May 14, 2024   5:17:55 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ตลาดหุ้นโรยราต่อไป....ลุ้นหุ้นแบงก์-วอร์แรนต์วิ่งรับข่าวช่วง
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 29/01/2007 @ 22:58:34
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

วงการฟันธงแม้แบงก์ชาติผ่อนมาตรการกันสำรอง 30% อีกรอบ แต่หุ้นไทยยังโรยราต่อไป ระบุอยากเห็น SET วิ่งต้องยกเลิกมาตรการกันสำรองเท่านั้น ส่วนวันนี้แม้คาดหุ้นตอบรับด้านบวกทางจิตวิทยา แต่คงเป็นระยะสั้น โดยหุ้นกลุ่มแบงก์อาจมีแรงซื้อเข้ามา เหตุมีแนวโน้มได้ค่าฟีจากการทำสวอปมากขึ้น ส่วนวอร์แรนต์คาดเทรดกันสนั่น ASL เชียร์วอร์แรนต์กลุ่มโรงพยาบาลทั้ง VIBHA-W1 SKR-W1 เทคนิคสวยแถมพื้นฐานเจ๋ง

นับเป็นการการถอยหลังอีก 1 ก้าวของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการผ่อนปรนเกณฑ์การกันสำรอง 30% ลงอีกระดับหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญที่น่าจะเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นก็คือการยกเว้นการกันสำรอง 30% สำหรับการเข้ามาซื้อ NPL วอร์แรนต์ และหุ้นเพิ่มทุนของนักลงทุนต่างชาติ ในขณะที่ความเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์กลับไม่ได้ตอบสนองเท่าไหร่นัก โดยวานนี้ (29 ม.ค.) ดัชนีฯปิดปรับตัวลดลง 3.73 จุด อยู่ที่ระดับ 653.92 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง 10,423.05 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติยังเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ 1,464.58 ล้านบาท ขณะที่สถาบันยังเป็นฝ่ายขายสุทธิ 339.76 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 1,124.82 ล้านบาท

แต่คำถามก็คือการผ่อนมาตรการที่ละนิดของแบงก์ชาติ จะเกิดประโยชน์ต่อตลาดหุ้นมากน้อยเพียงใด เพราะหลังจากการประกาศมาตรการเพียง 1 วัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงกว่า 100 จุด เพราะนักลงทุนต่างชาติมองมาตรการกันสำรอง 30% เป็นการสกัดเงินทุนไหลเข้า ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นในประเทศที่เปิดเสรีการเงิน ถึงแม้ว่าที่สุดแล้วแบงก์ชาติเองจะยอมผ่อนปรนมาตรการนี้มาถึง 2 ครั้ง คือการผ่อนคลายสำหรับเงินที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และล่าสุดก็คือมาตรการที่ออกมาเมื่อวานนี้ แต่หากดูจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ยังคงย่ำอยู่กับที่ ไม่สามารถเคลื่อนไหวไปไหนได้มากนัก เพราะแรงขับเคลื่อนสำคัญคือนักลงทุนต่างชาติแผ่วลง และกลยุทธ์การลงทุนเปลี่ยนมาเป็นการซื้อขายในระยะสั้นมายิ่งขึ้น ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์และสำนักงาน ก.ล.ต. เองต่างจับจ้องและเตรียมที่จะออกมาตรการมาสกัดการซื้อขายหุ้นเก็งกำไร ทำให้บรรยากาศการลงทุนไม่สามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ และการออกมาตรการเพื่อทดสอบปฏิกิริยาของตลาดฯ และมีการผ่อนปรนไปเรื่อยๆ ก็ยังถูกมองว่าทางการไทยมีความไม่แน่นอนในการออกมาตรการต่างๆ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่คงไม่กลับคืนมาง่ายๆ ดังนั้นคำตอบเดียวที่นักลงทุนต้องการในตอนนี้ อาจจะเป็นการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%

