐมนตรีไทยไปแล้วนั้นมีผลกระทบที่จำกัดต่อบริษัทจดทะเบียนของไทย โดยมีเพียง 8 บริษัทเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ

Credit Suisse ระบุว่า บริษัทจดทะเบียนที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวได้แก่ SHIN ITV ADVANC UCOM TAG BIGC MAKRO และ SCCC โดยประเมินว่า ภายหลังการแก้ไขดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว นักลงทุนต่างชาติที่ถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้จำเป็นต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่กำหนด ซึ่งคาดว่า มูลค่าหุ้นที่ต้องขายออกมาผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์

โดยการรวบรวมข้อมูลการถือหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติทั้งโดยตรงและโดยผ่านบริษัทตัวแทน หรือ นอมินี พบว่า สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทั้ง 8 แห่งมีดังนี้

1. SHIN ต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วน 75%
2. ITV ต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วน 55%
3. ADVANC ต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วน 64%
4. UCOM ต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วน 86%
5. TAC ต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วน 78%
6. BIGC ต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วน 63%
7. MAKRO ต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วน 61%
8. SCCC ต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วน 45%

อย่างไรก็ดี แม้การแก้ไขกฎหมายการประกอบกิจการของต่างด้าวจะกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนของไทยไม่กี่บริษัท แต่ Credit Suisse เชื่อว่า เป็นปัจจัยลบต่อภาวะตลาดหุ้นโดยรวมของไทย เนื่องจากอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้าใจว่าไทยจะกลับไปใช้ดำเนินนโยบายกีดกันการลงทุนจากต่างชาติ หลังจากได้ใช้นโยบายเปิดกว้างทางเศรษฐกิจมานับตั้งแต่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ


*ASP ระบุ 10 บจ.เข้าข่ายนอมินี - ปรับเป้าดัชชนีปีนี้เหลือ 592 จุด หลังปัจจัยลบเพียบ

บทวิจัยของ บล.เอเซียพลัส ให้ความเห็นกรณีพ.ร.บ.ต่างด้าวใหม่ ว่า นิยามต่างด้าวใหม่ พิจารณา Voting Right กับการถือหุ้นของต่างด้าวการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มุ่งไปที่ 4 ประเด็นคือ 1) นิยามของคนต่างด้าวใหม่ ให้รวมสิทธิในการลงคะแนนเสียงควบคุมกิจการของต่างชาติ 2) ลดธุรกิจในบัญชี 3 กรณีที่มีกฏหมายเฉพาะธุรกิจ บังคับออกไปเพื่อลดความซ้ำซ้อน 3) เพิ่มบทลงโทษเงินค่าปรับเป็น 5 เท่าตัวจากเดิม และ

4) เพิ่มบทบัญญัติ ให้แจ้งแก่กระทรวงพาณิชย์ภายในระยะเวลา 90 วัน และ ต้องดำเนินการแก้ไขภายใน 1-2 ปี 4) ผลกระทบต่อตลาดในวงกว้างราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง หลัง ครม. ผ่านร่างแก้ไข พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แม้ข้อมูลที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ จะบ่งบอกว่ากิจการที่เข้าข่ายบัญชี 1-3 ถือหุ้น โดยชาวต่างชาติไม่เกิน 50% ก็ตาม แต่เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การถือหุ้นผ่านนอมินีของบริษัทจดทะเบียนน่าจะมีในวงกว้าง จึงได้รับการต่อต้านจากนักลงทุนต่างชาติ

ฝ่ายวิจัยคาดว่าหุ้นที่ประกอบการกิจการที่เข้าข่ายบัญชี 1-3 และมีต่างชาติถือหุ้นเต็มเพดานหรือใกล้เต็มเพดานที่อัตรา 49% น่าจะมีความเสี่ยงที่เข้าข่ายต้องสงสัยว่ามีนอมินี คือ SHIN, ADVANC, ITV, UCOM, PDI, RAIMON, GOLD, RANCH, GRAND, KTP

ปรับเป้าหมายดัชนีปี 2550 ลงเหลือ PER 8 เท่า ปัจจัยลบกดดันตลาดมากมาย โดยยังไม่เห็นปัจจัยบวกในระยะสั้น คาดว่าดัชนียังมีโอกาสปรับ ตัวลดลงไปทดสอบที่ PER 8 เท่า หรือสิ้นปี 2550 ที่ 592 จุด (down size 3.2%) ทั้งนี้ยังคงสมมติ ฐาน EPS ตลาดคงเดิมที่ 74.1 บาท/หุ้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยมีแนวโน้มจะปรับลดน้ำหนักหุ้นรายกลุ่ม และหุ้นรายตัวลง ดังนี้คือ สื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มจะปรับลด Fair Value ของหุ้นรายตัว โดยปรับลงตามวิธีอ้างอิงเช่น PER, PBV หรือ DCF ตามความเสี่ยงของประเทศที่สูงขึ้น โดยจะนำเสนอรายงานต่อไป[/color:de5f066975">