**ธปท.ถอยอีกก้าวผ่อนมาตรการสำรอง 30%
ยกเว้นเงินซื้อNPL-วอร์แรนต์-เพิ่มทุน
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เพิ่มทางเลือกการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น โดยได้เพิ่มเติมรายการที่ไม่ต้องกันสำรอง 30% อีก 2 เรื่องจากเดิมที่ยกเว้นเฉพาะเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น
เงินลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้แก่ 1. เงินจากต่างประเทศที่นำเข้ามาเพื่อซื้อ NPL ซึ่งหมายถึงเป็นการชำระ NPL ที่ซื้อหรือจ่ายตามภาระค้ำประกันให้แก่บุคคลในประเทศไทย เมื่อคดีถึงที่สุดหรือมีเอกสารที่แสดงถึงภาระที่จะต้องชำระมาแสดงต่อสถาบันการเงิน จะได้รับยกเว้นกันสำรอง 30%

2. เงินที่นำเข้ามาซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นทุน (วอร์แรนต์) สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (Transferable Subscription Right) และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์หลักทรัพย์อ้างอิงตราสารทุน (Depository Receipt) ทั้งนี้ต้องเป็นตราสารที่เกี่ยวกับหุ้นทุนเท่านั้น ไม่รวมถึงประเภทที่มีออปชั่นอื่นๆที่นอกเหนือจากการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
?ออปชั่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับหุ้นทุน เช่น วอร์แรนต์ที่มีทางเลือกว่าสามารถแปลงสิทธิเป็นหุ้นสามัญก็ได้หรือแปลงเป็นหุ้นกู้ หรือขายเอาเงินคืน วอร์แรนต์แบบนี้เราไม่ให้? นายสุชาติ กล่าว

นอกจากนี้ ธปท.ยังได้เพิ่มทางเลือกให้ภาคเอกชนที่กู้เงินจากต่างประเทศ และ สินเชื่อเงินตราต่างประเทศเพื่อการส่งออกในลักษณะของ Packing Credit สามารถที่จะกันสำรอง 30% เหมือนเดิม หรือใช้วิธีซื้อป้องกันความเสี่ยงเต็ม 100% ก็จะไม่ถูกหักสำรอง 30%

ทั้งนี้ เอกชนที่กู้ยืมเงินตราต่างประเทศ ทั้งที่เป็นเงินกู้ยืมทั่วไปและเงินกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ (InterCompany Loan) และเงินตราต่างประเทศที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้หากเงินกู้นั้นมีการป้องกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินในประเทศไทย (on-Shore) เท่ากับจำนวนเงินและระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ (Fully Hedge) ในรูปของ FX Swap หรือ Cross Currency Swap ทั้งนี้ไม่รวมการป้องกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ (off-Shore) จะไม่ถูกหักสำรอง 30%
เช่นเดียวกันสำหรับเงินกู้ที่อายุมากกว่า 1 ปี หากไม่อยากเลือกใช้วิธีกันสำรอง 30% ก็จะต้องป้องกันความเสี่ยงแบบ Fully Hedge อย่างน้อย 1 ปี โดยหลังครบกำหนด 1 ปีผู้กู้ยืมสามารถบริหารความเสี่ยงได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป

สอดคล้องกับมาตรการสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น 30% ที่เมื่อเงินอยู่ในไทยครบ 1 ปีแล้วถึงจะได้เงินในส่วนที่หักไว้ 30% คืน ดังนั้นหากเงินกู้ที่อายุเกินกว่า 1 ปีซื้อประกันความเสี่ยงไว้ 1 ปีแล้ว หลังครบกำหนด 1 ปีก็ให้บริหารความเสี่ยงได้เอง นายสุชาติ กล่าว

สำหรับสินเชื่อเงินตราต่างประเทศเพื่อการส่งออกในลักษณะของ Packing Credit อายุไม่เกิน 180 วันที่สถาบันการเงินในประเทศให้แก่ลูกค้าในประเทศ และผู้กู้ยืมสัญญาว่าจะนำเงินตราต่างประเทศที่จะได้รับจากค่าสินค้าในอนาคตมาชำระเงินกู้ให้ครบถ้วน ทั้งนี้หากมีการสว็อป 100% ก็จะไม่ถูกหักสำรอง 30% หรือเอกชนอาจจะเลือกที่จะถูกกันสำรอง 30% ก็ได้ในกรณีที่ไม่ต้องการทำสว็อป

นอกจากธปท. จะเพิ่มทางเลือกการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นแล้ว ยังได้มีการอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (NR) ที่ต้องการจะชำระเงินบาทค่าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ธปท.จึงอนุญาตให้สามารถเปิดบัญชีเงินบาทเพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าโดยเฉพาะ (Special Non-Resident Bath Account for Trades and Services : หรือ SNT) กับธนาคารพาณิชย์ได้ โดยเงินบาทที่ฝากเข้าบัญชีไม่ต้องถอนออกภายใน 3 วันทำการ และสามารถเก็บเงินบาทนั้นไว้ในบัญชีเพื่อใช้จ่ายชำระค่าสินค้าและบริการในประเทศไทยได้ แต่ต้องมียอดคงค้างในบัญชี ณ สิ้นวันไม่เกิน 100 ล้านบาทและไม่ต้องกันสำรอง 30%

โดยก่อนหน้านี้ธปท.ได้อนุญาตให้ NR มีบัญชีพิเศษที่ใช้เพื่อลงทุนในตราสารที่เกี่ยวกับหุ้น หรือ SNS ได้ และได้เพิ่มเติมให้มีบัญชี SNT ได้อีก
เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเลือกปฎิบัติตามมาตรการกันสำรองให้เหมาะสมกับความต้องการและการบริหารเงินของตน

ขณะเดียวกันธปท.ยังได้ขยายระยะเวลาเงินบาทนำเข้าบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NRBA) จากเดิมต้องส่งออกในวันเดียวกัน เป็นต้องส่งออกภายใน 3 วันทำการ รวมถึงดอกเบี้ยและผลประโยชน์จากการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในประเทศไทย และเงินบาทเข้าบัญชีมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านบาท ไม่ต้องส่งออกภายใน 3 วันทำการ

.00020

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 29/01/2007 @ 22:59:45 : re: ตลาดหุ้นโรยราต่อไป....ลุ้นหุ้นแบงก์-วอร์แรนต์วิ่งรับข่าว
**ASP มองหุ้นรับข่าวแค่ช่วงสั้น
ฟันธงต้องยกเลิกเท่านั้นSETถึงฟื้น
นางสาวภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซีย พลัส กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ผ่อนคลายมาตราการกันเงินสำรองนักลงทุนต่างประเทศที่นำมาซื้อหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) และหุ้นเพิ่มทุนไม่ต้องกันสำรอง 30% ว่าการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวส่งผลเชิงบวกต่อจิตวิทยาการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และน่าเอื้อให้บรรยากาศการซื้อขายพรุ่งนี้ (30 ม.ค.50) ดีขึ้นและดันให้ดัชนีฯปรับเพิ่มทิศทางเดียวกันโดยดัชนีฯมีโอกาสปรับขึ้นไปถึงแนวต้านที่ 660 จุด

หากมีการยกเลิกกันสำรองกับ NPL Warrant และหุ้นเพิ่มทุน ถือว่าดีมากๆสำหรับตลาดฯ ทำให้บรรยากาศการซื้อขายเป็นบวกเพราะช่วงนี้ตลาดฯขาดข่าวดีใหม่ๆ พอมีข่าวนี้มาก็กระตุ้นการลงทุนได้มากทีเดียว ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่า ธปท.จะยกเลิกมาตรการกันสำรองในตราสารหนี้ และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือยกเลิกทั้งหมดหรือไม่ เพราะหากยกเลิกจริงจะดีอย่างมาก ทำให้ปัจจัยลบที่กดดันการลงทุนมานานหายไป นางสาวภรณี กล่าว

อย่างไรก็ตาม การยกเลิกมาตราการดังกล่าวยังไม่น่ามีผลดึงให้เม็ดเงินนักลงทุนต่างประเทศไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยในระยะยาว เนื่องจากเป็นการผ่อนคลายแค่บางส่วนซึ่งนักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ยังมีความกังวลว่าภาครัฐบาลจะมีมาตรการใหม่ๆออกมาอีกหรือไม่โดยหากเม็ดเงินจะกลับมาระยะยาวได้คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเมื่อภาครัฐบาลยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เป็นทางการ
นางสาวภรณี กล่าวด้วยว่า หากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองจริง ดัชนีฯมีโอกาสปรับขึ้นไปถึง 680 - 700 จุดได้ แนะนำนักลงทุนให้เลือกเก็บหุ้นพื้นฐานดี โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และโรงพยาบาล