.00020

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 11/01/2007 @ 21:06:21 : re: อย่าเพิ่งดีใจเห็นหุ้นบวกแรง
*หลักการของกฎหมาย จำกัดกรอบการทำธุรกิจของต่างด้าว
พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่ใช้ในการกำหนดกรอบในการทำธุรกิจของ บุคคลต่างด้าว ทั้งประเภทบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายได้กำหนดบัญชีประเภทธุรกิจที่ห้ามคนต่างด้าวประกอบการแสดงไว้เป็นบัญชีที่ 1 และประเภทธุรกิจที่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่ระบุตามกฎหมาย ก่อนดำเนินการ ซึ่งกำหนดเป็นบัญชีที่ 2 และ 3 ทั้งนี้ในกฎหมายกำหนดนิยามของนิติบุคคลต่างด้าวว่า เป็นนิติบุคคลที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวเกิน 50% สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้กำหนดในบัญชีที่ 1,2,3 และกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับในแต่ละประเภทธุรกิจ คนต่างด้าวสามารถประกอบการได้ตามปกติเช่นเดียวกับคนไทยการแก้ไขมี 4 ประเด็น แต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องนิยาม

ฝ่ายวิจัยไม่ได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ของร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แต่จากการประเมินข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ พอสรุปได้ว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีอยู่ 4 ส่วนหลักคือ

1. นิยามของคนต่างด้าว จากเดิมที่จะพิจารณาในแง่ของสัดส่วนการถือหุ้น แต่ร่างแก้ไขกำหนดให้พิจารณาสิทธิในการลงคะแนนเสียงควบคุมกิจการด้วย โดยหากพบว่าคนต่างด้าวมีสิทธิในการลงคะแนนเกิน 50% ถือเป็นนิติบุคคลต่างด้าวด้วย

2. มีการปรับปรุงบัญชีที่ 3 โดยแยกประเภทธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะบังคับออกไป เนื่องจากเห็นว่าเป็นการบังคับที่ซ้ำซ้อน ซึ่งจะทำให้บัญชี 3 มีน้อยลง เช่น ธุรกิจสื่อสาร ธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจค้าปลีก

3. เพิ่มบทลงโทษ (มาตรา 37) โทษของการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ดังกล่าว มีทั้งโทษจำคุก และโทษปรับ ซึ่งในการแก้ไข กำหนดให้โทษจำคุกยังอยู่ที่เดิมคือ 3 ปี ส่วนโทษปรับเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัว

4. เพิ่มเติมบทบัญญัติ เรื่องช่วงในการแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ นิติบุคคล ที่ถูกตีความว่าเป็นนิติบุคคลต่างด้าวตามร่างกฎหมายที่มีการแก้ไขใหม่ ต้องแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน 90 วัน หลังจากนั้น ข้อผิดพลาดในส่วนของสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลต่างด้าวที่เกิน 50% ให้แก้ไขภายใน 1 ปี ส่วน ข้อผิดพลาดเรื่องสิทธิการลงคะแนนเสียงของคนต่างด้าวให้แก้ไขภายใน 2 ปี อย่างไรก็ตามในส่วนของบัญชี 3 ให้แก้ไขเฉพาะสัดส่วนการถือหุ้น ส่วนสิทธิการออกเสียง ไม่จำเป็นต้องแก้ไข เห็นได้ว่า ร่างแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มีส่วนที่อาจเป็นโทษต่อคนต่างด้าว ในประเด็นของคำจำกัดความของคนต่างด้าว ซึ่งอาจทำให้หลายบริษัทที่เดิมถือเป็นนิติบุคคลไทย กลายสภาพเป็นนิติบุคคลต่างด้าว ซึ่งต้องถูกจำกัดสิทธิในการดำเนินธุรกิจ อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นโทษ ก็คือเรื่องบทลงโทษ ซึ่งเพิ่มอัตราค่าปรับให้สูงขึ้น 5 เท่าตัว ธุรกิจที่รับ BOI และธุรกิจที่มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศได้รับยกเว้น

พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้กำหนดข้อยกเว้นสำหรับเปิดทางให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำธุรกิจในตามที่ระบุในบัญชี 1,2 และ 3 ไว้ 3 กรณีคือ
1. กรณีที่กิจการดังกล่าวได้รับการส่งเสริมการลงทุน หรือ
2. ได้รับอนุญาตให้ประกอบอุตสาหกรรม หรือการค้าเพื่อการส่งออก ตามกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรม หรือตามกฎหมายอื่น
3. การประกอบธุรกิจโดยสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี หรือมีความผูกพันตามพันธะกรณี ให้ได้รับการยกเว้นร่างแก้ไขฯ จะมีผลบังคับใช้หลังผ่าน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังจากที่ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ผ่านการพิจารณาของ ครม. แล้ว กระบวนการต่อไป ครม. จะส่งร่างฯ ให้กับคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อทำการตรวจสอบรายละเอียดและปรับปรุงถ้อยความทางกฎหมาย หลังจากนั้น จะนำร่างฯ เสนอให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา ซึ่งในกระบวนการนี้ อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือจะอนุมัติ หรือไม่อนุมัติก็เป็นไปได้ ทั้งนี้กรอบเวลาในการพิจารณาไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด และเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าอาจใช้ระยะเวลาไม่นาน เหมือนการแก้ไขกฎหมายก่อนหน้านี้ เพราะก่อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อ 19 ก.ย.2549 การผ่านกฎหมาย ต้องผ่านการพิจารณาของทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

* ผลกระทบอาจกระจายวงกว้าง และอาจสร้างปัญหาในทางปฏิบัติ
ฝ่ายวิจัยได้คัดกรองหุ้นที่มีนักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนการถือหุ้นสูงสุด 40 อันดับแรก ณ ธันวาคม 2549 ดังนี้

บริษัท ข้อจำกัดการถือหุ้น สัดส่วนการถือหุ้น หมายเหตุ
ต่างด้าว (%) จริงของต่างด้าว (%) เกี่ยวกับประเภทธุรกิจ
SCBT 25.00 99.83 พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ฯ
HT 100.00 97.33 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
AA 100.00 95.87 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
CCET 100.00 92.17 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
DELTA 100.00 90.72 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
MPT 100.00 89.67 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
IRP 100.00 87.23 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
BATA 65.00 85.72 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
TYCN 100.00 83.83 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
HFT 100.00 82.38 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
METCO 100.00 81.81 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
UOBKH 100.00 79.87 บัญชี 3 แต่ได้รับยกเว้น
HANA 100.00 79.05 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
TSTH 100.00 77.65 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
DSGT 100.00 77.41 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
LTX 80.00 74.93 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
PTL 100.00 74.83 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
GYT 100.00 73.16 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
SVI 100.00 72.75 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
KWH 90.00 66.67 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
KEST 100.00 64.80 บัญชี 3 แต่ได้รับยกเว้น
ALUCON 85.00 60.79 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
CEI 100.00 57.29 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
TTTM 56.00 56.00 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
VNT 65.00 51.98 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
TUNTEX 100.00 51.64 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
GLOW 100.00 49.53 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
SIS 100.00 49.51 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
RANCH 49.00 49.00 บัญชี 1
AH 49.00 49.00 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
PDI 49.00 49.00 บัญชี 2
SINGER 49.00 49.00 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
BIGC 49.00 49.00 พ.ร.บ.ค้าปลีกฯ
RAIMON 49.00 49.00 บัญชี 1
GOLD 49.00 49.00 บัญชี 1
KBANK 48.98 48.97 พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ฯ
GRAND 49.00 48.94 บัญชี 3
UCOM 49.00 48.88 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม
TAF 49.00 48.88 บัญชี 3
AEONTS 49.00 48.87 ไม่อยู่ในบัญชี 1,2 และ 3
KTP 49.00 48.78 บัญชี 1

ทั้งนี้การตรวจสอบสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างด้าว ณ เดือน ธันวาคม 2549 ยังไม่พบว่า มีบริษัทจดทะเบียนรายใด ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างด้าวจริง เกิน 50% แล้วทำธุรกิจภายใต้บัญชี 1,2 และ 3 แต่มี 10 บริษัทที่ต้องติดตาม เนื่องจากมีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ใกล้เต็มเพดาน และประกอบธุรกิจอยู่ในบัญชี 1 ? 3 ได้แก่ SHIN, ADVANC, ITV, UCOM, RANCH, PDI, RAIMON,GRAND, GOLD และ KTP นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยเห็นว่ายังมีบางประเด็นที่สร้างความกังวล

1. หลายกิจการที่ปัจจุบันถือเป็นนิติบุคคลไทย เนื่องจากมีสัดส่วนการถือหุ้นของคนไทยเกิน 50% แต่ภายใต้โครงสร้างการถือหุ้นที่เป็นชื่อคนไทยดังกล่าว อาจมีบางส่วนที่เป็นการถือหุ้นแทนคนต่างด้าวและหากถูกตรวจสอบพบในภายหลัง ก็จะต้องดำเนินการแก้ไข เช่นกัน

2. อาจมีหุ้นบางส่วนที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติ แต่ยังไม่มีการปิดโอนทางทะเบียน ซึ่งหุ้นในส่วนดังกล่าวอาจมีแรงกดดันให้ขายออกมา

3. หอการค้าต่างชาติได้ตั้งประเด็นขึ้นมาว่า หากมีเหตุที่ต้องทำการปรับลดสัดส่วนการลงทุน เม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนไทย จะสามารถรองรับการปรับลดสัดส่วนการลงทุนได้หรือไม่