**ASL เชื่อวันนี้วอร์แรนต์เทรดสนั่นจอ
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้อำนวยการวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน ให้ความเห็นว่า การผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวอาจไม่ส่งผลต่อภาพรวมของตลาดหรือความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติมากนัก เนื่องจากในสายตาของนักลงทุนต่างชาติเองอาจเห็นว่ามาตรการของบ้านเรายังไม่นิ่ง และยังไม่รู้ว่าจะมีมาตรการอะไรใหม่ๆออกมาอีกหรือไม่ ดังนั้นแม้ว่าวานนี้ต่างชาติจะมียอดซื้อสุทธิค่อนข้างมาก แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติซื้อขายหุ้นไทยด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น และมีการปรับกลยุทธ์ซื้อขายระยะสั้น ดังนั้นรายย่อยจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการลงทุนด้วย

ทั้งนี้หากประเมินหุ้นในกลุ่มที่ได้ผลดีจากมาตรการผ่อนปรนดังกล่าว ที่เห็นอย่างชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มธนาคาร เพราะมีแนวโน้มจะได้ค่าธรรมเนียมจากการทำสวอปของต่างชาติมากขึ้น นอกจากนี้คาดว่าบรรดาวอร์แรนต์ต่างๆจะมีการซื้อขายเก็งกำไรกันอย่างคึกคักในวันนี้ แม้ว่านักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่จะไม่ได้เข้มาลงทุนในวอร์แรนต์มากนัก แต่การผ่อนคลายดังกล่าวถือเป็นปัจจัยบวกทางจิตวิทยา ในขณะที่ตลาดฯยังขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ

นายรณกฤต กล่าวว่า สำหรับหุ้นธนาคารที่น่าสนใจ ยังคงมองธนาคารขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น BBL KBANK SCB และ KTB โดยธนาคารกรุงไทย ถือว่ามีความน่าสนใจมากที่สุด จากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาต่ำมาก P/E อยู่ที่ระดับเพียง 8 เท่า ให้แนวต้าน 12.60 บาท และแนวรับที่ 12 บาท รองลงมาคือธนาคารกรุงเทพ ที่มี P/E อยู่ที่ 10 เท่า ให้แนวต้าน 110 บาท แนวรับ 106 บาท ส่วน KBANK ให้แนวต้าน 61.50 บาท แนวรับ 59 บาท และ SCB ให้แนวรับ 59 บาท แนวต้า 61.50 บาท อย่างไรก็ตามแนะนำให้ซื้อเมื่อ่อนตัวสำหรับหุ้นในกลุ่มธนาคาร

ส่วนวอร์แรนต์ที่น่าสนใจและสัญญาณเทคนิคมีโอกาสไปต่อ คือวอร์แรนต์ที่ข้องกับหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งมีความน่าสนใจทั้งในแง่พื้นฐานของบริษัทและสัญญาณทางเทคนิค เช่น VIBHA-W1 แนวต้าน 2.30 บาท แนวรับ 2 บาท SKR-W1 แนวต้าน 3.30 บาท แนวรับ 3.04 บาท

นอกจากนี้ยังแนะนำวอร์แรนต์ที่น่าสนใจในการเก็งกำไร ได้แก่ RAIMON-W ให้แนวรับ 0.42 บาท แนวต้าน 0.54 บาท BCP-W1 แนวรับ 2.10 บาท แนวต้าน 2.30 บาท BLISS-W1 แนวรับ 1.38 บาท แนวต้าน 1.55 บาท TKS-W1 แนวรับ 1.90 บาท แนวต้าน 2.20 บาท และ STHAI-W1 แนวรับ 0.60 บาท แนวต้าน 0.70 บาท



.00020
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com