4. ในทางปฏิบัติอาจมีปัญหาในการตรวจสอบ โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิการลงคะแนนเสียงเพื่อควบคุมทิศทางของบริษัท เนื่องจากการที่จะบ่งชี้ว่าผู้ถือหุ้นรายใดลงคะแนนเสียงแทนคนต่างด้าวน่าจะเป็นเรื่องยาก และอาจกลายเป็นการเลือกปฏิบัติ
5. การค้าที่ดิน ถือเป็นธุรกิจควบคุมในบัญชี 1 หากตรวจพบว่าผู้ประกอบการรายใดเป็นนิติบุคคลต่างด้าว จะต้องทำการแก้ไขทันที


.00020
[/color:bcac3aac07">
 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#2 วันที่: 11/01/2007 @ 21:09:19 : re: อย่าเพิ่งดีใจเห็นหุ้นบวกแรง
*ผลกระทบต่อหลักทรัพย์
ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตอบรับด้านลบอย่างต่อเนื่อง หลัง ครม. ผ่านร่างแก้ไข พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แม้ข้อมูลที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ จะบ่งบอกว่ากิจการที่เข้าข่ายบัญชี 1-3 การถือหุ้นโดยชาวต่างชาติไม่เกิน 50% ก็ตาม แต่ตรงนี้น่าจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า การถือหุ้นแฝง ผ่านนอมินีของบริษัทจดทะเบียน น่าจะมีในวงกว้าง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดขณะนี้มีตัวอย่าง อย่างน้อย 2 บริษัทที่เชื่อว่ามีนอมินีเกิดขึ้น SHIN เป็นบริษัทที่เข้าข่ายมีนอมินี

โดยปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้มีการไต่สวน บจ. กุหลาบแก้ว ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอ้อมใน SHIN ว่าเป็นนอมินีหรือไม่ ในเบื้องต้นมีข้อมูล ทำให้เชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะเป็นนอมินี แต่ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบของตำรวจ ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะผิดไม่ใช่แต่เพียง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แต่จะผิดกฎหมาย พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่ห้ามคนต่างด้าวดำเนินการ รายละเอียดภาพดังปรากฏในภาพด้านล่าง หาก SHIN เข้าข่ายเป็น นอมินี คาดว่าบริษัททั้ง ADVANC และ ITV น่าจะเข้าข่ายมีนอมินีเช่นกัน

UCOM เชื่อว่าสภาพน่าจะคล้ายคลึงกับ ADVANC เพราะแม้ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นต่างชาติถืออยู่ 49% แต่ปัจจุบันผู้ถือหุ้นไทยกลุ่มเดิม (ครอบครัวเบญจรงคกุล) ได้ขายหุ้นให้กับกลุ่มเทเลนอร์ ไปหมดแล้ว จึงมีมูลทำให้เชื่อว่าน่าจะมีนอมินีถือหุ้นบางส่วน


*ดัชนีตลาดไทยกำลังทดสอบ PER 8 เท่า
คาดการณ์ PER ตลาดเป็นรายไตรมาส
(เท่า) มี.ค.50 มิ.ย.50 ก.ย.50 ธ.ค.50
PER 8 571.86 578.84 585.82 592.80
PER 9 643.34 651.20 659.05 666.90
PER 10 714.83 723.55 732.28 741.00
PER 11 786.31 795.91 805.50 815.10
PER 12 857.79 868.26 878.73 889.20
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASP

การแก้ไข พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของต่างด้าว นับเป็นนโยบายที่กดดัน และซ้ำเติมตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจากมาตรการตั้งสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% และเหตุวางระเบิดป่วนเมืองในช่วงเทศกาลปีใหม่จึงคาดว่าตลาดหลักทรัพย์ยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลงต่อ แม้ว่าดัชนีตลาดได้ปรับตัวลดลง 125 จุด นับจากวันที่ประกาศใช้มาตรการสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศในวันที่ 18 ธ.ค. 2549 จนปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมีค่า PER เพียง 8.65 เท่า โดยคาดว่าเป้าหมายในระยะสั้นน่าจะไปทดสอบ PER ที่ 8 เท่า หรือ592 จุด ณ สิ้นปี 2550 โดยยังคงสมมติฐานให้ EPS ของตลาดอยู่ที่ 74.1 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่คาดไว้ที่หุ้นละ 70.61 บาท

ผลกระทบจากการปรับเป้าหมายดัชนีตลาด โดยการลดวิธีการคำนวณมูลค่าหุ้นดังกล่าว ทำให้ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างทบทวนปรับลด Fair Value หุ้นในปี 2550 ลง ตามวิธี PER, PBV หรือ DCF สำหรับ DCF อาจจะต้องปรับเพิ่ม Risk Premium ซึ่งปัจจุบันใช้อยู่ที่ 7.6% ขึ้นเป็น 8% รวมถึงการเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนรายกลุ่ม ทั้งนี้ยังไม่ได้คำนึงถึงโอกาสการปรับลดประมาณการกำไรของรายบริษัทที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ภายหลังจากที่ปัจจัยการเมืองเริ่มทวีบทบาทมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2550 มีแนวโน้มจะย่ำแย่กว่าคาด


* SCIBS ชี้มีแค่ SHIN- ADVANC - UCOM- ITV กระทบจากกม.ต่างด้าว
ด้านบทวิจัยของ บล.นครหลวงไทย ประเมินรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจต่างด้าว พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ นอกเหนือจากสร้างความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะการลงทุนในประเทศไทย ต่อสายตานักลงทุนต่างชาติแล้ว SCIBS เชื่อว่า ผลกระทบสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีเพียง 4 บริษัท เท่านั้น ได้แก่ SHIN / ADVANC / UCOM / ITV ซึ่งเข้าข่ายประเด็นของบริษัทไทยถือหุ้นแทนต่างชาติ (Nominee) และผิดเงื่อนไขในบัญชีที่ 1 และ 2

กลุ่ม SHIN ดูจะมีความเสี่ยงของธุรกิจที่ตามมามากที่สุด ตามคำนิยาม Nominee ใหม่ เนื่องจาก บริษัทกุหลาบแก้ว เข้าข่ายเป็น Nominee ซึ่งจะทำให้ SHIN กลายสภาพเป็นบริษัทต่างชาติอย่างแท้จริง ทางออกที่จะทำให้บริษัทลูก / บริษัทย่อย ยังคงความเป็นบริษัทไทย และประกอบธุรกิจภายใต้สัญญาสัมปทานได้คือ กลุ่มเทมาเส็กต้องยอมลดสัดส่วนการถือหุ้นใน SHIN ลงเหลือเพียง 49% ตามร่างพ.ร.บ.ใหม่นี้ โดยต้องขายหุ้น SHIN ออกมาถึง 1,510.6 ล้านหุ้น ภายใน 1 ปี ซึ่งจะเกิด Selling Pressure ต่อระดับราคาหุ้น SHIN

ขณะที่กลุ่ม UCOM ซึ่งอาจเข้าข่าย Nominee แต่ขณะนี้ทางการยังไม่หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาพิจารณา หากร่างกฎหมายมีผลบังคับใช้ UCOM สามารถดำเนินการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น และสิทธิ์ในการออกเสียงให้สอดคล้องกับบัญชี 2 ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด แต่ผลที่จะตามาคือ Selling Pressure ของ UCOM จำนวน 172.14 ล้านหุ้น

หลังจากพิจารณาในรายละเอียด และได้รับคำยืนยันจากบริษัทจดทะเบียน พบว่ามี 11 บริษัทที่ไม่ได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ PSL, TTA, RCL, EGCOMP, PDI, MAKRO, BIGC, RAIMON, KTP, TYONG, MINT

แต่ประเด็นสำคัญที่ตามมา หากร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้จริง SCIBS ประเมิน 2 ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องหลังจากนี้คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง SCIBS ประเมินว่าโครงการประเภทวิลล่า ที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นต่างชาติ จะได้รับผลกระทบสูงสุด ตามคำนิยามบริษัทต่างด้าวใหม่ ซึ่ง CI มีโครงการศรีพันวา เป็นแบบวิลล่าในภูเก็ต ขณะที่ผู้ประกอบการคอนโดมิเนียมจะได้รับประโยชน์ดังกล่าว ซึ่งไม่ขัดต่อร่างกฎหมายดังกล่าว SCIBS ประเมินว่า RAIMON จะได้รับประโยชน์ส่วนนี้ ที่มีฐานลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ

นอกจากนี้ SCIBS ประเมินว่า ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ไม่ได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่จะได้รับผลกระทบจากร่างพ.ร.บ.ค้าปลีก ที่คาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในสัปดาห์หน้า (15-29 ม.ค.50) ประเด็นสำคัญคือ การเปิดสาขาค้าปลีก-ค้าส่งใหม่ จะต้องขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการกระจุกตัวของสาขาค้าปลีก ? ค้าส่ง ซึ่งผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ในประเด็นนี้คือ BIGC / CP7-11 / MAKRO



* บริษัทจดทะเบียนที่ไม่เข้าข่ายผิดร่างกฎหมายฉบับใหม่
จากการศึกษาและสอบถามข้อมูลถึงโครงสร้างผู้ถือหุ้นและสิทธิ์ในการออกเสียง พบว่าบริษัทจดทะเบียนที่ไม่เข้าข่ายผิดร่างกฎหมายธุรกิจต่างด้าว จากเดิมที่ SCIBS ประเมินว่าเข้าข่าย ได้แก่

กลุ่มขนส่ง PSL,TTA,RCL ไม่เข้าข่ายบัญชี 2 เนื่องจากไม่ใช่กิจการขนส่งภายในประเทศ

กลุ่มพลังงาน EGCOMP ต่างชาติถือหุ้นทั้งหมดในสัดส่วน 44% กรรมการต่างชาติ 4 ท่าน จากทั้งหมด 14 ท่าน

กลุ่มเหมืองแร่ PDI Umicore ผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 47% กรรมการต่างชาติ 3 ท่าน จากทั้งหมด 10 ท่าน
กลุ่มค้าปลีก MAKRO ผู้ถือหุ้นหลัก 55% อาจเข้าข่ายนิยามคนต่างด้าว อยู่ในบัญชี 3 สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติจนกว่าจะเลิกกิจการ แต่ต้องจะต้องไปแจ้งภายใน 90 วัน อาจกระทบตามพรบ.ค้าปลีกค้าส่งฉบับใหม่BIG C การถือหุ้นของบริษัท เสาวนีย์โฮลดิ้งส์ อาจเข้าข่ายบริษํทถือแทนต่างชาติ ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติอยู่ที่ 63.16% อยู่ในบัญชี 3 ดำเนินกิจการได้ตามปกติจนกว่าจะเลิกเช่นเดียวกับ MAKRO โดยแจ้งภายใน 90 วัน อาจกระทบตามพรบ.ค้าปลีกค้าส่งฉบับใหม่

กลุ่มอสังหาฯ RAIMON อยู่ในบัญชี 1 เนื่องจากเกี่ยวกับการค้าที่ดินผู้ถือหุ้นใหญ่คือ IFA Hotels & Resorts 3 และ Istithmar Hotels FZE ซึ่งถือหุ้นทั้งหมดไม่เกิน 49%

KTP อยู่ในบัญชี 1 เนื่องจากเกี่ยวกับการค้าที่ดินผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Kepple Land Limited (Singapore) ซึ่งถือหุ้นทั้งหมดไม่เกิน 45.45%

TYONG อยู่ในบัญชี 1 เนื่องจากเกี่ยวกับการค้าที่ดิน ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ K2J Holding (กลุ่มคุณคีรี กาญจนพาสน์) ซึ่งถือหุ้นทั้งหมด 37.5% ส่วนผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ที่เหลือคือ Dubai Investment Group (UOB Kay Hian) 16.5% และ Dr. Cheng Yu Tung (7.5%)

กลุ่มท่องเที่ยวและสันทนาการ/อาหารMINT อยู่ในบัญชี 3 เนื่องจากเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ผู้ถือหุ้นต่างชาติเพียง 20%

*หากร่างกฎหมายมีผลบังคับใช้ อาจส่งผลกระทบต่อ 2 ธุรกิจ
1.ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ตลาดวิลล่าได้รับผลกระทบมากที่สุด : SCIBS คาดว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของชาวต่างด้าวต่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จะกระทบในรูปแบบของการซื้อขายหน่วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตลาดที่คาดว่าจะกระทบมากที่สุดคือ โครงการวิลล่าเพื่อขายในเมืองที่มีการลงทุนจากต่างชาติในระดับสูง เช่น ภูเก็ต พัทยา เกาะสมุย และ เชียงใหม่

ซึ่งก่อนหน้านี้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของชาวต่างด้าวปี 2542 ระบุเพียงสัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เป็นต่างชาติจะต้องไม่เกิน 49% แต่ไม่ได้จำกัดสิทธิในการออกเสียง ดังนั้น ในการซื้อขายวิลล่าของชาวต่างชาติส่วนใหญ่ จึงใช้การซื้อขายผ่านบริษัทไทย ซึ่งการนิยามคำจัดความของ ?คนต่างด้าว? ในร่าง แก้ไขของ พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจต่างด้าวในปี 2549 ได้ระบุว่าบริษัทไทยจะต้องมีสัดส่วนของการออกเสียงของคนไทยมากกว่า 50%

ซึ่ง SCIBS ประเมินว่ารูปแบบการลงทุนและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีลูกค้าเป้าหมายเป็นชาวต่างชาติจะเปลี่ยนแปลงไปซึ่งทางแก้ปัญหา คือ โครงการเหล่านั้นอาจจะต้องเปลี่ยนเป็นการให้สิทธิการเช่าที่ดินในระยะยาวแทนการซื้อขายโดยผ่านบริษัทไทย โดยระยะเวลาที่ยาวที่สุดที่สามารถเช่าได้คือ 90 ปี (30+30+30 ปี) อย่างไรก็ตาม SCIBS คาดว่าการตัดสินใจปิดช่องว่างใน พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของต่างด้าว จะส่งผลให้อุปสงค์ในวิลล่าเกิดการชะลอตัวและขั้นตอนในการซื้อขายที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ในประเภทที่มีที่ดินเข้ามาเกี่ยวข้องจะมีขั้นตอนในการตรวจสอบที่มากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการที่ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากโครงการวิลล่าในภูเก็ต คือ CI ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าในปี 2550 จะมีรายได้จากโครงการ ศรีพันวา ประมาณ 1,000 ล้านบาท

ตลาดคอนโดมิเนียมสำหรับต่างชาติน่าจะได้รับประโยชน์แทน : นอกจากนี้ ครม. ได้อนุมัติร่างหลักการของพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ซึ่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีหลักการและรายละเอียดบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายพร้อมทั้งกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้ซื้อห้องชุด รวมทั้งปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายท้ายพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่มีต่อประชาชนผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและเพื่อให้กฎหมายมีสภาพบังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ?เจ้าของร่วม? ว่าหมายถึงผู้ที่มีชื่อในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดแต่ละอาคารชุด ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการแก้ไขพระราชบัญญัติในครั้งนี้อาจจะมีการพิจารณาให้ชาวต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในอาคารได้มากกว่าเดิมที่ 49%

อย่างไรก็ตาม SCIBS คาดว่า การแก้ไขครั้งนี้จะส่งผลดีต่อการประกอบธุรกิจการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมมากขึ้น ซึ่ง บริษัทที่พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่มีลูกค้าเป้าหมายเป็นชาวต่างชาติทั้งในเขตกรุงเทพและต่างจังหวัด คือ RAIMON ซึ่งจะส่งผลให้การซื้อขายมีความคล่องตัวและชาวต่างชาติที่เป็นลูกค้าเป้าหมายจะตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ การแก้ไขครั้งนี้จะไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติ เนื่องจาก การปรับสัดส่วนความเป็นเจ้าของในพื้นที่อาคารชุด (คอนโดมิเนียม) ของชาวต่างชาติไม่กระทบต่อการเป็นเจ้าของในที่ดินที่อาคารชุดนั้นตั้งอยู่

2. ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง
ข้อจำกัดการเปิดสาขาเริ่มยากขึ้น : SCIBS ประเมินว่า ธุรกิจค้าปลีก ? ค้าส่ง แม้จะเข้าข่ายบัญชี 3 ซึ่งชาวต่างชาติสามารถเปิดธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งได้เสรี แต่คาดว่า ร่างพ.ร.บ. ค้าปลีก ที่อาจจะมีการยื่นเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาในสัปดาห์หน้า (15-19 ม.ค.50) ที่ประเด็นสำคัญของร่างพ.ร.บ. ต้องการเข้ามาควบคุมสถานที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีก ? ค้าส่ง ในแต่ละพื้นที่ เพื่อป้องกันการกระจุกตัว และต้องการให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม โดยผู้ประกอบการที่ต้องการเปิดสาขา ? ร้านค้าปลีก ? ค้าส่ง ? โมเดิร์นเทรด ต้องมาขอใบอนุญาตการเปิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาจะเป็นพื้นที่ตั้ง ? จำนวนประชากร ? ภาวะการแข่งขันธุรกิจค้าปลีก ? ค้าส่งในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดฯ ได้แก่ BIGC / MAKRO / CP7-11


* SCBS ระบุ กลุ่มอสังหาฯ-นิคมฯ-สื่อสาร- พาณิชย์ กระทบ
บทวิจัยของ บล.ไทยพาณิชย์ ระบุว่า บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มีคนต่างด้าวถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 50% ดังนั้นจึงไม่ได้กระทำผิด พ.ร.บ.นี้ บริษัทจดทะเบียนบางแห่งที่กระทำผิด พ.ร.บ.จะต้องแจ้งให้ทราบ แต่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น
ผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ที่กลุ่มสื่อสาร โดยที่มีบริษัท 4 แห่งที่จะต้องแจ้งสถานะให้ทราบและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น กลุ่มอื่นๆไม่ได้รับผลกระทบ ยกเว้นหุ้นบางตัวในกลุ่มพาณิชย์และบันเทิง

*ความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจ/บริษัท
อสังหาริมทรัพย์: ส่งผลกระทบบางส่วนเฉพาะกับบริษัทพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ตั้งเป้าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนต่างด้าวในเมืองท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา ฯลฯ ซึ่งน่าจะรวมถึง RAIMON และ CI เราเชื่อว่าบริษัทพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยจดทะเบียนส่วนใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ เนื่องจากปฏิบัติตามพ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่แล้ว

นิคมอุตสาหกรรม: ได้รับผลกระทบน้อยมาก เนื่องจากบริษัทต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
พาณิชย์: มีเพียง BIGC และ MAKRO ที่จัดเป็นบริษัทของคนต่างด้าวภายใต้ธุรกิจในบัญชีที่ 3 ทั้งสองบริษัทจะต้องแจ้งสถานะของตนเท่านั้น แต่ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น ดังนั้นจึงไม่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.นี้ ผู้ประกอบการ Hypermarket ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดฯ เช่น Tesco Lotus และ Carrefour ก็จัดอยู่ในข่ายนี้ด้วยเช่นกัน

สื่อสาร: การแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อธุรกิจสื่อสาร ธุรกิจสื่อสารเป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคม ในมาตรา 8 กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีเครือข่าย ?คนต่างด้าว? ใน พ.ร.บ.กิจการโทรคมนาคม จะมีคำนิยามที่สอดคล้องกับคำนิยามใน พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ทำให้ธุรกิจสื่อสารจัดเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีที่ 1 ใน พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยสิ้นเชิง

ผลกระทบหลักๆจะเกิดขึ้นกับหุ้นสื่อสาร 5 ตัว ได้แก่ SHIN และบริษัทย่อย (ADVANC และ SATTEL), UCOM และบริษัทย่อยที่ UCOM ถือหุ้นทั้งหมด (TAC) ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะถูกจัดเป็นบริษัทของคนต่างด้าวภายใต้คำนิยามใหม่นี้ อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นจะเกิดขึ้นที่บริษัทแม่เท่านั้น (SHIN และUCOM) เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถแก้ไขปัญหาที่บริษัทย่อยได้โดยอัตโนมัติ เราเชื่อว่าผู้ถือหุ้นเดิมที่เป็นคนต่างด้าวน่าจะเลือกลดสัดส่วนการถือหุ้นของตนลงแทนที่จะปล่อยให้บริษัทออกหุ้นใหม่

เราเชื่อว่าราคาหุ้นกลุ่มสื่อสารได้รับรู้ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปเรียบร้อยแล้ว ราคาหุ้น SHIN ปรับตัวลดลง 29%, ADVANC ลดลง 18%, และ SATTEL ลดลง 34% เทียบกับตลาดที่ปรับตัวลดลง 15% ในช่วง3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่เรายังคงคำแนะนำ ?Neutral? สำหรับ ADVANC และ ?Underperform? สำหรับ SHIN แต่หุ้นทั้งสองตัวนี้ดูน่าสนใจในแง่ของเงินปันผลโดยผลตอบแทนจากเงินปันผลของ ADVANC อยู่ที่ ระดับ 9% และ SHIN อยู่ที่ระดับ 11% เรายังคงคำแนะนำ ?ซื้อ? SATTEL ราคาหุ้น SATTEL ที่ปรับตัวลดลงทำให้หุ้นดูน่าดึงดูดมากขึ้นเนื่องจาก SATTEL ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้

ออกอากาศ - บันเทิง: มีเพียง ITV ที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ.นี้ เนื่องจากจัดเป็นธุรกิจในบัญชีที่ 1 เพราะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทคือ SHIN ก็ถูกจัดเป็นบริษัทของคนต่างด้าว ITV จะต้องเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากSHIN หรือรอให้ SHIN เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น

*ความเห็นเกี่ยวกับกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ
รับเหมาก่อสร้าง: ไม่ได้รับผลกระทบเพราะว่าบริษัทในกลุ่มนี้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวอยู่แล้ว นอกจากนี้แล้วบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างด้าวขนาดใหญ่ที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 500 ล้านบาท และประกอบธุรกิจก่อสร้างสาธารณูปโภคและขนส่งในไทยก็ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.นี้ด้วย ส่วนบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างด้าวขนาดเล็กลงมาหรือเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจก่อสร้างอย่างอื่นๆ (ยกเว้นสาธารณูปโภคและขนส่ง) จัดเป็นธุรกิจในบัญชีที่ 3 ซึ่งหมายความว่าบริษัทเหล่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้า

ขนส่ง: แม้ธุรกิจขนส่งจะเป็นธุรกิจในบัญชีที่ 2 แต่เปอร์เซ็นต์การถือครองหุ้นโดยคนต่างด้าวใน AOT BECL BMCL RCL THAI และ TTA ยังต่ำกว่าระดับ 50% ดังนั้นเราเชื่อว่าประเด็นนี้จะไม่มีผลกระทบต่อกลุ่มขนส่ง
พลังงาน: ไม่มีผลกระทบต่อหุ้นพลังงาน
ถ่านหิน: แม้ BANPU จะจัดเป็นธุรกิจในบัญชีที่ 2 แต่สิทธิในการออกเสียง (Voting Right) มีสัดส่วนต่ำกว่า50% ส่วน LANNA นั้นบริษัทไม่ได้ถือหุ้นเหมืองถ่านหินในไทยอีกต่อไป ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบ
ไฟฟ้า: ไม่มีผลกระทบเพราะว่าธุรกิจไฟฟ้าไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว EGCOMPและ RATCH ไม่มีผลกระทบ เนื่องจากคนต่างด้าวมีสัดส่วนการถือหุ้นต่ำกว่า 50% GLOW เป็นบริษัทต่างด้าวอยู่แล้ว และบริษัทมักจะขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เมื่อต้องการทำธุรกรรมใดๆอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบ
นํ้ามันและก๊าซ: ไม่มีผลกระทบ เพราะไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว KSL: แม้ KSL จะประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีที่ 2 แต่คนต่างด้าวมีสัดส่วนการถือหุ้นต่ำกว่า 50%[/color:1939275f0b">


.00020
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com